นักบริหารญี่ปุ่นต้องอ่าน “สามก๊ก” แล้วทำไมต้องอ่านด้วย อันที่จริงเรื่องนี้เป็นคำกล่าวที่พูดกันมาพอสมควร และไม่ใช่แค่สามก๊กเท่านั้น แต่นักบริหารญี่ปุ่นตั้งแต่ 3-4 ทศวรรษก่อน ได้รับคำแนะนำให้อ่านหนังสือมากมาย ที่จริงถ้าเป็นหนังสือยุคใหม่หรือของนักเขียนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารในยุคใหม่เลยก็ว่าไปอย่าง ตัวอย่างเช่นงานคลาสสิกด้านการบริหารของ Peter Drucker หรือของ Philip kotler
แต่ในบรรดาหนังสือแนะนำเหล่านั้น มีวรรณคดียุคโบราณอยู่จำนวนหนึ่งที่ผู้บริหารของญี่ปุ่นจำเป็นต้องอ่าน โดยเฉพาะของจีน จนกลายเป็นค่านิยมบางอย่างที่แพร่หลาย เพื่อนำเอาหลักคิด กลยุทธ์ ความรู้ มาใช้ให้ได้ผลจริง ได้แก่
1.สามก๊ก (ซานกว๋อเหยียนอี้) "The Romance of the Three Kingdoms"
2.ตำราพิชัยสงครามซุนจื่อ "The Art of War"
3.ไซอิ๋ว "The Journey to the West"
ส่วนตำราโบราณของญี่ปุ่นเองนั้น เล่มที่ผู้บริหารญี่ปุ่นควรต้องได้อ่านก็คือ "คัมภีร์ห้าห่วงของ มิยาโมโตะ มูซาชิ" และ "ตำราของพุทธเซ็น"
สามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ฉบับแปลครั้งแรกของไทย
สามก๊กฉบับเฉินโซ่ว
ทีนี้ เชื่อว่าหลายคนคงมีคำถามว่า แล้วทำไม นักบริหารญี่ปุ่นต้องอ่านวรรณกรรมจีนโบราณทั้งสามฉบับนี้ด้วย ว่ากันว่า สาเหตุเป็นเพราะหนังสือทั้งสามชุดนี้ให้แง่คิดสำคัญที่ทั้งคล้ายคลึงและแตกต่างกัน แต่มันมีเป้าหมายในการอ่าน นั่นคือ
"ตำราพิชัยสงครามซุนจื่อ" คนญี่ปุ่นเชื่อว่าอ่านก็เพื่อให้ได้ซึมซับ แนวคิด ทฤษฎี หลักการคิด โดยเฉพาะเรื่องหลักคิดในการบริหารข้อมูล ความสำคัญของการจัดการข่าวสาร กรองข้อมูล การเข้าใจหลักพิชัยยุทธ์เพื่อสร้างความได้เปรียบของฝ่ายตนและลดความเสี่ยงในการทำสงคราม ซึ่งในที่นี้ก็คือสนามธุรกิจและการค้า แล้วในช่วง 50 ปีหลังมานี้เอง ทางโรงเรียนนายร้อยหรือโรงเรียนเตรียมทหารของสหรัฐอเมริกาที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก รู้จักกันในชื่อ Westpoint (The United States Military Academy) เป็นสถาบันที่ให้ความสำคัญและสนใจเรื่องพิชัยสงครามซุนจื่อมาก ถึงขนาดนำซุนจื่อมาบรรจุเป็นหนึ่งในหลักสูตรและหนังสือที่นักการทหารอเมริกาจะต้องอ่าน โดยเฉพาะเรื่องการจัดการข้อมูลข่าวสารและปรับประยุกต์กลยุทธ์บางอย่างมาใช้ในโลกของการทำสงครามข่าวสารในปัจจุบัน แม้แต่ในสงครามอ่าวกับอิรัก ก็ว่ากันว่าได้นำซุนจื่อมาใช้เต็มที่
