แผนพัฒนาเยาวชนเบลเยี่ยม ที่สร้าง Golden Gen.สำเร็จได้ใน10ปี

พิมพ์เขียวของฟุตบอลเบลเยียมอันเป็นแหล่งกำเนิดของ Golden Generation
เขียนบทความโดย สจ๊วต เจมส์Stuart James
แปลโดย NTT สมาชิกเว็บไทยแลนด์สู้ๆ
http://www.thailandsusu.com/webboard/index.php?topic=373720.0
ผมสรุปแบบย่อ (ขออภัยที่ไม่ได้ขออนุญาตผู้แปล เพราะผมไม่ได้เป็นสมาชิก แต่ไปอ่านเจอมา)

จุดเริ่ม
ตอนเบลเยียมตกรอบแรกบอลโลก 1998 ได้มีการเรียกประชุมโค้ชของสหพันธ์
จากทั้งภูมิภาค เพื่อมาประชุมหาทางพลิกเปลี่ยนวิธีการพัฒนาเยาวชน
บ็อบ บราวเวย์ส ได้รับแรงบันดาลใจจาก อาแจ็กซ์ และ บาร์เซโลน่า
จึงเสนอให้ทีมเยาวชนเบลเยียมทุกชุดเล่นระบบ 4-3-3 และต้องสร้างนักเตะในแบบใหม่ขึ้นเพื่อรองรับระบบนี้
เขากล่าว "ตอนนั้นเรารู้สึกว่าเราต้องปรับปรุงเรื่องทักษะการเลื้อย เราบอกในแผนวิสัยทัศน์เลยนะว่า
หัวใจก็คือการต่อสู้แบบ 1 ต่อ 1เราเขียนไว้เลยว่าเวลาเด็กหัดเตะบอล โค้ชต้องสอนเรื่องการเลื้อยก่อนเลย ให้เด็กเลี้ยงบอลอย่างอิสระ"

จุดเปลี่ยน
เมื่อซาบล็องเข้ามาเป็นประธานเทคนิค เขาทำให้ปรัชญาฟุตบอลของเบลเยี่ยมเข้ารูปเข้ารอยและต่อยอดขึ้นไป
เขานำเงินจากการเป็นเจ้าภาพร่วมบอลยูโร 2000 (ซึ่งทีมชาติเบลเยียมชุดนั้นตกรอบแรก) มาพัฒนาระบบเยาวชน
มีการสร้างอคาเดมี่แห่งชาติ และสหพันธ์เปิดอบรมโค้ชบอลแบบไม่เสียค่าใช้จ่าย มีการจ้างบริษัทชื่อ Double PASS
ซึ่งทำงานภายใต้มหาวิทยาลัยบรัสเซล มาเป็นตัวกลางคอยตรวจสอบการทำงานของอคาเดมี่ในระดับสโมสรและให้คำแนะนำ

ในขณะเดียวกันซาบล็องก็แต่งตั้งให้มหาวิทยาลัย ลูแวง ทำการศึกษาเพิ่มเติมเรื่องบอลเยาวชนเบลเยียม
ซึ่งศึกษาจากบอลเยาวชนทุกระดับอายุ 1,500 นัด ซาบล็องทำงานใกล้ชิดกับบรรดาสโมสรเป็นระยะเวลาหนึ่ง
มีการจัดประชุมกันเป็นประจำกับหัวหน้าอคาเดมี่เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดและกระตุ้นให้อคาเดมี่ให้ความร่วมมือ
ในการเปลี่ยนแปลงบอลเบลเยียม แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนจะเห็นด้วยหรอก
ซาบล็องบอกว่าผลการศึกษาของมหาวิทยาลัย ลูแวง ถือเป็นจุดเปลี่ยน
"ด้วยการวิเคราะห์แบบวิทยาศาสตร์ แสดงผลการศึกษาให้อคาเดมี่สโมสรเห็นว่าเด็กในระดับ
U8 และ U9 แตะบอล 2 ครั้งในเวลาครึ่งชั่วโมง เป็นสถิติที่ไม่น่าพอใจ การมีตัวเลขทำให้มีหลักฐานชัด
และคนวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้เป็นผู้ที่เข้าใจเรื่องฟุตบอล ดังเช่น แวร์เนอร์ เฮลเซ่น ที่เคยเป็นนักเตะและโค้ชในระดับ D2 มาก่อน
ในเวลาต่อมาเขาเป็นศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยเป็นคนวงการฟุตบอลตัวจริง"

หนึ่งในสิ่งที่รายงานของมหาวิทยาลัยบ่งบอกไว้ก็คือ ตอนนั้นมีการเน้นไปที่ผลการแข่งขันมากไป
แต่ให้ความสำคัญกับการปรับปรุงพัฒนาน้อยไป และก็มีหลักฐานที่สนับสนุนว่าทฤษฎีของสหพันธ์ฯ
ที่ให้เด็กเล่นแบบ 2v2, 5v5 และ 8v8 นั้นถือเป็นบอลสนามเล็ก เป็นผลเลิศต่อเด็กในการพัฒนาทักษะการเลื้อย
และการผ่านบอลทแยง ซึ่งเป็นหัวใจของระบบ 4-3-3

