ไขข้อข้องใจกันว่าทำไม TAXI METER ถึงมีปัญหาเยอะนัก ต่างจาก UBER ที่บริการดี๊ดี

เกริ่นก่อนนะครับ ผมเพิ่งมาขับ TAXI ได้ ประมาณ 6 เดือน ผมขับทั้ง GrabTaxi และ UberFlash ทำให้เห็นถึงปัญหาหลายๆอย่างที่บางคนอธิบายออกมาให้สังคมเข้าใจยาก ยิ่งฝั่ง TAXI ยิ่งอธิบายยากครับ ว่าทำไมเขาถึงคิดว่าเขาต้องปฏิเสธเพราะขาดทุน ต่างจาก Uber ทำไมในขณะที่รถติดๆเขาถึงไม่กลัวที่จะขาดทุน
เริ่มเรื่องอยากจะอธิบายว่า หลักการของ TAXI METER กับ หลักการของ UBER มันช่างตรงกันข้ามกันแบบสุดขั้วเลยครับ ถามว่ามันสุดขัวยังไงเหรอ?
สูตรการคำนวณค่าโดยสารของ TAXI METER จะคิดจากระยะทางที่วิ่งเป็นหลัก มันจะ เริ่มที่ 35 บาท ใน 1 กม แรก
หลังจาก กม ที่ 2-10 จะคิด กม ละ 5.5 บาท
                    11-20 คิด กม ละ 6.5 บาท
                    21-40 คิด กม ละ 7.5 บาท
                    41-60 คิด กม ละ 8 บาท
                    61-80 คิด กม ละ 9 บาท
                    เกินกว่า 80 คิด กม ละ 10.5 บาท
ถ้ารถติด(เฉพาะความเร็วรถไม่เกิน 6 กม ต่อ ชม) คิด 2 บาท ต่อนาที
แต่ในขณะที่ UBER คิดค่าโดยสาร เริ่มต้นที่ 10 บาท ระยะทางคิด กม ละแค่ 4 บาท และ คิด 3.5 บาท ต่อนาที(ระยะเวลาทั้งหมด)

ดูผ่านๆแล้ว TAXI มันต้องดีกว่าสิ ราคาแพงกว่าเห็นๆใช่มั๊ยครับ Start ก็ตั้ง 35 บาท ทำไมยังเรื่องมากกันอีก ยิ่งไกลยิ่งแพง ทำไมพวกไม่ไปกันว่ะ
แถมรถติดพวกก็ได้ตังอีก มันจะเอาตรงไหนมาขาดทุนกันล่ะ?

ผมเชื่อเลยว่า ร้อยละ 99% ต้องเกิดคำถามแบบนี้ขึ้นมาแน่นอน แต่ถ้าเรามาลองเจาะดูในรายละเอียดแล้ว จะพบความจริงแบบนี้ครับ
รูปมิเตอร์ตัวอย่างนี้คือสภาพรถติดครับ ใช้เวลา 2 ชั่วโมง 18 นาที (138 นาที) วิ่งเป็นระยะทาง 27.4 กม.
ถ้าเราคิดแยกค่าโดยสาร เป็นเวลา กับ ระยะทางจะได้ดังนี้
35 บาทแรก คือ 1 กม แรก
2-10 = 9*5.5 = 49.5 บาท
11-20 = 10 * 6.5 =65 บาท
7.4 * 7.5 = 55.5 บาท
รวมรายได้ที่ได้จากระยะทาง 35+49.5+65+55.5 = 205 บาท
ดังนั้น รายได้ที่ได้จากรถติด = 357 - 205  = 152 บาท
คิดเป็นรถติดทั้งสิ้น 152/2 = 76 นาที

ถ้าเป็น UBER ละครับ trip นี้จะเสียเท่าไหร่?
รายได้เริ่มต้น 10 บาท
กม ละ 4 บาท = (27.4 * 4) + 10 = 119.5  บาท
รายได้ที่ได้จากเวลาที่ใช้ทั้งหมด 138 นาที = 138 * 3.5 = 483 บาท

รายได้ รวม ของ uber = 119.5 + 483 = 602.5 บาท
ทุกคนเริ่มเห็นอะไรลางๆแล้วหรือยังครับ ถ้ายังไม่ชัดผมจะแสดงกราฟ วงกลมเปรียบเทียบอัตราส่วนรายได้ระหว่าง เวลากับระยะทางของทั้ง 2 แบบนะครับ
เห็นหรือยังครับ ว่าหลักการทำเงินของ 2 ระบบนี้มันแตกต่างกันมากครับ METER จะทำเงินได้มาก ถ้ารถไม่ติด ส่วน UBER จะทำเงินได้มาก ถ้ารถติด

แต่เดี๋ยวก่อนครับ อย่าเพิ่งมาบอกว่าถ้ารู้แบบนี้แล้วทำไม TAXI ไม่หันไปขับ UBER กันละ จะมามัวขาดทุนอยู่ทำไม ใช่มั๊ยครับ?

