เลือกเรียนสายวิทย์เพราะอยากเป็นวิศวะ แต่กลับต้องมาท่องชื่อกรดอะมิโน เพื่ออะไรกันครับ
จากการที่เด็กไทยคนหนึ่งซึ่งก็คือผมเอง ได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับระบบการศึกษาไทย ว่าทำไมสายวิทย์จึงต้องรวมสาขาทุกสาขาไว้ที่ห้องๆเดียว
ซึ่งมันทำให้เด็กที่เลือกเรียนวิทย์เพราะอยากเป็นวิศวะ แทนที่จะได้เรียนฟิสิกส์อย่างเต็มที่ แต่กลับต้องมาท่องชื่อกรดอะมิโน หรือหมู่ฟังก์ของการสารชีวโมเลกุล ทั้งๆที่ไม่ได้ใช้ในสาขาอาชีพของตน และในทางตรงกันข้าม คนที่อยากเป็นหมอแล้วเลือกเรียนสายวิทย์ ก็คงต้องถูกบังคับให้จำสูตรการหาแรงลัพท์เวกเตอร์ แล้วใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้
ซึ่งบางคนอาจจะแย้งว่า ก็เพื่อให้เด็กได้ค้นพบตัวเองไง ทั้งๆที่ความจริงแล้ว ระบบดังกล่าวถูกออกแบบมาให้เด็กค้นพบตัวเองได้ตั้งแต่ม.ต้นเลยต่างหาก แล้วยังจะไปค้นหาอะไรในตอนม.ปลายอีกล่ะครับ เพราะมันควรเลือกสาขาการเรียนที่มันตรงกับสายอาชีพตัวเองแล้ว
อีกปัญหาหนึ่งที่ระบบออกแบบมาเพื่ออวยสายวิทย์ โดยให้สิทธิพิเศษที่เด็กสายวิทย์สามารถเรียนต่อได้ทุกคณะ ทั้งที่เด็กสายศิลป์ทำไม่ได้ “เอ้า! ก็สายศิลป์มันเรียนง่ายไง ไม่ต้องจบมาก็เข้าใจได้” แล้วคนที่บอกว่าเข้าใจได้ เขาได้ทำกิจกรรมที่เด็กสายศิลป์ทำตอนมัธยมมั๊ยล่ะ เก่งแต่ทฤษฎีแล้วปฏิบัติไม่เป็น ก็ทำอะไรไม่ได้
ที่พิมพ์มานี่ ผมไม่ได้เรียกร้องให้ยกเลิกสายวิทย์หรือสายศิลป์แต่อย่างใด เพียงแต่อยากให้กระทรวงเห็นความสำคัญของการเลือกสายเรียนต่อม.ปลาย ทำให้เป็นสายเรียนที่เฉพาะมากยิ่งขึ้น เช่น วิทย์-ฟิสิกส์ วิทย์-เคมี หรือวิทย์-ชีวะ
และไม่ควรให้เด็กเรียนต่อข้ามสาย เพราะจะส่งผลต่อศักยภาพในการทำงานเมื่อจบออกมา อาจทำให้ความสามารถไม่มากพอ จากการที่ไม่ได้เรียนเรื่องนั้นเรื่องนั้นมาเต็มที่ ซึ่งก็จะมีน้อยมากสำหรับเด็กที่สามารถเรียนหลายอย่าง แล้วเก่งทุกอย่าง อันนี้ถ้าต้องการข้ามสายจริงๆควรมีการเคร่งครัดในการคัดเลือก มากว่าให้ซิ่วมาเฉยๆ
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคุณครู ต้องมีความสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กสามารถที่จะค้นพบตัวเองตอนม.ต้น จะได้ไม่เกิดปัญหาตามมา
แล้วยังจะปฏิรูปอะไรอีกทั้งๆที่เรื่องง่ายๆแบบนี้เข้าใจไม่ได้
ปล.ผมเป็นเด็กสายวิทย์คนหนึ่ง ที่ผิดหวังกับการเลือกสายมาก
