ผมชอบฟังเพลง
ตอนเป็นเด็กได้ฟังเพลงจากวงเหล้าที่คนโตร้องเวลาเมาบางเพลงไม่เคยได้ยินจากที่ใหนเลย และจากวงรำวงในหมู่บ้านที่ตีโทน ( โทนโคราช ) ร้องรำกันเองเวลามีงาน พร้อมทั้งจากเครื่องไฟ ชอบฟังไม่พอยังชอบไปยืนดูว่าเพลงมันมาจากจากตรงใหน เห็นแผ่นเสียง ดำๆกลมๆหมุนอยู่ติ้วๆ ลำโพงที่ให้เสียงก็เป็นลำโพงฮอนด์เสียงแหลมไกลไปหลายหมู่บ้าน เพลงแรกๆที่ฟังจากเครื่องไฟที่จำได้เป็นเพลงฉันทนาที่รัก ของรักชาติ ศิริชัย รักสาวเสื้อลาย ของแสงสุรีย์ รุ่งโรจน์ แด่คนชื่อเจี๊ยบ ถึงเธอผู้เป็นดวงใจ ของสายัณห์ สัญญา เพลงฝรั่งก็มอร์แดนไอแคนท์เซ One Way Ticket และเพลงที่เอาทำนองต่างประเทศแปลกๆมาอย่างเพลง อาบานีบี ขึ้นต้นเพลงว่า อ่าบ่านีพี่มักบ่เด พี่ชอบบ่เดน้องคนฮ่องเพลงอ๊าบ๊านี่บี่
อีกทางหนึ่งคือฟังจากวิทยุของเพื่อนบ้าน กว่าจะมีวิทยุเป็นของตัวเองที่พ่อซื้อให้ก็ตอนอยู่ ป.4 วิทยุเครื่องแรกยี่ห้อเนชั่นแนล เครื่องที่สองธานินท์ ฟังไปเลี้ยงควายไป ทั้งเพลงทั้งข่าว ทั้งละครวิทยุคณะเกษทิพย์ ฟังถ่ายทอดสดประกวดร้องเพลง ถ่ายทอดสดรายการมวย ถ่ายทอดสดวันหวยออก
หลังๆมาเห็นเพื่อนบ้านซื้อวิทยุที่เป็นเครื่องเล่นเทปใส่ม้วนเทปแล้วเปิดเพลงฟังโดยไม่มีโฆษณา มันช่างดีอะไรอย่างนี้ เพลงอมตะดนตรีอีเล็คโทนของน้ำอ้อย พุ่มสุข ลัดดาวัลย์ ประวัติวงษ์ หยาด นภาลัย ฟังกันเพลิน ดนตรีอีเล็คโทนส่วนใหญ่ทำดนตรีโดยหนุ่ม ภูไท
เห็นเพื่อนบ้านมีเทปก็ชอบไปฟัง แล้วก็อ่านปกเทปอยากรู้ว่าเพลงใหนใครเขียนใครทำดนตรี อัดที่ห้องอัดใหน
สมัยนั้นเพลงลูกทุ่งจะบอกเพียงว่าใครร้องใครแต่ง ใครทำดนตรี ส่วนเพลงสตริงจะบอกหมดไปจนถึงคนซื้อข้าว อยากรู้ไปจนถึงบริษัทใหนผลิต-จัดจำหน่าย บริษัทแผ่นเสียง-เทปสมัยนั้นเท่าที่จำได้ก็มี โรต้า อะมีโก้ เสียงสยาม เสียงทอง รามาเทป ห้างแผ่นเสียงทองคำ คีตา ห้างกรุงไทยออดิโอ้ อโซน่าซาวด์ ห้างโอเชียนซาวด์ สหกวงเฮง เมโทร จระเข้โปรโมชั่น(น่าจะเป็นโฟร์เอสยุคเริ่มต้น) สยามชัวร์(ตอนหลังเหลือแค่ชัวร์ออดิโอ้) อาร์เอสซาวด์(ตอนหลังเป็นอาร์สยาม) นิทิทัศน์ วอนเนอร์มิวสิค อีเอ็มไอ( EMI) พีจีเอ็ม (PGM) ทอปไลน์ไดม่อน รถไฟดนตรี
