ถ้าใครได้ดูหนัง Valerian and the City of a Thousand Planets แล้วคงจะเห็นกันว่า ช่างเต็มไปด้วยจินตนาการอันสร้างสรร ชวนตื่นตาตื่นใจ และอยากจะดูภาค 2 ต่อว่าจะมีอะไรน่าสนใจซุกซ่อนอยู่อีก
หนังไซไฟในยุคหลังมีมากมายที่ดัดแปลงมาจากหนังสือการ์ตูน เรื่องนี้ก็ช่นกัน
หนัง Valerian สร้างจากการ์ตูนฝรั่งเศสที่ผู้กำกับ Luc Besson รักมากและอ่านมาตั้งแต่เด็ก ที่ชื่อว่า Valerian et Laureline (Valerian and Laureline) แต่งเรื่องโดยนักเขียนฝรั่งเศส Pierre Christin และวาดภาพประกอบโดย Jean-Claude Mezieres.
การ์ตูนเรื่องนี้เริ่มต้นโดยเป็น comic strip ในนิตยสารฝรั่งเศสชื่อ Pilote ในปี 1967 และพิมพ์ตอนสุดท้ายในปี 2010 ซึ่งถูกตีพิมพ์โดยสำหนักพิมพ์หนังสือการ์ตูนฝรั่งเศสชื่อ Dargaud
เรื่องนี้เป็นมหากาพย์อวกาศที่ยิ่งใหญ่ มีตัวเอกติดยศชื่อ Valerian เป็นเจ้าหน้าที่พิเศษทำงานให้กับจักรวรรดิโลกเพื่อปกป้องเวลาและอวกาศ
ถ้าจะกล่าวถึงเนื้อเรื่องคงต้องร่ายกันยาว แต่ถ้าจะเอาสั้นๆว่าอะไรดึงดูดให้อ่านมากที่สุด ก็น่าจะเป็นงานศิลป์ของภาพการ์ตูนนั่นเอง ดูเอาเองแล้วกันว่า รายละเอียดมันยอดเยี่ยมสวยงามขนาดไหน
เห็นแล้วก็เข้าใจเลย ว่าทำไมผู้กำกับถึงอยากทำเรื่องนี้เป็นหนัง
โดยสรุปการ์ตูนเรื่องนี้เขียนมาต่อเนื่องยาวนาน กระตุ้นจินตนาการความคิดสร้างสรร และ ยอดเยี่ยมมากพอที่ผู้กำกับที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งอยากนำมาสร้างเป็นหนัง แต่การ์ตูนมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร? ทำไมการ์ตูนเรื่องนี้จึงได้รับความนิยมมากมายมายาวนาน? และทำไมมันจึงไม่เป็นที่รู้จักเลยในวงการคนอ่านการ์ตูนของอเมริกา?
