ในสมัย ร.5 ว่าเป็นยุคที่เริ่มมีถนน ไฟฟ้า รถราง
ปี 2435 บริษัทน้ำมันต่างชาติบริษัทแรกที่เข้ามา คือ บ.รอยัลดัทช์ ปิโตร เลียม จำกัด
จำหน่ายน้ำมันก๊าดซึ่งมีเขม่าควันน้อยและให้แสงสว่างกว่าน้ำมันมะพร้าว
ต่อมา พ.ศ. 2439 พระยาสุรศักดิ์มนตรี เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ นำรถยนต์คันแรกมาวิ่งบนถนน
และอีก 6 ปีต่อมา ก็มีรถเมล์ขาวจึงเริ่มนำน้ำมันเบนซินมาใช้
บริษัทน้ำมันต่างชาติก็นำน้ำมันต่างๆ มาจำหน่าย
พ.ศ.2476 กระทรวงกลาโหมได้จัดตั้งแผนกเชื้อเพลิง เพื่อจัดหาน้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าดและน้ำมันหล่อลื่น
จากนั้นอีก 4 ปี ก็เปลี่ยนเป็นกรมเชื้อเพลิง และก่อสร้างคลังเก็บน้ำมันที่ช่องนนทรีเพื่อขจัดปัญหาน้ำมันขาดแคลน
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ( 2482 - 2487 )
บริษัทน้ำมันต่างชาติหยุดค้าน้ำมันในไทย
โรงกลั่นน้ำมันที่สามารถกลั่นได้ 1,000 บาเรลต่อวันถูกระเบิดเสียหาย
เรือบรรทึกน้ำมัน "สมุย" ถูกตอร์ปิโดจมลง
เมื่อสงครามยุติ ไทยต้องยุบกรมเชื้อเพลิง และขายกิจการและทรัพย์สินทั้งหมดให้กับบริษัทน้ำมันต่างชาติ
แก่บริษัทในเครือของประเทศผู้ชนะสงคราม ทำให้ให้บริษัทต่างชาติเข้ามาจำหน่ายน้ำมันทั้งหมด
โดยสัญญาว่า รัฐบาลจะไม่ค้าน้ำมันอีก ยกเว้นการใช้ในกิจการทหารเท่านั้น
ในที่สุด ปี 2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี
ยกเลิกข้อผูกพันที่ทำไวักับบริษัทต่างชาติเรื่องห้ามมิให้รัฐบาลจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมแก่ประชาชน
และตั้งองค์การเชื้อเพลิง เป็นรัฐวิสาหกิจในวันที่ 27 ม.ค. 2503 โดยใช้สัญลักษณ์ตราสามทหาร
เพื่อดำเนินสถานีบริการน้ำมัน จัดหาและกลั่นน้ำมัน
ภาพจากเน็ท
ชาวบ้านท้องทีตำบลแม่สูน อำเภอฝาง พบน้ำมันลักษณะสีดำไหลซึมขึ้นมาบนผิวดิน
บางคนว่าเป็นน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ จึงนำมาทาร่างกายเพื่อ รักษาโรคต่างๆ
ความทราบถึงเจ้าหลวงเชียงใหม่จึงสั่งให้ขุดบ่อ เพื่อกันน้ำมันไว้เรียกกว่า "บ่อหลวง" หรือ "บ่อเจ้าหลวง"
พ.ศ. 2464 กรมรถไฟ เมื่อครั้งนั้น พระเจ้าน้องยาเธอกรมขุนกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงเป็นผู้บัญชาการ
ทราบถึงการค้นพบน้ำมันที่อำเภอฝาง
จึงจ้างนักธรณีวิทยาชาวอเมริกันชื่อ Mr Wallace Lee ทำการสำรวจเมื่อ พ.ศ. 2464-2465
พบเพียงร่องรอยก๊าซ ธรรมชาติ เจาะลึกลงไป 185 เมตรท่อกรุขาดจึงระงับการเจาะ
พ.ศ. 2477 กรมเชื้อเพลิงทหารบกจ้างนักธรณีวิทยาชาวสวิสเซอร์แลนด์คือ Dr Arnold Heim และ Dr Hans Hirschi
ทำการสำรวจพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย 3 นาย ตรวจสอบธรณีวิทยาผิวดิน ขุด บ่อตื้นๆ และเลิกล้มไป
พ.ศ. 2479 ม.ล กรี เดชาติวงศ์ นายช่างใหญ่กรมโยธาเทศบาล
ต้องการหาปริมาณทรายน้ำมันที่อยู่ใกล้ผิวดิน เพื่อใช้แทนยางแอสฟัลต์
ทำการสำรวจใช้เครื่องเจาะสว่านหมุนด้วยแรงคน เรียกว่า "เครื่องเจาะบังก้า"
