การสวนสนามทางเรือนานาชาติ (The 50th Anniversary of ASEAN’s International Fleet Review 2017 : ASEAN IFR 2017) เป็นการจัดสวนสนามโดยกองทัพเรือประเทศสมาชิกอาเซียนร่วมเป็นเจ้าภาพ และเชิญประเทศต่างๆ นอกอาเซียน ร่วมสวนสนามฉลองครบรอบ ๕๐ ปี การก่อตั้งอาเซียน บริเวณพื้นที่อ่าวพัทยา มีกำหนดจัดกิจกรรมในวันเสาร์ที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ ณ บริเวณอ่าวพัทยา เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี โดยมีประมาณการกำลังทางเรือและกำลังทางอากาศที่เข้าร่วม ประกอบด้วยเรือของกองทัพเรือ จำนวน ๑๕ ลำ เรือของประเทศสมาชิกอาเซียน จำนวน ๑๕ – ๒๐ ลำ เรือของประเทศนอกอาเซียน จำนวน ๑๕ – ๒๐ ลำ และอากาศยานของกองทัพเรือและกองทัพอากาศ จำนวน ๒๐ เครื่อง
มหกรรมทางเรือ ครบรอบ 50 ปีอาเซียน คืออะไร
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
กองทัพเรือได้รับความไว้วางใจจากกองทัพเรือประเทศสมาชิกอาเซียนให้เป็นเจ้าภาพจัดกิจกรรมสวนสนามทางเรือนานาชาติ เนื่องในโอกาสครบรอบ ๕๐ ปี การก่อตั้งอาเซียน ในปีพุทธศักราช ๒๕๖๐ ตามมติที่ประชุมผู้บัญชาการทหารเรืออาเซียน ครั้งที่ ๘ ที่กองทัพเรือเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระหว่าง ๒๖ – ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๗ และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๘ ให้ความเห็นชอบการจัดกิจกรรมดังกล่าวและกำหนดให้เป็นกิจกรรมหลักระดับประเทศ เพื่อให้การจัดกิจกรรมดังกล่าวมีความสมเกียรติ เป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดี และเป็นกิจกรรมยิ่งใหญ่ระดับโลก กองทัพเรือจึงได้รวมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องหลายกิจกรรมมาจัดในช่วงระยะเวลาเดียวกัน คือระหว่างวันจันทร์ที่ ๑๓ ถึงวันพุธที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ รวมเวลาทั้งสิ้น ๑๐ วัน ณ พื้นที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี จังหวัดใกล้เคียง และพื้นที่อ่าวไทยตอนบน รวมเรียกว่า “มหกรรมทางเรือนานาชาติ เนื่องในโอกาสครบรอบ ๕๐ ปี การก่อตั้งอาเซียน” โดยเมืองพัทยาร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนรับผิดชอบจัดกิจกรรมบนบกซึ่งเป็นกิจกรรมสมทบเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในภาคการท่องเที่ยวและบริการ รวมทั้งเป็นการเผยแพร่ศิลปะวัฒนธรรมและเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับประเทศ ส่วนกองทัพเรือรับผิดชอบจัดกิจกรรมทางทะเลซึ่งเป็นกิจกรรมหลักเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ ๕๐ ปี การก่อตั้งอาเซียน รวมทั้งยังเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมืออันดีระหว่างกองทัพเรือกับกองทัพเรืออาเซียนและกองทัพเรือนอกอาเซียน ประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ ดังนี้
๑. การสวนสนามทางเรือนานาชาติ (The 50th Anniversary of ASEAN International Fleet Review 2017 : ASEAN IFR 2017) โดยกองทัพเรือจะเชิญกองทัพเรือประเทศสมาชิกอาเซียนและนอกอาเซียนรวมกว่า ๓๐ ประเทศ จัดเรือรบที่ทันสมัยและมีสมรรถนะสูงกว่า ๔๐ ลำ ร่วมการสวนสนามทางเรือบริเวณพื้นที่อ่าวพัทยา โดยจะกราบเรียนเชิญนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีแขกผู้มีเกียรติทั้งผู้บังคับบัญชาฝ่ายไทยและต่างประเทศ รวมทั้งผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องร่วมชมการสวนสนามทางเรือนานาชาติ ณ เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี
