มีคำถามว่า คนกินก่อนพระ บาปหรือไม่
ผู้ถามหมายถึงอาหารที่พระไปบิณฑบาตได้มา พระยังไม่ได้ฉัน คนเอาไปกินเสียก่อน ดังนี้ จะบาปหรือไม่
เรื่องนี้ตอบด้วยสามัญสำนึกก็ย่อมได้ คือตอบว่าบาปแน่ (บาป หมายถึงอย่างไร ก็ไปหาความรู้และคำจำกัดความกันอีกเรื่องหนึ่ง)
ในฐานะเป็นชาวพุทธ ตอบแค่นั้นน่าจะยังไม่พอ แต่ควรหาความรู้ต่อไปอีก
-----------------
เบื้องต้นน่าจะรู้จักหน้าตาของศัพท์วิชาการเกี่ยวกับเรื่องนี้คำหนึ่ง นั่นคือคำว่า “อนามัฏฐบิณฑบาต” (อ่านว่า อะ นา มัด ถะ บิน ทะ บาด)
“บิณฑบาต” เป็นคำที่เราคุ้นกันดีอยู่แล้ว ในที่นี้หมายถึงอาหารที่พระภิกษุบิณฑบาตได้มา
“อนามัฏฐ” แปลว่า “-ที่ยังไม่ถูกจับต้อง”
“อนามัฏฐบิณฑบาต” จึงแปลว่า “บิณฑบาตที่ยังไม่ได้จับต้อง” หมายถึง อาหารที่พระภิกษุบิณฑบาตได้มาและยังมิได้ฉัน
มีพระวินัยบัญญัติไว้ว่า อนามัฏฐบิณฑบาตนั้นภิกษุจะหยิบยกให้แก่ผู้ใดผู้หนึ่งที่มิใช่ภิกษุด้วยกันมิได้ มีโทษทางพระวินัยฐานทำให้ “ศรัทธาไทย” ตกไป คือทำให้สิ่งที่มีผู้ถวายมาไม่เป็นไปตามเจตนาของผู้ถวาย
ถึงตรงนี้ควรแวะศึกษารากเหง้าเค้าเดิมของการใส่บาตรให้รู้ว่าชาวพุทธใส่บาตรกันทำไม
พระพุทธศาสนามีเป้าหมายอยู่ที่-ให้มนุษย์ปฏิบัติขัดเกลาตนเองจนพ้นจากทุกข์
ทุกข์ที่เป็นรากเหง้าของทุกข์ทั้งปวงก็คือวัฏทุกข์ แปลว่า ทุกข์คือการเวียนตายเวียนเกิด
เพราะเวียนตายเวียนเกิด ทุกข์อื่นๆ จึงเกิดมีตามมา
ถ้าปฏิบัติขัดเกลาจิตจนพ้นจากกิเลสทั้งปวงก็จะไม่ต้องเวียนตายเวียนเกิด
เมื่อไม่ต้องเวียนตายเวียนเกิด ก็ไม่ต้องทุกข์ คือทุกข์อะไรๆ ก็เกิดมีแก่ผู้นั้นไม่ได้
คนที่เห็นภัยในวัฏทุกข์ก็จึงตั้งเป้าหมายแห่งชีวิตว่าจะต้องปฏิบัติขัดเกลาตนเองตามแนวทางคำสอนของพระพุทธเจ้า
การปฏิบัติขัดเกลาตนเองตามแนวทางคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น ถ้ายังอยู่ครองเรือนก็ทำได้ยาก คนพวกนี้ก็จึงสละบ้านเรือนครอบครัวออกบวช
ใครออกบวชได้ คนที่มีความเห็นเป็นสัมมาทิฐิตรงกันก็พลอยชื่นชม อุปมาเหมือนคนสมัครเป็นทหารออกรบ คนที่ยังไม่พร้อมจะไปรบก็พลอยชื่นชม สนับสนุนด้วยวิธีการต่างๆ
พูดให้เห็นภาพก็ว่า-ใครออกบวชได้คนหนึ่งก็เฮกันลั่น พรั่งพรูกันสนับสนุนด้วยปัจจัยสี่
