เมืองดังของอินเดียที่คุ้นหูคนไทยหลายคน
เกินแปดสิบเปอร์เซ็นต์น่าจะอยู่ตอนเหนือ
แต่ก็ไม่น่าแปลกใจ เพราะส่วนใหญ่แล้ว
สถานที่สวยๆ อลังการในประเทศอินเดีย
ก็มักจะอยู่แถบนั้นจริงๆ
ไม่ว่าจะเป็นภูเขาหิมะแถบรัฐหิมาจัลประเทศ
หรือจะรัฐริมทะเลทรายอย่างราชสถาน
วันนี้เราเลยมานำเสนอเมืองตกสำรวจ
ที่นักท่องเที่ยวไทยยังไม่ค่อยรู้จักกัน
อย่างเมืองริมทะเลอาหรับ... Varkala
ออกเสียงประมาณ ‘วาระกาล่า’
ตรงคำว่า ‘ระ’ ไม่ต้องออกเสียงเต็ม
แค่กระดกลิ้นพอเป็นพิธีก็พอ
จะได้คุยกับคนอินเดียรู้เรื่องเด้อ
เมือง Varkala อยู่ในรัฐเกรละ (Kerala)
อยู่ติดกับเมืองหลวงของรัฐ
อย่างตริวันดรัม (Trivandrum) เลย
ปกติ เรามักหลีกเลี่ยงเมืองติดทะเลของอินเดีย
เพราะแอบคิดว่าทะเลบ้านเราสวยกว่า
แต่ไหนๆ ผ่านมาแถวนี้แล้ว
ก็ต้องแวะมาที่เมืองชายหาด
ที่เขาเคลมกันว่าสวยติด 1 ใน 10
ของชายหาดที่สวยที่สุดในอินเดียเลยเชียว
...ซึ่งมันก็สวยจริงๆ นะ
แต่สวยในแง่ของสภาพภูมิศาสตร์โดยรอบ
น้ำทะเลไม่ได้ใสแจ๋ว แถมคลื่นยังรุนแรง
ตามสไตล์ปกติของทะเลอาหรับอีก
ลักษณะเด่นของหาด Varkala คือ
เป็นหาดที่อยู่ใต้หน้าผาศิลาแลงสูงสิบกว่าเมตร
(ศิลาแลงคือหินที่มีสีออกส้มแดง)
ด้วยเอกลักษณ์เฉพาะตัวแบบนี้
ทางการอินเดียจึงประกาศให้หาดนี้
เป็นมรดกทางธรณีวิทยาแห่งหนึ่งของอินเดีย
และระบุให้สถานที่แห่งนี้
เป็น Geological Monument
หรืออนุสรณ์สถานที่เกิดจากสภาพภูมิศาสตร์
การจะลงไปยังตัวชายหาดด้านล่าง
มีทางเดินให้ลงไปดีๆ ไม่ต้องปีนป่ายหน้าผา
ไม่มีค่าผ่านด่านผ่านทางใดใดทั้งสิ้น
แถมริมชายหาดก็มีร้านอาหาร
พอให้นักท่องเที่ยวได้นั่งพักผ่อนชมวิวเต็มที่
บรรยากาศบนชายหาดครึกครื้น
ส่วนใหญ่มีแต่นักท่องเที่ยวชาวอินเดีย
มีทั้งมาเดินเล่นเป็นกลุ่มครอบครัว
และตั้งวงเล่นฟุตบอลกันริมชายหาด
ด้านความสะอาดเราก็ค่อนข้างพอใจนะ
วันที่เราไปเป็นช่วงฤดูมรสุม (กรกฎาคม 2016)
จากคลื่นลมที่แรงเป็นปกติอยู่แล้ว
ฤดูมรสุมมันยิ่งทวีความแรงขึ้นคูณสองจ้า
สังเกตได้จากรูปภาพแทบทุกรูป
จะเหมือนมีหมอกปกคลุมชายหาดตลอดเวลา
ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใช่หมอกนะ
แต่เป็นละอองน้ำทะเลที่โดนลมพัดขึ้นมา
เล่นเอาหน้าเป็นเมือกเลยค่ะ
เดินๆ ไปถ้าหิวก็ลองเอาลิ้นแตะแขน
จะได้รสชาติเค็มปะแล่มๆ ดี
ถ้าไปช่วงฤดูร้อนหรือฤดูหนาวคงสวยกว่านี้
เดินเล่นบนหาดเบื่อแล้ว
ก็ย้อนมาเดินชอปปิ้งกันด้านบนได้
