ด่าพระ แรงไป หรือเปล่าครับท่าน ?

เห็นเขา ด่าๆ กัน ก็รู้สึกแปลกใจว่า .... มันถูกต้องแล้ว แน่หรือ ?



1 เรื่องการฉันเฉพาะในบาตร นั้นเป็นสิ่งที่เรียกว่า ธุดงควัตร นี่ครับ
หมายความว่า สามารถทำได้ตามความสมัครใจ ไม่บังคับ ไม่ใช่สิกขาบทวินัย

แล้ว ท่านชาวพุทธ จะเอามาถือเป็นเหตุในการด่าพระ ได้ไงครับ ?
ก็ขนาดพระศาสดา ยังไม่เห็นว่าเป็นความผิด เลยนี่ครับ



v
v

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

๑๐. ปัตตปิณฑิกสูตร
             [๑๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร ๕ จำพวก
นี้ ๕ จำพวกเป็นไฉน คือ ภิกษุเป็นผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร เพราะโง่
เขลา เพราะหลงงมงาย ๑ มีความปรารถนาลามก ถูกความอยากครอบงำ จึงเป็น
ผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร ๑ เป็นผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตรเพราะเป็นบ้า
เพราะจิตฟุ้งซ่าน ๑ เป็นผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร เพราะรู้ว่าเป็นวัตรอัน
พระพุทธเจ้าและสาวกแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายสรรเสริญ ๑ เป็นผู้ถือฉันเฉพาะ
ในบาตรเป็นวัตร เพราะอาศัยความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย ความสันโดษ
ความขัดเกลา ความสงัด ความเป็นผู้มีความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอันงามเช่นนี้ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้แล ดูกรภิกษุ-
*ทั้งหลาย บรรดาภิกษุผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ ภิกษุผู้ถือฉัน
เฉพาะในบาตรเป็นวัตร เพราะอาศัยความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย ความสันโดษ
ความขัดเกลา ความสงัด ความเป็นผู้มีความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอันงามเช่นนี้
เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และดีกว่าภิกษุผู้ถือฉันเฉพาะในบาตร
เป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากโค นมส้มเกิดจากนมสด
เนยข้นเกิดจากนมส้ม เนยใสเกิดจากเนยข้น หัวเนยใสเกิดจากเนยใส หัวเนย
ใสชาวโลกย่อมกล่าวว่าเป็นเลิศในจำพวกโครส ๕ เหล่านั้น ฉันใด ดูกรภิกษุ-
*ทั้งหลาย บรรดาภิกษุผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ ภิกษุผู้ถือฉัน
เฉพาะในบาตรเป็นวัตร เพราะอาศัยความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย ความสันโดษ
ความขัดเกลา ความสงัด ความเป็นผู้มีความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอันงามเช่นนี้
เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และดีกว่าภิกษุผู้ถือฉันเฉพาะในบาตร
เป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=5154&Z=5183

2 ส่วนเรื่อง การไม่ห่มจีวร ฉันอาหาร(ในกุฏิ) ..... อันนี้ ผมก็ยังสงสัยอยู่ นะครับ ว่าผิด จริงหรือ ?



เพราะเท่าที่ทราบ พระท่านจะห่มจีวรเฉพาะเมื่อไปฉัน ในโรงฉัน หรือ ในละแวกบ้าน
ที่ชาวบ้านเขาจัดเลี้ยง แล้วนิมนต์ไป นี่ครับ