"สามก๊ก" เหตุที่ต้องอ่านก็เพราะสามก๊กนั้นอุดมไปด้วยตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมของพิชัยสงครามซุนจื่อ ทำให้เห็นภาพที่ชัดเจนมากจากเรื่องราวและเหตุการณ์ในเรื่อง และบุคลิกลักษณะของตัวละครสำคัญหลายคนในเรื่อง ซึ่งผู้อ่านสามารถใช้เป็นแบบอย่างในการติดต่อสื่อสาร การเจรจา การทำความเข้าใจต่ออีกฝ่าย โดยเฉพาะในทางธุรกิจก็คือ คู่ค้าที่เราต้องติดต่อด้วย ไม่ว่าจะเพื่อนำเสนองาน การอ่านความคิดอีกฝ่าย ปิดการขาย
"ไซอิ๋ว" นัยว่าเป็นการอ่านเพื่อให้ได้ซึมซับเรื่องหลักคุณธรรม คติธรรมสอนใจทางปรัชญาพุทธศาสนาสายมหายาน ไว้ใช้กำกับในการใช้ชีวิต และการทำงานในธุรกิจที่ต้องเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์จนบางครั้งอาจจะละเลยคุณธรรมพื้นฐานหรือเกิดความโลภมากเกินไปแล้วจะส่งผลเสียหายได้
แต่ในที่นี้ อยากขอกล่าวถึงสามก๊กเป็นประเด็นหลัก เพราะในบรรดาวรรณกรรมจีนโบราณทั้งสามเรื่องนี้ สามก๊กถือว่าเป็นหนังสือที่คนญี่ปุ่นทั่วไปอ่านและรู้จักกันแพร่หลายมากที่สุด แล้วที่น่าสนใจมากก็คือ ยิ่งเข้าสู่ยุคสมัยโลกาภิวัตน์หรือโลกยุค Digital และ Social Network มากเท่าไร สามก๊กกลับยิ่งได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆผ่านทางสื่อต่างๆ
มีเรื่องหนึ่งที่หลายคนอาจจะไม่ทราบก็คือ สามก๊กได้รับการแปลเป็นภาษาอื่นนอกไปจากภาษาจีนเป็นครั้งแรกนั้น ก็คือ การแปลเป็นภาษาญี่ปุ่นนั่นเอง ส่วนไทยเป็นชาติที่สองในโลกที่แปลสามก๊กครบตลอดทั้งเล่ม นั่นคือสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)
นั่นแสดงให้เห็นว่า ญี่ปุ่น (และไทยด้วย) ให้ความสำคัญและสนใจเรื่องสามก๊กมากขนาดไหน ยิ่งในทุกวันนี้ สามก๊กไม่ใช่เป็นเพียงหนังสือที่อ่านเฉพาะในบรรดานักธุรกิจหรือผู้บริหารเท่านั้น แต่แพร่หลายไปสู่คนทั่วไปในญี่ปุ่นอย่างมาก