๒. การฝึกผสมแบบพหุภาคีของกองทัพเรือประเทศสมาชิกอาเซียน (The 1st ASEAN Multilateral Naval Exercise : The 1st AMNEX 2017) โดยกองทัพเรือร่วมกับกองทัพเรือประเทศสมาชิกอาเซียนจะดำ เนินการฝึกตาม Standard Operating Procedures for ASEAN Multilateral Naval Exercise : SOP for AMNEX) ที่กองทัพเรือทุกประเทศได้ให้ความเห็นชอบร่วมกันแล้วในคราวการประชุมผู้บัญชาการทหารเรืออาเซียน ครั้งที่ ๙ ซึ่งจัดขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคม ๒๕๕๘ ที่ผ่านมา ณ ประเทศเมียนมา โดยจะมีการฝึกทั้งในทะเลและบนบกบริเวณพื้นที่อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี และบริเวณอ่าวไทยตอนบน
๓. การประชุมผู้บัญชาการทหารเรืออาเซียน ครั้งที่ ๑๑ (The 11th ASEAN Navy Chiefs’ Meeting 2017 : The 11th ANCM 2017) โดยกองทัพเรือเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมในพื้นที่เมืองพัทยา ในช่วงเวลาที่มีความสอดคล้องกันทั้งกิจกรรมสวนสนามทางเรือนานาชาติ และการฝึกผสมแบบพหุภาคี
๔. กิจกรรมการสาธิตการปฏิบัติการทางเรือ มีกำหนดจัดกิจกรรมในวันอาทิตย์ที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ บริเวณชายหาดเมืองพัทยา (พัทยากลาง) ซึ่งเป็นกิจกรรมก่อนที่จะเริ่มกิจกรรมการเดินพาเหรดทางบกโดยมีการสาธิตการปฏิบัติการทางเรือ ๒ กิจกรรมสาธิต โดยในระหว่างการดำเนินกิจกรรมการสาธิตการปฏิบัติการทางเรือ จะมีการแสดงกำลังทางอากาศของกองทัพอากาศให้สอดคล้องกับสถานการณ์การสาธิตการปฏิบัติการทางเรือ ดังนี้
กิจกรรมสาธิตที่ ๑ : การช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเล โดยเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพเรือ เรือและชุดปฏิบัติการพิเศษ พร้อมเจ้าหน้าที่จากศูนย์นเรนทร โรงพยาบาลเมืองพัทยา และกู้ภัยเมืองพัทยา
กิจกรรมสาธิตที่ ๒ : การต่อต้านการก่อการร้ายโดยการชิงตัวประกัน กำลังที่เข้าร่วมประกอบด้วย รีคอนจากหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน และมนุษย์กบจากหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ และเรือเร็วโจมตีจากกองเรือยุทธการ
๕. กิจกรรมการเดินพาเหรดทางบก มีกำหนดจัดกิจกรรมในวันอาทิตย์ที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ บริเวณถนนเลียบชายหาดเมืองพัทยา (จากระหว่างพัทยาใต้และพัทยากลางตลอดเส้นทางจนถึงพัทยาเหนือ) เป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่องจากกิจกรรมการสาธิตการปฏิบัติการทางเรือ โดยมีกำลังพลเข้าร่วมประกอบด้วย กำลังพลจากเรือของกองทัพเรือ จำนวน ๑๕ ลำ กำลังพลจากเรือของประเทศสมาชิกอาเซียน จำนวน ๑๕ – ๒๐ ลำและกำลังพลจากเรือของประเทศนอกอาเซียน จำนวน ๑๕ – ๒๐ ลำ ขบวนศิลปวัฒนธรรม ขบวนของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เข้าร่วมการเดินพาเหรดทางบก และ วงโยธวาทิตจากราชนาวี ขบวน พาเหรดจะใช้เส้นทางถนนเลียบชายหาดจากระหว่างพัทยาใต้และพัทยากลางมุ่งหน้าสู่พัทยาเหนือ ผ่านปรำพิธีบริเวณแยกพัทยากลางบนถนนเลียบชายหาดพัทยาเพื่อให้ประธานในพิธี (ผู้บัญชาการทหารเรืออาเซียนร่วมเป็นประธาน) รับการแสดงความเคารพจากขบวนพาเหรดต่าง ๆ ขณะเดินผ่านปะราพิธี นอกจากนี้ยังมีการแสดงแฟนซีดรีลจาก นักเรียนจ่าทหารเรือ บริเวณหน้าปรำพิธีก่อนที่ขบวนพาเหรดจากกองทัพเรือประเทศสมาชิกอาเซียนและนอกอาเซียนจะเดินผ่านปรำพิธีอีกด้วย
