สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 39
ถ้าคุณไม่เซ็น หากเกิดคดี ธนาคารสามารถฟ้องคุณได้โดยอาศัยสิทธิที่คุณเป็นทายาทโดยธรรม
กรณีที่มีปัญหาทางกฎหมายแบบนี้ ไม่ให้รับ แต่ก็ไม่ให้ปฎิเสธ ให้สอบถามเรื่องราวว่าเป็นมาเป็นไปยังไง ขอเอกสารมาดูแล้วค่อยตัดสินใจ ผมจะแจกแจงประเด็นดังต่อไปนี้ (แต่คุณไม่ได้บอกรายละเอียด จึงขออธิบายแบบกลางๆ)
1. แม่คุณทำสัญญากับธนาคาร แล้วเอารถให้พี่ชายขับ โดยให้พี่ชายจ่ายทุกเดือน แต่แม่คุณเป็นคู่สัญญากับธนาคาร แน่นอนอยู่แล้วที่ลุงคุณต้องโทรมาให้คุณเซ็น หรือมาตกลงกับคุณ เพราะแม่คุณเสียชีวิตไปแล้ว คู่สัญญาหายไป ลุงคุณคงไม่ส่งรถไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่ง จ่ายค่ารถครบ แล้วรถกลายเป็นของคุณหรอก เพราะรถนั้นเป็นหนี้ทางมรดก ถ้าหนี้หายไป ก็กลายเป็นทรัพย์มรดกได้เช่นกัน คุณจึงเป็นเจ้าของรถถ้าจ่ายครบ
2. ถ้ามีปัญหาทางสัญญา ธนาคารจะต้องมองหาคู่สัญญา ตอนแรก ธนาคารจะไม่มองหาลุงคุณ เพราะรถใครเอาไปใช้ก็ย่อมได้ ธนาคารจะมองหาคนใช้รถต่อเมื่อต้องการยึดรถคืน ตอนนั้นเขาจะไม่มองหาคู่สัญญาแล้ว เพราะทำผิดสัญญา เขาต้องการยึดรถคืน เขาจะไม่คุยแล้ว เขาจะมองหาคู่สัญญาอีกที ตอนเอารถไปขายทอดตลาด แล้วตังค์ไม่พอชำระหนี้ เขาถึงจะมองหาคู่สัญญา และฟ้องเรียกเงินที่เหลือ ส่วนคนใช้รถไม่เกี่ยวแล้ว
3. คุณควรไปคุยกับทางธนาคารว่าจะเอายังไง ถามลุงคุณว่าจะเอายังไง คราวนี้มันก็มีประเด็น เพราะลุงคุณเอารถเองตั้งแต่แรกไม่ได้ แสดงว่าฐานะทางการเงินแม่คุณดีกว่า ถ้าคุณปฎิเสธ ไม่รับช่วงต่อจากแม่ ลุงคุณก็ต้องหาคนมาทำสัญญาแทน ตรงนี้ไม่รู้ธนาคารจะยอมมั้ย มันก็คาราคาซัง
4. ปัญหาอื่นๆ ที่ผมไม่รู้ จึงบอกคุณไม่ได้ คุณควรศึกษาระเบียบดูว่าแม่คุณทำสัญญาอะไรไว้กับธนาคาร การปล่อยปละละเลย ไม่ใช่การแก้ปัญหาทางกฎหมาย เชื่อผม ผมเจอหลายคน ปล่อยปละละเลย สุดท้ายก็มาถามผมแบบงงๆ ว่า เขายึดรถเราได้เหรอ เขาฟ้องเราได้เหรอ
พอผมแนะนำให้ไปลองสอบถามดูว่าทางคู่กรณีจะเอายังไง เขาก็ไม่อยากถาม ปล่อยไปเรื่อยๆ จนแก้ไขอะไรไม่ได้
กรณีของคุณ ถ้าลุงคุณเห็นคุณตั้งท่าปฎิเสธ เขาก็อาจคิดว่าส่งรถต่อไปทำไม เดี๋ยวพอส่งครบ ก็ไม่ได้เป็นเจ้าของรถอยู่ดี
พอลุงคุณขาดส่งงวด ทางธนาคารก็จำเป็นต้องยึดรถคืน เอารถไปขาดทอดตลาด แล้วได้เงินน้อยกว่าที่เป็นหนี้ตามสูตร
แล้วก็จะฟ้องคู่สัญญาเดิมคือแม่คุณ เพื่อเอาหนี้ที่ค้างคืนทั้งหมด แต่แม่คุณตายไปแล้ว เขาก็ให้ทนายมาฟ้องทายาทมรดกนั่นคือคุณอยู่ดี
รีบทำความเข้าใจกับเรื่องนี้เถอะครับ ก่อนที่จะเป็นคดี ผมอาจบอกคุณได้ไม่ตรงจุด เพราะไม่ทราบข้อเท็จจริง แต่มีคุณเท่านั้นจะแก้ปัญหาให้ตัวเองได้
โชคดีครับ
กรณีที่มีปัญหาทางกฎหมายแบบนี้ ไม่ให้รับ แต่ก็ไม่ให้ปฎิเสธ ให้สอบถามเรื่องราวว่าเป็นมาเป็นไปยังไง ขอเอกสารมาดูแล้วค่อยตัดสินใจ ผมจะแจกแจงประเด็นดังต่อไปนี้ (แต่คุณไม่ได้บอกรายละเอียด จึงขออธิบายแบบกลางๆ)