เดิมทีแล้ว สำหรับคนจีนเอง มีมุมมองต่อสามก๊กว่าเป็นนิทานงิ้ว เป็นนิยายอิงพงศาวดารที่สั่งสอนเรื่องคุณธรรม ความภักดี การใช้กลยุทธ์เพื่อเอาชนะ แล้วต่อมาในทศวรรษ 80 ที่จีนและไต้หวันเองก็เริ่มเริ่มมีหนังสือสามก๊กประเภทคู่มือ (How-To) ปรากฏโฉมออกมาแล้วได้รับความนิยมมาก เพราะเน้นการนำเสนอการใช้ยุทธ์ศาสตร์ในสามก๊กที่มีความร่วมสมัย เล่มที่โด่งดังไม่น้อยคือ สามก๊กฉบับยุทธศาสตร์ของศาสตราจารย์เซี่ยซูจัง ซึ่งเป็นนักวิชาการที่มีดีกรีระดับจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด เป็นถึงรองประธานสถาบันวิทยาลัยจงซาน ได้เขียนตำราที่มีชื่อเสียงหลายเล่ม โดยเฉพาะด้านบริหาร นิติธรรม การบริหาร จิตวิทยา การแพทย์ บริหารบุคคลและรัฐ แล้วต่อมาจึงนำเอายุทธศาสตร์ในสามก๊กมาเขียนอธิบายในเชิงวิชาการแล้วอิงกลยุทธ์ในสามก๊กกับโลกยุคใหม่
แต่กว่าที่จีนจะเริ่มศึกษาสามก๊กในเชิงยุทธศาสตร์สมัยใหม่ ญี่ปุ่นศึกษาเรื่องนี้มานานแล้ว ด้วยว่าส่วนหนึ่งที่แฝงในแนวคิดของการสร้างชาติที่เคยแพ้สงครามให้กลับมาจากเถ้าถ่าน แล้วผงาดเป็นยักษ์ใหญ่ทางเศรษฐกิจและวิทยาการอุตสาหกรรมของโลกได้นั้น เป็นเพราะญี่ปุ่นได้นำองค์ความรู้จากจีนโบราณมาศึกษาอย่างจริงจัง สามก๊กก็คือหนึ่งในนั้น และอาจเรียกว่าเป็นเป็นชาติแรกก็ได้ที่นำสามก๊กมาศึกษาในเชิงยุทธ์ศาสตร์สำหรับวงการธุรกิจ การบริหาร และการเจรจาในโลกยุคใหม่อย่างจริงจัง ทำให้การอ่านสามก๊กในญี่ปุ่นจะมีสถานะของความเป็น “คู่มือยุทธ์ศาสตร์มากกว่าเป็นนิทานอิงประวัติศาสตร์”
มีข้อน่าสังเกตว่านักธุรกิจและนักบริหารชาวญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อย จะให้ความสำคัญกับเรื่องสามก๊กในแง่ของการเป็นตัวอย่างและแบบแผนสำหรับวิธีการต่อสู้ฝ่าฟันอุปสรรค และเป็นตัวอย่างที่ดีของการต่อสู้ในยุคสมัยอันสับสนวุ่นวายแต่ก็ยังยึดมั่นในหลักคุณธรรมไว้ได้ด้วย
หนึ่งในงานศึกษาสามก๊กในเชิงยุทธศาสตร์เพื่อการต่อสู้ขับเคี่ยวทางธุรกิจนั้น ฮิราอิวะ โตชิ อดีตผู้อำนวยการไฟฟ้าของกรุงโตเกียว ได้เขียนบทความวิพากษ์และแสดงทัศนะที่คนญี่ปุ่นจำนวนมากโดยเฉพาะในแวดวงธุรกิจ มีมุมมองต่อสามก๊กว่า ถ้าพวกเขาจะอ่านสามก๊กเพื่อนำมาใช้จริง ก็จะให้ความสำคัญกับ จดหมายเหตุสามก๊ก หรือบันทึกประวัติศาสตร์สามก๊ก “ซานกั๋วจื้อ” ที่เรียบเรียงโดยนักประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊กอย่างเฉินโซ่ว ขณะเดียวกัน ถ้าต้องการอ่านเพื่อทำความเข้าใจผู้คน หรือนำหลักคิดมาเป็นแบบอย่าง แล้วเอาความบันเทิงเป็นหลัก ก็จะอ่านจากวรรณกรรมสามก๊กของหลอก้วนจง
