ระบบสาธารณสุขของไทย เป็นระบบที่ Demand มากกว่า Supply มานานมากแล้ว
ตามหลักเศรษฐศาสตร์ เมื่อเกิด Excess Demand
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้อุปสงค์ส่วนเกิน (Excess Demand) หมายถึง ภาวะที่ D > S ทำให้สินค้าขาดตลาด ปรับตัวเข้าสู่ดุลยภาพโดยทำให้ราคาเพิ่มขึ้นแล้ว D ก็จะลดลง S ก็จะเพิ่มขึ้นจนเข้าสู่จุดดุลยภาพสาเหตุจากการเกิด เช่น การควบคุม ราคาขั้นสูงของปูนซีเมนต์, ราคาเนื้อหมู, ราคาน้ำตาล
ถ้าปล่อยให้เสรี จะเกิดการขึ้นราคา เพื่อให้เกิดจุดดุลยภาพ แต่ในเรื่องของสาธารณสุข มันไม่สามารถทำได้
จะเพิ่ม Supply ด้วยการขยายโรงพยาบาล หรือบุคลากร ก็ใช่ว่าจะทำได้โดยง่าย (หมอ พยาบาล วิชาชีพสาธารณสุขอื่น ไม่ใช่จะอบรม 1 วันแล้วทำได้เลย)
บางสาขาทั่วประเทศมีคนที่มีศักยภาพเพียงพอ ไม่ถึง 10 คน และบุคลากรทุกคนไม่ใช่มีความสามารถเท่าเทียมกัน
อีกทั้งเรื่องการเจ็บไข้ได้ป่วย ไม่มีมาตรฐานที่ตายตัวกันทุกคน ตัวร้อนก็ใช่ว่าจะเป็นไข้เหมือนกัน เชื้อโรคตัวเดียวกันคนป่วยคนเดิม ยังเกิดผลต่างกันไป ไม่สามารถสแกนปุ๊ปตอบผลปั๊ป ได้แบบอาการของเครื่องจักร แถมโรคบางชนิดระยะเวลาสั้นๆ ไม่อาจบอกได้เลย (ยกตัวอย่างไข้เลือดออก ที่ 1-3 วันแรกไม่มีอาการบ่งชี้ จนกว่าจะเริ่มมีอาการ) หรือโรคบางชนิดสามารถตรวจพบในเครื่องมือบางอย่าง ซึ่ง... ทั้งประเทศอาจมีเพียง 10 เครื่อง และมีค่าใช้จ่ายสูงมาก
แถมจำนวนคนต่อคิวใช้บริการนานมาก
แต่ชีวิตรอไม่ได้
เมื่อพูดถึงข่าว Comment ในข่าวเกี่ยวกับสาธารณสุข (ช่วงนี้ใครอ่านจะรู้สึกจิตตก ยิ่งเป็นคนในวงการคงหมดกำลังใจไปตามๆ กัน)
เราจะพบคำบางคำที่สวยงาม
ไม่มีสิ่งใดมีมูลค่าเท่าชีวิต ชีวิตมันไม่สามารถรอได้ พวกคุณหมดกำลังใจแต่คนไข้หมดลมหายใจ
คนป่วยจะจนจะรวยมันก็ชีวิตเหมือนกัน
ซึ่งด้วยมุมมองแบบอุดมคติมันก็คงเป็นตามนั้น ไม่มีสิ่งใดมีค่ามากเท่าชีวิต แต่... ในความเป็นจริงชีวิตมันต้องมีค่าใช้จ่าย หมอ พยาบาล คนในวงการก็มีชีวิต
ต้องกิน ต้องนอน ต้องมีความรู้สึก ต้องมีจิตใจ เหมือนกัน
แต่... สังเกตได้ว่า ทางแก้ของ Excess Damand ในวงการสาธารณสุขไทย คือ บีบให้คนเสียสละ เพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการ
ให้คนไข้ได้รับการรักษาที่มีต้นทุนสูง โดยดึงงบประมาณจากเงินเดือนบุคลากรมาจ่ายไปก่อน บีบให้คนต้องควงเวรมากๆ บางรายสูงถึง 36 ชั่วโมงติดต่อกัน
บีบให้คนต้องทนสภาพสถานะลูกจ้างที่ไม่มั่นคง บีบให้ต้องเสี่ยงต่อสวัสดิภาพการทำงานต่างๆ นานา
ผมขอข้ามประเด็น กลุ่มคนที่ใช้ทุนออกไป แต่อยากพูดถึงกลุ่มคนที่พ้นสภาวะใช้ทุนแล้ว หลายคนยังอยู่ในสถานการณ์ที่ว่าด้วยการบีบ "เสียสละ อย่าเห็นแก่ตัว" ทั้งจากฝ่ายบริหาร และจากคนไข้รวมถึงญาติๆ
ไปอ่านได้ในข่าวต่างๆ ทั้งเพจแหม่มโพธิ์ดำ Drama-addict เรื่องเล่าเช้านี้ ข่าวสด มติชน ไทยรัฐ ฯลฯ
100 ทั้ง 100 คุณจะพบ Comment ด่า และ ไล่ให้คนในวงการลาออก ถ้าไม่มีใจ
(คนในวงการนี้ต้องใช้ใจมากแค่ไหน ถึงจะเพียงพอ)
ถ้าคนในวงการออกไปจริง คิดว่าระบบสาธารณสุขบ้านเราจะมีสภาพเป็นยังไง คนที่ออกปากไล่ ยามป่วย เจ็บ เค้าไม่หาหมอหรือไง?
