ขอเชิญร่วมให้ความคิดเห็นต่อร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 โดยเราจะรวบรวมความคิดเห็นส่งยังสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในวันอาทิตย์ที่ 6 สิงหาคมนี้
ประเด็นที่จะรับฟังความคิดเห็น
๔.๑ ร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
๔.๒ หน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่ดำเนินการรักษาไว้ซึ่งคลื่นความถี่และสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมอันเป็นสมบัติของชาติ และอนุญาตให้ใช้สิทธิข่ายงานดาวเทียม
๔.๒.๑ การกำหนดให้ กสทช. มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการรักษาไว้ซึ่งคลื่นความถี่และสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมอันเป็นสมบัติของชาติ เพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์กับประเทศชาติและประชาชนตามแผนซึ่งจัดทำตามมาตรา ๒๗ (๑) และนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยคำนึงถึงประโยชน์และภาระที่เกิดขึ้นกับรัฐเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ กสทช. ประกาศกำหนด
มาตราที่เพิ่มเติม: ร่างมาตรา ๒๗ (๑๔/๒)
๔.๒.๒ การกำหนดให้ กสทช. มีอำนาจหน้าที่พิจารณาอนุญาตให้ใช้สิทธิข่ายงานดาวเทียม ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามแผนซึ่งจัดทำตามมาตรา ๒๗ (๑) และนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาต เงื่อนไขและค่าธรรมเนียมการอนุญาตให้ใช้สิทธิข่ายงานดาวเทียม รวมถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการดำเนินการที่เกี่ยวข้อง สำหรับค่าธรรมเนียมการอนุญาตให้ใช้สิทธิข่ายงานดาวเทียมเมื่อหักค่าใช้จ่ายในการอนุญาตแล้วเหลือเท่าใดให้นำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน
มาตราที่เพิ่มเติม: ร่างมาตรา ๒๗ (๑๔/๓)
๔.๓ การกำหนดสัดส่วนขั้นต่ำของการใช้คลื่นความถี่เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือสำหรับภาคประชาชน
การกำหนดให้ กสทช. มีอำนาจหน้าที่จัดให้มีการใช้คลื่นความถี่เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือสำหรับภาคประชาชนรวมกันในสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๐ ของคลื่นความถี่หรือการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ทั้งหมดในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ แล้วแต่กรณี และเพื่อให้การบริหารจัดการคลื่นความถี่เป็นไปโดยมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน ความมั่นคงของรัฐ และประโยชน์สาธารณะ ในกรณีที่ไม่มีการใช้ประโยชน์จากคลื่นความถี่ดังกล่าวจนพ้นกำหนด ๓ ปี นับตั้งแต่วันที่ได้มีการกำหนด คลื่นความถี่ไว้ใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือสำหรับภาคประชาชน หรือมีเหตุจำเป็นอื่น หากการนำคลื่นความถี่ดังกล่าวไปใช้ให้เกิดประโยชน์หรือมีประสิทธิภาพสูงกว่า ให้ กสทช. มีอำนาจนำคลื่นความถี่นั้นไปใช้ประโยชน์ในกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ประเภทอื่นก็ได้ ตามหลักเกณฑ์ที่ กสทช. ประกาศกำหนด
มาตราที่แก้ไขเพิ่มเติม: ร่างมาตรา ๔๙
๔.๔ การยกเลิกหมวด ๖ การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการและการบริหารงาน
มาตราที่แก้ไขเพิ่มเติม: ร่างมาตรา ๑๒ ยกเลิกหมวด ๖ คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน (กตป.) มาตรา ๗๐ ถึงมาตรา ๗๓
แนวทางการบรรจุบางหลักการไว้ในร่างกฎหมาย
๔.๕ การดำเนินการและบริหารจัดการศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉินแห่งชาติ
การกำหนดให้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับเลขหมายโทรศัพท์ฉุกเฉินแห่งชาติ โดยให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติรับผิดชอบดำเนินการและบริหารจัดการศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉินแห่งชาติ กำหนดโทษสำหรับการกระทำความผิดฐานใช้หรือเรียกเลขหมายโทรศัพท์ฉุกเฉินแห่งชาติโดยไม่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีพฤติกรรมอันเป็นการก่อกวนการปฏิบัติงานของผู้รับแจ้ง โดยให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในความผิดดังกล่าว คุ้มครองการเข้าถึงหรือการเปิดเผยพิกัดตำแหน่งหรือข้อมูลส่วนบุคคล