ฮิราอิวะชี้ว่า นักธุรกิจญี่ปุ่นมองสามก๊กว่า มันสะท้อนให้เห็นถึงภาวะผู้นำและตัวบุคคลที่ได้ต่อสู้และประสบความสำเร็จขึ้นเป็นพิเศษ เป็นตำรามนุษยศาสตร์ที่ทรงคุณค่า เป็นการมองเข้าไปภายในตัวมนุษย์ ส่วนเรื่องของกลยุทธ์ทางทหาร ตำราพิชัยสงคราม เป็นสิ่งที่ตามมาเอง
ตัวอย่างเช่น คนญี่ปุ่นจะสนใจว่า ผู้นำทั้งคนในเรื่องสามก๊กเช่น โจโฉ เล่าปี่ และซุนกวน พวกเขาเหล่านี้ก่อร่างสร้างตัวได้อย่างไร ในขณะที่คนอื่นล้มเหลว แล้วพยายามวิเคราะห์เข้าไปถึงภายในผู้นำเหล่านั้น จึงไม่น่าแปลกที่ว่าทำไม โจโฉ และ ขงเบ้ง สองคนนี้กลายเป็นตัวละครที่คนญี่ปุ่นชื่นชอบและสนใจศึกษากันมามากหลายทศวรรษ โดยเฉพาะคนอ่านระดับนักบริหาร เพราะทั้งสองสามารถบริหารปกครองอาณาจักร และคงไว้ซึ่งความเป็นผู้นำที่แม้ว่าจะอยู่ในยุคสมัยที่วุ่นวาย แต่ก็ยังคงความเป็นมนุษย์ไว้ได้ ซึ่งก็แน่นอนว่า คนไทยและคนจีนก็จะชอบตัวละครอื่นไม่เหมือนกันอีก ยิ่งมายุคหลังๆ ค่านิยม และทัศนะของผู้คนที่เปลี่ยนไป ทำให้ตัวละครบางคนได้รับความนิยมขึ้นมา อย่างเช่นของไทยเราจะเห็นได้ชัดมากๆเลยว่า จูล่ง นับวันยิ่งได้รับความชื่นชอบจากคนไทยรุ่นใหม่ๆ ที่นอกจากอ่านสามก๊กแล้วยังได้ดูการ์ตูน เล่นเกม และอื่นๆ จนประทับใจความกล้าหาญ ภักดี สุขุมเยือกเย็น และความเป็นคนที่ไม่ใฝ่หาลาภยศหรือทรนงตนเกินเหตุ ในขณะที่ญี่ปุ่นนั้น ความชอบในขงเบ้งและโจโฉก็ยังคงอยู่มาก แต่ตัวละครอื่นๆก็ได้รับความนิยมสูงขึ้นไม่น้อย
ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า ส่วนหนึ่งอาจเพราะสังคมญี่ปุ่นในสมัยก่อน มาจนถึงยุคหลังสงครามโลกที่ผู้คนเผชิญหน้าการเปลี่ยนแปลงอย่างสุดขั้ว มีความเป็นสังคมแบบปิด เป็นปัจเจกสูงมาก แต่ขณะเดียวกันก็เต็มไปด้วยจิตสำนึกร่วมต่อท้องถิ่น ผู้คนมีความจริงจัง ต้องอยู่กับตัวเองมาก มีพิธีกรรมมากมาย ทั้งจารีต ความเคร่งครัดในการใช้ชีวิต ระเบียบวินัยระดับชั้นสูงสุดที่รับมาจากวัฒนธรรมซามูไร และเป็นประเทศที่ผู้คนต้องอยู่อาศัยและต่อสู้กับภัยธรรมชาติที่โหดร้าย ทั้งหมดนี้จึงมีส่วนให้คนญี่ปุ่นมองสามก๊กเป็นคู่มือสำหรับเข้าใจมนุษย์ที่จำเป็นต้องรู้ แม้ว่าโลกจะเข้าสู่ยุคสมัยแห่ง Social ขนาดไหนก็ตาม แต่ความรู้ในสามก๊กยังร่วมสมัยอยู่เสมอ และคนญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อยก็ไม่ได้มองว่าสามก๊กเป็นอะไรที่เป็นจีนจ๋าไปเสียอย่างนั้น ทั้งนี้ก็ต้องมาดูว่า ต่อไป สามก๊กในญี่ปุ่นจะพัฒนาไปไกลถึงขนาดไหนอีก