เพื่อตอบคำถามเหล่านี้ จะชวนทุกคนไปดูประวัติคร่าวๆของวงการการ์ตูนฝรั่งเศสและเบลเยี่ยม
ประวัติการ์ตูนฝรั่งเศสเบลเยียม
การใช้รูปภาพและข้อความในการสื่อสารได้มีมาเนิ่นนานแล้ว ในยุคที่คนส่วนใหญ่ยังอ่าหนังสือไม่ออก ภาพจะสามารถสื่อถึงไอเดียและเรื่องราวได้ง่ายกว่า ดังนั้นการ์ตูนยุคแรกจึงเป็นการ์ตูนช่องเพียงไม่กี่ช่อง หรือเป็นภาพเรื่องราวเพียงหน้าเดียวในหนังสือพิมพ์
ตอนต้นศตวรรษที่ 20 การ์ตูนช่องเริ่มแยกตัวออกจากหนังสือพิมพ์ เพื่อสร้างหนังสือการ์ตูนของตัวเอง สองเรื่องที่โด่งดังที่สุดคือ Pieds Nickeles
และตัวเอกหญิงตัวแรกๆแห่งวงการการ์ตูน Becassine
สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ในช่วงปี 1920-1930 แม้แต่โบสถ์คาทอลิค ยังสนใจการเล่าเรื่องด้วยภาพ ด้วยการตีพิมพ์ Belgian Zonneland ซึ่งเป็นเรื่องราวสอนคุณธรรมศีลธรรมให้กับเด็กๆ
คนจำนวนมากเมื่อพูดถึงการ์ตูนแล้วจะรวมเอาการ์ตูนของฝรั่งเศสและการ์ตูนของเบลเยียมเข้าด้วยกัน เพราะคนเบลเยียมจะพูดภาษาฝรั่งเศส และผู้อ่านการ์ตูนของทางฝรั่งเศสและเบลเยียมจะเป็นกลุ่มเดียวกัน
ฝรั่งเศสและเบลเยียมมีรูปแบบของการเขียนการ์ตูนที่เป็นเอกลักษณ์อย่างมาก ช่วงปี 1920 - 1930 การ์ตูนเป็นที่นิยมมาก และสำนักพิมพ์อย่าง Dargaud ก็เพิ่มการตีพิมพ์ให้ทันกับความต้องการของตลาด
ในช่วงนี้เองนักเขียนจากเบลเยียมที่ชื่อ Herge ได้สร้างสรรค์การ์ตูนที่ผมชอบมากที่สุดเรื่องหนึ่งขึ้นในปี 1929 ตีพิมพ์ในชื่อว่า Tintin in the Land of the Soviets
ชื่อเรื่องของตอนแรกนี้ ฟังดูธรรมดาไป และภาพ ประกอบก็ เรียบเกินไป แต่ถึงกระนั้นมันก็ได้รับความนิยม และกลายเป็นจุดเริ่มต้นของตัวละครที่ได้รับความนิยมมากที่สุดตัวหนึ่งในยุโรป
ลายเส้นแบบนี้เป็นที่นิยมมากเสียจนคนฝรั่งเศสตั้งชื่อให้กับมันว่า bande dessinée ซึ่งแปล คร่าวๆได้ว่า drawn strips
ในช่วงนั้น ขณะที่วงการการ์ตูนของฝรั่งเศสและเบลเยียม กำลังผลิตผลงานที่เป็นต้นฉบับออกมา มันกลับถูกบดบังโดยกระแสของการ์ตูนอเมริกัน ที่สามารถซื้อลิขสิทธิ์เข้ามาและพิมพ์ขายในราคาถูก ก็ทำไมจะต้องเสียเวลาและเงินทุนเพื่อวาดการ์ตูนขึ้นมาเองเล่า ในเมื่อคุณสามารถจ่ายเงิน เพื่อให้คนอื่นทำให้ได้
อย่างไรก็ตามในช่วงปลาย 1930 และต้น 1940 ยุโรปเกิดปัญหาบางอย่าง
มีสงครามเกิดขึ้น และเยอรมันสั่งห้ามนำสินค้าเข้าจากอเมริกา รวมทั้งการ์ตูนและหนังอนิเมชั่น
การตัดการนำเข้านี้ช่วยให้ยุโรปพัฒนาเนื้อเรื่องและคาแรกเตอร์ของตัวละครได้โดยปราศจากอิทธิพลของอเมริกัน และหลังจากปารีสได้รับการปลดปล่อยและสงคราม สิ้นสุดลง ศิลปินและผู้สร้างสรรค์การ์ตูนในยุโรปคือผู้ที่ผลิตงานออกมาเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดที่เพิ่มมากขึ้นช่วงหลังสงคราม