มาตราที่แก้ไขเพิ่มเติม: เพิ่มเติมส่วนที่ ๕ เลขหมายโทรศัพท์ฉุกเฉินแห่งชาติ ในหมวด ๒ มาตรา ๔๗/๑ ถึงมาตรา ๔๗/๕
หลักการอันเป็นสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
๓.๑ วันใช้บังคับของกฎหมาย กำหนดให้พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
๓.๒ อำนาจหน้าที่ของ กสทช. แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของ กสทช. เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๖๐
๓.๒.๑ จัดทำแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ ตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ แผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ แผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม และแผนความถี่วิทยุให้เป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชน ความมั่นคงของรัฐ ประโยชน์สาธารณะ และให้ประชาชนมีส่วนได้ใช้ประโยชน์จากคลื่นความถี่ด้วย รวมทั้งจัดทำแผนเลขหมายโทรคมนาคม และดำเนินการให้เป็นไปตามแผนดังกล่าว โดยแผนดังกล่าวต้องสอดคล้องกับนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (มาตรา ๒๗ (๑))
๓.๒.๒ กำหนดมาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำที่มีผลเป็นการขัดขวางเสรีภาพในการรับรู้หรือปิดกั้นการรับรู้ข้อมูลหรือข่าวสารที่ถูกต้องตามความเป็นจริงของประชาชน หรือการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (มาตรา ๒๗ (๑๑))
๓.๒.๓ คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนมิให้ถูกเอาเปรียบจากผู้ประกอบกิจการ และป้องกันมิให้มีการแสวงหาประโยชน์จากผู้บริโภคโดยไม่เป็นธรรมหรือสร้างภาระแก่ผู้บริโภคเกินความจำเป็น ตลอดจนคุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัวและเสรีภาพของบุคคลในการสื่อสารถึงกันโดยทางโทรคมนาคม และส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคของประชาชนในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์คลื่นความถี่ (มาตรา ๒๗ (๑๓))
๓.๒.๔ ดำเนินการในฐานะหน่วยงานอำนวยการของรัฐในกิจการสื่อสารระหว่างประเทศกับองค์การระหว่างประเทศ รัฐบาล และหน่วยงานต่างประเทศ รวมทั้งสนับสนุนกิจการของรัฐเพื่อให้มีดาวเทียมหรือให้ได้มาซึ่งสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียม ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามแผนซึ่งจัดทำตามมาตรา ๒๗ (๑) และนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (มาตรา ๒๗ (๑๔))
๓.๒.๕ ประสานงานเกี่ยวกับการบริหารคลื่นความถี่ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ (มาตรา ๒๗ (๑๔/๑))
๓.๒.๖ ดำเนินการรักษาไว้ซึ่งคลื่นความถี่และสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมอันเป็นสมบัติของชาติ เพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์กับประเทศชาติและประชาชน ตามแผนซึ่งจัดทำตามมาตรา ๒๗ (๑) และนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยคำนึงถึงประโยชน์และภาระที่เกิดขึ้นกับรัฐเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ กสทช. ประกาศกำหนด (มาตรา ๒๗ (๑๔/๒))
๓.๒.๗ พิจารณาอนุญาตให้ใช้สิทธิข่ายงานดาวเทียม ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามแผนซึ่งจัดทำตาม มาตรา ๒๗ (๑) และนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาต เงื่อนไขและค่าธรรมเนียมการอนุญาตให้ใช้สิทธิข่ายงานดาวเทียม รวมถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการดำเนินการที่เกี่ยวข้อง ค่าธรรมเนียมการอนุญาตให้ใช้สิทธิข่ายงานดาวเทียมเมื่อหักค่าใช้จ่ายในการอนุญาตแล้วเหลือเท่าใดให้นำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน (มาตรา ๒๗ (๑๔/๓))