สาเหตุที่นักบริหารญี่ปุ่นต้องอ่านสามก๊ก และวรรณคดีจีนโบราณอย่างเช่น พิชัยสงครามซุนจื่อ และ ไซอิ๋ว
แต่ในบรรดาหนังสือแนะนำเหล่านั้น มีวรรณคดียุคโบราณอยู่จำนวนหนึ่งที่ผู้บริหารของญี่ปุ่นจำเป็นต้องอ่าน โดยเฉพาะของจีน จนกลายเป็นค่านิยมบางอย่างที่แพร่หลาย เพื่อนำเอาหลักคิด กลยุทธ์ ความรู้ มาใช้ให้ได้ผลจริง ได้แก่
1.สามก๊ก (ซานกว๋อเหยียนอี้) "The Romance of the Three Kingdoms"
2.ตำราพิชัยสงครามซุนจื่อ "The Art of War"
3.ไซอิ๋ว "The Journey to the West"
ส่วนตำราโบราณของญี่ปุ่นเองนั้น เล่มที่ผู้บริหารญี่ปุ่นควรต้องได้อ่านก็คือ "คัมภีร์ห้าห่วงของ มิยาโมโตะ มูซาชิ" และ "ตำราของพุทธเซ็น"
สามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ฉบับแปลครั้งแรกของไทย
สามก๊กฉบับเฉินโซ่ว
ทีนี้ เชื่อว่าหลายคนคงมีคำถามว่า แล้วทำไม นักบริหารญี่ปุ่นต้องอ่านวรรณกรรมจีนโบราณทั้งสามฉบับนี้ด้วย ว่ากันว่า สาเหตุเป็นเพราะหนังสือทั้งสามชุดนี้ให้แง่คิดสำคัญที่ทั้งคล้ายคลึงและแตกต่างกัน แต่มันมีเป้าหมายในการอ่าน นั่นคือ
"ตำราพิชัยสงครามซุนจื่อ" คนญี่ปุ่นเชื่อว่าอ่านก็เพื่อให้ได้ซึมซับ แนวคิด ทฤษฎี หลักการคิด โดยเฉพาะเรื่องหลักคิดในการบริหารข้อมูล ความสำคัญของการจัดการข่าวสาร กรองข้อมูล การเข้าใจหลักพิชัยยุทธ์เพื่อสร้างความได้เปรียบของฝ่ายตนและลดความเสี่ยงในการทำสงคราม ซึ่งในที่นี้ก็คือสนามธุรกิจและการค้า แล้วในช่วง 50 ปีหลังมานี้เอง ทางโรงเรียนนายร้อยหรือโรงเรียนเตรียมทหารของสหรัฐอเมริกาที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก รู้จักกันในชื่อ Westpoint (The United States Military Academy) เป็นสถาบันที่ให้ความสำคัญและสนใจเรื่องพิชัยสงครามซุนจื่อมาก ถึงขนาดนำซุนจื่อมาบรรจุเป็นหนึ่งในหลักสูตรและหนังสือที่นักการทหารอเมริกาจะต้องอ่าน โดยเฉพาะเรื่องการจัดการข้อมูลข่าวสารและปรับประยุกต์กลยุทธ์บางอย่างมาใช้ในโลกของการทำสงครามข่าวสารในปัจจุบัน แม้แต่ในสงครามอ่าวกับอิรัก ก็ว่ากันว่าได้นำซุนจื่อมาใช้เต็มที่