มีหลายความเห็นบอก ออกไปก็มีคนตกงานอื่นรออยู่ (ขนาดแค่หมอใหม่หลายคนยังไม่เชื่อถือเลย มีใบประกอบวิชาชีพชัดเจน ก็ยังไม่มั่นใจ จะเอาอาจารย์แพทย์มารักษาเท่านั้น) แล้วกับคนตกงานอื่นจะมาทดแทนที่ได้จริง?
อยากถามคนนั้นไป คุณยินยอมให้คนตกงาน ที่เพิ่งอบรม 1 วันมาดูแลชีวิตคุณจริงหรือ ชีวิตมันไร้ค่าขนาดนั้น?
เมื่อพูดถึง เอกชน หลายคนคงไม่ทราบว่า ยังขยายธุรกิจออกไปได้อย่างต่อเนื่อง คนไข้จากต่างประเทศที่มีเงินยังเข้ามารักษาในไทยมากขึ้น ทั้งตะวันออกกลาง จีน ญี่ปุ่น ยุโรป แอฟริกา อาเซียน เนื่องจาก ราคาของการรักษาที่เทียบแล้วถูกกว่าในประเทศของตน แถมวงการสาธารณสุขไทย มีความสามารถพอสมควร
ดังนั้น เอกชน ยังเปิดรับบุคลากรได้อีกมาก (แน่นอนไม่ถึงขนาดดึงคนในภาครัฐไปได้ 100% แต่ผมว่า แค่ 30-40% ก็เพียงพอที่ระบบรัฐประสบปัญหาแล้ว)
นอกจากนี้ วิชาชีพนี้ยังสามารถย้ายไปทำงานในต่างแดนได้ง่ายอีกด้วย และยังมีอาชีพอื่น ที่คนในวงการสามารถออกไปทำได้อีก
คนที่พอมีเงิน เค้ามีเงินพอที่จะไปรักษาเอกชน แต่คนที่ไม่มีละ ปัญหามันจะเกิดที่ใคร?
เมื่อเสนอความคิดดังนี้ เชื่อได้ มีหลายคนแช่งให้ครอบครัวผมเจอปัญหาไปเรียบร้อย แบบ ...ขอให้พ่อแม่คุณเจอ... ...ขอให้คนที่คุณรักต้องเจอ...
(ถ้าจะแช่ง ผมก็ไม่รู้จะห้ามยังไง แต่ผมเชื่อว่า การจะแช่งให้เกิดผลย่อมต้องมีบุญในระดับนึง แถมคนมีจิตใจมีบุญคงไม่แช่งแบบนี้)
ทีนี้ผมก็มาคิด ระบบสาธารณสุขไทย ที่บีบให้คนในระบบต้องเสียสละ มันจะทนต่อไปได้อีกนานแค่ไหน จะถึงกาลอวสารตอนไหน
เราควรหันมาฉุกคิดกันได้ยัง ว่าคนป่วยต้องปรับตัวแค่ไหน คนไม่ป่วยหนักควรรักษาตนเองก่อนไหม คนไม่ป่วยเลยแต่มาขอใช้บริการควรสำนึกไหม
คนในระบบที่บริบาลสำคัญกว่าบริการ ควรให้บริการดีขึ้นบ้างได้ไหม คนนอกวงการควรหาความรู้เพื่อเข้าใจสถานการณ์มากขึ้นไหม
ฝ่ายบริหารควรแก้ไขปัญหาให้ปัญหาลดลงบ้างได้ไหม ปรับตัวกันมันทุกฝ่าย เพื่อให้อยู่รอดกันได้ไหม?