สิ่งที่น่าสนใจก็คือ แม้ว่าเมื่อสงครามจบลงแล้ว การ์ตูนของอเมริกันก็ไม่เคยกลับมามีอิทธิพลในฝรั่งเศส นั่นเพราะการผ่านร่างกฎหมายในปี 1949 ที่ชะลอการนำเข้าของวรรณกรรมอเมริกัน กฎหมายที่ผลักดันโดย French Communist Party ผู้ซึ่งต้องการจะจำกัดอิทธิพลของอเมริกันในยุโรป
เมื่อเป็นอิสระจากสัตว์ร้ายที่กระหายจะกลืนวัฒนธรรมอย่างอเมริกายุคหลังสงคราม ศิลปินอย่าง Herge ย่อมสามารถที่จะ ทำให้ ตินติน มีนิตยสารการ์ตูนเป็นของตัวเอง และมันได้รับความนิยมอย่างมากจวบจนปัจจุบัน
ความสำเร็จของตินตินบวกกับความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นในการอ่านการ์ตูน ทำให้ฝรั่งเศสยุคหลังสงครามมีการเติบโตอย่างมากในการตีพิมพ์นิตยสาร ในที่สุดตลาดก็คงที่ และนิตยสารตินตินของ Herge และนิตยสาร Spirou ของฝรั่งเศส กลายเป็นนิตยสารที่มีบทบาทสำคัญตลอดช่วงปี 1950
มีสิ่งที่น่า พูดถึงอีกอย่างหนึ่งคือ ฝรั่งเศสไม่เคยมีกระแสต่อต้านการ์ตูน อย่างที่อเมริกาเคยมีช่วงปี 1950 ดังนั้นในขณะที่นักอ่านอเมริกันกำลัง ทำสิ่งนี้นี้…
การ์ตูนฝรั่งเศสใช้เวลาช่วงยุค 50 ขยายวงกว้างออกไป แตกแขนงแยกย่อยออกเป็นเรื่องราวหลากหลายแนว และไม่เคยสูญเสียความน่าพิสมัยในฐานะงานศิลป์
ชิ้นหนึ่งที่โดดเด่นคือการ์ตูนเรื่อง The Smurfs สร้างสรรค์โดยศิลปินชื่อ Peyo ตีพิมพ์ในปี 1958 โดยนิตยสาร Spirou
และอีกชิ้นหนึ่งที่เป็นเรื่องโปรดของผมเช่นกัน Asterix and Obelix ตีพิมพ์ในปี 1959 โดยนิตยสาร Pilote ของเบลเยียม
ช่วงปี 1960 ถึง 1970 ก็มีการ์ตูนที่มีวิธีเล่าเรื่องราวแบบผู้ใหญ่มากขึ้นออกมา นั่นคือ Valerian and Laureline ในปี 1967
และการ์ตูนแนวไซไฟจากศิลปินอย่าง Jean Giraud (รู้จักกันในชื่อ Moebius) และ Bilal ซึ่งทั้งสองริเริ่มงานวาดการ์ตูนในนิตยสารที่ชื่อว่า Metal Hurlant
แม้ว่าการ์ตูนเรื่องนี้ในที่สุดก็ออกจากธุรกิจการ์ตูน ของยุโรปไป แต่ไปเติบโตในอเมริกาแทนโดยใช้ชื่อว่า Heavy Metal
แบบฉบับดั้งเดิมของการ์ตูนฝรั่งเศสและเบลเยียมยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องมาจนทุกวันนี้ ซึ่งมันแตกต่างอย่างมากจากการ์ตูนอเมริกันที่เคยพัฒนาควบคู่กันมา เพราะว่าในขณะที่คนอเมริกันจำนวนมากมีแนวโน้มที่จะมองการ์ตูนว่าเป็น “สื่อสำหรับเด็ก” ฝรั่งเศสมองการ์ตูนเป็นศิลปะรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีความสำคัญเทียบเท่ากับนิยายหรือ บทประพันธ์คำกลอน
อยากจะให้ยกตัวอย่างงานในยุคสมัยใหม่ไหมล่ะ? graphic novels เรื่องโปรดของผมเรื่องหนึ่งก็คือ Persepolis ซึ่งแต่งเรื่องและวาดโดยนักเขียนและศิลปินลูกครึ่งฝรั่งเศสอิหร่าน Marjane Satrapi