"สามก๊ก" เหตุที่ต้องอ่านก็เพราะสามก๊กนั้นอุดมไปด้วยตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมของพิชัยสงครามซุนจื่อ ทำให้เห็นภาพที่ชัดเจนมากจากเรื่องราวและเหตุการณ์ในเรื่อง และบุคลิกลักษณะของตัวละครสำคัญหลายคนในเรื่อง ซึ่งผู้อ่านสามารถใช้เป็นแบบอย่างในการติดต่อสื่อสาร การเจรจา การทำความเข้าใจต่ออีกฝ่าย โดยเฉพาะในทางธุรกิจก็คือ คู่ค้าที่เราต้องติดต่อด้วย ไม่ว่าจะเพื่อนำเสนองาน การอ่านความคิดอีกฝ่าย ปิดการขาย
"ไซอิ๋ว" นัยว่าเป็นการอ่านเพื่อให้ได้ซึมซับเรื่องหลักคุณธรรม คติธรรมสอนใจทางปรัชญาพุทธศาสนาสายมหายาน ไว้ใช้กำกับในการใช้ชีวิต และการทำงานในธุรกิจที่ต้องเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์จนบางครั้งอาจจะละเลยคุณธรรมพื้นฐานหรือเกิดความโลภมากเกินไปแล้วจะส่งผลเสียหายได้
แต่ในที่นี้ อยากขอกล่าวถึงสามก๊กเป็นประเด็นหลัก เพราะในบรรดาวรรณกรรมจีนโบราณทั้งสามเรื่องนี้ สามก๊กถือว่าเป็นหนังสือที่คนญี่ปุ่นทั่วไปอ่านและรู้จักกันแพร่หลายมากที่สุด แล้วที่น่าสนใจมากก็คือ ยิ่งเข้าสู่ยุคสมัยโลกาภิวัตน์หรือโลกยุค Digital และ Social Network มากเท่าไร สามก๊กกลับยิ่งได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆผ่านทางสื่อต่างๆ
มีเรื่องหนึ่งที่หลายคนอาจจะไม่ทราบก็คือ สามก๊กได้รับการแปลเป็นภาษาอื่นนอกไปจากภาษาจีนเป็นครั้งแรกนั้น ก็คือ การแปลเป็นภาษาญี่ปุ่นนั่นเอง ส่วนไทยเป็นชาติที่สองในโลกที่แปลสามก๊กครบตลอดทั้งเล่ม นั่นคือสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)
นั่นแสดงให้เห็นว่า ญี่ปุ่น (และไทยด้วย) ให้ความสำคัญและสนใจเรื่องสามก๊กมากขนาดไหน ยิ่งในทุกวันนี้ สามก๊กไม่ใช่เป็นเพียงหนังสือที่อ่านเฉพาะในบรรดานักธุรกิจหรือผู้บริหารเท่านั้น แต่แพร่หลายไปสู่คนทั่วไปในญี่ปุ่นอย่างมาก
เดิมทีแล้ว สำหรับคนจีนเอง มีมุมมองต่อสามก๊กว่าเป็นนิทานงิ้ว เป็นนิยายอิงพงศาวดารที่สั่งสอนเรื่องคุณธรรม ความภักดี การใช้กลยุทธ์เพื่อเอาชนะ แล้วต่อมาในทศวรรษ 80 ที่จีนและไต้หวันเองก็เริ่มเริ่มมีหนังสือสามก๊กประเภทคู่มือ (How-To) ปรากฏโฉมออกมาแล้วได้รับความนิยมมาก เพราะเน้นการนำเสนอการใช้ยุทธ์ศาสตร์ในสามก๊กที่มีความร่วมสมัย เล่มที่โด่งดังไม่น้อยคือ สามก๊กฉบับยุทธศาสตร์ของศาสตราจารย์เซี่ยซูจัง