คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
แนวเดิมศาลจะพิพากษาให้ (๑) คืนหรือใช้ราคาแทนรถยนต์ (๒) จ่ายค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถเป็นรายเดือนนับแต่วันผิดนัด (๓) ดอกเบี้ย
เมื่อเดือน กพ ๒๕๕๘ มีการแก้กฎหมายค้ำประกันใหม่ และมีผลถึงค้ำประกันที่ทำไว้เดิมบางส่วนด้วย
คำถามแรกคือ สัญญาค้ำประกันของ จขกท. ทำเมื่อไหร่ ก่อนหรือหลังค้ำประกันใหม่ใช้บังคับ
ถ้าเป็นทำสัญญาก่อนที่จะมีแก้กฎหมาย แล้วมีการผิดนัดหลังแก้กฎหมาย การแก้ไขกฎหมายใหม่จะมีผลถึง จขกท. ในเรื่อง การบอกกล่าวเมื่อลูกหนี้ผิดนัด ซึ่งถ้าเจ้าหนี้ไม่ได้บอกกล่าวภายใน ๖๐ วัน ผลอาจจะออกมาได้แบบนี้
(๑) ในเรื่องคืนรถยนต์หรือราคาใช้แทน ประเด็นนี้ คำพิพากษาศาลยังต่างกันอยู่ เนื่องจากเป็นกฎหมายใหม่ ยังแปลความต่างกัน มีแนวแรกคือ ผู้ค้ำประกันยังต้องรับผิดในส่วนนี้อยู่ร่วมกับลูกหนี้ชั้นต้น (แนวนี้คือ มองว่ารถยนต์เป็นต้นเงิน) ส่วนแนวที่สองคือ ไม่ต้องรับผิดเลย (มองว่าเป็นค่าเสียหาย) ปกติศาลจะกำหนดให้เท่ากับราคารถยนต์ที่ยังชำระไม่หมด
ตรงนี้ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ค่าเช่าซื้อ = ราคารถยนต์ + ผลประโยชน์ + VAT
(๒) ค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ ผู้ค้ำประกันรับผิดเพียง ๖๐ วัน นับแต่วันผิดนัด ส่วนลูกหนี้ชั้นต้น ปกติศาลจะกำหนดให้ใช้เป็นรายเดือนเท่ากับผลประโยชน์ที่ยังชำระไม่หมด
(๓) ดอกเบี้ย ไม่ต่างกับแนวเดิม บางท่านให้ บางท่านไม่ให้
ถ้าเป็นสัญญาที่ทำหลังแก้กฎหมาย ก็จะเป็นไปตามตัวบททุกประการ จะมีผลว่า ไม่ต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมด้วย
เมื่อเดือน กพ ๒๕๕๘ มีการแก้กฎหมายค้ำประกันใหม่ และมีผลถึงค้ำประกันที่ทำไว้เดิมบางส่วนด้วย
คำถามแรกคือ สัญญาค้ำประกันของ จขกท. ทำเมื่อไหร่ ก่อนหรือหลังค้ำประกันใหม่ใช้บังคับ
ถ้าเป็นทำสัญญาก่อนที่จะมีแก้กฎหมาย แล้วมีการผิดนัดหลังแก้กฎหมาย การแก้ไขกฎหมายใหม่จะมีผลถึง จขกท. ในเรื่อง การบอกกล่าวเมื่อลูกหนี้ผิดนัด ซึ่งถ้าเจ้าหนี้ไม่ได้บอกกล่าวภายใน ๖๐ วัน ผลอาจจะออกมาได้แบบนี้
(๑) ในเรื่องคืนรถยนต์หรือราคาใช้แทน ประเด็นนี้ คำพิพากษาศาลยังต่างกันอยู่ เนื่องจากเป็นกฎหมายใหม่ ยังแปลความต่างกัน มีแนวแรกคือ ผู้ค้ำประกันยังต้องรับผิดในส่วนนี้อยู่ร่วมกับลูกหนี้ชั้นต้น (แนวนี้คือ มองว่ารถยนต์เป็นต้นเงิน) ส่วนแนวที่สองคือ ไม่ต้องรับผิดเลย (มองว่าเป็นค่าเสียหาย) ปกติศาลจะกำหนดให้เท่ากับราคารถยนต์ที่ยังชำระไม่หมด
ตรงนี้ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ค่าเช่าซื้อ = ราคารถยนต์ + ผลประโยชน์ + VAT
(๒) ค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ ผู้ค้ำประกันรับผิดเพียง ๖๐ วัน นับแต่วันผิดนัด ส่วนลูกหนี้ชั้นต้น ปกติศาลจะกำหนดให้ใช้เป็นรายเดือนเท่ากับผลประโยชน์ที่ยังชำระไม่หมด