การ์ตูนฝรั่งเศสเบลเยียม มีชื่อเสียงในเรื่องของงานด้านศิลปะ ศิลปินของฝรั่งเศสจำนวนมากโดยเฉพาะในยุคเก่า จะถูกแบ่งออกเป็นสามแนวตามงานภาพ หนึ่งในนั้นคือแนวสมจริง (realistic) ซึ่งเป็นที่นิยม ขึ้นมาจากศิลปินอย่าง Moebius เป็นต้น
และแนวแบบ Linge claire ซึ่งจะวาดคนแบบลายเส้นเด่นชัด รายละเอียดน้อยกว่า ตัดกับพื้นหลังที่เก็บรายละเอียดแบบสมจริง ลายเส้นแบบนี้โด่งดังมาจากเรื่อง ตินติน ของ Herge นั่นเอง
แบบสุดท้ายคือ comic dynamic style ซึ่งจะดูเป็นการ์ตูนมากกว่า จะขับเน้นที่บุคลิก การเคลื่อนไหว และแอคชั่นของตัวละคร ได้รับความนิยมขึ้นมาจากเรื่อง Asterix
นั่นคือเรื่องราวโดยย่อของการ์ตูนฝรั่งเศสเบลเยี่ยมซึ่งเป็นที่นิยมผ่านยุคผ่านสมัยมา และเป็นแรงบันดาลใจของหนังเรื่อง Valerian and the City of a Thousand Planets ถ้ามีการ์ตูนเรื่องไหนที่คุณสามารถหามาอ่านได้ ก็ลองอ่านดูสักตั้งจะไม่ผิดหวัง และถ้าคุณยังไม่ได้ดูหนัง ก็รีบหามาดูไวๆเลย
แปลจาก
https://cambriancomics.com/2017/07/31/comics-that-deserve-more-attention-valerian-and-laureline/
Valerian และประวัติโดยย่อของการ์ตูนฝรั่งเศสซึ่งเป็นแรงบันดาลใจ
ถ้าใครได้ดูหนัง Valerian and the City of a Thousand Planets แล้วคงจะเห็นกันว่า ช่างเต็มไปด้วยจินตนาการอันสร้างสรร ชวนตื่นตาตื่นใจ และอยากจะดูภาค 2 ต่อว่าจะมีอะไรน่าสนใจซุกซ่อนอยู่อีก
หนังไซไฟในยุคหลังมีมากมายที่ดัดแปลงมาจากหนังสือการ์ตูน เรื่องนี้ก็ช่นกัน
หนัง Valerian สร้างจากการ์ตูนฝรั่งเศสที่ผู้กำกับ Luc Besson รักมากและอ่านมาตั้งแต่เด็ก ที่ชื่อว่า Valerian et Laureline (Valerian and Laureline) แต่งเรื่องโดยนักเขียนฝรั่งเศส Pierre Christin และวาดภาพประกอบโดย Jean-Claude Mezieres.
การ์ตูนเรื่องนี้เริ่มต้นโดยเป็น comic strip ในนิตยสารฝรั่งเศสชื่อ Pilote ในปี 1967 และพิมพ์ตอนสุดท้ายในปี 2010 ซึ่งถูกตีพิมพ์โดยสำหนักพิมพ์หนังสือการ์ตูนฝรั่งเศสชื่อ Dargaud
เรื่องนี้เป็นมหากาพย์อวกาศที่ยิ่งใหญ่ มีตัวเอกติดยศชื่อ Valerian เป็นเจ้าหน้าที่พิเศษทำงานให้กับจักรวรรดิโลกเพื่อปกป้องเวลาและอวกาศ
ถ้าจะกล่าวถึงเนื้อเรื่องคงต้องร่ายกันยาว แต่ถ้าจะเอาสั้นๆว่าอะไรดึงดูดให้อ่านมากที่สุด ก็น่าจะเป็นงานศิลป์ของภาพการ์ตูนนั่นเอง ดูเอาเองแล้วกันว่า รายละเอียดมันยอดเยี่ยมสวยงามขนาดไหน
เห็นแล้วก็เข้าใจเลย ว่าทำไมผู้กำกับถึงอยากทำเรื่องนี้เป็นหนัง
โดยสรุปการ์ตูนเรื่องนี้เขียนมาต่อเนื่องยาวนาน กระตุ้นจินตนาการความคิดสร้างสรร และ ยอดเยี่ยมมากพอที่ผู้กำกับที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งอยากนำมาสร้างเป็นหนัง แต่การ์ตูนมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร? ทำไมการ์ตูนเรื่องนี้จึงได้รับความนิยมมากมายมายาวนาน? และทำไมมันจึงไม่เป็นที่รู้จักเลยในวงการคนอ่านการ์ตูนของอเมริกา?