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้หลายคนคงเคยเห็นภาพ พยาบาลเข้าเวรและมีสายน้ำเกลือห้อย เชื่อไหม ผมอ่านเจอความเห็นนึง ที่อ่านแล้วจิตตก
"ป่วยทำไมไท่พัก อ้อ ห่วงเงิน ห่วงรายได้ ชั่วช้า มาก็ทำได้ไม่เต็มที่ จิตใจยังงกเงิน"
ขอให้วิกฤตสาธารณสุขไทย มีทิศทางที่ดีขึ้นบ้างเถอะ
ระบบสาธารณสุขไทย ที่บีบให้คนต้องเสียสละ จะอยู่ต่อไปได้อีกนานแค่ไหน?
ตามหลักเศรษฐศาสตร์ เมื่อเกิด Excess Demand
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ถ้าปล่อยให้เสรี จะเกิดการขึ้นราคา เพื่อให้เกิดจุดดุลยภาพ แต่ในเรื่องของสาธารณสุข มันไม่สามารถทำได้
จะเพิ่ม Supply ด้วยการขยายโรงพยาบาล หรือบุคลากร ก็ใช่ว่าจะทำได้โดยง่าย (หมอ พยาบาล วิชาชีพสาธารณสุขอื่น ไม่ใช่จะอบรม 1 วันแล้วทำได้เลย)
บางสาขาทั่วประเทศมีคนที่มีศักยภาพเพียงพอ ไม่ถึง 10 คน และบุคลากรทุกคนไม่ใช่มีความสามารถเท่าเทียมกัน
อีกทั้งเรื่องการเจ็บไข้ได้ป่วย ไม่มีมาตรฐานที่ตายตัวกันทุกคน ตัวร้อนก็ใช่ว่าจะเป็นไข้เหมือนกัน เชื้อโรคตัวเดียวกันคนป่วยคนเดิม ยังเกิดผลต่างกันไป ไม่สามารถสแกนปุ๊ปตอบผลปั๊ป ได้แบบอาการของเครื่องจักร แถมโรคบางชนิดระยะเวลาสั้นๆ ไม่อาจบอกได้เลย (ยกตัวอย่างไข้เลือดออก ที่ 1-3 วันแรกไม่มีอาการบ่งชี้ จนกว่าจะเริ่มมีอาการ) หรือโรคบางชนิดสามารถตรวจพบในเครื่องมือบางอย่าง ซึ่ง... ทั้งประเทศอาจมีเพียง 10 เครื่อง และมีค่าใช้จ่ายสูงมาก
แถมจำนวนคนต่อคิวใช้บริการนานมาก แต่ชีวิตรอไม่ได้
เมื่อพูดถึงข่าว Comment ในข่าวเกี่ยวกับสาธารณสุข (ช่วงนี้ใครอ่านจะรู้สึกจิตตก ยิ่งเป็นคนในวงการคงหมดกำลังใจไปตามๆ กัน)
เราจะพบคำบางคำที่สวยงาม ไม่มีสิ่งใดมีมูลค่าเท่าชีวิต ชีวิตมันไม่สามารถรอได้ พวกคุณหมดกำลังใจแต่คนไข้หมดลมหายใจ
คนป่วยจะจนจะรวยมันก็ชีวิตเหมือนกัน
ซึ่งด้วยมุมมองแบบอุดมคติมันก็คงเป็นตามนั้น ไม่มีสิ่งใดมีค่ามากเท่าชีวิต แต่... ในความเป็นจริงชีวิตมันต้องมีค่าใช้จ่าย หมอ พยาบาล คนในวงการก็มีชีวิต
ต้องกิน ต้องนอน ต้องมีความรู้สึก ต้องมีจิตใจ เหมือนกัน
แต่... สังเกตได้ว่า ทางแก้ของ Excess Damand ในวงการสาธารณสุขไทย คือ บีบให้คนเสียสละ เพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการ
ให้คนไข้ได้รับการรักษาที่มีต้นทุนสูง โดยดึงงบประมาณจากเงินเดือนบุคลากรมาจ่ายไปก่อน บีบให้คนต้องควงเวรมากๆ บางรายสูงถึง 36 ชั่วโมงติดต่อกัน
บีบให้คนต้องทนสภาพสถานะลูกจ้างที่ไม่มั่นคง บีบให้ต้องเสี่ยงต่อสวัสดิภาพการทำงานต่างๆ นานา
ผมขอข้ามประเด็น กลุ่มคนที่ใช้ทุนออกไป แต่อยากพูดถึงกลุ่มคนที่พ้นสภาวะใช้ทุนแล้ว หลายคนยังอยู่ในสถานการณ์ที่ว่าด้วยการบีบ "เสียสละ อย่าเห็นแก่ตัว" ทั้งจากฝ่ายบริหาร และจากคนไข้รวมถึงญาติๆ
ไปอ่านได้ในข่าวต่างๆ ทั้งเพจแหม่มโพธิ์ดำ Drama-addict เรื่องเล่าเช้านี้ ข่าวสด มติชน ไทยรัฐ ฯลฯ
100 ทั้ง 100 คุณจะพบ Comment ด่า และ ไล่ให้คนในวงการลาออก ถ้าไม่มีใจ
(คนในวงการนี้ต้องใช้ใจมากแค่ไหน ถึงจะเพียงพอ)
ถ้าคนในวงการออกไปจริง คิดว่าระบบสาธารณสุขบ้านเราจะมีสภาพเป็นยังไง คนที่ออกปากไล่ ยามป่วย เจ็บ เค้าไม่หาหมอหรือไง?
