(ที่มาhttps://thisable.me/content/2017/07/229)
ร่วมพูดคุยกับ บอส นฤเบศ กูโน ผู้กำกับหน้าใหม่ไฟแรงผู้ให้กำเนิดซีรีส์ “SideBySide พี่น้องลูกขนไก่” ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวความรักของครอบครัวนักกีฬาที่แสนอบอุ่น ผ่านตัวละครแม่ม่ายสองพี่น้อง แม่ตั้มกับแม่แตง ที่ต่างก็มีลูกชายด้วยกันทั้งคู่ ‘ยิม’ ลูกแม่ตั้มมีภาวะออทิสติก ส่วน ‘โด่ง’ ลูกแม่แตงเป็นคู่หูของพี่ยิม เรื่องราวของครอบครัวนี้จึงถูกถ่ายทอดผ่านทางกีฬาแบดมินตันและความสัมพันธ์แบบพี่น้องด้วยประเด็นที่ยังไม่เคยถูกนำเสนอมาก่อนอย่าง นี่จึงเป็นซีรีส์เรื่องแรกที่นำเสนอประเด็น ‘ออทิสติก’ อย่างลึกซึ้ง ซึ่งนอกจากบอสจะลงมือกำกับด้วยตนเองแล้วยังเป็นหนึ่งในทีมเขียนบทเรื่องนี้อีกด้วย
เหตุผลและแรงบันดาลใจที่ทำให้เลือกหยิบประเด็น ‘ออทิสติก’ มาเล่าเรื่องในซีรีส์กีฬา
นฤเบศ: เริ่มต้นจากได้หัวข้อเป็นกีฬาแบดมินตันก็มาคิดต่อว่า อยากทำประเด็นอะไรที่น่าสนใจเกี่ยวกับกีฬานี้ เลยคิดถึงเวลาเราเล่นแบดมินตันหน้าบ้าน ซึ่งดูทั่วไปดี ทุกครอบครัวต้องเคยเล่นด้วยกันหน้าบ้าน เลยเลือกหยิบประเด็นแบดมินตันที่เกี่ยวกับครอบครัวขึ้นมาและลงลึกไปอีกว่า ครอบครัวแบบไหนจะทำให้รู้สึกน่าสนใจในการนำเสนอเป็นซีรีส์ ลองหาหลายรูปแบบมากจนไปเจอสิ่งหนึ่งคือ ออทิสติก
เคยมีประสบการณ์ร่วมกับคนที่เป็นออทิสติกไหม
บอสมีน้องชายเป็นออทิสติก เป็นน้องชายลูกของคุณน้า จะคล้ายกับพี่ยิมเลยคือ มีความร่าเริงสดใส แต่พอหงุดหงิดไม่พอใจก็จะเขวี้ยงของ อารมณ์จะขึ้นๆ ลงๆ เยอะ โตมากับน้องคนนี้ตลอด เราเห็นพัฒนาการเขา ตอน 8 ขวบ เขาเป็นอย่างนี้ พอเข้าสู่วัยรุ่นอายุ15 เขาก็ยังคงเป็นอย่างนี้อยู่ ทุกอย่างเหมือนถูกหยุดเอาไว้ เลยมีความคุ้นชินอยู่กับเด็กออทิสติกตลอดเวลา
นิยามของออทิสติกสำหรับตัวเราคืออะไร
เขาเป็นเด็กปกติทั่วไปแต่แค่พัฒนาช้า เด็กบางคนที่เป็น High Function ใช้ชีวิตประจำวัน เดินสยาม เดินห้างสรรพสินค้า เราเห็นเขาอย่างนั้นเราอาจจะไม่รู้ พอเริ่มคุยถึงรู้ว่าเขามีอะไรบางอย่างที่ไม่เหมือนเรา เช่น วิธีคิดที่ช้าลง หรือการตอบโต้สื่อสารที่ไม่ตรงกัน
เรื่องอะไรบ้างเกี่ยวกับออทิสติกที่คนทั่วไปยังไม่รู้และสังคมยังเข้าใจผิด