ตลอดแนวยาวของหน้าผาหิน
จะมีร้านค้า โรงแรม ร้านอาหารเปิดกันเต็ม
ราคาก็มีให้เลือกตามน้ำหนักกระเป๋าเงินของแต่ละคน
เราเดินจากบริเวณลานจอดรถบนหน้าผา
เรื่อยมาจนถึงสุดขอบอีกด้านหนึ่ง
รวมๆ แล้วระยะทางก็ประมาณเกือบ 2 กิโลเมตร
แต่ระหว่างทางก็มีอะไรให้ดูเพลินๆ
ต่อปาก ต่อคำ ต่อราคากับพ่อค้าแม่ขาย
เผลอแป๊บเดียวก็ถึงแล้ว
แต่จริงๆ สุดขอบอีกด้านหนึ่งก็ไม่มีอะไรมาก
ถ้าใครขี้เกียจเดินก็ไม่ต้องมาก็ได้
แต่เราอยากมาดูอควาเรียม
ซึ่งมันอยู่ตรงจุดนี้พอดี เลยยอมมา
Varkala Aquarium อยู่ในอาคารเล็กๆ
ในดงต้นมะพร้าวริมชายหาด
ราคาค่าเข้าอยู่ที่ 45 รูปี (รวมค่าถ่ายรูปแล้ว)
พันธุ์สัตว์ทะเลที่นี่ไม่ต่างจากบ้านเรานัก
ดูคุ้นหน้าคุ้นตาไปหมด
ใช้เวลาแป๊บเดียวก็เดินทั่วอาคาร
จุดน่าสนใจมีจุดนึง ที่เขาเรียกว่า Touch Pool
เป็นจุดที่ให้เราสัมผัสกับสัตว์ทะเลได้
แต่ภายใต้การดูแลของเจ้าหน้าที่นะ
เด็กๆ นี่ดี๊ด๊ากันใหญ่
รวมถึงผู้ใหญ่สมองเด็กอย่างเราด้วย (ฮ่า)
การเดินทาง
สามารถเดินทางด้วยรถเมล์จากเมืองตริวันดรัม
หรือจะนั่งรถไฟมาจากเมือง Kochi ก็ได้
เรามาเมืองนี้แบบไปเช้าเย็นกลับจาก Kochi
เพราะตอนนั้นบินจากดอนเมืองไปลงที่นั่น
แล้วดันจองที่พักใน Kochi ไปแล้ว
ถ้าใครอยากนั่งรถไฟจาก Kochi
เขาจะมีรอบตอนเช้าที่มาถึง Varkala เกือบเที่ยง
แล้วก็มีรอบขากลับตอนหกโมงเย็นงี้
ก็สะดวกดีเหมือนกัน
ระยะเวลาประมาณ 4 ชั่วโมงต่อเที่ยว
รถไฟนี่เลือกคลาสได้ตามสบาย
มีตั้งแต่คลาสละไม่กี่สิบบาทถึงหลายร้อย
จากนั้นค่อยเหมาออโต้ริกชอว์จากสถานีรถไฟ
มายังชายหาด Varkala ทีหลัง
ราคาก็ไม่ควรเกิน 200 รูปีอินเดีย
เกินก็กระโดดกัดหู
เลย
กรณีที่เดินทางจากสถานีรถไฟ Varkala
นอกจากออโต้ริกชอว์แล้ว
ยังมีรถเมล์ให้ขึ้นอีกด้วย
ราคาถูกแสนถูก แต่ก็นานๆ มาที
(ไม่เกิน 15 รูปีอินเดีย)
ป้ายรถเมล์อยู่ฝั่งตรงข้ามสถานีเลย
ส่วนขากลับจากชายหาด
ให้ไปขึ้นรถเมล์กลับตรงป้ายรถเมล์
ฝั่งตรงข้าม Sri Shastha Temple ในรูป
รูปแถม
สัพเพเหระ
ต่อจากนี้ไม่ได้สลักสำคัญ
หรือเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวแต่อย่างใด
แต่เป็นประสบการณ์ผีๆ ของเรา ที่หดหู่มากๆ
แต่พอมองย้อนกลับไป
โคตรตลก ฮือ
จากที่เราจั่วหัวมาว่า
เราเจอประสบการณ์ต้องสาปที่เมืองนี้
จริงๆ ก็ไม่ใช่อะไรที่น่ากลัวจริงจัง
แต่มันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกัน
จนดูเหมือนจะเป็นเรื่องเดียวกัน...