1. แม่คุณทำสัญญากับธนาคาร แล้วเอารถให้พี่ชายขับ โดยให้พี่ชายจ่ายทุกเดือน แต่แม่คุณเป็นคู่สัญญากับธนาคาร แน่นอนอยู่แล้วที่ลุงคุณต้องโทรมาให้คุณเซ็น หรือมาตกลงกับคุณ เพราะแม่คุณเสียชีวิตไปแล้ว คู่สัญญาหายไป ลุงคุณคงไม่ส่งรถไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่ง จ่ายค่ารถครบ แล้วรถกลายเป็นของคุณหรอก เพราะรถนั้นเป็นหนี้ทางมรดก ถ้าหนี้หายไป ก็กลายเป็นทรัพย์มรดกได้เช่นกัน คุณจึงเป็นเจ้าของรถถ้าจ่ายครบ
2. ถ้ามีปัญหาทางสัญญา ธนาคารจะต้องมองหาคู่สัญญา ตอนแรก ธนาคารจะไม่มองหาลุงคุณ เพราะรถใครเอาไปใช้ก็ย่อมได้ ธนาคารจะมองหาคนใช้รถต่อเมื่อต้องการยึดรถคืน ตอนนั้นเขาจะไม่มองหาคู่สัญญาแล้ว เพราะทำผิดสัญญา เขาต้องการยึดรถคืน เขาจะไม่คุยแล้ว เขาจะมองหาคู่สัญญาอีกที ตอนเอารถไปขายทอดตลาด แล้วตังค์ไม่พอชำระหนี้ เขาถึงจะมองหาคู่สัญญา และฟ้องเรียกเงินที่เหลือ ส่วนคนใช้รถไม่เกี่ยวแล้ว
3. คุณควรไปคุยกับทางธนาคารว่าจะเอายังไง ถามลุงคุณว่าจะเอายังไง คราวนี้มันก็มีประเด็น เพราะลุงคุณเอารถเองตั้งแต่แรกไม่ได้ แสดงว่าฐานะทางการเงินแม่คุณดีกว่า ถ้าคุณปฎิเสธ ไม่รับช่วงต่อจากแม่ ลุงคุณก็ต้องหาคนมาทำสัญญาแทน ตรงนี้ไม่รู้ธนาคารจะยอมมั้ย มันก็คาราคาซัง
4. ปัญหาอื่นๆ ที่ผมไม่รู้ จึงบอกคุณไม่ได้ คุณควรศึกษาระเบียบดูว่าแม่คุณทำสัญญาอะไรไว้กับธนาคาร การปล่อยปละละเลย ไม่ใช่การแก้ปัญหาทางกฎหมาย เชื่อผม ผมเจอหลายคน ปล่อยปละละเลย สุดท้ายก็มาถามผมแบบงงๆ ว่า เขายึดรถเราได้เหรอ เขาฟ้องเราได้เหรอ
พอผมแนะนำให้ไปลองสอบถามดูว่าทางคู่กรณีจะเอายังไง เขาก็ไม่อยากถาม ปล่อยไปเรื่อยๆ จนแก้ไขอะไรไม่ได้
กรณีของคุณ ถ้าลุงคุณเห็นคุณตั้งท่าปฎิเสธ เขาก็อาจคิดว่าส่งรถต่อไปทำไม เดี๋ยวพอส่งครบ ก็ไม่ได้เป็นเจ้าของรถอยู่ดี
พอลุงคุณขาดส่งงวด ทางธนาคารก็จำเป็นต้องยึดรถคืน เอารถไปขาดทอดตลาด แล้วได้เงินน้อยกว่าที่เป็นหนี้ตามสูตร
แล้วก็จะฟ้องคู่สัญญาเดิมคือแม่คุณ เพื่อเอาหนี้ที่ค้างคืนทั้งหมด แต่แม่คุณตายไปแล้ว เขาก็ให้ทนายมาฟ้องทายาทมรดกนั่นคือคุณอยู่ดี
รีบทำความเข้าใจกับเรื่องนี้เถอะครับ ก่อนที่จะเป็นคดี ผมอาจบอกคุณได้ไม่ตรงจุด เพราะไม่ทราบข้อเท็จจริง แต่มีคุณเท่านั้นจะแก้ปัญหาให้ตัวเองได้
โชคดีครับ
แสดงความคิดเห็น
แม่ไปออกรถให้พี่ชายแล้วแม่เสียชีวิตแต่รถผ่อนไม่หมดธนาคารโทรมาหา
พี่ชายของแม่อยาได้รถแต่ชื่อตัวเองออกไม่ได้แม่เรยออกให้พี่ชาย วันหนึ่งแม่เราเสียชีวิต แต่รถยังผ่อนไม่หมดพี่ชายแม่เป็นลุงเราแต่ไม่สนิทกันเท่าไร โทรมาหาเราจะให้เราเซ็นเอกสารอะไรสักอย่าง ลุงก็เอาเบอร์เราให้ธนาคารโทรมา บอกว่าให้เราเซ็นรับทรัพสินของแม่เพราะเป็นชื่อแม่เราเป็นลูกคนเดียว เราเรยถามธนาคารว่าผ่อนหมดยังสรุปคือยังผ่อนไม่หมด เราก็เรยปฏิเสธ ทางธนาคารว่าไม่ขอเซ็นอะไรทั้งนั้นแล้ว วันนี้ทางธนาคารโทรมาหาเราให้เราไปเซ็นเอกสาร ขอปฏิเสธสิทในทรัพสินชิ้นนั้น
อยากจะถามพี่ๆน้องๆใน pantip ว่าควรเซ็นเอกสารดังกล่าวมั้ย เพราะเรากำลังสร้างตัวได้ยังไม่อยากเป็นหนี้แทนใคร
* ขอบคุณที่อ่านครับ พิมพ์ผิดตรงไหนขอโทษด้วยนะครับพึ่งเคยตั้งกระทู้ ไม่รู้จะไปถามใครจริง