ผลสำเร็จ
การที่สหพันธ์ทำงานร่วมกับรัฐบาลทำให้ มีโรงเรียนกีฬา 8 แห่ง โดยมีจุดประสงค์เพื่อปั้นนักเตะเยาวชนชั้นยอด
ทั้งชายหญิงอายุ 14-18 ปี โดยมีการซ้อมเพิ่มเติมจากหลักสูตรเพื่อเพิ่มโอกาสให้ไปถึงทีมชาติ คือซ้อมเช้า 4 วันเช้าละ 2 ชั่วโมง
ซึ่งคุมซ้อมโดยโค้ชของสหพันธ์ นั่นคือนักเตะสุดยอดระดับเยาวชนได้รับการฝึกสอนเป็นสองเท่าจากแต่เดิม ในแง่ความสำเร็จก็คือ
มีผู้เล่นชุดบอลโลก 2014 7 คน [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ที่มาจากระบบเยาวชนของสโมสรชั้นนำในประเทศที่เคยได้ร่วมมือกับโรงเรียน ในการเพิ่มเวลาซ้อมจากเย็นเป็นเช้าและเย็น

ช็อง คินเดอมันส์ ได้พาไปชม 2 โรงเรียนในกรุงบรัสเซลและเมืองอันเดอเลชท์ ที่ร่วมโครงการ "Purple Talents"
ซึ่งเริ่มโครงการเมื่อปี 2007 และมี โรเมลู ลูกากู หนึ่งในผลผลิตของโครงการ คินเดอมันส์ที่เป็นผู้อำนวยการอคาเดมี่
ของอันเดอเลชท์บอกว่า มีการซ้อมที่โรงเรียน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ครั้งละ 1 ชัวโมง ซึ่งเน้นการพัฒนาเทคนิคการเล่น
ซึ่งการทำเช่นนี้สร้างความแตกต่างได้มากทีเดียว
เขาบอกว่า ลูกากู นั้นเราเอาเขามาตอนเล่น U13 ตอนนั้นเขาเป็นผู้เล่นที่ดีแต่เทคนิคยังไม่ดี เขามีความเร็วและแข็งแรงแต่เราต้องเจียรนัยเขา"

นอกจากนี้เด็กๆก็ต้องไม่ทิ้งการเรียน คินเดอมันส์อธิบายปรัชญาที่อันเดอเลชท์เชื่อว่าทางสโมสรต้องดูแลมากไปกว่าแค่การสร้าง
แวงซอง กอมปานี หรือ ลูกากู คนต่อๆไป ที่อันเดอเลชท์ ทุกๆวันเด็กเยาวชน 220 คน นั้นฝันจะเป็นนักบอลอาชีพ เต็มที่แค่ 10%
ที่เป็นได้  200 คนที่ไม่ได้ไปต่อในอาชีพนักบอล  "เราต้องบอกเด็กว่าถ้าพวกเขาไปไม่ถึงฝั่ง เช่นได้รับบาดเจ็บ, เสียความมั่นใจ, พัฒนาไม่ดี ,
มีปัญหาครอบครัว แต่ถ้าพวกเธออยู่กับอันเดอเลชท์ยาวพอ พวกเธอจะจบการศึกษาจากโรงเรียนและทำให้พวกเธอมีงานทำ เป็นคนที่มีสมอง"

แนวทางการเล่นทีมชาติกับอคาเดมีสโมสร
คินเดอมันส์ ชื่นชม ซาบล็องว่าคือ "คนที่มีวิสัยทัศน์สุดยอด" แต่ทางอคาเดมี่ อันเดอเลชท์เราไม่ได้ทำตามทุกอย่างของสหพันธ์แบบลอกมาเป๊ะๆ"
คินเดอมันส์ยกตัวอย่างประกอบว่า อันเดอเลชท์เล่น formation 3-4-3 ตั้งแต่ระดับ U14 ขึ้นมาแทนที่จะเล่น 4-3-3 ตามแผนของซาบล็อง เขาอธิบายว่า
"ทุกครั้งที่เล่นเราพยายามจะครองบอลให้ได้ 70% ก็หมายความว่าถ้าเล่นหลัง 4 ตัวตังแต่เด็ก เด็กๆก็จะเล่นง่าย เราจึงให้เด็กเล่นหลัง 3 ตัวตั้งแต่เด็กเพื่อให้พวกเขาต้องกดดัน"
ปรัชญาการสร้างบอลของคินเดอมันส์นั้นชัดเจนมาก "ผมจะบอกให้ว่าที่อันเดอเลชท์นั้นเราห้ามเด็กเข้าปะทะเพื่อแย่งบอลบอลเด็ดขาด เราให้เด็กแค่ดักทางหรือฉกบอลเท่านั้น เราทำแบบนี้จนเด็กเข้าสู่ระดับ U21 เป็นทีมสำรองของอันเดอเลชท์" "จุดประสงค์ก็คือว่าเราต้องการสร้างสรรค์ทักษะเทคนิคให้นักบอลเยาวชน ดังนั้นถ้ากองหลังเราพยายามหยุดคู่ต่อสู้ด้วยการเข้าปะทะเพื่อแย่ง ผมไม่ชอบ ผมอยากสอนให้ดีที่สุด: นั้นคือ เมื่อไรจะดักทางบอล? เมื่อไรควรถอยออกจากคู่ต่อสู้? ผมต้องการสร้างนักบอลที่มีสมอง ไม่ใช่นักฆ่า"

+++ อยากให้อ่านฉบับเต็ม จากลิงค์ด้านบน+++
ต้องขอโทษท่าน NTT ผู้แปล ที่ผมไม่ได้ขออนุญาติก่อนนำมาลง ผมไม่ได้เป็นสมาชิก ไทยแลนด์สู้ๆ
แต่ก็เข้าไปอ่านเป็นประจำ ถ้าเห็นว่าไม่มีความเหมาะสมประการใด ก็แนะนำได้ครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่