ระหว่างทางเดินกลับจากอควาเรียม
ข้างทางจะมีร้านขายของฝากตั้งเรียงรายอยู่
พ่อค้าแม่ขายแต่ละคนเห็นเราเป็นนักท่องเที่ยว
ก็พยายามชักชวนให้เข้าไปชมร้านกันสุดฤทธิ์
แต่มีขุ่นป้าคนหนึ่งที่ไม่เหมือนใคร
นางเดินมาทักเราถึงที่ (คนอื่นแค่เรียกจากในร้าน)
แล้วบอกกับเราว่า “you have an unlucky vibes,
come and buy this lucky magnet
/ ไอ้หนูดูดวงตกนะ มาซื้อแม่เหล็กนำโชคป้าเร็ว”
ต้องบอกก่อนว่าเราไม่ค่อยเชื่อเรื่องดวง
ก็เลยเดินเชิ่ดใส่นางไป
ต่อมา…
เราต้องนั่งรถไฟกลับเมือง Kochi
ด้วยความตื่นตระหนก
เพราะไปถึงสถานีในเวลาเฉียดฉิว
แถมเห็นรถไฟกำลังใกล้จะออก
ซึ่งตรงกับชานชาลาบนตั๋วของเราพอดี
เราเลยรีบขึ้นรถไฟไป
ทั้งที่ยังไม่ทันได้ตรวจสอบเลขขบวนรถ
มองผ่านๆ แล้วก็กระโดดขึ้นเลย
อีกทั้งถามเจ้าหน้าที่แล้ว เขาก็บอกว่าคันนี้ชัวร์
ซึ่งปรากฏว่าขึ้นผิดขบวนจ้า
ขบวนของเราคือหมายเลข 16302
แต่ดันไปขึ้นหมายเลข 16342 แทน
ขบวนของเราดีเลย์ อิที่เราขึ้นมาก็ดีเลย์
แต่ดันดีเลย์มาชนเวลาขบวนเราพอดี
โชคยังดีที่จุดหมายปลายทาง
ของทั้งสองคันคือเมืองเดียวกัน
สิ่งที่ต่างกันคือสถานีรถไฟเท่านั้น
ซึ่งปกติแล้ว แต่ละเมืองของอินเดีย
จะมีสถานีรถไฟหลายแห่ง ตามแต่ละมุมเมือง
โดยสถานีที่รถไฟขบวนนี้จะจอด
ห่างจากสถานีที่เราควรลงหลายกิโลทีเดียว
หาแผนสำรองมาปรับเปลี่ยนได้สำเร็จ
คุณลุงเจ้าหน้าที่ตรวจตั๋วก็เดินมาพอดี
นางไล่เช็กตั๋วทีละใบตามชื่อที่อยู่ในระบบ
พอมาถึงตรงหมายเลขที่นั่งเรา ลุงก็ขมวดคิ้วย่นเลย...
มองดูรายชื่อที่พิมพ์มาจากระบบที
ดูชื่อในหนังสือเดินทางของเราที
แต่มันก็ไม่ตรงกันสักที
แน่ล่ะ... ถึงแม้คนไทยเรา
จะมีเค้าโครงชื่อจากภาษาสันสกฤต
แต่มันจะไปคล้ายชื่ออินเดียแท้ได้ยังไง
ลุงตรวจดูจนแน่ชัดว่าชื่ออินี่ไม่มีในระบบ
เลยขอเช็กตั๋วรถไฟเรา
แล้วบอกว่าขึ้นรถไฟผิดขบวนแล้วโว้ย
พร้อมทั้งต่อว่าเราเสียงดังมาก
แต่เป็นภาษาท้องถิ่นนะ
คนในตู้รถไฟหันมามองกันเป็นตาเดียว
แน่สิ...
