เมื่อวันที่ 14 ส.ค. เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.) เผยแพร่จดหมายเปิดผนึกถึงผู้บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากคณาจารย์ทั่วประเทศ กรณีความขัดแย้งระหว่างมหาวิทยาลัยกับสมาชิกสภานิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระบุว่า จากเหตุการณ์ความวุ่นวายในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนเป็นนิสิตจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม ที่ผ่านมา จนกลายเป็นข่าวใหญ่ตามสื่อต่างๆ และก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ความประพฤติของทั้งฝ่ายอาจารย์และนิสิตอย่าง กว้างขวาง ล่าสุดผู้บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รองศาสตราจารย์ ดร.บัญชา ชลาภิรมย์ รองอธิการบดีฝ่ายกำกับดูแลด้านการพัฒนานิสิตฯได้ลงนามในคำสั่งให้คณะกรรมการ ส่งเสริมวินัยนิสิต ดำเนินการสอบสวนการกระทำของสมาชิกสภานิสิตฯ จำนวน 8 คน ได้แก่
1. เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล ประธานสภานิสิต นิสิตคณะรัฐศาสตร์
2. ศุภลักษณ์ บำรุงกิจ รองประธานสภานิสิต นิสิตคณะเศรษฐศาสตร์
3. ธรณ์เทพ มณีเจริญ สภานิสิตสามัญ นิสิตคณะรัฐศาสตร์
4. ทัตเทพ เรืองประไพกิจเสรี สภานิสิตสามัญ นิสิตคณะรัฐศาสตร์
5. ชินวัตร งามละมัย สภานิสิตสามัญ นิสิตคณะครุศาสตร์
6. ชยางกูร ธรรมอัน กรรมาธิการสภานิสิต นิสิตคณะรัฐศาสตร์
7. ปิยะธิดา พัชรศิรสิทธิ์ กรรมาธิการสภานิสิต นิสิตคณะรัฐศาสตร์
8. ฐาปกร แก้วลังกา กรรมาธิการสภานิสิต นิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์
อนึ่ง นายเนติวิทย์ มีข้อหาเพิ่มเติมกรณีใช้สถานที่มหาวิทยาลัยโดยไม่ได้รับอนุญาตในการจัด ประชุมเพื่อรับฟังความเดือดร้อนผู้ค้าบริเวณสวนหลวงสแควร์
เหตุการณ์ ดังกล่าวทำให้คณาจารย์จากหลายสถาบันตามรายชื่อแนบท้าย วิตกกังวลต่อทั้งสิทธิเสรีภาพของนิสิตที่ถูกสอบสวนและต่อเกียรติภูมิของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงใคร่ขอเสนอความเห็นเพื่อให้ผู้บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้พิจารณาดัง ต่อไปนี้
1. ผู้บริหารจุฬาฯ อาจเห็นว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นเรื่องภายในของจุฬาฯ บุคคลภายนอกไม่ควรยุ่งเกี่ยว แต่หากพิจารณาว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นผลของความขัดแย้งทางความคิด ระหว่างคนรุ่นใหม่กับคนรุ่นเก่า อีกทั้งการกระทำและข้อเรียกร้องของสมาชิกสภานิสิตจุฬาฯ ในกรณีนี้ไม่ได้เกินเลยไปจากสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่นิสิตมีเป็นเบื้อง ต้นแล้ว การใช้อำนาจลงโทษโดยไม่คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของพวกเขา ย่อมเป็นสิ่งที่พวกเราในฐานะคณาจารย์ไม่อาจนิ่งเฉยอยู่ได้ เพราะหากจุฬาฯ ตัดสินว่านิสิตเหล่านี้กระทำผิด ก็เท่ากับเป็นการส่งสารถึงคนทั้งประเทศว่า ในอนาคตหากคนรุ่นใหม่คนใดหาญกล้าใช้สิทธิเสรีภาพที่พวกเขามีเป็นเบื้องต้นไป ตั้งคำถามต่อแนวทางปฏิบัติ จารีตประเพณี