เพื่อตอบคำถามเหล่านี้ จะชวนทุกคนไปดูประวัติคร่าวๆของวงการการ์ตูนฝรั่งเศสและเบลเยี่ยม
ประวัติการ์ตูนฝรั่งเศสเบลเยียม
การใช้รูปภาพและข้อความในการสื่อสารได้มีมาเนิ่นนานแล้ว ในยุคที่คนส่วนใหญ่ยังอ่าหนังสือไม่ออก ภาพจะสามารถสื่อถึงไอเดียและเรื่องราวได้ง่ายกว่า ดังนั้นการ์ตูนยุคแรกจึงเป็นการ์ตูนช่องเพียงไม่กี่ช่อง หรือเป็นภาพเรื่องราวเพียงหน้าเดียวในหนังสือพิมพ์
ตอนต้นศตวรรษที่ 20 การ์ตูนช่องเริ่มแยกตัวออกจากหนังสือพิมพ์ เพื่อสร้างหนังสือการ์ตูนของตัวเอง สองเรื่องที่โด่งดังที่สุดคือ Pieds Nickeles
และตัวเอกหญิงตัวแรกๆแห่งวงการการ์ตูน Becassine
สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ในช่วงปี 1920-1930 แม้แต่โบสถ์คาทอลิค ยังสนใจการเล่าเรื่องด้วยภาพ ด้วยการตีพิมพ์ Belgian Zonneland ซึ่งเป็นเรื่องราวสอนคุณธรรมศีลธรรมให้กับเด็กๆ
คนจำนวนมากเมื่อพูดถึงการ์ตูนแล้วจะรวมเอาการ์ตูนของฝรั่งเศสและการ์ตูนของเบลเยียมเข้าด้วยกัน เพราะคนเบลเยียมจะพูดภาษาฝรั่งเศส และผู้อ่านการ์ตูนของทางฝรั่งเศสและเบลเยียมจะเป็นกลุ่มเดียวกัน
ฝรั่งเศสและเบลเยียมมีรูปแบบของการเขียนการ์ตูนที่เป็นเอกลักษณ์อย่างมาก ช่วงปี 1920 - 1930 การ์ตูนเป็นที่นิยมมาก และสำนักพิมพ์อย่าง Dargaud ก็เพิ่มการตีพิมพ์ให้ทันกับความต้องการของตลาด
ในช่วงนี้เองนักเขียนจากเบลเยียมที่ชื่อ Herge ได้สร้างสรรค์การ์ตูนที่ผมชอบมากที่สุดเรื่องหนึ่งขึ้นในปี 1929 ตีพิมพ์ในชื่อว่า Tintin in the Land of the Soviets
ชื่อเรื่องของตอนแรกนี้ ฟังดูธรรมดาไป และภาพ ประกอบก็ เรียบเกินไป แต่ถึงกระนั้นมันก็ได้รับความนิยม และกลายเป็นจุดเริ่มต้นของตัวละครที่ได้รับความนิยมมากที่สุดตัวหนึ่งในยุโรป
ลายเส้นแบบนี้เป็นที่นิยมมากเสียจนคนฝรั่งเศสตั้งชื่อให้กับมันว่า bande dessinée ซึ่งแปล คร่าวๆได้ว่า drawn strips
ในช่วงนั้น ขณะที่วงการการ์ตูนของฝรั่งเศสและเบลเยียม กำลังผลิตผลงานที่เป็นต้นฉบับออกมา มันกลับถูกบดบังโดยกระแสของการ์ตูนอเมริกัน ที่สามารถซื้อลิขสิทธิ์เข้ามาและพิมพ์ขายในราคาถูก ก็ทำไมจะต้องเสียเวลาและเงินทุนเพื่อวาดการ์ตูนขึ้นมาเองเล่า ในเมื่อคุณสามารถจ่ายเงิน เพื่อให้คนอื่นทำให้ได้