ฟังเข้าใจกันทั้งตู้ มีกูนี่แหละฟังไม่รู้เรื่อง
ลุงบอก "Follow me / ตามมา" เสียงแข็ง
และบ่นภาษาอินเดียสาขาเกรละตลอดทาง
มีภาษาอังกฤษแทรกมาด้วยนิดหน่อย
จับความได้เพียงคำว่า
"Pay full price / จ่ายเต็มราคา"
ซ้ำๆ อยู่นั่นแหละ
อารมณ์เราคือแบบ โอ๊ย... ลุง
จะบ่นอะไรนักหนา ให้จ่ายเท่าไหร่ก็เรียกมา
พาทัวร์ประจานอยู่นั่นแหละ
ถึงหน้าหนูจะไม่ได้บางเฉียบสามมิล
แต่ก็ไม่ได้หนาจนไร้ความรู้สึกเขินอายนะคะ
ลุงพาเราเดินจากตู้รถไฟชั้นสอง
ลักษณะคล้ายตู้รถไฟชั้นสามของบ้านเรา
เป็นที่นั่งไม้หันหน้าเข้าหากัน
มีเบาะรองนั่งและพนักพิง
ไปจนถึงตู้รถไฟแบบปรับอากาศ
จากนั้นผายมือให้เรานั่งลงข้างที่นั่งนาง
ก่อนจะเปลี่ยนอารมณ์เป็นคนละขั้ว
เสมือนว่าอากาศเย็นๆ ในตู้แอร์
ช่วยลดความระอุของลุงลงไปได้
หลายร้อยองศาเซลเซียส
"I have to act tough cause there are rules
/ ลุงต้องโหดคนจะได้เชื่อฟัง" ลุงบอก
“Don’t worry now, I'll help you
/ ไม่ต้องกังวล เดี๋ยวลุงช่วยเอง"
พร้อมทำท่าเข้าอกเข้าใจ
ว่าเรากับเจ้าหน้าที่ที่สถานี Varkala
คงเข้าใจผิดกันทำให้ขึ้นรถผิดขบวน
แล้วลุงก็ปล่อยให้เรานั่งตู้แอร์ข้างนางตลอดทาง
ที่ด่าๆ เมื่อกี้คือการแสดงหรอ
แอ็กต์ทัฟหรอ โอ้โห...
ปรับอารมณ์ตามลุงไม่ทันจริงๆ ค่ะ
ความผียังไม่จบ
ขุ่นป้าบอกว่ามี unlucky vibes ใช่ไหม
งั้นจัดมาให้เต็มสตรีมเลยค่ะ น้องยังรับไหว
[CR] Varkala Beach ชายหาดที่สวยติด TOP 10 ของอินเดีย กับประสบการณ์ต้องสาป
เมืองดังของอินเดียที่คุ้นหูคนไทยหลายคน
เกินแปดสิบเปอร์เซ็นต์น่าจะอยู่ตอนเหนือ
แต่ก็ไม่น่าแปลกใจ เพราะส่วนใหญ่แล้ว
สถานที่สวยๆ อลังการในประเทศอินเดีย
ก็มักจะอยู่แถบนั้นจริงๆ
ไม่ว่าจะเป็นภูเขาหิมะแถบรัฐหิมาจัลประเทศ
หรือจะรัฐริมทะเลทรายอย่างราชสถาน
วันนี้เราเลยมานำเสนอเมืองตกสำรวจ
ที่นักท่องเที่ยวไทยยังไม่ค่อยรู้จักกัน
อย่างเมืองริมทะเลอาหรับ... Varkala
ออกเสียงประมาณ ‘วาระกาล่า’
ตรงคำว่า ‘ระ’ ไม่ต้องออกเสียงเต็ม
แค่กระดกลิ้นพอเป็นพิธีก็พอ
จะได้คุยกับคนอินเดียรู้เรื่องเด้อ
เมือง Varkala อยู่ในรัฐเกรละ (Kerala)
อยู่ติดกับเมืองหลวงของรัฐ
อย่างตริวันดรัม (Trivandrum) เลย
ปกติ เรามักหลีกเลี่ยงเมืองติดทะเลของอินเดีย
เพราะแอบคิดว่าทะเลบ้านเราสวยกว่า
แต่ไหนๆ ผ่านมาแถวนี้แล้ว
ก็ต้องแวะมาที่เมืองชายหาด
ที่เขาเคลมกันว่าสวยติด 1 ใน 10
ของชายหาดที่สวยที่สุดในอินเดียเลยเชียว
...ซึ่งมันก็สวยจริงๆ นะ
แต่สวยในแง่ของสภาพภูมิศาสตร์โดยรอบ
น้ำทะเลไม่ได้ใสแจ๋ว แถมคลื่นยังรุนแรง
ตามสไตล์ปกติของทะเลอาหรับอีก
ลักษณะเด่นของหาด Varkala คือ
