[๔๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สกุลใดบุตรบูชามารดาบิดาในเรือนตน สกุลนั้นมีพรหม
สกุลใดบุตรบูชามารดาบิดาในเรือนตน สกุลนั้นมีบุรพาจารย์
สกุลใดบุตรบูชามารดาบิดาในเรือนตน สกุลนั้นมีอาหุไนยบุคคล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
คำว่าพรหมนี้ เป็นชื่อของมารดาและบิดา
คำว่าบุรพาจารย์นี้ เป็นชื่อของมารดาและบิดา
คำว่าอาหุไนยบุคคลนี้ เป็นชื่อของมารดาและบิดา
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะมารดาบิดามีอุปการะมาก บำรุงเลี้ยง แสดงโลกนี้แก่บุตร ฯ
มารดาบิดาผู้อนุเคราะห์บุตร ท่านเรียกว่าพรหม ว่าบุรพาจารย์และว่าอาหุไนยบุคคล
เพราะฉะนั้น
บัณฑิตพึงนมัสการและสักการะ มารดาบิดา ด้วยข้าว น้ำ ผ้า ที่นอน
การอบกลิ่น การให้อาบน้ำ และการล้างเท้าทั้งสอง
เพราะการปรนนิบัติในมารดาบิดา นั้นแล
บัณฑิตย่อมสรรเสริญเขาใน โลกนี้เอง เขาละไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์ ฯ
-------------------------------------------------------------
ในอรรถกถา ท่านได้ไขความว่า
คำว่า พรหม นี้เป็นชื่อของท่านผู้ประเสริฐ.
พระพรหมจะไม่ละภาวนา ๔ อย่าง คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาฉันใด
มารดาบิดาทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน จะไม่ละภาวนา ๔ ในบุตรทั้งหลาย
ภาวนา ๔ เหล่านั้น พึงทราบตามระยะกาลดังต่อไปนี้.
ในเวลาที่บุตรยังอยู่ในท้อง มารดาบิดาจะเกิดเมตตาจิตอย่างนี้ว่า
เมื่อไรหนอ เราจะได้เห็นบุตรน้อยปลอดภัย มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบบริบูรณ์.
แต่เมื่อใดบุตรน้อยนั้นยังเยาว์ นอนแบเบาะ มีเลือดไรไต่ตอมหรือนอนกระสับกระส่าย
ส่งเสียงร้องจ้า. เมื่อนั้น มารดาบิดาครั้นได้ยินเสียงบุตรนั้นจะเกิดความกรุณา.
แต่ในเวลาที่บุตรวิ่งเล่นไปมา หรือในเวลาที่บุตรตั้งอยู่ในวัยหนุ่มวัยสาว
มารดาบิดามองดูแล้วจะมีจิตอ่อนไหว บันเทิง เริงใจ เหมือนกับสำลีและปุยนุ่นที่เขายีตั้ง ๑๐๐ ครั้ง
หย่อนลงในฟองเนยใส. เมื่อนั้น มารดาบิดาจะมีมุทิตา (จิต).
แต่เมื่อใด บุตรเริ่มมีครอบครัวแยกเรือนออกไป เมื่อนั้น มารดาบิดาจะเกิดความวางใจว่า
บัดนี้ บุตรของเราจะสามารถจะเป็นอยู่ได้ตามลำพัง เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว เวลานั้น มารดาบิดาจะมีอุเบกขา.
บทว่า บุรพาจารย์ คือครูคนแรกของลูก
มารดาบิดาทั้งหลาย จำเดิมแต่บุตรเกิดแล้ว ย่อมให้บุตรเรียน ให้บุตรสำเหนียกว่า
จงนั่งอย่างนี้ จงยืนอย่างนี้ จงเดินอย่างนี้ จงนอนอย่างนี้ จงเคี้ยวอย่างนี้ จงกินอย่างนี้
คนนี้บุตรควรเรียกพ่อ คนนี้ควรเรียกพี่ คนนี้ควรเรียกน้อง บุตรควรทำสิ่งนี้ ไม่ควรทำสิ่งนี้
ควรเข้าไปหาคนชื่อโน้น คนชื่อโน้นไม่ควรเข้าไปหา.
ในเวลาต่อมา อาจารย์เหล่าอื่นจึงให้ศึกษาศิลปะเรื่องช้าง ศิลปะเรื่องม้า
ศิลปะเรื่องรถ ศิลปะเรื่องธนูและการนับด้วยนิ้วมือเป็นต้น. อาจารย์เหล่าอื่นให้สรณะ
อาจารย์อื่นให้ตั้งใจอยู่ในศีล อาจารย์อื่นให้บรรพชา อาจารย์อื่นให้เรียนพุทธพจน์
อาจารย์อื่นให้อุปสมบท อาจารย์อื่นให้บรรลุโสดาปัตติมรรคเป็นต้น.
ดังนั้น อาจารย์เหล่านั้นแม้ทั้งหมด จึงชื่อว่าเป็นปัจฉาจารย์. (อาจารย์คนต่อ ๆ มา)
บทว่า อาหุไนยบุคคล คือ บุคคลผู้ควรได้รับการบูชา เลี้ยงดูต้อนรับ
พรหมสูตร
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๓๔๖๘ - ๓๔๘๑. หน้าที่ ๑๕๐.