ถอดเป็นคำพูดก็เหมือนกับพูดว่า อย่าเป็นห่วงเรื่องทำมาหากินเลย ชาวบ้านจะเลี้ยงเอง ตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติไปให้เต็มที่เถิด ไปให้ถึงฝั่งให้ได้นะ
พระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติพระวินัยให้พระออกบิณฑบาตหากินวันต่อวัน ไม่ให้เก็บสะสมอาหาร ทั้งนี้เพื่อให้ปลอดกังวล เสียเวลากับเรื่องกินให้น้อยที่สุด เพื่อจะได้มีเวลาปฏิบัติขัดเกลาตนเองให้ได้มากขึ้น
ชาวบ้านใส่บาตรให้พระก็ด้วยจุดประสงค์นี้
เมื่อรู้รากเหง้าของการใส่บาตรเช่นนี้แล้ว มองตามไปก็จะเห็นได้ว่า ข้าวปลาอาหารที่ญาติโยมใส่บาตรมานั้นเขามีเจตนาจะให้พระฉันเพื่อให้มีกำลังศึกษาปฏิบัติธรรม
พระยังไม่ได้ฉัน ใครเอาไปกินก่อน ก็ต้องบาปแน่นอน
หลักปฏิบัติ-ไม่กินอะไรก่อนพระ-จึงเกิดขึ้นด้วยเหตุผลเช่นนี้
ฝ่ายพระเอง ฉันบิณฑบาตของชาวบ้านแล้วไม่ปฏิบัติธรรม ก็อยู่ในฐานะผู้ผิดสัญญา เป็นผู้บริโภคชนิดที่เป็นหนี้ชาวโลก ยิ่งถ้าประพฤติทุศีลด้วย ท่านว่ากลืนกินก้อนเหล็กแดงประเสริฐกว่า
ความรู้เรื่องการขบฉัน อนามัฏฐบิณฑบาต / อาจารย์ทองย้อย แสงสินชัย
มีคำถามว่า คนกินก่อนพระ บาปหรือไม่
ผู้ถามหมายถึงอาหารที่พระไปบิณฑบาตได้มา พระยังไม่ได้ฉัน คนเอาไปกินเสียก่อน ดังนี้ จะบาปหรือไม่
เรื่องนี้ตอบด้วยสามัญสำนึกก็ย่อมได้ คือตอบว่าบาปแน่ (บาป หมายถึงอย่างไร ก็ไปหาความรู้และคำจำกัดความกันอีกเรื่องหนึ่ง)
ในฐานะเป็นชาวพุทธ ตอบแค่นั้นน่าจะยังไม่พอ แต่ควรหาความรู้ต่อไปอีก
-----------------
เบื้องต้นน่าจะรู้จักหน้าตาของศัพท์วิชาการเกี่ยวกับเรื่องนี้คำหนึ่ง นั่นคือคำว่า “อนามัฏฐบิณฑบาต” (อ่านว่า อะ นา มัด ถะ บิน ทะ บาด)
“บิณฑบาต” เป็นคำที่เราคุ้นกันดีอยู่แล้ว ในที่นี้หมายถึงอาหารที่พระภิกษุบิณฑบาตได้มา
“อนามัฏฐ” แปลว่า “-ที่ยังไม่ถูกจับต้อง”
“อนามัฏฐบิณฑบาต” จึงแปลว่า “บิณฑบาตที่ยังไม่ได้จับต้อง” หมายถึง อาหารที่พระภิกษุบิณฑบาตได้มาและยังมิได้ฉัน
มีพระวินัยบัญญัติไว้ว่า อนามัฏฐบิณฑบาตนั้นภิกษุจะหยิบยกให้แก่ผู้ใดผู้หนึ่งที่มิใช่ภิกษุด้วยกันมิได้ มีโทษทางพระวินัยฐานทำให้ “ศรัทธาไทย” ตกไป คือทำให้สิ่งที่มีผู้ถวายมาไม่เป็นไปตามเจตนาของผู้ถวาย