๖. กิจกรรมทางบก เป็นกิจกรรมสมทบที่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่จัดขึ้นตลอดช่วงเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๐ ได้แก่ การแสดงคอนเสิร์ต การแสดงพลุไฟนานาชาติ การแข่งขันมวยไทยไฟต์ การแข่งขันเครื่องบินระดับโลก Air Race 1 การแสดงสินค้า ๔ ภาค มหกรรมอาหารนานาชาติ การแสดงศิลปวัฒนธรรมอาเซียน การแสดงศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ และการจัดงานแสดงเทคโนโลยีทางเรือ Ship Tech หรืออาจมีกิจกรรมสมทบของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนอื่น ๆ เพิ่มเติมในภายหลัง
ประวัติการ fleet review ในประเทศไทย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
การสวนสนามทางเรือเริ่มต้นมาจากอังกฤษ เรียกว่า Fleet Review ต่อมาได้มีการพัฒนาการมาเป็นลำดับ จึงได้มีการแบ่งพิธีสวนสนามทางเรือ เป็น ๒ ประเภท คือ Fleet Review หรือ Naval Review และ Naval Vessels Parade หรือ Naval Parade โดย Fleet Review จะเป็นการสวนสนามโดยเรือทั้งหมดทิ้งสมออยู่กับที่ แต่เรือตรวจพลซึ่งผู้บังคับบัญชาสูงสุดจะอยู่บนเรือนั้น และเรือแล่นผ่าน เช่นเดียวกับการตรวจพลสวนสนามทางบก ซึ่งใช้รถวิ่งผ่านแถวทหาร สำหรับ Naval Parade จะใช้สำหรับเรือวิ่งในทะเล
ในส่วนของกองทัพเรือไทยเอง เริ่มมีมาตั้งแต่เมื่อใดไม่ปรากฎหลักฐาน แต่สันนิษฐานว่านำแบบอย่างมาจากพิธี Coronation Review ของอังกฤษซึ่งเป็นธรรมเนียมของพระเจ้าแผ่นดินภายหลังจากพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว จะเสด็จพระราชดำเนินตรวจพลทางเรือ พิธีนี้ได้กระทำขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย แห่งสหราชอาณาจักร เมื่อ ค.ศ. ๑๘๘๗ (พ.ศ.๒๔๓๐)
ในปี พ.ศ.๒๔๙๖ (ค.ศ.๑๙๕๓) อังกฤษได้จัดให้มีพิธีพระบรมราชาภิเษกสมเด็จพระนางเจ้าอลิซาเบธที่ ๒ รัฐบาลไทยได้รับเชิญให้ส่งเรือหลวงเข้าร่วมพิธีด้วย กองทัพเรือจึงได้ส่งเรือหลวง โพสามต้นไปร่วมพิธี เนื่องจาก ร.ล.โพสามต้นเป็นเรือที่กองทัพเรือได้รับมอบจากราชนาวีอังกฤษที่ประเทศสิงคโปร์ โดยได้เดินทางออกจากประเทศไทยเมื่อวันที่ ๔ เมษายน พ.ศ.๒๔๙๖ แล้วเข้าร่วมในพิธีเมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๔๙๖ และได้เดินทางกลับถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๙๖
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ กองทัพเรือได้จัดให้มีพิธีสวนสนามทางเรือขึ้นตามแบบประเทศตะวันตกเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๙๗ ณ บริเวณบางแสน จังหวัดชลบุรี โดยจัดเป็นกองเรือฝึกประกอบด้วยเรือหลวง จำนวน ๔๕ ลำ โดยมีจอมพลเรือ หลวงยุทธศาสตร์โกศล (ประยูร ยุทธศาสตร์โกศล) ขณะมียศ พลเรือเอก ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือเป็นผู้บังคับกองเรือฝึกและมี พลเรือเอก หลวงชำนาญ อรรถยุทธ์ (เอื้อน กุลไกรเวส) ขณะมียศ พลเรือโท ผู้บัญชาการกองเรือ ยุทธการเป็นรองผู้บังคับกองเรือฝึกและใช้วิธีสวนสนามทางเรือ Naval Parade คือ จัดเรือ เป็น ๔ หมวดเรือ แบ่งเป็น ๒ แถว โดยมี เรือหลวงแม่กลอง เป็นเรือตรวจพลสวนสนาม และจอมพลเรือ ป.พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นประธานการตรวจพลใช้สถานที่ในทะเลบริเวณหน้าบางแสนและมีเครื่องบินจากกองทัพอากาศบินผ่านร่วมตรวจพลด้วย โดยมีเรือเข้าร่วมพิธี จำนวน ๔๑ ลำ