หลายคนคิดว่าออทิสติกคือปัญญาอ่อน แต่ที่จริงไม่ใช่ อาจจะมีบางประเภทที่ดูคล้ายปัญญาอ่อนแต่ก็มีอีกประเภทเหมือนกันที่เป็นเด็กอัจฉริยะ และด้วยพัฒนาการที่ช้า-สื่อสารได้น้อย เมื่อเจอสิ่งที่ชอบหรือสนใจเขาจะจำแล้วก็จะยึดมั่นสิ่งนั้นมากทำให้เขาเนิร์ดสิ่งนั้น เหมือนพี่ยิมในเรื่องที่ชอบแบดมินตันก็เลยเนิร์ดแบดมินตัน แล้วก็เป็นอัจฉริยะไปโดยปริยาย ในขณะเดียวกัน สิ่งที่คนดูยังไม่รู้อีกคือเมื่อเขาเนิร์ดสิ่งนั้นกลับกลายเป็นว่าบางเรื่องก็ยืดหยุ่นไม่ได้ พอเขารู้ว่า ตัวเองชอบสิ่งนี้ก็จะจำว่าต้องทำแบบนี้ เช่น พี่ยิมต้องซ้อมทุกสี่โมงแล้วเลิกซ้อมตอนสองทุ่มทุกวัน ซึ่งผู้ปกครองที่มีลูกหลานที่เป็นออทิสติกก็ต้องคอยบอกคอยสอน
แล้วออทิสติกมีกี่แบบกันนะ
เด็กออทิสติก 100 คนก็เป็น100แบบเลย เหมือนเราเป็นเด็กคนหนึ่งซึ่งคนคนหนึ่งก็มีนิสัยหลายแบบ ออทิสติกก็เช่นกัน ถ้าสมมติจะแบ่งประเภทง่ายๆ ก็คงแบ่งเป็น 2 แบบ คือ Low Function เป็นออทิสติกที่ไม่ค่อยมีความสามารถ สื่อสารไม่ค่อยได้ ไม่รู้ว่าตัวเองทำอะไรได้ดี เชื่องช้า กับ High Function ที่พูดโต้ตอบได้และมีความสามารถ เหมือนกับพี่ยิมที่เป็นนักแบดมินตันอัจฉริยะ
ทำไมเลือกใช้ความสัมพันธ์แบบครอบครัว-พี่น้องในการเล่าเรื่อง
ในเมืองไทยมีซีรีส์ที่เกี่ยวกับคู่รักที่เป็นความสัมพันธ์แบบพระเอก-นางเอกเยอะแล้ว เลยมีไอเดียใหม่ขึ้นว่าอยากลองทำตัวละครแม่ให้เป็นนางเอก แล้วทำตัวละครลูกชายให้เป็นพระเอกดู รู้สึกว่า ในประเทศไทยยังไม่มีใครเคยทำ ซึ่งไม่รู้ว่าดีหรือเปล่า (หัวเราะ) แต่อยากลองทำสิ่งใหม่ดู พอได้ตัวละครแล้ว บวกกับประเด็นเรื่องออทิสติกมา ก็ตั้งคำถามต่อว่า เคมีแบบไหนที่เจอกับเด็กที่เป็นออทิสติกแล้วจะเกิดความขัดแย้งและน่าสนใจ
เลยกลายมาเป็นพี่ยิมที่เป็นออทิสติกกับน้องโด่งเด็กขี้อิจฉา
หลายครอบครัวเวลามีพี่น้อง ไม่จำเป็นต้องเป็นออทิสติกก็ได้ มักจะมีพี่หรือน้องคนใดคนหนึ่งรู้สึกว่าแม่ลำเอียง แม่รักคนนี้มากกว่า แม่ซื้อของให้คนนี้มากกว่า หรือบางทีเราต้องใช้รองเท้าต่อจากพี่ ซึ่งเป็นประเด็นที่พบได้ทั่วไปมาก พอเอามาลองผูกกับเรื่องออทิสติกจึงเกิดเป็นตัวละครน้องซึ่งเป็นเด็กขี้อิจฉาขึ้นมา
แล้วพฤติกรรมแบบไหนบ้างของพ่อแม่ที่เด็กที่เป็นออทิสติกไม่ชอบ
เดี๋ยวในเรื่องจะมีเฉลยในตอนต่อไป
ทำไมพี่ยิมในเรื่องไม่ค่อยสบตาคน เป็นหนึ่งในอาการของออทิสติกหรือเปล่า