ถึงตรงนี้ควรแวะศึกษารากเหง้าเค้าเดิมของการใส่บาตรให้รู้ว่าชาวพุทธใส่บาตรกันทำไม
พระพุทธศาสนามีเป้าหมายอยู่ที่-ให้มนุษย์ปฏิบัติขัดเกลาตนเองจนพ้นจากทุกข์
ทุกข์ที่เป็นรากเหง้าของทุกข์ทั้งปวงก็คือวัฏทุกข์ แปลว่า ทุกข์คือการเวียนตายเวียนเกิด
เพราะเวียนตายเวียนเกิด ทุกข์อื่นๆ จึงเกิดมีตามมา
ถ้าปฏิบัติขัดเกลาจิตจนพ้นจากกิเลสทั้งปวงก็จะไม่ต้องเวียนตายเวียนเกิด
เมื่อไม่ต้องเวียนตายเวียนเกิด ก็ไม่ต้องทุกข์ คือทุกข์อะไรๆ ก็เกิดมีแก่ผู้นั้นไม่ได้
คนที่เห็นภัยในวัฏทุกข์ก็จึงตั้งเป้าหมายแห่งชีวิตว่าจะต้องปฏิบัติขัดเกลาตนเองตามแนวทางคำสอนของพระพุทธเจ้า
การปฏิบัติขัดเกลาตนเองตามแนวทางคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น ถ้ายังอยู่ครองเรือนก็ทำได้ยาก คนพวกนี้ก็จึงสละบ้านเรือนครอบครัวออกบวช
ใครออกบวชได้ คนที่มีความเห็นเป็นสัมมาทิฐิตรงกันก็พลอยชื่นชม อุปมาเหมือนคนสมัครเป็นทหารออกรบ คนที่ยังไม่พร้อมจะไปรบก็พลอยชื่นชม สนับสนุนด้วยวิธีการต่างๆ
พูดให้เห็นภาพก็ว่า-ใครออกบวชได้คนหนึ่งก็เฮกันลั่น พรั่งพรูกันสนับสนุนด้วยปัจจัยสี่
ถอดเป็นคำพูดก็เหมือนกับพูดว่า อย่าเป็นห่วงเรื่องทำมาหากินเลย ชาวบ้านจะเลี้ยงเอง ตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติไปให้เต็มที่เถิด ไปให้ถึงฝั่งให้ได้นะ
พระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติพระวินัยให้พระออกบิณฑบาตหากินวันต่อวัน ไม่ให้เก็บสะสมอาหาร ทั้งนี้เพื่อให้ปลอดกังวล เสียเวลากับเรื่องกินให้น้อยที่สุด เพื่อจะได้มีเวลาปฏิบัติขัดเกลาตนเองให้ได้มากขึ้น
ชาวบ้านใส่บาตรให้พระก็ด้วยจุดประสงค์นี้
เมื่อรู้รากเหง้าของการใส่บาตรเช่นนี้แล้ว มองตามไปก็จะเห็นได้ว่า ข้าวปลาอาหารที่ญาติโยมใส่บาตรมานั้นเขามีเจตนาจะให้พระฉันเพื่อให้มีกำลังศึกษาปฏิบัติธรรม
พระยังไม่ได้ฉัน ใครเอาไปกินก่อน ก็ต้องบาปแน่นอน
หลักปฏิบัติ-ไม่กินอะไรก่อนพระ-จึงเกิดขึ้นด้วยเหตุผลเช่นนี้
ฝ่ายพระเอง ฉันบิณฑบาตของชาวบ้านแล้วไม่ปฏิบัติธรรม ก็อยู่ในฐานะผู้ผิดสัญญา เป็นผู้บริโภคชนิดที่เป็นหนี้ชาวโลก ยิ่งถ้าประพฤติทุศีลด้วย ท่านว่ากลืนกินก้อนเหล็กแดงประเสริฐกว่า