เลือกเรียนสายวิทย์เพราะอยากเป็นวิศวะ แต่กลับต้องมาท่องชื่อกรดอะมิโน เพื่ออะไรกันครับ
จากการที่เด็กไทยคนหนึ่งซึ่งก็คือผมเอง ได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับระบบการศึกษาไทย ว่าทำไมสายวิทย์จึงต้องรวมสาขาทุกสาขาไว้ที่ห้องๆเดียว
ซึ่งมันทำให้เด็กที่เลือกเรียนวิทย์เพราะอยากเป็นวิศวะ แทนที่จะได้เรียนฟิสิกส์อย่างเต็มที่ แต่กลับต้องมาท่องชื่อกรดอะมิโน หรือหมู่ฟังก์ของการสารชีวโมเลกุล ทั้งๆที่ไม่ได้ใช้ในสาขาอาชีพของตน และในทางตรงกันข้าม คนที่อยากเป็นหมอแล้วเลือกเรียนสายวิทย์ ก็คงต้องถูกบังคับให้จำสูตรการหาแรงลัพท์เวกเตอร์ แล้วใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้
ซึ่งบางคนอาจจะแย้งว่า ก็เพื่อให้เด็กได้ค้นพบตัวเองไง ทั้งๆที่ความจริงแล้ว ระบบดังกล่าวถูกออกแบบมาให้เด็กค้นพบตัวเองได้ตั้งแต่ม.ต้นเลยต่างหาก แล้วยังจะไปค้นหาอะไรในตอนม.ปลายอีกล่ะครับ เพราะมันควรเลือกสาขาการเรียนที่มันตรงกับสายอาชีพตัวเองแล้ว
อีกปัญหาหนึ่งที่ระบบออกแบบมาเพื่ออวยสายวิทย์ โดยให้สิทธิพิเศษที่เด็กสายวิทย์สามารถเรียนต่อได้ทุกคณะ ทั้งที่เด็กสายศิลป์ทำไม่ได้ “เอ้า! ก็สายศิลป์มันเรียนง่ายไง ไม่ต้องจบมาก็เข้าใจได้” แล้วคนที่บอกว่าเข้าใจได้ เขาได้ทำกิจกรรมที่เด็กสายศิลป์ทำตอนมัธยมมั๊ยล่ะ เก่งแต่ทฤษฎีแล้วปฏิบัติไม่เป็น ก็ทำอะไรไม่ได้
ที่พิมพ์มานี่ ผมไม่ได้เรียกร้องให้ยกเลิกสายวิทย์หรือสายศิลป์แต่อย่างใด เพียงแต่อยากให้กระทรวงเห็นความสำคัญของการเลือกสายเรียนต่อม.ปลาย ทำให้เป็นสายเรียนที่เฉพาะมากยิ่งขึ้น เช่น วิทย์-ฟิสิกส์ วิทย์-เคมี หรือวิทย์-ชีวะ
และไม่ควรให้เด็กเรียนต่อข้ามสาย เพราะจะส่งผลต่อศักยภาพในการทำงานเมื่อจบออกมา อาจทำให้ความสามารถไม่มากพอ จากการที่ไม่ได้เรียนเรื่องนั้นเรื่องนั้นมาเต็มที่ ซึ่งก็จะมีน้อยมากสำหรับเด็กที่สามารถเรียนหลายอย่าง แล้วเก่งทุกอย่าง อันนี้ถ้าต้องการข้ามสายจริงๆควรมีการเคร่งครัดในการคัดเลือก มากว่าให้ซิ่วมาเฉยๆ
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคุณครู ต้องมีความสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กสามารถที่จะค้นพบตัวเองตอนม.ต้น จะได้ไม่เกิดปัญหาตามมา
แล้วยังจะปฏิรูปอะไรอีกทั้งๆที่เรื่องง่ายๆแบบนี้เข้าใจไม่ได้
ปล.ผมเป็นเด็กสายวิทย์คนหนึ่ง ที่ผิดหวังกับการเลือกสายมาก