สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 7
ไฟที่แลบเกิดจากกระแสที่ไหลผ่านไปเข้าตัวเก็บประจุอย่างรุนแรง เนื่องจากสภาวะแรกตัวเก็บประจุจะเหมือนกับลัดวงจรตัวเองทำให้กระแสไหลผ่านตัวมันเต็มที่ ตามกราฟคุณลักษณะที่เป็นเส้นประ ค่าความต้านทานก็มีแค่ของภายในตัวมัน สายไฟ ซึ่งเล็กน้อยมาก จนเมื่อเวลาผ่านไปกระแสชาจน์ถึงเริ่มตก (แบตเตอรี่ก็เป็นแบบเดียวกันถึงต้องมีวงจรจำกัดกระแสชาจน์ให้กับมัน)

ยิ่งแรงดันอินพุทมากกระแสชาจน์ก็ยิ่งสูง ไฟกระชากช่วงแรกก็ยิ่งแรง จนอาจเกิดภาวะสร้างไอโอไนซ์ช่วงไกล้หน้าสัมผัสแตะกันได้ หรือที่เห็นเป็นประกายไฟสปาร์ค
ที่นี้อุปกรณ์ไฟฟ้าสมัยใหม่มักใช้แหล่งจ่ายไฟแบบสวิทช์ชิ่ง ซึ่งภาคหน้าจะเป็นวงจรเรียงกระแสแบบตรงๆ ไม่ผ่านหม้อแปลงลดแรงดันและชาจน์ประจุเข้าตัวเก็บประจุ (ที่วงกลมสีแดง) ด้วยแรงดันพีค 311 โวลต์

ซึ่งเทียบกับแหล่งจ่ายไฟสมัยก่อนที่ผ่านหม้อแปลงลดแรงดัน กรณีนี้ตัวเก็บประจุจะรับแรงดันเพียง 25 โวลต์เท่านั้น

นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมสวิทชชิ่งซัพพลายถึงมักจะเห็นไฟแลบช่วงเสียบปลั้ก แต่มักไม่มีผลกับอุปกรณ์ที่ชาจน์หรือใช้ไฟเพราะจากตัวเก็บประจุมันก็จะไปภาคสวิทชิ่งซึ่งเป็นไอซีและมีระบบป้องกันยุบยับในตัวอยู่แล้ว หลังจากนั้นก็ผ่านหม้อแปลงหรือไม่ก็ตัวเหนี่ยวนำที่มีจุดอิ่มตัว (core saturation) ของการรับกระแสไว้ที่ระดับหนึ่ง และมีภาคฟิลเตอร์ขาออกกรองกระแสอีกชั้น

ยิ่งแรงดันอินพุทมากกระแสชาจน์ก็ยิ่งสูง ไฟกระชากช่วงแรกก็ยิ่งแรง จนอาจเกิดภาวะสร้างไอโอไนซ์ช่วงไกล้หน้าสัมผัสแตะกันได้ หรือที่เห็นเป็นประกายไฟสปาร์ค
ที่นี้อุปกรณ์ไฟฟ้าสมัยใหม่มักใช้แหล่งจ่ายไฟแบบสวิทช์ชิ่ง ซึ่งภาคหน้าจะเป็นวงจรเรียงกระแสแบบตรงๆ ไม่ผ่านหม้อแปลงลดแรงดันและชาจน์ประจุเข้าตัวเก็บประจุ (ที่วงกลมสีแดง) ด้วยแรงดันพีค 311 โวลต์

ซึ่งเทียบกับแหล่งจ่ายไฟสมัยก่อนที่ผ่านหม้อแปลงลดแรงดัน กรณีนี้ตัวเก็บประจุจะรับแรงดันเพียง 25 โวลต์เท่านั้น

นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมสวิทชชิ่งซัพพลายถึงมักจะเห็นไฟแลบช่วงเสียบปลั้ก แต่มักไม่มีผลกับอุปกรณ์ที่ชาจน์หรือใช้ไฟเพราะจากตัวเก็บประจุมันก็จะไปภาคสวิทชิ่งซึ่งเป็นไอซีและมีระบบป้องกันยุบยับในตัวอยู่แล้ว หลังจากนั้นก็ผ่านหม้อแปลงหรือไม่ก็ตัวเหนี่ยวนำที่มีจุดอิ่มตัว (core saturation) ของการรับกระแสไว้ที่ระดับหนึ่ง และมีภาคฟิลเตอร์ขาออกกรองกระแสอีกชั้น
แสดงความคิดเห็น
เสียบปลั๊กไฟแล้วมีไฟฟ้าแล๊ปๆออกมาจากเต้าเสียบ อันตรายมั้ยครับ