และความคิดความเชื่อของผู้มีอำนาจแล้ว พวกเขาก็จะถูกลงโทษเช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ คณาจารย์ที่เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก ย่อมต้องเข้าใจว่าจารีตประเพณี ค่านิยมและความเชื่อในทุกสังคม รวมทั้งสังคมไทยล้วนต้องปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับสังคมเศรษฐกิจและ การเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป และปัญญาชนคนรุ่นใหม่มักมีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้ ส่วนผู้มีอำนาจที่ปฏิเสธการเปลี่ยนแปลงและใช้อำนาจดิบลงโทษผู้ที่เห็นต่าง นั้นมักประสบกับการต่อต้านอย่างรุนแรง
หากมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ ไม่สามารถทำความเข้าใจเรื่องพื้นฐานนี้ได้แล้ว ความพยายามทุ่มเททรัพยากรมากมายเพื่อไต่ลำดับไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำ ของโลกก็เป็นเรื่องไร้สาระ
2. ขณะที่ฝ่ายนิสิตได้แสดงความเห็นโต้แย้งการหมอบกราบในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณฯ อย่างเป็นเหตุเป็นผลในพื้นที่สาธารณะมาตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่ฝ่ายผู้บริหารจุฬาฯ กลับยังไม่เคยแสดงเหตุผลโต้แย้งให้ปรากฏ ในเมื่อกรณีนี้เป็นเรื่องความขัดแย้งทางความคิดระหว่างฝ่ายผู้บริหารจุฬาฯ ที่ต้องการรักษาพิธีกรรมที่ได้ประดิษฐ์ขึ้นเมื่อราว 20 ปีที่แล้ว กับฝ่ายคนรุ่นใหม่ที่ไม่เห็นด้วยกับพิธีกรรมดังกล่าว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในฐานะที่เชื่อว่าตนเป็น “เสาหลักของแผ่นดิน” ก็พึงมีขันติอันหนักแน่น และใช้โอกาสนี้สร้างปัญญาให้แก่คนในประชาคมและสังคม ด้วยการเปิดพื้นที่ให้มีการถกเถียงอย่างมีสติเพื่อให้เห็นข้อดีข้อเสียของ ทั้งสองฝ่าย และแสวงหาแนวทางแก้ไขต่อไป ไม่ใช่แก้ปัญหาด้วยการใช้อำนาจกับนิสิต
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะกล้า กล่าวอ้างว่าตนเป็น “เสาหลักของแผ่นดิน” และภูมิปัญญาของสังคมได้หรือหากไม่สามารถจัดการกับความแตกต่างเพียงแค่นี้ เยี่ยงผู้มีปัญญาได้
แม้ว่าผู้บริหารจุฬาฯ มีอำนาจที่จะให้คุณให้โทษแก่สมาชิกของประชาคม แต่อำนาจนั้นพึงใช้อย่างยุติธรรมและชอบธรรม ประการสำคัญ ผู้บริหารจุฬาฯ ยังมีสถานะเป็น “ครูบาอาจารย์” ที่พึงมีใจเปิดกว้างต่อธรรมชาติอันแตกต่างหลากหลายและเร่าร้อนของคนรุ่นใหม่ หากผู้บริหารจุฬาฯ เห็นว่านิสิตทำไม่ถูก ก็พึงแก้ไขด้วยความปรารถนาดี ไม่ใช่มุ่งลงโทษหรือมุ่งขับไสพวกเขาออกไปจากประชาคม ประการสำคัญ การกระทำของนิสิตทั้ง 8 คนในกรณีนี้ ไม่ได้กระทำเพื่อผลประโยชน์ส่วนตน หากแต่มุ่งผลักดันสิ่งที่พวกเขาเชื่อว่าดีต่อสังคมโดยรวม
3. ในขณะที่การสอบสวนยังไม่ได้เริ่มขึ้น แต่ข้อความในคำสั่งที่ลงนามโดยรองอธิการบดีกลับส่อว่าผู้บริหารจุฬาฯ เห็นว่านิสิตเป็นฝ่ายกระทำความผิด ทำให้มหาวิทยาลัยเสื่อมเสียชื่อเสียง ดังข้อความที่ว่า “ด้วยเกิดเหตุการณ์และข่าวต่างๆ ใน social media ที่ส่งผลต่อชื่อเสียงของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรณีใช้สถานที่ราชการในการจัดประชุมโดยไม่รับอนุญาตและการแสดงพฤติกรรมที่ ไม่เหมาะสมโดยเจตนาเดินออกจากแถวขณะประกอบพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตน […] คณะกรรมการส่งเสริมวินัยนิสิตจึงเห็นควรให้มีการสอบสวนพิจารณาการกระทำดัง กล่าว […] เพื่อจัดให้มีคำสั่งลงโทษ”