เป็นหาดที่อยู่ใต้หน้าผาศิลาแลงสูงสิบกว่าเมตร
(ศิลาแลงคือหินที่มีสีออกส้มแดง)
ด้วยเอกลักษณ์เฉพาะตัวแบบนี้
ทางการอินเดียจึงประกาศให้หาดนี้
เป็นมรดกทางธรณีวิทยาแห่งหนึ่งของอินเดีย
และระบุให้สถานที่แห่งนี้
เป็น Geological Monument
หรืออนุสรณ์สถานที่เกิดจากสภาพภูมิศาสตร์
การจะลงไปยังตัวชายหาดด้านล่าง
มีทางเดินให้ลงไปดีๆ ไม่ต้องปีนป่ายหน้าผา
ไม่มีค่าผ่านด่านผ่านทางใดใดทั้งสิ้น
แถมริมชายหาดก็มีร้านอาหาร
พอให้นักท่องเที่ยวได้นั่งพักผ่อนชมวิวเต็มที่
บรรยากาศบนชายหาดครึกครื้น
ส่วนใหญ่มีแต่นักท่องเที่ยวชาวอินเดีย
มีทั้งมาเดินเล่นเป็นกลุ่มครอบครัว
และตั้งวงเล่นฟุตบอลกันริมชายหาด
ด้านความสะอาดเราก็ค่อนข้างพอใจนะ
วันที่เราไปเป็นช่วงฤดูมรสุม (กรกฎาคม 2016)
จากคลื่นลมที่แรงเป็นปกติอยู่แล้ว
ฤดูมรสุมมันยิ่งทวีความแรงขึ้นคูณสองจ้า
สังเกตได้จากรูปภาพแทบทุกรูป
จะเหมือนมีหมอกปกคลุมชายหาดตลอดเวลา
ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใช่หมอกนะ
แต่เป็นละอองน้ำทะเลที่โดนลมพัดขึ้นมา
เล่นเอาหน้าเป็นเมือกเลยค่ะ
เดินๆ ไปถ้าหิวก็ลองเอาลิ้นแตะแขน
จะได้รสชาติเค็มปะแล่มๆ ดี
ถ้าไปช่วงฤดูร้อนหรือฤดูหนาวคงสวยกว่านี้
เดินเล่นบนหาดเบื่อแล้ว
ก็ย้อนมาเดินชอปปิ้งกันด้านบนได้
ตลอดแนวยาวของหน้าผาหิน
จะมีร้านค้า โรงแรม ร้านอาหารเปิดกันเต็ม
ราคาก็มีให้เลือกตามน้ำหนักกระเป๋าเงินของแต่ละคน
เราเดินจากบริเวณลานจอดรถบนหน้าผา
เรื่อยมาจนถึงสุดขอบอีกด้านหนึ่ง
รวมๆ แล้วระยะทางก็ประมาณเกือบ 2 กิโลเมตร
แต่ระหว่างทางก็มีอะไรให้ดูเพลินๆ
ต่อปาก ต่อคำ ต่อราคากับพ่อค้าแม่ขาย
เผลอแป๊บเดียวก็ถึงแล้ว
แต่จริงๆ สุดขอบอีกด้านหนึ่งก็ไม่มีอะไรมาก
ถ้าใครขี้เกียจเดินก็ไม่ต้องมาก็ได้
แต่เราอยากมาดูอควาเรียม
ซึ่งมันอยู่ตรงจุดนี้พอดี เลยยอมมา
Varkala Aquarium อยู่ในอาคารเล็กๆ
ในดงต้นมะพร้าวริมชายหาด
ราคาค่าเข้าอยู่ที่ 45 รูปี (รวมค่าถ่ายรูปแล้ว)
พันธุ์สัตว์ทะเลที่นี่ไม่ต่างจากบ้านเรานัก
ดูคุ้นหน้าคุ้นตาไปหมด
ใช้เวลาแป๊บเดียวก็เดินทั่วอาคาร
จุดน่าสนใจมีจุดนึง ที่เขาเรียกว่า Touch Pool
เป็นจุดที่ให้เราสัมผัสกับสัตว์ทะเลได้
แต่ภายใต้การดูแลของเจ้าหน้าที่นะ
เด็กๆ นี่ดี๊ด๊ากันใหญ่
รวมถึงผู้ใหญ่สมองเด็กอย่างเราด้วย (ฮ่า)
สามารถเดินทางด้วยรถเมล์จากเมืองตริวันดรัม
หรือจะนั่งรถไฟมาจากเมือง Kochi ก็ได้
เรามาเมืองนี้แบบไปเช้าเย็นกลับจาก Kochi
เพราะตอนนั้นบินจากดอนเมืองไปลงที่นั่น
แล้วดันจองที่พักใน Kochi ไปแล้ว
ถ้าใครอยากนั่งรถไฟจาก Kochi
เขาจะมีรอบตอนเช้าที่มาถึง Varkala เกือบเที่ยง
