คณะนักวิจัยญี่ปุ่นที่ร่วมมือกับ NHK ประสบความสำเร็จในการถ่ายภาพปลา
ขณะว่ายน้ำอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกที่ความลึก 8,178 เมตร ซึ่งลึกที่สุดเป็นประวัติการณ์
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าปลาสามารถมีชีวิตอยู่ได้ที่ความลึกที่สุด 8,200 เมตร
และถ้าลึกมากไปกว่านี้ สันนิษฐานว่าเซลล์ของปลาจะทำงานไม่ได้เพราะความดันน้ำ
เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา คณะนักวิจัยที่องค์การวิจัยและพัฒนาด้านสมุทรศาสตร์แห่งญี่ปุ่น
นำยานสำรวจแบบไร้คนขับหย่อนลงในมหาสมุทรที่ความลึก 8,178 เมตร
ที่ร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนา เพื่อพยายามพิสูจน์สมมติฐานข้อนี้
ยานสำรวจนี้ติดตั้งกล้องถ่ายภาพความละเอียดสูงพิเศษ 4K ที่ NHK เป็นผู้จัดหาให้
17 ชั่วโมงครึ่งต่อมา กล้องจับภาพของปลาสีขาวตัวหนึ่งว่ายน้ำอย่างช้า ๆ
ปลาตัวนี้มีขนาดยาวราว 20 เซนติเมตรและมีสีขาวโปร่งแสง ลักษณะเด่นของมันคือ
มีหัวโตและหางเรียวเหมือนปลาไหล คาดว่ามันคือสเนลฟิชน้ำลึกสายพันธุ์หนึ่ง
นายคะซุมะซะ โอะงุริ หัวหน้าคณะวิจัยที่องค์การระบุว่าเขาตื่นเต้นที่ค้นพบว่า
มีปลาอาศัยอยู่ในความลึกระดับนั้น และว่าคณะวิจัยของเขามีแผนเก็บตัวอย่าง
จากที่ระดับความลึกนั้นเพื่อทำความเข้าใจสภาพทางชีววิทยาของสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลลึก
Source :
http://www3.nhk.or.jp/news/html/20170824/k10011110041000.html
ญี่ปุ่นถ่ายภาพปลาในมหาสมุทรที่ความลึก 8,178 เมตรได้!!
คณะนักวิจัยญี่ปุ่นที่ร่วมมือกับ NHK ประสบความสำเร็จในการถ่ายภาพปลา
ขณะว่ายน้ำอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกที่ความลึก 8,178 เมตร ซึ่งลึกที่สุดเป็นประวัติการณ์
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าปลาสามารถมีชีวิตอยู่ได้ที่ความลึกที่สุด 8,200 เมตร
และถ้าลึกมากไปกว่านี้ สันนิษฐานว่าเซลล์ของปลาจะทำงานไม่ได้เพราะความดันน้ำ
เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา คณะนักวิจัยที่องค์การวิจัยและพัฒนาด้านสมุทรศาสตร์แห่งญี่ปุ่น
นำยานสำรวจแบบไร้คนขับหย่อนลงในมหาสมุทรที่ความลึก 8,178 เมตร
ที่ร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนา เพื่อพยายามพิสูจน์สมมติฐานข้อนี้
ยานสำรวจนี้ติดตั้งกล้องถ่ายภาพความละเอียดสูงพิเศษ 4K ที่ NHK เป็นผู้จัดหาให้
17 ชั่วโมงครึ่งต่อมา กล้องจับภาพของปลาสีขาวตัวหนึ่งว่ายน้ำอย่างช้า ๆ
ปลาตัวนี้มีขนาดยาวราว 20 เซนติเมตรและมีสีขาวโปร่งแสง ลักษณะเด่นของมันคือ
มีหัวโตและหางเรียวเหมือนปลาไหล คาดว่ามันคือสเนลฟิชน้ำลึกสายพันธุ์หนึ่ง
นายคะซุมะซะ โอะงุริ หัวหน้าคณะวิจัยที่องค์การระบุว่าเขาตื่นเต้นที่ค้นพบว่า
มีปลาอาศัยอยู่ในความลึกระดับนั้น และว่าคณะวิจัยของเขามีแผนเก็บตัวอย่าง
จากที่ระดับความลึกนั้นเพื่อทำความเข้าใจสภาพทางชีววิทยาของสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลลึก
Source : http://www3.nhk.or.jp/news/html/20170824/k10011110041000.html