อย่างไรก็ตามในช่วงปลาย 1930 และต้น 1940 ยุโรปเกิดปัญหาบางอย่าง
มีสงครามเกิดขึ้น และเยอรมันสั่งห้ามนำสินค้าเข้าจากอเมริกา รวมทั้งการ์ตูนและหนังอนิเมชั่น
การตัดการนำเข้านี้ช่วยให้ยุโรปพัฒนาเนื้อเรื่องและคาแรกเตอร์ของตัวละครได้โดยปราศจากอิทธิพลของอเมริกัน และหลังจากปารีสได้รับการปลดปล่อยและสงคราม สิ้นสุดลง ศิลปินและผู้สร้างสรรค์การ์ตูนในยุโรปคือผู้ที่ผลิตงานออกมาเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดที่เพิ่มมากขึ้นช่วงหลังสงคราม
สิ่งที่น่าสนใจก็คือ แม้ว่าเมื่อสงครามจบลงแล้ว การ์ตูนของอเมริกันก็ไม่เคยกลับมามีอิทธิพลในฝรั่งเศส นั่นเพราะการผ่านร่างกฎหมายในปี 1949 ที่ชะลอการนำเข้าของวรรณกรรมอเมริกัน กฎหมายที่ผลักดันโดย French Communist Party ผู้ซึ่งต้องการจะจำกัดอิทธิพลของอเมริกันในยุโรป
เมื่อเป็นอิสระจากสัตว์ร้ายที่กระหายจะกลืนวัฒนธรรมอย่างอเมริกายุคหลังสงคราม ศิลปินอย่าง Herge ย่อมสามารถที่จะ ทำให้ ตินติน มีนิตยสารการ์ตูนเป็นของตัวเอง และมันได้รับความนิยมอย่างมากจวบจนปัจจุบัน
ความสำเร็จของตินตินบวกกับความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นในการอ่านการ์ตูน ทำให้ฝรั่งเศสยุคหลังสงครามมีการเติบโตอย่างมากในการตีพิมพ์นิตยสาร ในที่สุดตลาดก็คงที่ และนิตยสารตินตินของ Herge และนิตยสาร Spirou ของฝรั่งเศส กลายเป็นนิตยสารที่มีบทบาทสำคัญตลอดช่วงปี 1950
มีสิ่งที่น่า พูดถึงอีกอย่างหนึ่งคือ ฝรั่งเศสไม่เคยมีกระแสต่อต้านการ์ตูน อย่างที่อเมริกาเคยมีช่วงปี 1950 ดังนั้นในขณะที่นักอ่านอเมริกันกำลัง ทำสิ่งนี้นี้…
การ์ตูนฝรั่งเศสใช้เวลาช่วงยุค 50 ขยายวงกว้างออกไป แตกแขนงแยกย่อยออกเป็นเรื่องราวหลากหลายแนว และไม่เคยสูญเสียความน่าพิสมัยในฐานะงานศิลป์
ชิ้นหนึ่งที่โดดเด่นคือการ์ตูนเรื่อง The Smurfs สร้างสรรค์โดยศิลปินชื่อ Peyo ตีพิมพ์ในปี 1958 โดยนิตยสาร Spirou
และอีกชิ้นหนึ่งที่เป็นเรื่องโปรดของผมเช่นกัน Asterix and Obelix ตีพิมพ์ในปี 1959 โดยนิตยสาร Pilote ของเบลเยียม
ช่วงปี 1960 ถึง 1970 ก็มีการ์ตูนที่มีวิธีเล่าเรื่องราวแบบผู้ใหญ่มากขึ้นออกมา นั่นคือ Valerian and Laureline ในปี 1967