๓.๓ เลขหมายโทรศัพท์ฉุกเฉินแห่งชาติเพิ่มเติมส่วนที่ ๕ เลขหมายโทรศัพท์ฉุกเฉินแห่งชาติ ในหมวด ๒ กำหนดให้มีศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉินแห่งชาติ โดย กสทช. จัดสรรเลขหมายโทรศัพท์ฉุกเฉินแห่งชาติให้แก่ศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉินแห่งชาติเพื่อประโยชน์ในการรับแจ้งเหตุฉุกเฉิน ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติรับผิดชอบดำเนินการและบริหารจัดการศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉินแห่งชาติ และมาตรฐานการปฏิบัติงานของศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉินแห่งชาติ กำหนดโทษสำหรับการกระทำความผิดฐานใช้หรือเรียกเลขหมายโทรศัพท์ฉุกเฉินแห่งชาติ โดยไม่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีพฤติกรรมอันเป็นการก่อกวนการปฏิบัติงานของผู้รับแจ้ง โดยให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในความผิดดังกล่าว (เพิ่มส่วนที่ ๕ เลขหมายโทรศัพท์ฉุกเฉินแห่งชาติ ในหมวด ๒ มาตรา ๔๗/๑ มาตรา ๔๗/๒ มาตรา ๔๗/๓ มาตรา ๔๗/๔ และมาตรา ๔๗/๕)
๓.๔ การกำหนดสัดส่วนขั้นต่ำที่ผู้ใช้ประโยชน์จากคลื่นความถี่จะต้องดำเนินการเพื่อประโยชน์สาธารณะ แก้ไขเพิ่มเติมให้ กสทช. ต้องจัดให้มีการใช้คลื่นความถี่เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือสำหรับภาคประชาชนรวมกันในสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๐ ของคลื่นความถี่หรือการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ทั้งหมดในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ แล้วแต่กรณี และเพื่อให้การบริหารจัดการคลื่นความถี่เป็นไปโดยมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน ความมั่นคงของรัฐ และประโยชน์สาธารณะ ในกรณีที่ไม่มีการใช้ประโยชน์จากคลื่นความถี่ดังกล่าวหรือมีเหตุจำเป็นอื่น หากการนำคลื่นความถี่ดังกล่าวไปใช้ให้เกิดประโยชน์หรือมีประสิทธิภาพสูงกว่า ให้ กสทช. มีอำนาจนำคลื่นความถี่นั้นไปใช้ประโยชน์ในกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ประเภทอื่นก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่ กสทช. ประกาศกำหนด (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๔๙)
๓.๕ การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการและการบริหารงาน ยกเลิกหมวด ๖ การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการและการบริหารงาน มาตรา ๗๐ ถึงมาตรา ๗๓ แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
ขอเชิญให้ความเห็นต่อร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม
ประเด็นที่จะรับฟังความคิดเห็น
๔.๑ ร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
๔.๒ หน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่ดำเนินการรักษาไว้ซึ่งคลื่นความถี่และสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมอันเป็นสมบัติของชาติ และอนุญาตให้ใช้สิทธิข่ายงานดาวเทียม
๔.๒.๑ การกำหนดให้ กสทช. มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการรักษาไว้ซึ่งคลื่นความถี่และสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมอันเป็นสมบัติของชาติ เพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์กับประเทศชาติและประชาชนตามแผนซึ่งจัดทำตามมาตรา ๒๗ (๑) และนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยคำนึงถึงประโยชน์และภาระที่เกิดขึ้นกับรัฐเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ กสทช. ประกาศกำหนด
มาตราที่เพิ่มเติม: ร่างมาตรา ๒๗ (๑๔/๒)
๔.๒.๒ การกำหนดให้ กสทช. มีอำนาจหน้าที่พิจารณาอนุญาตให้ใช้สิทธิข่ายงานดาวเทียม ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามแผนซึ่งจัดทำตามมาตรา ๒๗ (๑) และนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาต เงื่อนไขและค่าธรรมเนียมการอนุญาตให้ใช้สิทธิข่ายงานดาวเทียม รวมถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการดำเนินการที่เกี่ยวข้อง สำหรับค่าธรรมเนียมการอนุญาตให้ใช้สิทธิข่ายงานดาวเทียมเมื่อหักค่าใช้จ่ายในการอนุญาตแล้วเหลือเท่าใดให้นำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน
มาตราที่เพิ่มเติม: ร่างมาตรา ๒๗ (๑๔/๓)
๔.๓ การกำหนดสัดส่วนขั้นต่ำของการใช้คลื่นความถี่เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือสำหรับภาคประชาชน
