โดย กาลามชน
ธนูมองโกล เป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นที่มีใช้แพร่หลายในหลายชนชาติที่อยู่ใจกลางทวีปเอเชีย พัฒนาต่อยอดมาจากธนู composite ของชาวซิเถียน (Scythian) และชาวฮั่น (Huns) มีแกนเป็นไม้ไผ่ ประกบด้วยชิ้นส่วนเขาสัตว์แนบด้านใน และเอ็นสัตว์อยู่ด้านนอก เชื่อมด้วยกาวที่ทำจากสัตว์ มักจะใช้แรงดึงระหว่าง 100-160 ปอนด์ โดยปกติจะสามารถยิ่งได้ไกลไม่ต่ำกว่า 320 เมตร ธนูบางคันที่สร้างให้มีความแรงเป็นพิเศษและยิงโดยคนที่มีกำลังมาก อาจยิงได้ไกลถึง 500 เมตร ธนูมองโกลจึงเป็นธนูที่ดีที่สุดในยุคของมัน จนกระทั่งอีกหลายร้อยปีต่อมาจึงถูกแทนที่ด้วยธนูแมนจูและธนูออตโตมานที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า
มีความเข้าใจผิดอย่างแพร่หลายเกี่ยวกับชนิดของธนู คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าธนูที่ชาวมองโกลใช้อยู่ในปัจจุบันจะเหมือนกับธนูที่ใช้ในสมัยเจงกีสข่าน จริงๆแล้วธนูแบบดั้งเดิมของมองโกลใช้แพร่หลายอยู่จนถึงศตวรรษที่ 17 เท่านั้น หลังจากนั้นชาวมองโกล รวมทั้งจีนและธิเบตได้เปลี่ยนไปใช้ธนูแบบแมนจูที่ดีกว่าแทน
องค์รักษ์ของกุบไลข่าน ภาพวาดสมัยราชวงศ์หยวน กับธนูที่สร้างเลียนแบบ
[มองโกล] ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับธนูมองโกล
ธนูมองโกล เป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นที่มีใช้แพร่หลายในหลายชนชาติที่อยู่ใจกลางทวีปเอเชีย พัฒนาต่อยอดมาจากธนู composite ของชาวซิเถียน (Scythian) และชาวฮั่น (Huns) มีแกนเป็นไม้ไผ่ ประกบด้วยชิ้นส่วนเขาสัตว์แนบด้านใน และเอ็นสัตว์อยู่ด้านนอก เชื่อมด้วยกาวที่ทำจากสัตว์ มักจะใช้แรงดึงระหว่าง 100-160 ปอนด์ โดยปกติจะสามารถยิ่งได้ไกลไม่ต่ำกว่า 320 เมตร ธนูบางคันที่สร้างให้มีความแรงเป็นพิเศษและยิงโดยคนที่มีกำลังมาก อาจยิงได้ไกลถึง 500 เมตร ธนูมองโกลจึงเป็นธนูที่ดีที่สุดในยุคของมัน จนกระทั่งอีกหลายร้อยปีต่อมาจึงถูกแทนที่ด้วยธนูแมนจูและธนูออตโตมานที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า
มีความเข้าใจผิดอย่างแพร่หลายเกี่ยวกับชนิดของธนู คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าธนูที่ชาวมองโกลใช้อยู่ในปัจจุบันจะเหมือนกับธนูที่ใช้ในสมัยเจงกีสข่าน จริงๆแล้วธนูแบบดั้งเดิมของมองโกลใช้แพร่หลายอยู่จนถึงศตวรรษที่ 17 เท่านั้น หลังจากนั้นชาวมองโกล รวมทั้งจีนและธิเบตได้เปลี่ยนไปใช้ธนูแบบแมนจูที่ดีกว่าแทน
องค์รักษ์ของกุบไลข่าน ภาพวาดสมัยราชวงศ์หยวน กับธนูที่สร้างเลียนแบบ