โดยส่วนใหญ่นะ อาจจะไม่ใช่ทุกคน พอเกิดมาแล้วพัฒนาการช้า สิ่งแรกที่จะเห็นได้ชัดเลยว่าเขาเป็นออทิสติกคือเขาจะไม่สบตาคน เวลาเล่นด้วยตาเขาจะลอยๆ ฉะนั้นแม่ต้องพยายามสอนให้ตัวเด็กที่เป็นออทิสติกค่อยๆสบตาทุกคน อย่างในเรื่อง พี่ยิมเขาก็สบตาทุกคนซึ่งเป็นคนที่เขารัก แต่ถ้าคนไหนที่เขาฝังใจเขาจะไม่สบตาด้วยโดยเฉพาะกับแม่ตั้ม พี่ยิมจะไม่สบตามาตั้งแต่เด็กจนโต เพราะว่าเขาไม่ชอบและไม่ไว้ใจคนคนนี้
ฉากเกลียดอีตั้มพี่ยิมเกลียดแม่ตั้มจริงหรือเปล่า
ซีนนี้เป็นซีนที่จะเล่าว่า คนที่เป็นออทิสติกเวลาเขารักใครเขารักจริง และถ้าเขาเกลียดใครเขาเกลียดจริง ซึ่งมีความซับซ้อนตรงที่ว่า พอเวลาเขาโมโหแม่ จะต่อยแม่ แล้วบอกว่าเกลียดอีตั้ม ดูเหมือนเขาเกลียดแม่มาก แต่ว่าสุดท้ายแล้วเขาเลือกที่จะต่อยกำแพงแทน ซึ่งมันซ่อนความรักของเด็กคนนี้อยู่แต่มันถูกบดบังไปด้วยความรู้สึกว่าเขาไม่ชอบคนนั้น เขาไม่ชอบคนนี้อยู่ แต่ในใจลึกๆ เขารักมาก
ทำไมต้องมีตัวละครแม่สองคนในเรื่อง
พอได้เรื่องพี่น้องที่เป็นพี่ชายกับน้องชาย ก็เลยอยากหาประเด็นอะไรก็ได้ที่ทำให้ตัวละครแม่ไม่เหมือนในเรื่องอื่นๆทั่วไป ก็เลยสร้างตัวละครแม่ขึ้นมาสองคนให้เป็นพี่น้องกันเพื่อเล่าความสัมพันธ์พี่น้องแบบจัดเต็ม
ในเรื่องน้องโด่งต้องคอยยอมพี่ยิมอยู่ตลอดความเท่ากันในการอยู่ร่วมกันของพี่น้องคู่นี้อยู่ตรงไหน
ในเมื่อเราเลือกไม่ได้ว่าเราจะมีลูกที่เป็นออทิสติก หรือเกิดมาในสังคมที่ต้องมีเพื่อนที่เป็นออทิสติก และต้องยอมรับว่าคนที่เป็นออทิสติกไม่ได้เป็นส่วนใหญ่ในสังคม แต่ว่าเขาก็ไม่ได้ผิดแปลกจนเราอยู่ร่วมกับเขาไม่ได้ ฉะนั้น มันมีบางอย่างที่เราต้องทำความเข้าใจกับเขา บางอย่างเขาอาจจะต้องได้รับมากกว่าเรา บางทีเราอาจต้องใช้ทั้งเวลาและสมาธิในการอยู่กับเขา และเป็นเรื่องปกติของเด็กที่เป็นออทิสติกเมื่ออยู่ในครอบครัวแล้วแม่จะให้สนใจมากกว่าเพราะเขาต้องใช้เวลามากกว่าในการทำสิ่งต่างๆ อย่างบางทีเราหัดกินข้าว มือซ้ายจับส้อม มือขวาจับช้อน เราลองทำครั้งแรกก็ทำได้เลย แต่เมื่อเป็นออทิสติกที่พัฒนาการช้า เขาต้องใช้เวลาเกือบปีกว่าจะทำได้ ซึ่งนอกจากจะต้องเห็นความอดทนของพ่อแม่แล้ว เราที่อยู่ใกล้ชิดกับเขา ก็ต้องเข้าใจเขาด้วยว่า บางทีเราอาจจะไม่ได้รับบางสิ่งเท่าเขา ซึ่งก็ไม่เป็นไร อย่ามัวมาคิดว่า ทำไมเราถึงได้น้อยกว่าเขาหรือทำไมเราถึงไม่ได้เท่าเขา ไม่จำเป็นต้องเปรียบเทียบกันเลย ในเมื่อเราโตมาไม่เหมือนกัน เกิดมาไม่เหมือนกัน