ถึงแม้ผู้บริหารของจุฬาฯ มองว่าการกระทำของสมาชิกสภานิสิตทั้ง 8 คนทำให้จุฬาฯ เสื่อมเสียชื่อเสียง แต่ผู้คนจำนวนมากที่ได้เห็นคลิปวิดีโอของเหตุการณ์ดังกล่าว กลับเห็นว่าการกระทำของอาจารย์จำนวนหนึ่งต่างหากที่ทำให้จุฬาฯ เสื่อมเสียชื่อเสียง
4. ผู้คนจำนวนมากในสังคมได้เห็นหลักฐานภาพถ่ายและคลิปวิดีโอของเหตุการณ์ดัง กล่าวแล้ว หากการตัดสินของจุฬาฯ ขัดแย้งกับหลักฐานที่ปรากฏ ไม่เพียงแต่จะส่งผลให้ผู้บริหารจุฬาฯ ถูกพิพากษาจากสังคม แต่จะส่งผลต่อชื่อเสียงและเกียรติภูมิของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอย่างสำคัญ ในทางกลับกัน แม้จุฬาฯ ได้ประกาศว่าอธิการบดีได้มอบหมายให้สภาคณาจารย์แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน จรรยาบรรณของอาจารย์ผู้ปรากฏเป็นข่าว แต่สื่อมวลชนและสังคมจะติดตามอย่างใกล้ชิดว่าจะมีการจะเลือกปฏิบัติต่อกรณี นี้หรือไม่ ฉะนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารจุฬาฯ พึงพิจารณาเรื่องนี้อย่างมีสติรอบด้านและเที่ยงธรรม
จึงเรียน มาด้วยความหวังว่าในยุคที่พื้นที่สิทธิเสรีภาพในสังคมไทยหดแคบลงทุกขณะ มหาวิทยาลัยจะยังเป็นพื้นที่ที่อนุญาตให้สมาชิกของประชาคมได้มีสิทธิและ เสรีภาพขั้นพื้นฐานเหลืออยู่บ้าง
ด้วยความนับถือ
คณาจารย์และนักวิชาการไทย
14 สิงหาคม 2560
JJNY : 128 นักวิชาการ เรียกร้องจุฬาฯ ให้โอกาสคนรุ่นใหม่ ปม “เนติวิทย์” ย้ำอย่าแก้ปัญหาด้วยอำนาจ
ระบุว่า จากเหตุการณ์ความวุ่นวายในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนเป็นนิสิตจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม ที่ผ่านมา จนกลายเป็นข่าวใหญ่ตามสื่อต่างๆ และก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ความประพฤติของทั้งฝ่ายอาจารย์และนิสิตอย่าง กว้างขวาง ล่าสุดผู้บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รองศาสตราจารย์ ดร.บัญชา ชลาภิรมย์ รองอธิการบดีฝ่ายกำกับดูแลด้านการพัฒนานิสิตฯได้ลงนามในคำสั่งให้คณะกรรมการ ส่งเสริมวินัยนิสิต ดำเนินการสอบสวนการกระทำของสมาชิกสภานิสิตฯ จำนวน 8 คน ได้แก่
1. เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล ประธานสภานิสิต นิสิตคณะรัฐศาสตร์
2. ศุภลักษณ์ บำรุงกิจ รองประธานสภานิสิต นิสิตคณะเศรษฐศาสตร์
3. ธรณ์เทพ มณีเจริญ สภานิสิตสามัญ นิสิตคณะรัฐศาสตร์
4. ทัตเทพ เรืองประไพกิจเสรี สภานิสิตสามัญ นิสิตคณะรัฐศาสตร์
5. ชินวัตร งามละมัย สภานิสิตสามัญ นิสิตคณะครุศาสตร์
6. ชยางกูร ธรรมอัน กรรมาธิการสภานิสิต นิสิตคณะรัฐศาสตร์
7. ปิยะธิดา พัชรศิรสิทธิ์ กรรมาธิการสภานิสิต นิสิตคณะรัฐศาสตร์
8. ฐาปกร แก้วลังกา กรรมาธิการสภานิสิต นิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์