แล้วก็มีรอบขากลับตอนหกโมงเย็นงี้
ก็สะดวกดีเหมือนกัน
ระยะเวลาประมาณ 4 ชั่วโมงต่อเที่ยว
รถไฟนี่เลือกคลาสได้ตามสบาย
มีตั้งแต่คลาสละไม่กี่สิบบาทถึงหลายร้อย
จากนั้นค่อยเหมาออโต้ริกชอว์จากสถานีรถไฟ
มายังชายหาด Varkala ทีหลัง
ราคาก็ไม่ควรเกิน 200 รูปีอินเดีย
เกินก็กระโดดกัดหูเลย
กรณีที่เดินทางจากสถานีรถไฟ Varkala
นอกจากออโต้ริกชอว์แล้ว
ยังมีรถเมล์ให้ขึ้นอีกด้วย
ราคาถูกแสนถูก แต่ก็นานๆ มาที
(ไม่เกิน 15 รูปีอินเดีย)
ป้ายรถเมล์อยู่ฝั่งตรงข้ามสถานีเลย
ส่วนขากลับจากชายหาด
ให้ไปขึ้นรถเมล์กลับตรงป้ายรถเมล์
ฝั่งตรงข้าม Sri Shastha Temple ในรูป
ต่อจากนี้ไม่ได้สลักสำคัญ
หรือเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวแต่อย่างใด
แต่เป็นประสบการณ์ผีๆ ของเรา ที่หดหู่มากๆ
แต่พอมองย้อนกลับไปโคตรตลก ฮือ
จากที่เราจั่วหัวมาว่า
เราเจอประสบการณ์ต้องสาปที่เมืองนี้
จริงๆ ก็ไม่ใช่อะไรที่น่ากลัวจริงจัง
แต่มันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกัน
จนดูเหมือนจะเป็นเรื่องเดียวกัน...
ระหว่างทางเดินกลับจากอควาเรียม
ข้างทางจะมีร้านขายของฝากตั้งเรียงรายอยู่
พ่อค้าแม่ขายแต่ละคนเห็นเราเป็นนักท่องเที่ยว
ก็พยายามชักชวนให้เข้าไปชมร้านกันสุดฤทธิ์
แต่มีขุ่นป้าคนหนึ่งที่ไม่เหมือนใคร
นางเดินมาทักเราถึงที่ (คนอื่นแค่เรียกจากในร้าน)
แล้วบอกกับเราว่า “you have an unlucky vibes,
come and buy this lucky magnet
/ ไอ้หนูดูดวงตกนะ มาซื้อแม่เหล็กนำโชคป้าเร็ว”
ต้องบอกก่อนว่าเราไม่ค่อยเชื่อเรื่องดวง
ก็เลยเดินเชิ่ดใส่นางไป
ต่อมา…
เราต้องนั่งรถไฟกลับเมือง Kochi
ด้วยความตื่นตระหนก
เพราะไปถึงสถานีในเวลาเฉียดฉิว
แถมเห็นรถไฟกำลังใกล้จะออก
ซึ่งตรงกับชานชาลาบนตั๋วของเราพอดี
เราเลยรีบขึ้นรถไฟไป
ทั้งที่ยังไม่ทันได้ตรวจสอบเลขขบวนรถ
มองผ่านๆ แล้วก็กระโดดขึ้นเลย
อีกทั้งถามเจ้าหน้าที่แล้ว เขาก็บอกว่าคันนี้ชัวร์
ซึ่งปรากฏว่าขึ้นผิดขบวนจ้า
ขบวนของเราคือหมายเลข 16302
แต่ดันไปขึ้นหมายเลข 16342 แทน
ขบวนของเราดีเลย์ อิที่เราขึ้นมาก็ดีเลย์
แต่ดันดีเลย์มาชนเวลาขบวนเราพอดี
โชคยังดีที่จุดหมายปลายทาง
ของทั้งสองคันคือเมืองเดียวกัน
สิ่งที่ต่างกันคือสถานีรถไฟเท่านั้น
ซึ่งปกติแล้ว แต่ละเมืองของอินเดีย
จะมีสถานีรถไฟหลายแห่ง ตามแต่ละมุมเมือง
โดยสถานีที่รถไฟขบวนนี้จะจอด
ห่างจากสถานีที่เราควรลงหลายกิโลทีเดียว
หาแผนสำรองมาปรับเปลี่ยนได้สำเร็จ
คุณลุงเจ้าหน้าที่ตรวจตั๋วก็เดินมาพอดี
นางไล่เช็กตั๋วทีละใบตามชื่อที่อยู่ในระบบ
พอมาถึงตรงหมายเลขที่นั่งเรา ลุงก็ขมวดคิ้วย่นเลย...