ผมมีเทปเพลงที่เก็บรักษาดุจสมบัติอันล้ำค่าอยู่ม้วนหนึ่ง ฟังไม่ได้แล้วแต่ก็ยังเก็บไว้ ย้ายบ้านเป็นเช่า 20 ครั้งก็ยังเก็บไว้ เป็นเพลงของห้างสหกวงเฮงแผ่นเสียง – เทป ชื่อชุด.สาวตะเกียง ของวงจันหัน สลา คุณวุฒิ ที่ออกต่อจากชุด.สาวตีข้าว ที่มีเพลงดังอย่าง วอนลมเกี่ยวใจ
เทปชุดสาวตะเกียงนี้ผมเขียนที่ปกว่าซื้อเมื่อวันที่ 25 เดือน 12 ปี 1994 ภายในบรรจุเพลงไว้ จำนวน 10 เพลง ประกอบด้วย
1.โขงหนาว
2.สาวตะกียง
3.คิดถึงแม่
4.ข่าวใจ
5.สาวนาลาลับ ( เพลงนี้พูดถึงพุ่มพวง ดวงจันทร์ ที่เสียชีวิต )
6.หัวใจเดือนห้า
7.น้ำตาที่เปียกรวง
8.เสียงจากวีระบุรุษ
9.น้องสาว
10.ในแอ่งใจ
บทเพลงโดย สลา คุณวุฒิ, คม ทัพแสง, ชาตรี คงยศ
เรียบเรียงดนตรีโดย วิทยา กีฬา
บันทึกเสียงที่ ห้องอัดรามอินทรา
ครูสลาในยามนั้นยังเป็นหนุ่มน้อยหน้าหวาน บางครายังไปออกอัลบั๊มหมอลำในนาม ‘’ ทิว ทานตะวัน ‘’
เพลงชุดสาวตะเกียงฟังแล้วคิดถึงอาจารย์สีเผือกคนด่านเกวียน มีกลิ่นอายการร้องแบบอาจารย์สีเผือกปนอยู่
เพลงชุดนี้สหกวงเฮงคงไม่ทำตลาดแล้ว พอจะหาฟังได้ทางยูทูปช่องของสหกวงเฮง
ส่วนผมเก็บเทปม้วนนี้ไว้ดูและไม่แน่ถ้าใครให้ราคาดี.
อวดสมบัติอันล้ำค่า : เทปเพลงครูสลา คุณวุฒิ ชุด : สาวตะเกียง
ตอนเป็นเด็กได้ฟังเพลงจากวงเหล้าที่คนโตร้องเวลาเมาบางเพลงไม่เคยได้ยินจากที่ใหนเลย และจากวงรำวงในหมู่บ้านที่ตีโทน ( โทนโคราช ) ร้องรำกันเองเวลามีงาน พร้อมทั้งจากเครื่องไฟ ชอบฟังไม่พอยังชอบไปยืนดูว่าเพลงมันมาจากจากตรงใหน เห็นแผ่นเสียง ดำๆกลมๆหมุนอยู่ติ้วๆ ลำโพงที่ให้เสียงก็เป็นลำโพงฮอนด์เสียงแหลมไกลไปหลายหมู่บ้าน เพลงแรกๆที่ฟังจากเครื่องไฟที่จำได้เป็นเพลงฉันทนาที่รัก ของรักชาติ ศิริชัย รักสาวเสื้อลาย ของแสงสุรีย์ รุ่งโรจน์ แด่คนชื่อเจี๊ยบ ถึงเธอผู้เป็นดวงใจ ของสายัณห์ สัญญา เพลงฝรั่งก็มอร์แดนไอแคนท์เซ One Way Ticket และเพลงที่เอาทำนองต่างประเทศแปลกๆมาอย่างเพลง อาบานีบี ขึ้นต้นเพลงว่า อ่าบ่านีพี่มักบ่เด พี่ชอบบ่เดน้องคนฮ่องเพลงอ๊าบ๊านี่บี่
อีกทางหนึ่งคือฟังจากวิทยุของเพื่อนบ้าน กว่าจะมีวิทยุเป็นของตัวเองที่พ่อซื้อให้ก็ตอนอยู่ ป.4 วิทยุเครื่องแรกยี่ห้อเนชั่นแนล เครื่องที่สองธานินท์ ฟังไปเลี้ยงควายไป ทั้งเพลงทั้งข่าว ทั้งละครวิทยุคณะเกษทิพย์ ฟังถ่ายทอดสดประกวดร้องเพลง ถ่ายทอดสดรายการมวย ถ่ายทอดสดวันหวยออก