อนึ่ง นายเนติวิทย์ มีข้อหาเพิ่มเติมกรณีใช้สถานที่มหาวิทยาลัยโดยไม่ได้รับอนุญาตในการจัด ประชุมเพื่อรับฟังความเดือดร้อนผู้ค้าบริเวณสวนหลวงสแควร์
เหตุการณ์ ดังกล่าวทำให้คณาจารย์จากหลายสถาบันตามรายชื่อแนบท้าย วิตกกังวลต่อทั้งสิทธิเสรีภาพของนิสิตที่ถูกสอบสวนและต่อเกียรติภูมิของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงใคร่ขอเสนอความเห็นเพื่อให้ผู้บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้พิจารณาดัง ต่อไปนี้
1. ผู้บริหารจุฬาฯ อาจเห็นว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นเรื่องภายในของจุฬาฯ บุคคลภายนอกไม่ควรยุ่งเกี่ยว แต่หากพิจารณาว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นผลของความขัดแย้งทางความคิด ระหว่างคนรุ่นใหม่กับคนรุ่นเก่า อีกทั้งการกระทำและข้อเรียกร้องของสมาชิกสภานิสิตจุฬาฯ ในกรณีนี้ไม่ได้เกินเลยไปจากสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่นิสิตมีเป็นเบื้อง ต้นแล้ว การใช้อำนาจลงโทษโดยไม่คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของพวกเขา ย่อมเป็นสิ่งที่พวกเราในฐานะคณาจารย์ไม่อาจนิ่งเฉยอยู่ได้ เพราะหากจุฬาฯ ตัดสินว่านิสิตเหล่านี้กระทำผิด ก็เท่ากับเป็นการส่งสารถึงคนทั้งประเทศว่า ในอนาคตหากคนรุ่นใหม่คนใดหาญกล้าใช้สิทธิเสรีภาพที่พวกเขามีเป็นเบื้องต้นไป ตั้งคำถามต่อแนวทางปฏิบัติ จารีตประเพณี และความคิดความเชื่อของผู้มีอำนาจแล้ว พวกเขาก็จะถูกลงโทษเช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ คณาจารย์ที่เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก ย่อมต้องเข้าใจว่าจารีตประเพณี ค่านิยมและความเชื่อในทุกสังคม รวมทั้งสังคมไทยล้วนต้องปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับสังคมเศรษฐกิจและ การเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป และปัญญาชนคนรุ่นใหม่มักมีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้ ส่วนผู้มีอำนาจที่ปฏิเสธการเปลี่ยนแปลงและใช้อำนาจดิบลงโทษผู้ที่เห็นต่าง นั้นมักประสบกับการต่อต้านอย่างรุนแรง
หากมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ ไม่สามารถทำความเข้าใจเรื่องพื้นฐานนี้ได้แล้ว ความพยายามทุ่มเททรัพยากรมากมายเพื่อไต่ลำดับไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำ ของโลกก็เป็นเรื่องไร้สาระ
2. ขณะที่ฝ่ายนิสิตได้แสดงความเห็นโต้แย้งการหมอบกราบในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณฯ อย่างเป็นเหตุเป็นผลในพื้นที่สาธารณะมาตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่ฝ่ายผู้บริหารจุฬาฯ กลับยังไม่เคยแสดงเหตุผลโต้แย้งให้ปรากฏ ในเมื่อกรณีนี้เป็นเรื่องความขัดแย้งทางความคิดระหว่างฝ่ายผู้บริหารจุฬาฯ ที่ต้องการรักษาพิธีกรรมที่ได้ประดิษฐ์ขึ้นเมื่อราว 20 ปีที่แล้ว กับฝ่ายคนรุ่นใหม่ที่ไม่เห็นด้วยกับพิธีกรรมดังกล่าว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในฐานะที่เชื่อว่าตนเป็น “เสาหลักของแผ่นดิน” ก็พึงมีขันติอันหนักแน่น และใช้โอกาสนี้สร้างปัญญาให้แก่คนในประชาคมและสังคม ด้วยการเปิดพื้นที่ให้มีการถกเถียงอย่างมีสติเพื่อให้เห็นข้อดีข้อเสียของ ทั้งสองฝ่าย และแสวงหาแนวทางแก้ไขต่อไป ไม่ใช่แก้ปัญหาด้วยการใช้อำนาจกับนิสิต
