เหงาเหรอ หยุดใช้โซเชียลมีเดียแล้วลุกขึ้นมาลีลาศสิ
ที่มา คอลัมน์มหัศจรรย์การ์ตูน
ผู้เขียน ผศ.พญ.วินิทรา นวลละออง จิตแพทย์ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
เผยแพร่ วันที่ 30 กรกฎาคม 2560
มีคุณหมอท่านหนึ่งมาปรึกษาเรื่องผู้ป่วยของท่านซึ่งเป็นวัยรุ่นสาวกินยาเกินขนาดจนต้องนอนโรงพยาบาล ผู้ป่วยท่านนั้นเพิ่งเลิกกับแฟนไม่กี่เดือนก่อน ช่วงแรกก็เสียใจแต่ในที่สุดก็ทำใจได้หลังจากมีเพื่อนที่ได้ล้อมวงดื่มเหล้าด้วยกันหลังเลิกงานทุกเย็น อยู่มาวันหนึ่ง คุณผู้หญิงท่านนี้ก็แอบซุ่มเช็กโซเชียลมีเดียและพบว่าอดีตแฟนของตนมีแฟนใหม่แล้วซึ่งแฟนใหม่คนนั้นคือเพื่อนสนิทของเธอเอง! เธอรู้สึกโกรธมาก คิดว่าเพื่อนสนิทที่เธอเคยโทรปรึกษามาตลอดตั้งแต่เริ่มมีปัญหากับแฟนกลับกลายเป็นคนแย่งแฟนของเธอไป
เธอเริ่มดื่มเหล้าหนักขึ้น ดื่มกระทั่งในเวลาทำงาน ยิ่งแอบดูโซเชียลมีเดียของสองคนนั้นที่มีรูปไปเที่ยวหรือไปกินอาหารด้วยกันก็ยิ่งโกรธ ในที่สุดจึงกินยาแก้ปวดเกินขนาดเพราะคิดว่าถ้าตนเองเป็นอะไรไป ทั้งสองคนนั้นจะได้รู้สึกผิด โชคดีที่เธอกินตอนพี่สาวอยู่ใกล้ๆ แถวนั้น เมื่อพี่สาวเห็นเธออาเจียนและมีซองยาตกอยู่จึงพามาโรงพยาบาล ส่วนสองคนที่เธอโกรธก็อาจจะไม่รู้สึกอะไรด้วยค่ะเพราะทั้งสองคนนั้นบล็อกช่องทางติดต่อของเธอทั้งหมดไปนานแล้ว (เนื่องจากเธอไปราวีมาช่วงหนึ่ง) ส่วนเพื่อนคนอื่นก็ไม่มีใครเห็นดีเห็นงามกับการแก้แค้นด้วยการกินยาเกินขนาดประชดของเธอ ก็เป็นอันว่าเรื่องทั้งหมดร้ายแรงขึ้นมาเพราะเมาเหล้าแล้วซุ่มดูโซเชียลมีเดียนั่นเอง
คนไข้บอกว่าจะไม่ทำอีกแล้วครับเพราะใส่สายสวนจมูกล้างท้องมันทรมาน ดีค่ะที่เขาคิดว่าจะไม่ทำอีกแล้ว แต่เหล้ากับโซเชียลมีเดียเขาจะแก้ปัญหายังไงคะ เขาบอกว่าคงเลิกเหล้าได้ยากเพราะดื่มประจำกับเพื่อนหลังเลิกงาน คือพอเลิกงานก็ต้องเห็นวงเหล้าก่อนกลับบ้าน กลับไปก็ไม่มีอะไรทำ ดังนั้นคงกลับไปดื่มต่อ ส่วนโซเชียลมีเดียก็คงเลิกเล่นไม่ได้
จะเห็นว่าสังคมออนไลน์ทำให้มีนักซุ่มเกิดขึ้นมากมาย เดิมเราอาจติดตามข่าวแฟนเก่าด้วยวิธีถามจากคนอื่นแต่ปัจจุบันเราสามารถซุ่มดูโซเชียลมีเดียอยู่เงียบๆ ได้ซึ่งนั่นอาจจะไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพจิตนัก ก่อนจะพูดถึงว่าไม่ดีอย่างไร ขอแนะนำกิจกรรมที่ทำให้เราออกจากโซเชียลมีเดียมาสู่คนจริงๆ ที่จับต้องได้ดีกว่าค่ะ การเต้นลีลาศ กีฬาหน้าใหม่ในวงการการ์ตูนค่ะ