หลังๆมาเห็นเพื่อนบ้านซื้อวิทยุที่เป็นเครื่องเล่นเทปใส่ม้วนเทปแล้วเปิดเพลงฟังโดยไม่มีโฆษณา มันช่างดีอะไรอย่างนี้ เพลงอมตะดนตรีอีเล็คโทนของน้ำอ้อย พุ่มสุข ลัดดาวัลย์ ประวัติวงษ์ หยาด นภาลัย ฟังกันเพลิน ดนตรีอีเล็คโทนส่วนใหญ่ทำดนตรีโดยหนุ่ม ภูไท
เห็นเพื่อนบ้านมีเทปก็ชอบไปฟัง แล้วก็อ่านปกเทปอยากรู้ว่าเพลงใหนใครเขียนใครทำดนตรี อัดที่ห้องอัดใหน
สมัยนั้นเพลงลูกทุ่งจะบอกเพียงว่าใครร้องใครแต่ง ใครทำดนตรี ส่วนเพลงสตริงจะบอกหมดไปจนถึงคนซื้อข้าว อยากรู้ไปจนถึงบริษัทใหนผลิต-จัดจำหน่าย บริษัทแผ่นเสียง-เทปสมัยนั้นเท่าที่จำได้ก็มี โรต้า อะมีโก้ เสียงสยาม เสียงทอง รามาเทป ห้างแผ่นเสียงทองคำ คีตา ห้างกรุงไทยออดิโอ้ อโซน่าซาวด์ ห้างโอเชียนซาวด์ สหกวงเฮง เมโทร จระเข้โปรโมชั่น(น่าจะเป็นโฟร์เอสยุคเริ่มต้น) สยามชัวร์(ตอนหลังเหลือแค่ชัวร์ออดิโอ้) อาร์เอสซาวด์(ตอนหลังเป็นอาร์สยาม) นิทิทัศน์ วอนเนอร์มิวสิค อีเอ็มไอ( EMI) พีจีเอ็ม (PGM) ทอปไลน์ไดม่อน รถไฟดนตรี
ผมมีเทปเพลงที่เก็บรักษาดุจสมบัติอันล้ำค่าอยู่ม้วนหนึ่ง ฟังไม่ได้แล้วแต่ก็ยังเก็บไว้ ย้ายบ้านเป็นเช่า 20 ครั้งก็ยังเก็บไว้ เป็นเพลงของห้างสหกวงเฮงแผ่นเสียง – เทป ชื่อชุด.สาวตะเกียง ของวงจันหัน สลา คุณวุฒิ ที่ออกต่อจากชุด.สาวตีข้าว ที่มีเพลงดังอย่าง วอนลมเกี่ยวใจ
เทปชุดสาวตะเกียงนี้ผมเขียนที่ปกว่าซื้อเมื่อวันที่ 25 เดือน 12 ปี 1994 ภายในบรรจุเพลงไว้ จำนวน 10 เพลง ประกอบด้วย
1.โขงหนาว
2.สาวตะกียง
3.คิดถึงแม่
4.ข่าวใจ
5.สาวนาลาลับ ( เพลงนี้พูดถึงพุ่มพวง ดวงจันทร์ ที่เสียชีวิต )
6.หัวใจเดือนห้า
7.น้ำตาที่เปียกรวง
8.เสียงจากวีระบุรุษ
9.น้องสาว
10.ในแอ่งใจ
บทเพลงโดย สลา คุณวุฒิ, คม ทัพแสง, ชาตรี คงยศ
เรียบเรียงดนตรีโดย วิทยา กีฬา
บันทึกเสียงที่ ห้องอัดรามอินทรา
ครูสลาในยามนั้นยังเป็นหนุ่มน้อยหน้าหวาน บางครายังไปออกอัลบั๊มหมอลำในนาม ‘’ ทิว ทานตะวัน ‘’
เพลงชุดสาวตะเกียงฟังแล้วคิดถึงอาจารย์สีเผือกคนด่านเกวียน มีกลิ่นอายการร้องแบบอาจารย์สีเผือกปนอยู่
เพลงชุดนี้สหกวงเฮงคงไม่ทำตลาดแล้ว พอจะหาฟังได้ทางยูทูปช่องของสหกวงเฮง
ส่วนผมเก็บเทปม้วนนี้ไว้ดูและไม่แน่ถ้าใครให้ราคาดี.