มองดูรายชื่อที่พิมพ์มาจากระบบที
ดูชื่อในหนังสือเดินทางของเราที
แต่มันก็ไม่ตรงกันสักที
แน่ล่ะ... ถึงแม้คนไทยเรา
จะมีเค้าโครงชื่อจากภาษาสันสกฤต
แต่มันจะไปคล้ายชื่ออินเดียแท้ได้ยังไง
ลุงตรวจดูจนแน่ชัดว่าชื่ออินี่ไม่มีในระบบ
เลยขอเช็กตั๋วรถไฟเรา
แล้วบอกว่าขึ้นรถไฟผิดขบวนแล้วโว้ย
พร้อมทั้งต่อว่าเราเสียงดังมาก
แต่เป็นภาษาท้องถิ่นนะ
คนในตู้รถไฟหันมามองกันเป็นตาเดียว
แน่สิ...
ฟังเข้าใจกันทั้งตู้ มีกูนี่แหละฟังไม่รู้เรื่อง
ลุงบอก "Follow me / ตามมา" เสียงแข็ง
และบ่นภาษาอินเดียสาขาเกรละตลอดทาง
มีภาษาอังกฤษแทรกมาด้วยนิดหน่อย
จับความได้เพียงคำว่า
"Pay full price / จ่ายเต็มราคา"
ซ้ำๆ อยู่นั่นแหละ
อารมณ์เราคือแบบ โอ๊ย... ลุง
จะบ่นอะไรนักหนา ให้จ่ายเท่าไหร่ก็เรียกมา
พาทัวร์ประจานอยู่นั่นแหละ
ถึงหน้าหนูจะไม่ได้บางเฉียบสามมิล
แต่ก็ไม่ได้หนาจนไร้ความรู้สึกเขินอายนะคะ
ลุงพาเราเดินจากตู้รถไฟชั้นสอง
ลักษณะคล้ายตู้รถไฟชั้นสามของบ้านเรา
เป็นที่นั่งไม้หันหน้าเข้าหากัน
มีเบาะรองนั่งและพนักพิง
ไปจนถึงตู้รถไฟแบบปรับอากาศ
จากนั้นผายมือให้เรานั่งลงข้างที่นั่งนาง
ก่อนจะเปลี่ยนอารมณ์เป็นคนละขั้ว
เสมือนว่าอากาศเย็นๆ ในตู้แอร์
ช่วยลดความระอุของลุงลงไปได้
หลายร้อยองศาเซลเซียส
"I have to act tough cause there are rules
/ ลุงต้องโหดคนจะได้เชื่อฟัง" ลุงบอก
“Don’t worry now, I'll help you
/ ไม่ต้องกังวล เดี๋ยวลุงช่วยเอง"
พร้อมทำท่าเข้าอกเข้าใจ
ว่าเรากับเจ้าหน้าที่ที่สถานี Varkala
คงเข้าใจผิดกันทำให้ขึ้นรถผิดขบวน
แล้วลุงก็ปล่อยให้เรานั่งตู้แอร์ข้างนางตลอดทาง
ที่ด่าๆ เมื่อกี้คือการแสดงหรอ
แอ็กต์ทัฟหรอ โอ้โห...
ปรับอารมณ์ตามลุงไม่ทันจริงๆ ค่ะ
ความผียังไม่จบ
ขุ่นป้าบอกว่ามี unlucky vibes ใช่ไหม
งั้นจัดมาให้เต็มสตรีมเลยค่ะ น้องยังรับไหว
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น