Ballroom e Youkoso หรือ ยินดีต้อนรับสู่บอลรูม เป็นแอนิเมชั่นที่เพิ่งเริ่มฉายทางโทรทัศน์ในญี่ปุ่นเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา สร้างจากหนังสือการ์ตูนชื่อเดียวกันที่เข้าชิงรางวัลการ์ตูนยอดเยี่ยมมาหลายครั้งแล้วในญี่ปุ่น กล่าวถึงฟุจิตะ ทาทาระ เด็กหนุ่มมัธยมต้นที่ไม่มีเป้าหมายในชีวิต อาจารย์เรียกเขาไปอบรมพร้อมกับชิสุกุ เพื่อนสาวชั้นปีเดียวกันที่ไม่ยอมเขียนในแบบสอบถามอนาคตเสียทีว่าอยากเรียนอะไร ทีแรกทาทาระคิดว่าชิสุกุคงไร้เป้าหมายแบบเขาแต่กลับไม่ใช่ค่ะ ชิสุกุเป็นนักเต้นลีลาศและมีเป้าหมายจะชนะการแข่งขันและเป็นนักเต้นอาชีพในอนาคต ฟุจิตะได้ดูวิดีโอการแข่งขันเต้นลีลาศแล้วเกิดแรงบันดาลใจอย่างมาก ในที่สุดจึงตัดสินใจเรียนลีลาศซึ่งทำให้ชีวิตเขาสดใสขึ้นมากค่ะ การเต้นไม่ได้ทำให้เขาสดใสแต่การมีเป้าหมายในชีวิตต่างหากที่ทำให้เขาสดใส
แอนิเมชั่นเรื่องนี้มีความน่าสนใจหลายจุดค่ะ จุดแรกที่เห็นและเกี่ยวข้องกับการเป็นนักซุ่ม คือในกระบวนการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม คนที่กล้าเปิดเผยและไม่อายที่จะต้องแสดงตัวตนต่อหน้าใครก็มักจะไม่อายที่จะเข้าสังคม ส่วนคนที่ยังอายกับการแสดงตัวตน (กรณีฟุจิตะคืออายเพราะไม่รู้ว่าตัวเราเกิดมาเพื่ออะไรหรือต้องการอะไร) การเอาแต่ซุ่มมองชีวิตคนอื่นต่อไปไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนักเพราะอาจก่อให้เกิดอารมณ์ทางลบ เช่น อิจฉา โกรธ หรือเศร้าได้
การศึกษาที่ตีพิมพ์ใน Personality and Social Psychology Bulletin บอกเราว่าถ้าเหงาหรือกลัวถูกทอดทิ้งแล้วหันหน้าไปพึ่งโซเชียลมีเดียเพื่อจะเพิ่มจำนวนเพื่อน การแอบซุ่มดู อาจไม่ดีค่ะ การศึกษานี้วัดความรู้สึกไม่สบายใจที่จะพึ่งพาผู้อื่น (attachment avoidance) กับความรู้สึกกังวลว่าจะโดนทอดทิ้ง (attachment anxiety) แล้วดูว่าความรู้สึกทั้งสองอย่างนี้ทำให้เกิดความสนิทสนมกับคนในเน็ตเวิร์ก (tie strength) และเกิดความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนขึ้น (multiplexity) เช่น เป็นเพื่อนในเน็ตเวิร์กแล้วยังเป็นเพื่อนเล่นกีฬาด้วยมากแค่ไหนเพราะหากเกิดผลลัพธ์สองอย่างหลังสูง การใช้โซเชียลมีเดียเพื่อให้เกิดประโยชน์ในด้านความสัมพันธ์ทางสังคมก็จะยิ่งมีมาก