v
v

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗
จุลวรรค ภาค ๒

ภัตตัคควัตร
             [๔๒๔] สมัยนั้น พระฉัพพัคคีย์นุ่งห่มไม่เรียบร้อย ไม่มีมรรยาทไปสู่
โรงฉัน เดินแซงไปข้างหน้าพระเถระทั้งหลายบ้าง นั่งเบียดเสียดพระเถระบ้าง
เกียดกันพวกภิกษุใหม่ด้วยอาสนะบ้าง นั่งทับสังฆาฏิในละแวกบ้านบ้าง บรรดา
ภิกษุผู้ที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระฉัพพัคคีย์
จึงได้นุ่งห่มไม่เรียบร้อย ไม่มีมรรยาทไปสู่โรงฉัน เดินแซงไปข้างหน้าพระเถระ
ทั้งหลายบ้าง นั่งเบียดเสียดพระเถระบ้าง เกียดกันพวกภิกษุใหม่ด้วยอาสนะบ้าง
นั่งทับสังฆาฏิในละแวกบ้านบ้าง จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
             พระผู้มีพระภาค ... ทรงสอบถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุ
ฉัพพัคคีย์นุ่งห่มไม่เรียบร้อย ไม่มีมรรยาทไปสู่โรงฉัน เดินแซงไปข้างหน้า
พระเถระทั้งหลายบ้าง นั่งเบียดเสียดพระเถระบ้าง เกียดกันพวกภิกษุใหม่ด้วย
อาสนะบ้าง นั่งทับสังฆาฏิในละแวกบ้านบ้าง จริงหรือ
             ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
             พระผู้มีพระภาค ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติวัตรในโรงฉันแก่ภิกษุทั้งหลาย
โดยประการที่ภิกษุทั้งหลาย พึงประพฤติเรียบร้อยในโรงฉัน ฯ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=7&A=4452&Z=4517

               [ภัตตัคควัตร]              
               วินิจฉัยในภัตตัคควัตร พึงทราบดังนี้ :-
               ในอรรถกถาทั้งหลายกล่าวว่า จะเป็นในละแวกบ้านหรือในวัดก็ตาม, การที่ภิกษุผู้จะไปสู่ที่เลี้ยงของชนทั้งหลาย ห่มจีวรคาดประคดนั่นแล สมควร.
               หลายบทว่า น เถเร ภิกฺขู อนูปขชฺช มีความว่า ไม่พึงนั่งเบียดภิกษุผู้เป็นเถระนัก หากว่า อาสนะเสมอกับอาสนะที่พระมหาเถระนั่ง, เมื่ออาสนะมีมาก พึงนั่งเว้นไว้ ๑ หรือ ๒ อาสนะ ไม่พึงนั่งบนอาสนะที่เขานับภิกษุแต่งตั้งไว้, พระมหาเถระสั่งว่า จงนั่งเถิด พึงนั่ง. ถ้าพระมหาเถระไม่สั่ง, พึงเรียนว่า อาสนะนี้สูงขอรับ เมื่อท่านบอกว่า จงนั่งเถิด พึงนั่ง, ก็ถ้าว่า เมื่อภิกษุใหม่ แม้เรียนแล้วอย่างนั้น พระมหาเถระไม่อนุญาต, ไม่เป็นอาบัติแก่เธอผู้นั่ง. เป็นอาบัติแก่พระมหาเถระเท่านั้น. จริงอยู่ ภิกษุใหม่ไม่เรียนก่อน นั่งบนอาสนะเห็นปานนั้น ย่อมต้องอาบัติเหมือนพระเถระอันภิกษุใหม่เรียนแล้วไม่อนุญาตฉะนั้น

http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=414

แต่ถ้าเป็นกรณี พระฉันในกุฏิ โดยมีพระเณร ลูกศิษย์ นำอาหารไปถวาย
กรณีแบบนี้ ท่านไม่ต้องห่มจีวร ไม่ใช่หรือครับ ?