จำนวนเรือเข้าร่วมสวนสนาม จำนวน 21 ลำ จาก 15 ประเทศ
บรูไน
กัมพูชา
อินโดนีเซีย
มาเลเซีย จำนวน 2 ลำ
เมียนมา
ฟิลิปปินส์
สิงคโปร์ จำนวน 2 ลำ
เวียดนาม
ออสเตรเลีย
ศรีลังกา
เกาหลีใต้ จำนวน 2 ลำ
ญี่ปุ่น
อินเดีย
บังคลาเทศ
รัสเซีย จำนวน 4 ลำ
รัสเซีย หมีขาว ส่งลำไหนมาบ้าง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ประกอบด้วย เรือพิฆาตปราบเรือดำน้ำชั้น UDALOY จำนวน 2 ลำ และเรือสนับสนุนอีกจำนวน 2 ลำ ซึ่งเรือทั้ง 4 ลำ ที่ส่งมาเข้าร่วมประกอบด้วย
1.) ADMIRAL VINOGRADOV และ ADMIRAL PANTELEYEV ทั้ง 2 ลำเป็นเรือพิฆาตปราบเรือดำน้ำ ชั้น UDALOY (Project 1155) แต่ละลำมีระวางขับน้ำ 6,930 ตันความเร็ว 30 น๊อต มีกำลังพลประจำเรือ 300 นาย ความยาว 163.5 เมตร ความกว้าง 19.3 เมตรกินน้ำลึก 6.2 เมตรระยะปฏิบัติการ 10,500 ไมล์ทะเล ที่ความเร็ว 14 น็อต เข้าประจำการในเดือน ธันวาคม ปี 1988 และ ธันวาคม 1991 ตามลำดับ
ระบบอาวุธประจำเรือประกอบด้วย อาวุธนำวิถีต่อต้านเรือ/เรือดำน้ำ SS-N-14 จำนวน 8 ท่อยิง อาวุธนำวิถีต่อต้านอากาศยาน SA-N-11 แนวตั้ง 8x8 ท่อยิง ปืนใหญ่เรือขนาด 130 มม. แท่นคู่จำนวน 1 ตอร์ปิโด RPK-2 ขนาด 553 มม. จำนวน 8 ท่อ จรวดต่อตานเรือดำน้ำ RBU-6000 จำนวน 2 แท่น และ เฮลิคอปเตอร์ ประจำเรือ KA-27 จำนวน 2 เครื่อง
2.) เรือ BORIS BUTOMA เป็นเรือประเภทเรือส่งกำลังบำรุงมีระวางขับน้ำ 7,150 ตันความยาว 161.1ความกว้าง 21.5 เมตรกินน้ำลึก 10.3 เมตร และ เรือ ALATAU เป็นเรือประเภท เรือกู้ภัยมีระวางขับน้ำ 3,010 ตันความยาว 92.7 เมตรความกว้าง 15.5 เมตรและกินน้ำลึก 5.9 เมตร
ที่พัทยา ASEAN International Fleet Review 2017 13 - 22 พฤศจิกายน 2560
การสวนสนามทางเรือนานาชาติ (The 50th Anniversary of ASEAN’s International Fleet Review 2017 : ASEAN IFR 2017) เป็นการจัดสวนสนามโดยกองทัพเรือประเทศสมาชิกอาเซียนร่วมเป็นเจ้าภาพ และเชิญประเทศต่างๆ นอกอาเซียน ร่วมสวนสนามฉลองครบรอบ ๕๐ ปี การก่อตั้งอาเซียน บริเวณพื้นที่อ่าวพัทยา มีกำหนดจัดกิจกรรมในวันเสาร์ที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ ณ บริเวณอ่าวพัทยา เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี โดยมีประมาณการกำลังทางเรือและกำลังทางอากาศที่เข้าร่วม ประกอบด้วยเรือของกองทัพเรือ จำนวน ๑๕ ลำ เรือของประเทศสมาชิกอาเซียน จำนวน ๑๕ – ๒๐ ลำ เรือของประเทศนอกอาเซียน จำนวน ๑๕ – ๒๐ ลำ และอากาศยานของกองทัพเรือและกองทัพอากาศ จำนวน ๒๐ เครื่อง
มหกรรมทางเรือ ครบรอบ 50 ปีอาเซียน คืออะไร
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ประวัติการ fleet review ในประเทศไทย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
จำนวนเรือเข้าร่วมสวนสนาม จำนวน 21 ลำ จาก 15 ประเทศ
บรูไน
กัมพูชา
อินโดนีเซีย
มาเลเซีย จำนวน 2 ลำ
เมียนมา
ฟิลิปปินส์
สิงคโปร์ จำนวน 2 ลำ
เวียดนาม
ออสเตรเลีย
ศรีลังกา
เกาหลีใต้ จำนวน 2 ลำ
ญี่ปุ่น
อินเดีย
บังคลาเทศ
รัสเซีย จำนวน 4 ลำ
รัสเซีย หมีขาว ส่งลำไหนมาบ้าง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้