ผลพบว่า ยิ่งผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลีกเลี่ยงการพึ่งพาคนอื่นมากหรือกลัวโดนทอดทิ้งมากกลับยิ่งสนิทกับคนในโซเชียลมีเดียน้อยลงซึ่งถือว่าเป็นการใช้โซเชียลมีเดียอย่างไม่มีคุณภาพเพราะไม่เพิ่มความรู้สึกเติมเต็มด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น การใช้แบบผิวเผินอย่างการซุ่มดูคนอื่นติดต่อกันหลายชั่วโมงโดยไม่เข้าร่วมกระบวนการสร้างความสัมพันธ์จะทำให้เกิดความริษยาและเกิดอารมณ์ทางลบได้มากมาย
สำหรับคนที่อยากใช้ประโยชน์จากโซเชียลมีเดียให้มากขึ้นซึ่งจะเพิ่มความรู้สึกเติมเต็มในใจมีวิธีดังนี้ค่ะ ลองคิดถึงความสัมพันธ์ในอดีตที่ทำให้รู้สึกปลอดภัยขณะที่ใช้ คิดถึงเหตุการณ์ที่ตนเองได้รับความรักหรือได้รับความช่วยเหลือ อาจพูดตรงๆ กับอีกฝ่ายว่าให้กอด หรือให้รัก เรา การหลีกเลี่ยงความช้ำใจจากการซุ่มดูโซเชียลมีเดียแฟนเก่าคือการคิดถึงเรื่องดีๆ ในอดีตที่มีให้กันค่ะ การพูดตรงๆ ว่าอยากให้กลับมารักกันใหม่ก็ดูจะเป็นจุดเริ่มต้นความสัมพันธ์ครั้งใหม่ที่ดีแต่ต้องพิจารณาว่าเขามีแฟนใหม่ไปแล้วหรือยังนะคะ
ถ้าแก้ปัญหาการดูโซเชียลมีเดียแล้วเหงาไม่ได้แนะนำให้ออกมาลีลาศค่ะ บางทีคุณค่าของชีวิตอาจไม่ได้มากจากความสัมพันธ์ในทางสังคมเสมอไป มันสร้างได้จากความรู้สึกดีต่อตนเองด้วยค่ะ
ที่มาของบทความ
https://www.matichon.co.th/news/614936
บทความอื่นโดยคอลัมนิสต์เดียวกัน
https://www.matichon.co.th/tag/วินิทรา-นวลละออง
Welcome to the Ballroom ได้ลงคอลัมน์ในมติชน
ที่มา คอลัมน์มหัศจรรย์การ์ตูน
ผู้เขียน ผศ.พญ.วินิทรา นวลละออง จิตแพทย์ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
เผยแพร่ วันที่ 30 กรกฎาคม 2560
มีคุณหมอท่านหนึ่งมาปรึกษาเรื่องผู้ป่วยของท่านซึ่งเป็นวัยรุ่นสาวกินยาเกินขนาดจนต้องนอนโรงพยาบาล ผู้ป่วยท่านนั้นเพิ่งเลิกกับแฟนไม่กี่เดือนก่อน ช่วงแรกก็เสียใจแต่ในที่สุดก็ทำใจได้หลังจากมีเพื่อนที่ได้ล้อมวงดื่มเหล้าด้วยกันหลังเลิกงานทุกเย็น อยู่มาวันหนึ่ง คุณผู้หญิงท่านนี้ก็แอบซุ่มเช็กโซเชียลมีเดียและพบว่าอดีตแฟนของตนมีแฟนใหม่แล้วซึ่งแฟนใหม่คนนั้นคือเพื่อนสนิทของเธอเอง! เธอรู้สึกโกรธมาก คิดว่าเพื่อนสนิทที่เธอเคยโทรปรึกษามาตลอดตั้งแต่เริ่มมีปัญหากับแฟนกลับกลายเป็นคนแย่งแฟนของเธอไป
เธอเริ่มดื่มเหล้าหนักขึ้น ดื่มกระทั่งในเวลาทำงาน ยิ่งแอบดูโซเชียลมีเดียของสองคนนั้นที่มีรูปไปเที่ยวหรือไปกินอาหารด้วยกันก็ยิ่งโกรธ ในที่สุดจึงกินยาแก้ปวดเกินขนาดเพราะคิดว่าถ้าตนเองเป็นอะไรไป ทั้งสองคนนั้นจะได้รู้สึกผิด โชคดีที่เธอกินตอนพี่สาวอยู่ใกล้ๆ แถวนั้น เมื่อพี่สาวเห็นเธออาเจียนและมีซองยาตกอยู่จึงพามาโรงพยาบาล ส่วนสองคนที่เธอโกรธก็อาจจะไม่รู้สึกอะไรด้วยค่ะเพราะทั้งสองคนนั้นบล็อกช่องทางติดต่อของเธอทั้งหมดไปนานแล้ว (เนื่องจากเธอไปราวีมาช่วงหนึ่ง) ส่วนเพื่อนคนอื่นก็ไม่มีใครเห็นดีเห็นงามกับการแก้แค้นด้วยการกินยาเกินขนาดประชดของเธอ ก็เป็นอันว่าเรื่องทั้งหมดร้ายแรงขึ้นมาเพราะเมาเหล้าแล้วซุ่มดูโซเชียลมีเดียนั่นเอง