อันนี้ ผมพิจารณาจาก อาจริยวัตร น่ะครับ

v
v

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔
มหาวรรค ภาค ๑

อาจริยวัตร
             [๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิกพึงประพฤติชอบในอาจารย์.
             วิธีประพฤติชอบในอาจารย์นั้น ดังต่อไปนี้
             อันเตวาสิกพึงลุกแต่เช้าตรู่ ถอดรองเท้า ห่มผ้าเฉวียงบ่า แล้วถวายไม้ชำระฟัน
ถวายน้ำล้างหน้า ปูอาสนะไว้
             ถ้ายาคูมี พึงล้างภาชนะแล้วน้อมยาคูเข้าไปถวาย เมื่ออาจารย์ดื่มยาคูแล้ว พึงถวายน้ำ
รับภาชนะมา ถือต่ำๆ อย่าให้กระทบกัน ล้างให้สะอาดแล้วเก็บไว้ เมื่ออาจารย์ลุกแล้ว พึงเก็บ
ผ้าอาสนะ
             ถ้าที่นั้นรก พึงกวาดเสีย.
             ถ้าอาจารย์ประสงค์จะเข้าบ้าน พึงถวายผ้านุ่ง พึงรับผ้านุ่งผลัดมา พึงถวายประคตเอว
พึงพับผ้าสังฆาฏิให้เป็นชั้นถวาย พึงล้างบาตรแล้วถวายพร้อมทั้งน้ำด้วย
             ถ้าอาจารย์ปรารถนาให้เป็นปัจฉาสมณะ พึงปกปิดมณฑลสาม นุ่งให้เป็นปริมณฑล
แล้วคาดประคตเอว ห่มสังฆาฏิทำเป็นชั้น กลัดดุม ล้างบาตรแล้วถือไป เป็นปัจฉาสมณะของ
อาจารย์ ไม่พึงเดินให้ห่างนัก ไม่พึงเดินให้ชิดนัก พึงรับวัตถุที่เนื่องในบาตร
             เมื่ออาจารย์กำลังพูด ไม่พึงพูดสอดขึ้นในระหว่าง อาจารย์กล่าวถ้อยคำใกล้ต่ออาบัติ
พึงห้ามเสีย
             เมื่อกลับ พึงมาก่อนแล้วปูอาสนะที่นั่งฉันไว้ พึงเตรียมน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า
กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ พึงลุกขึ้นรับบาตรและจีวร พึงถวายผ้านุ่งผลัด พึงรับผ้านุ่งมา.
             ถ้าจีวรชุ่มเหงื่อ พึงผึ่งแดดไว้ครู่หนึ่ง แต่ไม่พึงผึ่งทิ้งไว้ที่แดด
             พึงพับจีวร เมื่อพับจีวร พึงพับจีวรให้เหลื่อมมุมกัน ๔ นิ้ว ด้วยตั้งใจมิให้มีรอยพับ
ตรงกลาง พึงทำประคตเอวไว้ในขนดอันตรวาสก.
             ถ้าบิณฑบาตมี และอาจารย์ประสงค์จะฉัน พึงถวายน้ำแล้วน้อมบิณฑบาตเข้าไปถวาย
พึงถามอาจารย์ด้วยน้ำฉัน เมื่ออาจารย์ฉันแล้ว พึงถวายน้ำ รับบาตรมา ถือต่ำๆ อย่าให้กระทบ
ล้างให้สะอาด เช็ดให้แห้ง แล้วผึ่งไว้ที่แดดครู่หนึ่ง แต่ไม่พึงผึ่งทิ้งไว้ที่แดด
             พึงเก็บบาตรจีวร เมื่อเก็บบาตร พึงเอามือข้างหนึ่งจับบาตร เอามือข้างหนึ่งลูบคลำ
ใต้เตียงหรือใต้ตั่ง แล้วจึงเก็บบาตร แต่ไม่พึงเก็บบาตรไว้บนพื้นที่ไม่มีสิ่งใดรอง
             เมื่อเก็บจีวร พึงเอามือข้างหนึ่งถือจีวร เอามือข้างหนึ่งลูบราวจีวร หรือสายระเดียง
แล้วทำชายไว้ข้างนอก ทำขนดไว้ข้างใน แล้วจึงเก็บจีวร
             เมื่ออาจารย์ลุกแล้ว พึงเก็บอาสนะ เก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า
ถ้าที่นั้นรก พึงกวาดที่นั้นเสีย.

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=4&A=2092&Z=2196

แต่ชาวพุทธบางคน เขาถึงกับ ประณามว่า นั่นเป็นความประพฤติของ อลัชชี กันเลยทีเดียว
ผมเห็นว่า ด่าแรง เกินไป นะครับ และไม่น่าจะเป็นความเห็นที่สอดคล้องกับ พระพุทธดำรัสอีกด้วย



ชาวพุทธท่านใดทราบ รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ กรุณาอธิบายด้วยครับ ว่าข้อเท็จจริง ควรเป็นอย่างไร ?
ที่จริงเขาด่า อีกหลายเรื่องครับ แต่ยกมาเพียงแค่นี้ก่อน .... อนุโมทนา ครับท่าน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่