การกำหนดให้ กสทช. มีอำนาจหน้าที่จัดให้มีการใช้คลื่นความถี่เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือสำหรับภาคประชาชนรวมกันในสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๐ ของคลื่นความถี่หรือการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ทั้งหมดในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ แล้วแต่กรณี และเพื่อให้การบริหารจัดการคลื่นความถี่เป็นไปโดยมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน ความมั่นคงของรัฐ และประโยชน์สาธารณะ ในกรณีที่ไม่มีการใช้ประโยชน์จากคลื่นความถี่ดังกล่าวจนพ้นกำหนด ๓ ปี นับตั้งแต่วันที่ได้มีการกำหนด คลื่นความถี่ไว้ใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือสำหรับภาคประชาชน หรือมีเหตุจำเป็นอื่น หากการนำคลื่นความถี่ดังกล่าวไปใช้ให้เกิดประโยชน์หรือมีประสิทธิภาพสูงกว่า ให้ กสทช. มีอำนาจนำคลื่นความถี่นั้นไปใช้ประโยชน์ในกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ประเภทอื่นก็ได้ ตามหลักเกณฑ์ที่ กสทช. ประกาศกำหนด
มาตราที่แก้ไขเพิ่มเติม: ร่างมาตรา ๔๙
๔.๔ การยกเลิกหมวด ๖ การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการและการบริหารงาน
มาตราที่แก้ไขเพิ่มเติม: ร่างมาตรา ๑๒ ยกเลิกหมวด ๖ คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน (กตป.) มาตรา ๗๐ ถึงมาตรา ๗๓
แนวทางการบรรจุบางหลักการไว้ในร่างกฎหมาย
๔.๕ การดำเนินการและบริหารจัดการศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉินแห่งชาติ
การกำหนดให้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับเลขหมายโทรศัพท์ฉุกเฉินแห่งชาติ โดยให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติรับผิดชอบดำเนินการและบริหารจัดการศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉินแห่งชาติ กำหนดโทษสำหรับการกระทำความผิดฐานใช้หรือเรียกเลขหมายโทรศัพท์ฉุกเฉินแห่งชาติโดยไม่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีพฤติกรรมอันเป็นการก่อกวนการปฏิบัติงานของผู้รับแจ้ง โดยให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในความผิดดังกล่าว คุ้มครองการเข้าถึงหรือการเปิดเผยพิกัดตำแหน่งหรือข้อมูลส่วนบุคคล
มาตราที่แก้ไขเพิ่มเติม: เพิ่มเติมส่วนที่ ๕ เลขหมายโทรศัพท์ฉุกเฉินแห่งชาติ ในหมวด ๒ มาตรา ๔๗/๑ ถึงมาตรา ๔๗/๕
หลักการอันเป็นสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
๓.๑ วันใช้บังคับของกฎหมาย กำหนดให้พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
๓.๒ อำนาจหน้าที่ของ กสทช. แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของ กสทช. เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๖๐
๓.๒.๑ จัดทำแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ ตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ แผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ แผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม และแผนความถี่วิทยุให้เป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชน ความมั่นคงของรัฐ ประโยชน์สาธารณะ และให้ประชาชนมีส่วนได้ใช้ประโยชน์จากคลื่นความถี่ด้วย รวมทั้งจัดทำแผนเลขหมายโทรคมนาคม และดำเนินการให้เป็นไปตามแผนดังกล่าว โดยแผนดังกล่าวต้องสอดคล้องกับนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (มาตรา ๒๗ (๑))
๓.๒.๒ กำหนดมาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำที่มีผลเป็นการขัดขวางเสรีภาพในการรับรู้หรือปิดกั้นการรับรู้ข้อมูลหรือข่าวสารที่ถูกต้องตามความเป็นจริงของประชาชน หรือการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (มาตรา ๒๗ (๑๑))
๓.๒.๓ คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนมิให้ถูกเอาเปรียบจากผู้ประกอบกิจการ และป้องกันมิให้มีการแสวงหาประโยชน์จากผู้บริโภคโดยไม่เป็นธรรมหรือสร้างภาระแก่ผู้บริโภคเกินความจำเป็น ตลอดจนคุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัวและเสรีภาพของบุคคลในการสื่อสารถึงกันโดยทางโทรคมนาคม และส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคของประชาชนในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์คลื่นความถี่ (มาตรา ๒๗ (๑๓))