เจาะลึกประมาณ 10-20 เมตร ได้ปริมาณทรายน้ำมันประมาณ 38 ล้านลูก บาศก์เมตร
และยังใช้เครื่องเจาะลึก 200 เมตร อีกหลายหลุม
พบน้ำมันในระดับความลึกประมาณ 70 เมตร เรียกหลุมที่พบน้ำมันนี้ว่า "บ่อระเบิด" ซึ่งมีก๊าซธรรมชาติปนอยู่ด้วย
กรมทางหลวงจึงได้สร้างโรงกลั่นน้ำมันทดลองขึ้น ผลิตน้ำมันได้ 40,000 ลิตร
ด้วยขาดอุปกรณ์และความชำนาญ ประกอบกับมิใช่หน้าที่ของกรมทางหลวงงานทั้งหมดจึงยุติลง
พ .ศ. 2492-2499 กรมโลหะกิจเข้าดำเนินงาน เน้นสำรวจ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานกรรมการ
ใช้ชื่อหน่วยงานว่า "หน่วยสำรวจน้ำมันฝาง"
ใช้เครื่องเจาะชนิด Rotary จากประเทศเยอรมันนี
เจาะลึกประมาณ 230 เมตร บริเวณบ่อต้นขามต่อมาเรียก "แหล่งน้ำมันไชยปราการ"
สร้างโรงกลั่นน้ำมันทดลองขนาดเล็กกลั่นน้ำมันเป็นครั้งคราว
ใช้น้ำมันดิบประมาณ 1,000 ลิตร มุ่งไปในประเด็นการทำยางแอสฟัลต์
พ.ศ. 2499 กรมการพลังงานทหารรับช่วงงานต่อมา
โดย Dr. Harold Hutton ผู้เชี่ยวชาญด้านปิโตรเลี่ยม ได้มาดูกิจการของหน่วยงานสำรวจน้ำมันฝาง แล้วรายงานว่า
น้ำมันดิบที่อำเภอฝางเป็นน้ำมันที่ควรกลั่นออกมาขายได้
เสนอให้สำรวจเพื่อตั้งโรงกลั่นน้ำมันขนาด 1,000 บาเรล หากปริมาณน้ำมันมีพอ
คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้โอนกิจการน้ำมันฝาง ขึ้นกับกรมการพลังงานทหาร
เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2499 เป็นวันที่กรมพลังงานทหารตั้งกองสำรวจและผลิตปิโตรเลี่ยมขึ้นเป็นครั้งแรก
ภาพถ่ายในอดีต ... บ่อน้ำมันฝาง เชียงใหม่
ปี 2435 บริษัทน้ำมันต่างชาติบริษัทแรกที่เข้ามา คือ บ.รอยัลดัทช์ ปิโตร เลียม จำกัด
จำหน่ายน้ำมันก๊าดซึ่งมีเขม่าควันน้อยและให้แสงสว่างกว่าน้ำมันมะพร้าว
ต่อมา พ.ศ. 2439 พระยาสุรศักดิ์มนตรี เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ นำรถยนต์คันแรกมาวิ่งบนถนน
และอีก 6 ปีต่อมา ก็มีรถเมล์ขาวจึงเริ่มนำน้ำมันเบนซินมาใช้
บริษัทน้ำมันต่างชาติก็นำน้ำมันต่างๆ มาจำหน่าย
พ.ศ.2476 กระทรวงกลาโหมได้จัดตั้งแผนกเชื้อเพลิง เพื่อจัดหาน้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าดและน้ำมันหล่อลื่น
จากนั้นอีก 4 ปี ก็เปลี่ยนเป็นกรมเชื้อเพลิง และก่อสร้างคลังเก็บน้ำมันที่ช่องนนทรีเพื่อขจัดปัญหาน้ำมันขาดแคลน
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ( 2482 - 2487 )
บริษัทน้ำมันต่างชาติหยุดค้าน้ำมันในไทย
โรงกลั่นน้ำมันที่สามารถกลั่นได้ 1,000 บาเรลต่อวันถูกระเบิดเสียหาย
เรือบรรทึกน้ำมัน "สมุย" ถูกตอร์ปิโดจมลง
เมื่อสงครามยุติ ไทยต้องยุบกรมเชื้อเพลิง และขายกิจการและทรัพย์สินทั้งหมดให้กับบริษัทน้ำมันต่างชาติ
แก่บริษัทในเครือของประเทศผู้ชนะสงคราม ทำให้ให้บริษัทต่างชาติเข้ามาจำหน่ายน้ำมันทั้งหมด
โดยสัญญาว่า รัฐบาลจะไม่ค้าน้ำมันอีก ยกเว้นการใช้ในกิจการทหารเท่านั้น
ในที่สุด ปี 2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี
ยกเลิกข้อผูกพันที่ทำไวักับบริษัทต่างชาติเรื่องห้ามมิให้รัฐบาลจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมแก่ประชาชน
และตั้งองค์การเชื้อเพลิง เป็นรัฐวิสาหกิจในวันที่ 27 ม.ค. 2503 โดยใช้สัญลักษณ์ตราสามทหาร
เพื่อดำเนินสถานีบริการน้ำมัน จัดหาและกลั่นน้ำมัน
ภาพจากเน็ท
ชาวบ้านท้องทีตำบลแม่สูน อำเภอฝาง พบน้ำมันลักษณะสีดำไหลซึมขึ้นมาบนผิวดิน
บางคนว่าเป็นน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ จึงนำมาทาร่างกายเพื่อ รักษาโรคต่างๆ
ความทราบถึงเจ้าหลวงเชียงใหม่จึงสั่งให้ขุดบ่อ เพื่อกันน้ำมันไว้เรียกกว่า "บ่อหลวง" หรือ "บ่อเจ้าหลวง"
พ.ศ. 2464 กรมรถไฟ เมื่อครั้งนั้น พระเจ้าน้องยาเธอกรมขุนกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงเป็นผู้บัญชาการ
ทราบถึงการค้นพบน้ำมันที่อำเภอฝาง
จึงจ้างนักธรณีวิทยาชาวอเมริกันชื่อ Mr Wallace Lee ทำการสำรวจเมื่อ พ.ศ. 2464-2465
พบเพียงร่องรอยก๊าซ ธรรมชาติ เจาะลึกลงไป 185 เมตรท่อกรุขาดจึงระงับการเจาะ
พ.ศ. 2477 กรมเชื้อเพลิงทหารบกจ้างนักธรณีวิทยาชาวสวิสเซอร์แลนด์คือ Dr Arnold Heim และ Dr Hans Hirschi
ทำการสำรวจพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย 3 นาย ตรวจสอบธรณีวิทยาผิวดิน ขุด บ่อตื้นๆ และเลิกล้มไป
พ.ศ. 2479 ม.ล กรี เดชาติวงศ์ นายช่างใหญ่กรมโยธาเทศบาล
ต้องการหาปริมาณทรายน้ำมันที่อยู่ใกล้ผิวดิน เพื่อใช้แทนยางแอสฟัลต์
ทำการสำรวจใช้เครื่องเจาะสว่านหมุนด้วยแรงคน เรียกว่า "เครื่องเจาะบังก้า"
เจาะลึกประมาณ 10-20 เมตร ได้ปริมาณทรายน้ำมันประมาณ 38 ล้านลูก บาศก์เมตร
และยังใช้เครื่องเจาะลึก 200 เมตร อีกหลายหลุม
พบน้ำมันในระดับความลึกประมาณ 70 เมตร เรียกหลุมที่พบน้ำมันนี้ว่า "บ่อระเบิด" ซึ่งมีก๊าซธรรมชาติปนอยู่ด้วย
กรมทางหลวงจึงได้สร้างโรงกลั่นน้ำมันทดลองขึ้น ผลิตน้ำมันได้ 40,000 ลิตร
ด้วยขาดอุปกรณ์และความชำนาญ ประกอบกับมิใช่หน้าที่ของกรมทางหลวงงานทั้งหมดจึงยุติลง
พ .ศ. 2492-2499 กรมโลหะกิจเข้าดำเนินงาน เน้นสำรวจ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานกรรมการ
ใช้ชื่อหน่วยงานว่า "หน่วยสำรวจน้ำมันฝาง"
ใช้เครื่องเจาะชนิด Rotary จากประเทศเยอรมันนี
เจาะลึกประมาณ 230 เมตร บริเวณบ่อต้นขามต่อมาเรียก "แหล่งน้ำมันไชยปราการ"
สร้างโรงกลั่นน้ำมันทดลองขนาดเล็กกลั่นน้ำมันเป็นครั้งคราว
ใช้น้ำมันดิบประมาณ 1,000 ลิตร มุ่งไปในประเด็นการทำยางแอสฟัลต์
พ.ศ. 2499 กรมการพลังงานทหารรับช่วงงานต่อมา
โดย Dr. Harold Hutton ผู้เชี่ยวชาญด้านปิโตรเลี่ยม ได้มาดูกิจการของหน่วยงานสำรวจน้ำมันฝาง แล้วรายงานว่า
น้ำมันดิบที่อำเภอฝางเป็นน้ำมันที่ควรกลั่นออกมาขายได้
เสนอให้สำรวจเพื่อตั้งโรงกลั่นน้ำมันขนาด 1,000 บาเรล หากปริมาณน้ำมันมีพอ
คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้โอนกิจการน้ำมันฝาง ขึ้นกับกรมการพลังงานทหาร
เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2499 เป็นวันที่กรมพลังงานทหารตั้งกองสำรวจและผลิตปิโตรเลี่ยมขึ้นเป็นครั้งแรก