และการ์ตูนแนวไซไฟจากศิลปินอย่าง Jean Giraud (รู้จักกันในชื่อ Moebius) และ Bilal ซึ่งทั้งสองริเริ่มงานวาดการ์ตูนในนิตยสารที่ชื่อว่า Metal Hurlant
แม้ว่าการ์ตูนเรื่องนี้ในที่สุดก็ออกจากธุรกิจการ์ตูน ของยุโรปไป แต่ไปเติบโตในอเมริกาแทนโดยใช้ชื่อว่า Heavy Metal
แบบฉบับดั้งเดิมของการ์ตูนฝรั่งเศสและเบลเยียมยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องมาจนทุกวันนี้ ซึ่งมันแตกต่างอย่างมากจากการ์ตูนอเมริกันที่เคยพัฒนาควบคู่กันมา เพราะว่าในขณะที่คนอเมริกันจำนวนมากมีแนวโน้มที่จะมองการ์ตูนว่าเป็น “สื่อสำหรับเด็ก” ฝรั่งเศสมองการ์ตูนเป็นศิลปะรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีความสำคัญเทียบเท่ากับนิยายหรือ บทประพันธ์คำกลอน
อยากจะให้ยกตัวอย่างงานในยุคสมัยใหม่ไหมล่ะ? graphic novels เรื่องโปรดของผมเรื่องหนึ่งก็คือ Persepolis ซึ่งแต่งเรื่องและวาดโดยนักเขียนและศิลปินลูกครึ่งฝรั่งเศสอิหร่าน Marjane Satrapi
การ์ตูนฝรั่งเศสเบลเยียม มีชื่อเสียงในเรื่องของงานด้านศิลปะ ศิลปินของฝรั่งเศสจำนวนมากโดยเฉพาะในยุคเก่า จะถูกแบ่งออกเป็นสามแนวตามงานภาพ หนึ่งในนั้นคือแนวสมจริง (realistic) ซึ่งเป็นที่นิยม ขึ้นมาจากศิลปินอย่าง Moebius เป็นต้น
และแนวแบบ Linge claire ซึ่งจะวาดคนแบบลายเส้นเด่นชัด รายละเอียดน้อยกว่า ตัดกับพื้นหลังที่เก็บรายละเอียดแบบสมจริง ลายเส้นแบบนี้โด่งดังมาจากเรื่อง ตินติน ของ Herge นั่นเอง
แบบสุดท้ายคือ comic dynamic style ซึ่งจะดูเป็นการ์ตูนมากกว่า จะขับเน้นที่บุคลิก การเคลื่อนไหว และแอคชั่นของตัวละคร ได้รับความนิยมขึ้นมาจากเรื่อง Asterix
นั่นคือเรื่องราวโดยย่อของการ์ตูนฝรั่งเศสเบลเยี่ยมซึ่งเป็นที่นิยมผ่านยุคผ่านสมัยมา และเป็นแรงบันดาลใจของหนังเรื่อง Valerian and the City of a Thousand Planets ถ้ามีการ์ตูนเรื่องไหนที่คุณสามารถหามาอ่านได้ ก็ลองอ่านดูสักตั้งจะไม่ผิดหวัง และถ้าคุณยังไม่ได้ดูหนัง ก็รีบหามาดูไวๆเลย
แปลจาก https://cambriancomics.com/2017/07/31/comics-that-deserve-more-attention-valerian-and-laureline/