๓.๒.๔ ดำเนินการในฐานะหน่วยงานอำนวยการของรัฐในกิจการสื่อสารระหว่างประเทศกับองค์การระหว่างประเทศ รัฐบาล และหน่วยงานต่างประเทศ รวมทั้งสนับสนุนกิจการของรัฐเพื่อให้มีดาวเทียมหรือให้ได้มาซึ่งสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียม ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามแผนซึ่งจัดทำตามมาตรา ๒๗ (๑) และนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (มาตรา ๒๗ (๑๔))
๓.๒.๕ ประสานงานเกี่ยวกับการบริหารคลื่นความถี่ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ (มาตรา ๒๗ (๑๔/๑))
๓.๒.๖ ดำเนินการรักษาไว้ซึ่งคลื่นความถี่และสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมอันเป็นสมบัติของชาติ เพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์กับประเทศชาติและประชาชน ตามแผนซึ่งจัดทำตามมาตรา ๒๗ (๑) และนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยคำนึงถึงประโยชน์และภาระที่เกิดขึ้นกับรัฐเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ กสทช. ประกาศกำหนด (มาตรา ๒๗ (๑๔/๒))
๓.๒.๗ พิจารณาอนุญาตให้ใช้สิทธิข่ายงานดาวเทียม ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามแผนซึ่งจัดทำตาม มาตรา ๒๗ (๑) และนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาต เงื่อนไขและค่าธรรมเนียมการอนุญาตให้ใช้สิทธิข่ายงานดาวเทียม รวมถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการดำเนินการที่เกี่ยวข้อง ค่าธรรมเนียมการอนุญาตให้ใช้สิทธิข่ายงานดาวเทียมเมื่อหักค่าใช้จ่ายในการอนุญาตแล้วเหลือเท่าใดให้นำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน (มาตรา ๒๗ (๑๔/๓))
๓.๓ เลขหมายโทรศัพท์ฉุกเฉินแห่งชาติเพิ่มเติมส่วนที่ ๕ เลขหมายโทรศัพท์ฉุกเฉินแห่งชาติ ในหมวด ๒ กำหนดให้มีศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉินแห่งชาติ โดย กสทช. จัดสรรเลขหมายโทรศัพท์ฉุกเฉินแห่งชาติให้แก่ศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉินแห่งชาติเพื่อประโยชน์ในการรับแจ้งเหตุฉุกเฉิน ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติรับผิดชอบดำเนินการและบริหารจัดการศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉินแห่งชาติ และมาตรฐานการปฏิบัติงานของศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉินแห่งชาติ กำหนดโทษสำหรับการกระทำความผิดฐานใช้หรือเรียกเลขหมายโทรศัพท์ฉุกเฉินแห่งชาติ โดยไม่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีพฤติกรรมอันเป็นการก่อกวนการปฏิบัติงานของผู้รับแจ้ง โดยให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในความผิดดังกล่าว (เพิ่มส่วนที่ ๕ เลขหมายโทรศัพท์ฉุกเฉินแห่งชาติ ในหมวด ๒ มาตรา ๔๗/๑ มาตรา ๔๗/๒ มาตรา ๔๗/๓ มาตรา ๔๗/๔ และมาตรา ๔๗/๕)
๓.๔ การกำหนดสัดส่วนขั้นต่ำที่ผู้ใช้ประโยชน์จากคลื่นความถี่จะต้องดำเนินการเพื่อประโยชน์สาธารณะ แก้ไขเพิ่มเติมให้ กสทช. ต้องจัดให้มีการใช้คลื่นความถี่เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือสำหรับภาคประชาชนรวมกันในสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๐ ของคลื่นความถี่หรือการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ทั้งหมดในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ แล้วแต่กรณี และเพื่อให้การบริหารจัดการคลื่นความถี่เป็นไปโดยมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน ความมั่นคงของรัฐ และประโยชน์สาธารณะ ในกรณีที่ไม่มีการใช้ประโยชน์จากคลื่นความถี่ดังกล่าวหรือมีเหตุจำเป็นอื่น หากการนำคลื่นความถี่ดังกล่าวไปใช้ให้เกิดประโยชน์หรือมีประสิทธิภาพสูงกว่า ให้ กสทช. มีอำนาจนำคลื่นความถี่นั้นไปใช้ประโยชน์ในกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ประเภทอื่นก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่ กสทช. ประกาศกำหนด (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๔๙)
๓.๕ การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการและการบริหารงาน ยกเลิกหมวด ๖ การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการและการบริหารงาน มาตรา ๗๐ ถึงมาตรา ๗๓ แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