มีหลายความเห็นบอก ออกไปก็มีคนตกงานอื่นรออยู่ (ขนาดแค่หมอใหม่หลายคนยังไม่เชื่อถือเลย มีใบประกอบวิชาชีพชัดเจน ก็ยังไม่มั่นใจ จะเอาอาจารย์แพทย์มารักษาเท่านั้น) แล้วกับคนตกงานอื่นจะมาทดแทนที่ได้จริง?
อยากถามคนนั้นไป คุณยินยอมให้คนตกงาน ที่เพิ่งอบรม 1 วันมาดูแลชีวิตคุณจริงหรือ ชีวิตมันไร้ค่าขนาดนั้น?
เมื่อพูดถึง เอกชน หลายคนคงไม่ทราบว่า ยังขยายธุรกิจออกไปได้อย่างต่อเนื่อง คนไข้จากต่างประเทศที่มีเงินยังเข้ามารักษาในไทยมากขึ้น ทั้งตะวันออกกลาง จีน ญี่ปุ่น ยุโรป แอฟริกา อาเซียน เนื่องจาก ราคาของการรักษาที่เทียบแล้วถูกกว่าในประเทศของตน แถมวงการสาธารณสุขไทย มีความสามารถพอสมควร
ดังนั้น เอกชน ยังเปิดรับบุคลากรได้อีกมาก (แน่นอนไม่ถึงขนาดดึงคนในภาครัฐไปได้ 100% แต่ผมว่า แค่ 30-40% ก็เพียงพอที่ระบบรัฐประสบปัญหาแล้ว)
นอกจากนี้ วิชาชีพนี้ยังสามารถย้ายไปทำงานในต่างแดนได้ง่ายอีกด้วย และยังมีอาชีพอื่น ที่คนในวงการสามารถออกไปทำได้อีก
คนที่พอมีเงิน เค้ามีเงินพอที่จะไปรักษาเอกชน แต่คนที่ไม่มีละ ปัญหามันจะเกิดที่ใคร?
เมื่อเสนอความคิดดังนี้ เชื่อได้ มีหลายคนแช่งให้ครอบครัวผมเจอปัญหาไปเรียบร้อย แบบ ...ขอให้พ่อแม่คุณเจอ... ...ขอให้คนที่คุณรักต้องเจอ...
(ถ้าจะแช่ง ผมก็ไม่รู้จะห้ามยังไง แต่ผมเชื่อว่า การจะแช่งให้เกิดผลย่อมต้องมีบุญในระดับนึง แถมคนมีจิตใจมีบุญคงไม่แช่งแบบนี้)
ทีนี้ผมก็มาคิด ระบบสาธารณสุขไทย ที่บีบให้คนในระบบต้องเสียสละ มันจะทนต่อไปได้อีกนานแค่ไหน จะถึงกาลอวสารตอนไหน
เราควรหันมาฉุกคิดกันได้ยัง ว่าคนป่วยต้องปรับตัวแค่ไหน คนไม่ป่วยหนักควรรักษาตนเองก่อนไหม คนไม่ป่วยเลยแต่มาขอใช้บริการควรสำนึกไหม
คนในระบบที่บริบาลสำคัญกว่าบริการ ควรให้บริการดีขึ้นบ้างได้ไหม คนนอกวงการควรหาความรู้เพื่อเข้าใจสถานการณ์มากขึ้นไหม
ฝ่ายบริหารควรแก้ไขปัญหาให้ปัญหาลดลงบ้างได้ไหม ปรับตัวกันมันทุกฝ่าย เพื่อให้อยู่รอดกันได้ไหม?
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ขอให้วิกฤตสาธารณสุขไทย มีทิศทางที่ดีขึ้นบ้างเถอะ