คนไข้บอกว่าจะไม่ทำอีกแล้วครับเพราะใส่สายสวนจมูกล้างท้องมันทรมาน ดีค่ะที่เขาคิดว่าจะไม่ทำอีกแล้ว แต่เหล้ากับโซเชียลมีเดียเขาจะแก้ปัญหายังไงคะ เขาบอกว่าคงเลิกเหล้าได้ยากเพราะดื่มประจำกับเพื่อนหลังเลิกงาน คือพอเลิกงานก็ต้องเห็นวงเหล้าก่อนกลับบ้าน กลับไปก็ไม่มีอะไรทำ ดังนั้นคงกลับไปดื่มต่อ ส่วนโซเชียลมีเดียก็คงเลิกเล่นไม่ได้
จะเห็นว่าสังคมออนไลน์ทำให้มีนักซุ่มเกิดขึ้นมากมาย เดิมเราอาจติดตามข่าวแฟนเก่าด้วยวิธีถามจากคนอื่นแต่ปัจจุบันเราสามารถซุ่มดูโซเชียลมีเดียอยู่เงียบๆ ได้ซึ่งนั่นอาจจะไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพจิตนัก ก่อนจะพูดถึงว่าไม่ดีอย่างไร ขอแนะนำกิจกรรมที่ทำให้เราออกจากโซเชียลมีเดียมาสู่คนจริงๆ ที่จับต้องได้ดีกว่าค่ะ การเต้นลีลาศ กีฬาหน้าใหม่ในวงการการ์ตูนค่ะ
Ballroom e Youkoso หรือ ยินดีต้อนรับสู่บอลรูม เป็นแอนิเมชั่นที่เพิ่งเริ่มฉายทางโทรทัศน์ในญี่ปุ่นเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา สร้างจากหนังสือการ์ตูนชื่อเดียวกันที่เข้าชิงรางวัลการ์ตูนยอดเยี่ยมมาหลายครั้งแล้วในญี่ปุ่น กล่าวถึงฟุจิตะ ทาทาระ เด็กหนุ่มมัธยมต้นที่ไม่มีเป้าหมายในชีวิต อาจารย์เรียกเขาไปอบรมพร้อมกับชิสุกุ เพื่อนสาวชั้นปีเดียวกันที่ไม่ยอมเขียนในแบบสอบถามอนาคตเสียทีว่าอยากเรียนอะไร ทีแรกทาทาระคิดว่าชิสุกุคงไร้เป้าหมายแบบเขาแต่กลับไม่ใช่ค่ะ ชิสุกุเป็นนักเต้นลีลาศและมีเป้าหมายจะชนะการแข่งขันและเป็นนักเต้นอาชีพในอนาคต ฟุจิตะได้ดูวิดีโอการแข่งขันเต้นลีลาศแล้วเกิดแรงบันดาลใจอย่างมาก ในที่สุดจึงตัดสินใจเรียนลีลาศซึ่งทำให้ชีวิตเขาสดใสขึ้นมากค่ะ การเต้นไม่ได้ทำให้เขาสดใสแต่การมีเป้าหมายในชีวิตต่างหากที่ทำให้เขาสดใส
แอนิเมชั่นเรื่องนี้มีความน่าสนใจหลายจุดค่ะ จุดแรกที่เห็นและเกี่ยวข้องกับการเป็นนักซุ่ม คือในกระบวนการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม คนที่กล้าเปิดเผยและไม่อายที่จะต้องแสดงตัวตนต่อหน้าใครก็มักจะไม่อายที่จะเข้าสังคม ส่วนคนที่ยังอายกับการแสดงตัวตน (กรณีฟุจิตะคืออายเพราะไม่รู้ว่าตัวเราเกิดมาเพื่ออะไรหรือต้องการอะไร) การเอาแต่ซุ่มมองชีวิตคนอื่นต่อไปไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนักเพราะอาจก่อให้เกิดอารมณ์ทางลบ เช่น อิจฉา โกรธ หรือเศร้าได้