บทสัมภาษณ์ บอส นฤเบศ กูโน ผกก.ซีรีส์ Side By Side พี่น้องลูกขนไก่ "ออทิสติก" จะไม่ใช่เรื่องเฉพาะกลุ่มอีกต่อไป
ร่วมพูดคุยกับ บอส นฤเบศ กูโน ผู้กำกับหน้าใหม่ไฟแรงผู้ให้กำเนิดซีรีส์ “SideBySide พี่น้องลูกขนไก่” ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวความรักของครอบครัวนักกีฬาที่แสนอบอุ่น ผ่านตัวละครแม่ม่ายสองพี่น้อง แม่ตั้มกับแม่แตง ที่ต่างก็มีลูกชายด้วยกันทั้งคู่ ‘ยิม’ ลูกแม่ตั้มมีภาวะออทิสติก ส่วน ‘โด่ง’ ลูกแม่แตงเป็นคู่หูของพี่ยิม เรื่องราวของครอบครัวนี้จึงถูกถ่ายทอดผ่านทางกีฬาแบดมินตันและความสัมพันธ์แบบพี่น้องด้วยประเด็นที่ยังไม่เคยถูกนำเสนอมาก่อนอย่าง นี่จึงเป็นซีรีส์เรื่องแรกที่นำเสนอประเด็น ‘ออทิสติก’ อย่างลึกซึ้ง ซึ่งนอกจากบอสจะลงมือกำกับด้วยตนเองแล้วยังเป็นหนึ่งในทีมเขียนบทเรื่องนี้อีกด้วย
เหตุผลและแรงบันดาลใจที่ทำให้เลือกหยิบประเด็น ‘ออทิสติก’ มาเล่าเรื่องในซีรีส์กีฬา
นฤเบศ: เริ่มต้นจากได้หัวข้อเป็นกีฬาแบดมินตันก็มาคิดต่อว่า อยากทำประเด็นอะไรที่น่าสนใจเกี่ยวกับกีฬานี้ เลยคิดถึงเวลาเราเล่นแบดมินตันหน้าบ้าน ซึ่งดูทั่วไปดี ทุกครอบครัวต้องเคยเล่นด้วยกันหน้าบ้าน เลยเลือกหยิบประเด็นแบดมินตันที่เกี่ยวกับครอบครัวขึ้นมาและลงลึกไปอีกว่า ครอบครัวแบบไหนจะทำให้รู้สึกน่าสนใจในการนำเสนอเป็นซีรีส์ ลองหาหลายรูปแบบมากจนไปเจอสิ่งหนึ่งคือ ออทิสติก
เคยมีประสบการณ์ร่วมกับคนที่เป็นออทิสติกไหม
บอสมีน้องชายเป็นออทิสติก เป็นน้องชายลูกของคุณน้า จะคล้ายกับพี่ยิมเลยคือ มีความร่าเริงสดใส แต่พอหงุดหงิดไม่พอใจก็จะเขวี้ยงของ อารมณ์จะขึ้นๆ ลงๆ เยอะ โตมากับน้องคนนี้ตลอด เราเห็นพัฒนาการเขา ตอน 8 ขวบ เขาเป็นอย่างนี้ พอเข้าสู่วัยรุ่นอายุ15 เขาก็ยังคงเป็นอย่างนี้อยู่ ทุกอย่างเหมือนถูกหยุดเอาไว้ เลยมีความคุ้นชินอยู่กับเด็กออทิสติกตลอดเวลา
นิยามของออทิสติกสำหรับตัวเราคืออะไร
เขาเป็นเด็กปกติทั่วไปแต่แค่พัฒนาช้า เด็กบางคนที่เป็น High Function ใช้ชีวิตประจำวัน เดินสยาม เดินห้างสรรพสินค้า เราเห็นเขาอย่างนั้นเราอาจจะไม่รู้ พอเริ่มคุยถึงรู้ว่าเขามีอะไรบางอย่างที่ไม่เหมือนเรา เช่น วิธีคิดที่ช้าลง หรือการตอบโต้สื่อสารที่ไม่ตรงกัน
เรื่องอะไรบ้างเกี่ยวกับออทิสติกที่คนทั่วไปยังไม่รู้และสังคมยังเข้าใจผิด