ซึ่งเป็นนักวิชาการที่มีดีกรีระดับจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด เป็นถึงรองประธานสถาบันวิทยาลัยจงซาน ได้เขียนตำราที่มีชื่อเสียงหลายเล่ม โดยเฉพาะด้านบริหาร นิติธรรม การบริหาร จิตวิทยา การแพทย์ บริหารบุคคลและรัฐ แล้วต่อมาจึงนำเอายุทธศาสตร์ในสามก๊กมาเขียนอธิบายในเชิงวิชาการแล้วอิงกลยุทธ์ในสามก๊กกับโลกยุคใหม่
แต่กว่าที่จีนจะเริ่มศึกษาสามก๊กในเชิงยุทธศาสตร์สมัยใหม่ ญี่ปุ่นศึกษาเรื่องนี้มานานแล้ว ด้วยว่าส่วนหนึ่งที่แฝงในแนวคิดของการสร้างชาติที่เคยแพ้สงครามให้กลับมาจากเถ้าถ่าน แล้วผงาดเป็นยักษ์ใหญ่ทางเศรษฐกิจและวิทยาการอุตสาหกรรมของโลกได้นั้น เป็นเพราะญี่ปุ่นได้นำองค์ความรู้จากจีนโบราณมาศึกษาอย่างจริงจัง สามก๊กก็คือหนึ่งในนั้น และอาจเรียกว่าเป็นเป็นชาติแรกก็ได้ที่นำสามก๊กมาศึกษาในเชิงยุทธ์ศาสตร์สำหรับวงการธุรกิจ การบริหาร และการเจรจาในโลกยุคใหม่อย่างจริงจัง ทำให้การอ่านสามก๊กในญี่ปุ่นจะมีสถานะของความเป็น “คู่มือยุทธ์ศาสตร์มากกว่าเป็นนิทานอิงประวัติศาสตร์”
มีข้อน่าสังเกตว่านักธุรกิจและนักบริหารชาวญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อย จะให้ความสำคัญกับเรื่องสามก๊กในแง่ของการเป็นตัวอย่างและแบบแผนสำหรับวิธีการต่อสู้ฝ่าฟันอุปสรรค และเป็นตัวอย่างที่ดีของการต่อสู้ในยุคสมัยอันสับสนวุ่นวายแต่ก็ยังยึดมั่นในหลักคุณธรรมไว้ได้ด้วย
หนึ่งในงานศึกษาสามก๊กในเชิงยุทธศาสตร์เพื่อการต่อสู้ขับเคี่ยวทางธุรกิจนั้น ฮิราอิวะ โตชิ อดีตผู้อำนวยการไฟฟ้าของกรุงโตเกียว ได้เขียนบทความวิพากษ์และแสดงทัศนะที่คนญี่ปุ่นจำนวนมากโดยเฉพาะในแวดวงธุรกิจ มีมุมมองต่อสามก๊กว่า ถ้าพวกเขาจะอ่านสามก๊กเพื่อนำมาใช้จริง ก็จะให้ความสำคัญกับ จดหมายเหตุสามก๊ก หรือบันทึกประวัติศาสตร์สามก๊ก “ซานกั๋วจื้อ” ที่เรียบเรียงโดยนักประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊กอย่างเฉินโซ่ว ขณะเดียวกัน ถ้าต้องการอ่านเพื่อทำความเข้าใจผู้คน หรือนำหลักคิดมาเป็นแบบอย่าง แล้วเอาความบันเทิงเป็นหลัก ก็จะอ่านจากวรรณกรรมสามก๊กของหลอก้วนจง
ฮิราอิวะชี้ว่า นักธุรกิจญี่ปุ่นมองสามก๊กว่า มันสะท้อนให้เห็นถึงภาวะผู้นำและตัวบุคคลที่ได้ต่อสู้และประสบความสำเร็จขึ้นเป็นพิเศษ เป็นตำรามนุษยศาสตร์ที่ทรงคุณค่า เป็นการมองเข้าไปภายในตัวมนุษย์ ส่วนเรื่องของกลยุทธ์ทางทหาร ตำราพิชัยสงคราม เป็นสิ่งที่ตามมาเอง