(๓) ดอกเบี้ย ไม่ต่างกับแนวเดิม บางท่านให้ บางท่านไม่ให้
ถ้าเป็นสัญญาที่ทำหลังแก้กฎหมาย ก็จะเป็นไปตามตัวบททุกประการ จะมีผลว่า ไม่ต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมด้วย
แสดงความคิดเห็น
ขอปรึกษาเรื่องเป็นผู้ค้ำประกันเช่าซื้อรถ ถูกฟ้อง ครับ
ที่นี้ไฟแนนซ์ก็ฟ้องเอาซิครับ โดยฟ้องให้จ่ายค่าเสียหายแทนราคารถ 322,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยผิดนัด และค่าขาดประโยชน์จากใช้รถเดือนละ 5,000 บาท แต่ก่อนบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ ไฟแนนซ์ไม่ได้แจ้งบอกกล่าวการผิดนัดให้ผมทราบภายใน 60 วัน นับแต่วันที่เพื่อนมันผิดนัดเป็นงวดแรก มาแจ้งหลังจากผิดนัดติดต่อกันไปแล้วเข้าเดือนที่ 4 และก่อนบอกเลิกสัญญาแค่เพียง 10 วัน ผมตามเพื่อนตามรถไม่ทันและตามไม่ได้
ผมได้อ่านตัวบท ป.แพ่ง ม.686 วรรคสอง เขียนว่า “ในกรณีที่เจ้าหนี้มิได้มีหนังสือบอกกล่าวภายในกำหนดเวลา 60 วัน ให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดในดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทน ตลอดจนค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้รายนั้น บรรดาที่เกิดขึ้นภายหลังจากพ้นกำหนดเวลา 60 วัน ตามวรรคหนึ่ง”
ผมหาความหมายของคำว่า “ค่าสินไหมทดแทน” พบว่า ตามพจนานุกรม หมายถึง สิ่งที่ให้หรือการกระทำที่ทำ เพื่อชดใช้หรือทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินหรือแก่บุคคลอันเนื่องมาจากการละเมิดหรือการผิดสัญญา รวมทั้งการคืนทรัพย์สินให้แก่ผู้เสียหายด้วย และตาม กม.แพ่ง ม.438 วรรคสอง หมายถึง การคืนทรัพย์อันผู้เสียหายต้องเสียไปเพราะละเมิด หรือใช้ราคาทรัพย์สินนั้น รวมทั้งค่าเสียหายอันจะพึงบังคับให้ใช้เพื่อความเสียหายอย่างใดๆ
ผมจึงเข้าใจว่า ค่าใช้ราคาแทนรถ และค่าขาดประโยชน์ ที่ไฟแนนซ์ฟ้องเรียก เป็นค่าสินไหมทดแทนตามความหมายข้างต้น และหมายถึงค่าสินไหมทดแทนที่ กม.ได้กล่าวถึงใน ม.686 วรรคที่สอง ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากผ่านพ้นเวลา 60 วัน ที่ไฟแนซ์ไม่ได้แจ้งบอกกล่าวผู้ค้ำประกัน ซึ่งผมไม่ต้องจ่ายอีก ถูกต้องหรือไม่ครับ
อีกอย่าง.. ผมยังค้นพบอีกว่า ในเรื่องของการเช่าซื้อ เมื่อผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้ว ผู้ให้เช่าซื้อริบค่าเช่าซื้อที่จ่ายไปแล้วทั้งหมดและให้กลับเข้าครองรถได้ ตาม กม.แพ่ง ม.574 แต่จะเรียกค่าเช่าซื้อที่ยังค้างชำระในส่วนที่เหลืออีกไม่ได้ ตามคำพิพากษาฎีกาที่ 1195/2511 (ที่ประชุมใหญ่) และที่ 356/2548
ค่าเช่าซื้อเหลืออีกเพียง 180,000 แต่ไฟแนนซ์ เรียกมา 322,000 ผมโทรไปคุยแล้ว เขาให้ทำยอมความกันตามราคานี้เท่านั้น
ท่านใดมีความรู้ด้านกฎหมาย หรือเคยมีประสบการณ์ รบกวนให้คำปรึกษาด้วยครับ ผมกำลังโดยฟ้องขึ้นศาล 24 ส.ค. 60 นี้ ครับ ผมจะสู้หรือยอมเขาดี ???? (ไม่ได้หัวหมอนะครับ แต่อยากรู้ข้อกฎหมายและใช้หนี้อย่างมีเหตุผลตามควร)