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=3468&Z=3481&pagebreak=0
อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :-
http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=20&siri=75
ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=470
ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :-
[470]
http://www.84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=20&item=470&items=1
[470]
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali.php?B=20&A=470&Z=470
พ่อแม่คือพรหม พ่อแม่คือครูคนแรก พ่อแม่คือผู้ที่ควรได้รับการเคารพบูชา
สกุลใดบุตรบูชามารดาบิดาในเรือนตน สกุลนั้นมีพรหม
สกุลใดบุตรบูชามารดาบิดาในเรือนตน สกุลนั้นมีบุรพาจารย์
สกุลใดบุตรบูชามารดาบิดาในเรือนตน สกุลนั้นมีอาหุไนยบุคคล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
คำว่าพรหมนี้ เป็นชื่อของมารดาและบิดา
คำว่าบุรพาจารย์นี้ เป็นชื่อของมารดาและบิดา
คำว่าอาหุไนยบุคคลนี้ เป็นชื่อของมารดาและบิดา
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะมารดาบิดามีอุปการะมาก บำรุงเลี้ยง แสดงโลกนี้แก่บุตร ฯ
มารดาบิดาผู้อนุเคราะห์บุตร ท่านเรียกว่าพรหม ว่าบุรพาจารย์และว่าอาหุไนยบุคคล
เพราะฉะนั้น
บัณฑิตพึงนมัสการและสักการะ มารดาบิดา ด้วยข้าว น้ำ ผ้า ที่นอน
การอบกลิ่น การให้อาบน้ำ และการล้างเท้าทั้งสอง
เพราะการปรนนิบัติในมารดาบิดา นั้นแล
บัณฑิตย่อมสรรเสริญเขาใน โลกนี้เอง เขาละไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์ ฯ
-------------------------------------------------------------
ในอรรถกถา ท่านได้ไขความว่า
คำว่า พรหม นี้เป็นชื่อของท่านผู้ประเสริฐ.
พระพรหมจะไม่ละภาวนา ๔ อย่าง คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาฉันใด
มารดาบิดาทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน จะไม่ละภาวนา ๔ ในบุตรทั้งหลาย
ภาวนา ๔ เหล่านั้น พึงทราบตามระยะกาลดังต่อไปนี้.
ในเวลาที่บุตรยังอยู่ในท้อง มารดาบิดาจะเกิดเมตตาจิตอย่างนี้ว่า
เมื่อไรหนอ เราจะได้เห็นบุตรน้อยปลอดภัย มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบบริบูรณ์.
แต่เมื่อใดบุตรน้อยนั้นยังเยาว์ นอนแบเบาะ มีเลือดไรไต่ตอมหรือนอนกระสับกระส่าย
ส่งเสียงร้องจ้า. เมื่อนั้น มารดาบิดาครั้นได้ยินเสียงบุตรนั้นจะเกิดความกรุณา.
แต่ในเวลาที่บุตรวิ่งเล่นไปมา หรือในเวลาที่บุตรตั้งอยู่ในวัยหนุ่มวัยสาว
มารดาบิดามองดูแล้วจะมีจิตอ่อนไหว บันเทิง เริงใจ เหมือนกับสำลีและปุยนุ่นที่เขายีตั้ง ๑๐๐ ครั้ง
หย่อนลงในฟองเนยใส. เมื่อนั้น มารดาบิดาจะมีมุทิตา (จิต).
แต่เมื่อใด บุตรเริ่มมีครอบครัวแยกเรือนออกไป เมื่อนั้น มารดาบิดาจะเกิดความวางใจว่า
บัดนี้ บุตรของเราจะสามารถจะเป็นอยู่ได้ตามลำพัง เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว เวลานั้น มารดาบิดาจะมีอุเบกขา.
บทว่า บุรพาจารย์ คือครูคนแรกของลูก
มารดาบิดาทั้งหลาย จำเดิมแต่บุตรเกิดแล้ว ย่อมให้บุตรเรียน ให้บุตรสำเหนียกว่า
จงนั่งอย่างนี้ จงยืนอย่างนี้ จงเดินอย่างนี้ จงนอนอย่างนี้ จงเคี้ยวอย่างนี้ จงกินอย่างนี้
คนนี้บุตรควรเรียกพ่อ คนนี้ควรเรียกพี่ คนนี้ควรเรียกน้อง บุตรควรทำสิ่งนี้ ไม่ควรทำสิ่งนี้
ควรเข้าไปหาคนชื่อโน้น คนชื่อโน้นไม่ควรเข้าไปหา.
ในเวลาต่อมา อาจารย์เหล่าอื่นจึงให้ศึกษาศิลปะเรื่องช้าง ศิลปะเรื่องม้า
ศิลปะเรื่องรถ ศิลปะเรื่องธนูและการนับด้วยนิ้วมือเป็นต้น. อาจารย์เหล่าอื่นให้สรณะ
อาจารย์อื่นให้ตั้งใจอยู่ในศีล อาจารย์อื่นให้บรรพชา อาจารย์อื่นให้เรียนพุทธพจน์
อาจารย์อื่นให้อุปสมบท อาจารย์อื่นให้บรรลุโสดาปัตติมรรคเป็นต้น.
ดังนั้น อาจารย์เหล่านั้นแม้ทั้งหมด จึงชื่อว่าเป็นปัจฉาจารย์. (อาจารย์คนต่อ ๆ มา)
บทว่า อาหุไนยบุคคล คือ บุคคลผู้ควรได้รับการบูชา เลี้ยงดูต้อนรับ
พรหมสูตร
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๓๔๖๘ - ๓๔๘๑. หน้าที่ ๑๕๐.
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=3468&Z=3481&pagebreak=0
อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :-
http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=20&siri=75
ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=470
ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :-
[470] http://www.84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=20&item=470&items=1
[470] http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali.php?B=20&A=470&Z=470