ตัวอย่างเช่น คนญี่ปุ่นจะสนใจว่า ผู้นำทั้งคนในเรื่องสามก๊กเช่น โจโฉ เล่าปี่ และซุนกวน พวกเขาเหล่านี้ก่อร่างสร้างตัวได้อย่างไร ในขณะที่คนอื่นล้มเหลว แล้วพยายามวิเคราะห์เข้าไปถึงภายในผู้นำเหล่านั้น จึงไม่น่าแปลกที่ว่าทำไม โจโฉ และ ขงเบ้ง สองคนนี้กลายเป็นตัวละครที่คนญี่ปุ่นชื่นชอบและสนใจศึกษากันมามากหลายทศวรรษ โดยเฉพาะคนอ่านระดับนักบริหาร เพราะทั้งสองสามารถบริหารปกครองอาณาจักร และคงไว้ซึ่งความเป็นผู้นำที่แม้ว่าจะอยู่ในยุคสมัยที่วุ่นวาย แต่ก็ยังคงความเป็นมนุษย์ไว้ได้ ซึ่งก็แน่นอนว่า คนไทยและคนจีนก็จะชอบตัวละครอื่นไม่เหมือนกันอีก ยิ่งมายุคหลังๆ ค่านิยม และทัศนะของผู้คนที่เปลี่ยนไป ทำให้ตัวละครบางคนได้รับความนิยมขึ้นมา อย่างเช่นของไทยเราจะเห็นได้ชัดมากๆเลยว่า จูล่ง นับวันยิ่งได้รับความชื่นชอบจากคนไทยรุ่นใหม่ๆ ที่นอกจากอ่านสามก๊กแล้วยังได้ดูการ์ตูน เล่นเกม และอื่นๆ จนประทับใจความกล้าหาญ ภักดี สุขุมเยือกเย็น และความเป็นคนที่ไม่ใฝ่หาลาภยศหรือทรนงตนเกินเหตุ ในขณะที่ญี่ปุ่นนั้น ความชอบในขงเบ้งและโจโฉก็ยังคงอยู่มาก แต่ตัวละครอื่นๆก็ได้รับความนิยมสูงขึ้นไม่น้อย
ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า ส่วนหนึ่งอาจเพราะสังคมญี่ปุ่นในสมัยก่อน มาจนถึงยุคหลังสงครามโลกที่ผู้คนเผชิญหน้าการเปลี่ยนแปลงอย่างสุดขั้ว มีความเป็นสังคมแบบปิด เป็นปัจเจกสูงมาก แต่ขณะเดียวกันก็เต็มไปด้วยจิตสำนึกร่วมต่อท้องถิ่น ผู้คนมีความจริงจัง ต้องอยู่กับตัวเองมาก มีพิธีกรรมมากมาย ทั้งจารีต ความเคร่งครัดในการใช้ชีวิต ระเบียบวินัยระดับชั้นสูงสุดที่รับมาจากวัฒนธรรมซามูไร และเป็นประเทศที่ผู้คนต้องอยู่อาศัยและต่อสู้กับภัยธรรมชาติที่โหดร้าย ทั้งหมดนี้จึงมีส่วนให้คนญี่ปุ่นมองสามก๊กเป็นคู่มือสำหรับเข้าใจมนุษย์ที่จำเป็นต้องรู้ แม้ว่าโลกจะเข้าสู่ยุคสมัยแห่ง Social ขนาดไหนก็ตาม แต่ความรู้ในสามก๊กยังร่วมสมัยอยู่เสมอ และคนญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อยก็ไม่ได้มองว่าสามก๊กเป็นอะไรที่เป็นจีนจ๋าไปเสียอย่างนั้น ทั้งนี้ก็ต้องมาดูว่า ต่อไป สามก๊กในญี่ปุ่นจะพัฒนาไปไกลถึงขนาดไหนอีก