หลายคนคิดว่าออทิสติกคือปัญญาอ่อน แต่ที่จริงไม่ใช่ อาจจะมีบางประเภทที่ดูคล้ายปัญญาอ่อนแต่ก็มีอีกประเภทเหมือนกันที่เป็นเด็กอัจฉริยะ และด้วยพัฒนาการที่ช้า-สื่อสารได้น้อย เมื่อเจอสิ่งที่ชอบหรือสนใจเขาจะจำแล้วก็จะยึดมั่นสิ่งนั้นมากทำให้เขาเนิร์ดสิ่งนั้น เหมือนพี่ยิมในเรื่องที่ชอบแบดมินตันก็เลยเนิร์ดแบดมินตัน แล้วก็เป็นอัจฉริยะไปโดยปริยาย ในขณะเดียวกัน สิ่งที่คนดูยังไม่รู้อีกคือเมื่อเขาเนิร์ดสิ่งนั้นกลับกลายเป็นว่าบางเรื่องก็ยืดหยุ่นไม่ได้ พอเขารู้ว่า ตัวเองชอบสิ่งนี้ก็จะจำว่าต้องทำแบบนี้ เช่น พี่ยิมต้องซ้อมทุกสี่โมงแล้วเลิกซ้อมตอนสองทุ่มทุกวัน ซึ่งผู้ปกครองที่มีลูกหลานที่เป็นออทิสติกก็ต้องคอยบอกคอยสอน
แล้วออทิสติกมีกี่แบบกันนะ
เด็กออทิสติก 100 คนก็เป็น100แบบเลย เหมือนเราเป็นเด็กคนหนึ่งซึ่งคนคนหนึ่งก็มีนิสัยหลายแบบ ออทิสติกก็เช่นกัน ถ้าสมมติจะแบ่งประเภทง่ายๆ ก็คงแบ่งเป็น 2 แบบ คือ Low Function เป็นออทิสติกที่ไม่ค่อยมีความสามารถ สื่อสารไม่ค่อยได้ ไม่รู้ว่าตัวเองทำอะไรได้ดี เชื่องช้า กับ High Function ที่พูดโต้ตอบได้และมีความสามารถ เหมือนกับพี่ยิมที่เป็นนักแบดมินตันอัจฉริยะ
ทำไมเลือกใช้ความสัมพันธ์แบบครอบครัว-พี่น้องในการเล่าเรื่อง
ในเมืองไทยมีซีรีส์ที่เกี่ยวกับคู่รักที่เป็นความสัมพันธ์แบบพระเอก-นางเอกเยอะแล้ว เลยมีไอเดียใหม่ขึ้นว่าอยากลองทำตัวละครแม่ให้เป็นนางเอก แล้วทำตัวละครลูกชายให้เป็นพระเอกดู รู้สึกว่า ในประเทศไทยยังไม่มีใครเคยทำ ซึ่งไม่รู้ว่าดีหรือเปล่า (หัวเราะ) แต่อยากลองทำสิ่งใหม่ดู พอได้ตัวละครแล้ว บวกกับประเด็นเรื่องออทิสติกมา ก็ตั้งคำถามต่อว่า เคมีแบบไหนที่เจอกับเด็กที่เป็นออทิสติกแล้วจะเกิดความขัดแย้งและน่าสนใจ
เลยกลายมาเป็นพี่ยิมที่เป็นออทิสติกกับน้องโด่งเด็กขี้อิจฉา
หลายครอบครัวเวลามีพี่น้อง ไม่จำเป็นต้องเป็นออทิสติกก็ได้ มักจะมีพี่หรือน้องคนใดคนหนึ่งรู้สึกว่าแม่ลำเอียง แม่รักคนนี้มากกว่า แม่ซื้อของให้คนนี้มากกว่า หรือบางทีเราต้องใช้รองเท้าต่อจากพี่ ซึ่งเป็นประเด็นที่พบได้ทั่วไปมาก พอเอามาลองผูกกับเรื่องออทิสติกจึงเกิดเป็นตัวละครน้องซึ่งเป็นเด็กขี้อิจฉาขึ้นมา
แล้วพฤติกรรมแบบไหนบ้างของพ่อแม่ที่เด็กที่เป็นออทิสติกไม่ชอบ
เดี๋ยวในเรื่องจะมีเฉลยในตอนต่อไป
ทำไมพี่ยิมในเรื่องไม่ค่อยสบตาคน เป็นหนึ่งในอาการของออทิสติกหรือเปล่า