การศึกษาที่ตีพิมพ์ใน Personality and Social Psychology Bulletin บอกเราว่าถ้าเหงาหรือกลัวถูกทอดทิ้งแล้วหันหน้าไปพึ่งโซเชียลมีเดียเพื่อจะเพิ่มจำนวนเพื่อน การแอบซุ่มดู อาจไม่ดีค่ะ การศึกษานี้วัดความรู้สึกไม่สบายใจที่จะพึ่งพาผู้อื่น (attachment avoidance) กับความรู้สึกกังวลว่าจะโดนทอดทิ้ง (attachment anxiety) แล้วดูว่าความรู้สึกทั้งสองอย่างนี้ทำให้เกิดความสนิทสนมกับคนในเน็ตเวิร์ก (tie strength) และเกิดความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนขึ้น (multiplexity) เช่น เป็นเพื่อนในเน็ตเวิร์กแล้วยังเป็นเพื่อนเล่นกีฬาด้วยมากแค่ไหนเพราะหากเกิดผลลัพธ์สองอย่างหลังสูง การใช้โซเชียลมีเดียเพื่อให้เกิดประโยชน์ในด้านความสัมพันธ์ทางสังคมก็จะยิ่งมีมาก
ผลพบว่า ยิ่งผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลีกเลี่ยงการพึ่งพาคนอื่นมากหรือกลัวโดนทอดทิ้งมากกลับยิ่งสนิทกับคนในโซเชียลมีเดียน้อยลงซึ่งถือว่าเป็นการใช้โซเชียลมีเดียอย่างไม่มีคุณภาพเพราะไม่เพิ่มความรู้สึกเติมเต็มด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น การใช้แบบผิวเผินอย่างการซุ่มดูคนอื่นติดต่อกันหลายชั่วโมงโดยไม่เข้าร่วมกระบวนการสร้างความสัมพันธ์จะทำให้เกิดความริษยาและเกิดอารมณ์ทางลบได้มากมาย
สำหรับคนที่อยากใช้ประโยชน์จากโซเชียลมีเดียให้มากขึ้นซึ่งจะเพิ่มความรู้สึกเติมเต็มในใจมีวิธีดังนี้ค่ะ ลองคิดถึงความสัมพันธ์ในอดีตที่ทำให้รู้สึกปลอดภัยขณะที่ใช้ คิดถึงเหตุการณ์ที่ตนเองได้รับความรักหรือได้รับความช่วยเหลือ อาจพูดตรงๆ กับอีกฝ่ายว่าให้กอด หรือให้รัก เรา การหลีกเลี่ยงความช้ำใจจากการซุ่มดูโซเชียลมีเดียแฟนเก่าคือการคิดถึงเรื่องดีๆ ในอดีตที่มีให้กันค่ะ การพูดตรงๆ ว่าอยากให้กลับมารักกันใหม่ก็ดูจะเป็นจุดเริ่มต้นความสัมพันธ์ครั้งใหม่ที่ดีแต่ต้องพิจารณาว่าเขามีแฟนใหม่ไปแล้วหรือยังนะคะ
ถ้าแก้ปัญหาการดูโซเชียลมีเดียแล้วเหงาไม่ได้แนะนำให้ออกมาลีลาศค่ะ บางทีคุณค่าของชีวิตอาจไม่ได้มากจากความสัมพันธ์ในทางสังคมเสมอไป มันสร้างได้จากความรู้สึกดีต่อตนเองด้วยค่ะ
ที่มาของบทความ https://www.matichon.co.th/news/614936
บทความอื่นโดยคอลัมนิสต์เดียวกัน https://www.matichon.co.th/tag/วินิทรา-นวลละออง