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะกล้า กล่าวอ้างว่าตนเป็น “เสาหลักของแผ่นดิน” และภูมิปัญญาของสังคมได้หรือหากไม่สามารถจัดการกับความแตกต่างเพียงแค่นี้ เยี่ยงผู้มีปัญญาได้
แม้ว่าผู้บริหารจุฬาฯ มีอำนาจที่จะให้คุณให้โทษแก่สมาชิกของประชาคม แต่อำนาจนั้นพึงใช้อย่างยุติธรรมและชอบธรรม ประการสำคัญ ผู้บริหารจุฬาฯ ยังมีสถานะเป็น “ครูบาอาจารย์” ที่พึงมีใจเปิดกว้างต่อธรรมชาติอันแตกต่างหลากหลายและเร่าร้อนของคนรุ่นใหม่ หากผู้บริหารจุฬาฯ เห็นว่านิสิตทำไม่ถูก ก็พึงแก้ไขด้วยความปรารถนาดี ไม่ใช่มุ่งลงโทษหรือมุ่งขับไสพวกเขาออกไปจากประชาคม ประการสำคัญ การกระทำของนิสิตทั้ง 8 คนในกรณีนี้ ไม่ได้กระทำเพื่อผลประโยชน์ส่วนตน หากแต่มุ่งผลักดันสิ่งที่พวกเขาเชื่อว่าดีต่อสังคมโดยรวม
3. ในขณะที่การสอบสวนยังไม่ได้เริ่มขึ้น แต่ข้อความในคำสั่งที่ลงนามโดยรองอธิการบดีกลับส่อว่าผู้บริหารจุฬาฯ เห็นว่านิสิตเป็นฝ่ายกระทำความผิด ทำให้มหาวิทยาลัยเสื่อมเสียชื่อเสียง ดังข้อความที่ว่า “ด้วยเกิดเหตุการณ์และข่าวต่างๆ ใน social media ที่ส่งผลต่อชื่อเสียงของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรณีใช้สถานที่ราชการในการจัดประชุมโดยไม่รับอนุญาตและการแสดงพฤติกรรมที่ ไม่เหมาะสมโดยเจตนาเดินออกจากแถวขณะประกอบพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตน […] คณะกรรมการส่งเสริมวินัยนิสิตจึงเห็นควรให้มีการสอบสวนพิจารณาการกระทำดัง กล่าว […] เพื่อจัดให้มีคำสั่งลงโทษ”
ถึงแม้ผู้บริหารของจุฬาฯ มองว่าการกระทำของสมาชิกสภานิสิตทั้ง 8 คนทำให้จุฬาฯ เสื่อมเสียชื่อเสียง แต่ผู้คนจำนวนมากที่ได้เห็นคลิปวิดีโอของเหตุการณ์ดังกล่าว กลับเห็นว่าการกระทำของอาจารย์จำนวนหนึ่งต่างหากที่ทำให้จุฬาฯ เสื่อมเสียชื่อเสียง
4. ผู้คนจำนวนมากในสังคมได้เห็นหลักฐานภาพถ่ายและคลิปวิดีโอของเหตุการณ์ดัง กล่าวแล้ว หากการตัดสินของจุฬาฯ ขัดแย้งกับหลักฐานที่ปรากฏ ไม่เพียงแต่จะส่งผลให้ผู้บริหารจุฬาฯ ถูกพิพากษาจากสังคม แต่จะส่งผลต่อชื่อเสียงและเกียรติภูมิของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอย่างสำคัญ ในทางกลับกัน แม้จุฬาฯ ได้ประกาศว่าอธิการบดีได้มอบหมายให้สภาคณาจารย์แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน จรรยาบรรณของอาจารย์ผู้ปรากฏเป็นข่าว แต่สื่อมวลชนและสังคมจะติดตามอย่างใกล้ชิดว่าจะมีการจะเลือกปฏิบัติต่อกรณี นี้หรือไม่ ฉะนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารจุฬาฯ พึงพิจารณาเรื่องนี้อย่างมีสติรอบด้านและเที่ยงธรรม
จึงเรียน มาด้วยความหวังว่าในยุคที่พื้นที่สิทธิเสรีภาพในสังคมไทยหดแคบลงทุกขณะ มหาวิทยาลัยจะยังเป็นพื้นที่ที่อนุญาตให้สมาชิกของประชาคมได้มีสิทธิและ เสรีภาพขั้นพื้นฐานเหลืออยู่บ้าง
ด้วยความนับถือ
คณาจารย์และนักวิชาการไทย
14 สิงหาคม 2560