โดยส่วนใหญ่นะ อาจจะไม่ใช่ทุกคน พอเกิดมาแล้วพัฒนาการช้า สิ่งแรกที่จะเห็นได้ชัดเลยว่าเขาเป็นออทิสติกคือเขาจะไม่สบตาคน เวลาเล่นด้วยตาเขาจะลอยๆ ฉะนั้นแม่ต้องพยายามสอนให้ตัวเด็กที่เป็นออทิสติกค่อยๆสบตาทุกคน อย่างในเรื่อง พี่ยิมเขาก็สบตาทุกคนซึ่งเป็นคนที่เขารัก แต่ถ้าคนไหนที่เขาฝังใจเขาจะไม่สบตาด้วยโดยเฉพาะกับแม่ตั้ม พี่ยิมจะไม่สบตามาตั้งแต่เด็กจนโต เพราะว่าเขาไม่ชอบและไม่ไว้ใจคนคนนี้
ฉากเกลียดอีตั้มพี่ยิมเกลียดแม่ตั้มจริงหรือเปล่า
ซีนนี้เป็นซีนที่จะเล่าว่า คนที่เป็นออทิสติกเวลาเขารักใครเขารักจริง และถ้าเขาเกลียดใครเขาเกลียดจริง ซึ่งมีความซับซ้อนตรงที่ว่า พอเวลาเขาโมโหแม่ จะต่อยแม่ แล้วบอกว่าเกลียดอีตั้ม ดูเหมือนเขาเกลียดแม่มาก แต่ว่าสุดท้ายแล้วเขาเลือกที่จะต่อยกำแพงแทน ซึ่งมันซ่อนความรักของเด็กคนนี้อยู่แต่มันถูกบดบังไปด้วยความรู้สึกว่าเขาไม่ชอบคนนั้น เขาไม่ชอบคนนี้อยู่ แต่ในใจลึกๆ เขารักมาก
ทำไมต้องมีตัวละครแม่สองคนในเรื่อง
พอได้เรื่องพี่น้องที่เป็นพี่ชายกับน้องชาย ก็เลยอยากหาประเด็นอะไรก็ได้ที่ทำให้ตัวละครแม่ไม่เหมือนในเรื่องอื่นๆทั่วไป ก็เลยสร้างตัวละครแม่ขึ้นมาสองคนให้เป็นพี่น้องกันเพื่อเล่าความสัมพันธ์พี่น้องแบบจัดเต็ม
ในเรื่องน้องโด่งต้องคอยยอมพี่ยิมอยู่ตลอดความเท่ากันในการอยู่ร่วมกันของพี่น้องคู่นี้อยู่ตรงไหน
ในเมื่อเราเลือกไม่ได้ว่าเราจะมีลูกที่เป็นออทิสติก หรือเกิดมาในสังคมที่ต้องมีเพื่อนที่เป็นออทิสติก และต้องยอมรับว่าคนที่เป็นออทิสติกไม่ได้เป็นส่วนใหญ่ในสังคม แต่ว่าเขาก็ไม่ได้ผิดแปลกจนเราอยู่ร่วมกับเขาไม่ได้ ฉะนั้น มันมีบางอย่างที่เราต้องทำความเข้าใจกับเขา บางอย่างเขาอาจจะต้องได้รับมากกว่าเรา บางทีเราอาจต้องใช้ทั้งเวลาและสมาธิในการอยู่กับเขา และเป็นเรื่องปกติของเด็กที่เป็นออทิสติกเมื่ออยู่ในครอบครัวแล้วแม่จะให้สนใจมากกว่าเพราะเขาต้องใช้เวลามากกว่าในการทำสิ่งต่างๆ อย่างบางทีเราหัดกินข้าว มือซ้ายจับส้อม มือขวาจับช้อน เราลองทำครั้งแรกก็ทำได้เลย แต่เมื่อเป็นออทิสติกที่พัฒนาการช้า เขาต้องใช้เวลาเกือบปีกว่าจะทำได้ ซึ่งนอกจากจะต้องเห็นความอดทนของพ่อแม่แล้ว เราที่อยู่ใกล้ชิดกับเขา ก็ต้องเข้าใจเขาด้วยว่า บางทีเราอาจจะไม่ได้รับบางสิ่งเท่าเขา ซึ่งก็ไม่เป็นไร อย่ามัวมาคิดว่า ทำไมเราถึงได้น้อยกว่าเขาหรือทำไมเราถึงไม่ได้เท่าเขา ไม่จำเป็นต้องเปรียบเทียบกันเลย ในเมื่อเราโตมาไม่เหมือนกัน เกิดมาไม่เหมือนกัน