ผมก็ขับ UBER เหมือนกัน จะบอกว่ารายได้คนขับ UBER ปัจจุบันมันก็ไม่ได้สวยหรูอะไรหรอกครับ ผมเพิ่งขับมาได้ 1 เดือนเอง incentive อะไรมันก็ยังดูดีแต่พวกที่ขับกันมานานมากแล้ว incentive นี้เรียกว่าไม่มียังจะได้เลยครับ สำหรับผมโดน UBER หัก 25% จากรายได้ (ไม่รวมทางด่วนนะ)
ปัญหาของ UBER หลักๆที่มันกวนใจคนขับคือ ระบบมันพยายามทำให้รถมีตลอดโดยไม่คำนึงถึง partner เท่าที่ควร เจอให้ไปรับแบบ 20 กม ขึ้นไปอยู่บ่อยๆ พอไปถึง เดินทางกันอยู่ 5 กม หรือ ดีไม่ดี cancel กันดื้อๆก็มีครับ

สุดท้ายสิ่งที่ผมอยากจะสื่อให้ทุกท่านทราบคือ ปัญหา แท๊กซี่ไทย ที่มันคาราคาซังอยู่ในปัจจุบันเพราะไอ้คนแก้ไขปัญหา ไม่ได้มองที่จุดตรงนี้ครับ ทุกอย่างมันมโนขึ้นกันเองว่ามันควรเป็นแบบนี้นะ แล้วเวลามันผ่านไปเรื่อยๆ สังคมมันเปลี่ยน แต่กฏเกณฑ์ไม่เปลี่ยน เปลี่ยนแค่ราคามิเตอร์มันก็ไม่ได้แก้ไขปัญหาที่แท้จริงเลยสักนิด
เรื่องราคารถติดคิด 2 บาท ต่อ นาที นี่ถ้าติดขยับ ถือว่าฟาล์วนะครับ เช่น ขับ 10 กม ต่อ ชม คนขับจะได้รายได้ราวๆ 55 บาท ต่อ ชม ซึ่งมันเป็นไปได้ครับเช่น รถติดขยับบนทางด่วน
แนวทางการแก้ไขปัญหาคือ ควรปรับ ฐาน 6 กม ต่อ ชม เป็น คิดเป็นนาทีที่เดินทางไปเลยแบบ uber ก็ได้ แต่ควรยืนราคาไว้ที่ 2 บาท หรือ ลดลงมาสัก 1.5 บาท ก็ได้ เช่น ถ้า trip นี้คิด ที่ นาทีละ 1.5 บาท รายได้จะเป็นดังนี้
รวมรายได้ที่ได้จากระยะทาง 35+49.5+65+55.5 = 205 บาท
ดังนั้น รายได้ที่ได้จากระยะเวลา = 1.5 * 138  = 207 บาท
คิดเป็นเงินทั้งสิ้น = 412 บาท  อย่างนี้สิครับ win win คนขับได้รายได้เฉลี่ย ชั่วโมงละ 200 บาท ถือว่า ok ส่วนคนนั่งก็แฟร์ดีนะครับ รถติดก็จ่ายแพงหน่อย  
แต่ถ้าคิดเป็นนาทีละ 2 บาท เลยผมว่ามันจะโหดร้ายกับผู้บริโภคมากมาย ครับ
ไว้มีอีกหลายๆเรื่องเกี่ยวกับ การขับรถ TAXI ผมจะมาเขียน share ให้อ่านกันนะครับ วันนี้ขอเท่านี้ก่อนนะ ถ้ามันผิดพลาดเรื่องตัวเลขอย่างไรก็ต้องขออภัยด้วยครับ เพราะเขียนไป นึกไป คำนวณไป วาดกราฟสด ลง pantip เลยครับ 555
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่