กลโกงในตลาดหุ้น ตอน กลโกงของบริษัทจดทะเบียน

อยากให้ทุกคนได้อ่านบทความนี้จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของบริษัทไม่ดีในตลาดหลักทรัพย์ ไม่สูญเสียเงินที่เราลำบากทำงานหามาทั้งชีวิตไปให้คนพวกนี้

เมื่อเร็วๆมานี้มีหุ้นตัวหนึ่งติดเครื่องหมาย SP เนื่องมาจาก ยื่นฟ้องล้มละลายทั้งๆที่หนี้ไม่มากเท่าไหร่+พฤติกรรมแปลกๆ เรามาดูกันว่าบริษัทใช้กลโกงอะไร มีขั้นตอนยังไง

1. เริ่มต้นคือเขาจะหาบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แล้วทำให้ตัวเองเป็นเจ้าของ เมื่อได้มาแล้วเขาจะดำเนินการเปลี่ยนชื่อใหม่เพื่อให้นักลงทุนลืมภาพเก่าๆทั้งหมดเม่าชอปปิ้ง

2. ต่อมาเขาจะเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำธุรกิจ โดยมักจะไปทำ "ธุรกิจที่กำลังอยู่ในกระแสตอนนั้น" เช่นตอนนี้ก็อาจจะเป็นพลังงานทดแทน, อินเตอร์เน็ต, การแพทย์ เพื่อให้ง่ายต่อการระดมทุน เหตุผลก็เพราะว่าธุรกิจที่กำลังอยู่ในกระแสนั้นส่วนใหญ่คนจะให้ราคาที่สูงมาก นางพญาเม่า

3. หลังจากนั้นเขาจะเริ่มวาดฝันและทำการระดมทุนจากผู้ถือหุ้นทุกคน

4. เขาจะนำเอาเงินนั้นไปซื้อสินทรัพย์ที่เขาได้วางแผนเอาไว้ ซึ่งขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญเพราะว่าเงินจะไหลออกจากบริษัท สิ่งที่ผู้บริหารทำก็คือเจ้าคิกคัก

- (ระดับ Basic) เขาจะไปซื้อสินทรัพย์ที่ก้อนใหญ่มาก บางทีอาจจะไม่เกี่ยวข้องหรือไม่มีความถนัดเลยแล้วไปรับเงินทอนนอกตลาด (ข้อนี้ถ้าเขาทำเราจะไม่มีหลักฐานอะไรเลยเพราะคนที่ขายก็ได้ประโยชน์ คนที่ซื้อก็ได้ประโยชน์เขาก็จะเงียบทั้งคู่)

- (ระดับ Basic) หรือจะสับขาหลอกหน่อยไปซื้อกิจการที่ตัวเองเป็นเจ้าของ วางเงินมัดจำแล้วบอกว่าซื้อไม่ได้แล้วทำให้ถูกยึดเงินมัดจำไป (ดึงเงินออกแบบหน้าซื้อตาใส ผู้ถือหุ้นได้แต่อ้าปากค้าง)

- (ระดับ Middle) เขาก็จะให้เพื่อนของเขาไปซื้อที่ดินมาราคาถูกๆแล้ว เอามาขายให้กับบริษัทในราคาแพงเวอร์ พอจ่ายเงินแล้วก็มาแบ่งกัน ซึ่งเงินนั้นก็คือเงินของผู้ถือหุ้นนั้นเอง

- (ระดับ High Class) ไปซื้อกิจการประเทศไกลๆ หรือไปตั้งธุรกิจอยู่ต่างประเทศยิ่งไกลยิ่งดี แล้วสร้างตัวเลขขึ้นมา เมื่อเขาไม่ได้อยู่ในเมืองไทยการตรวจสอบก็ทำได้ลำบาก

- (ระดับ Legendary ) เอาเงิน IPO ออกไปต่างประเทศแล้วหนีเลย เอากันแบบหน้าซื่อ

5. ถ้าผู้บริหารคิดว่าตัวเองยังรวยไม่พอ เขาจะทำการเพิ่มทุนอีกและเริ่มต้นข้อ 3-4 ใหม่ เจ้าหอบเงิน

6. พอเริ่มเพิ่มทุนไปหลายรอบ ความเป็นเจ้าของในบริษัทเริ่มน้อยลง (แน่ละเขาไม่เอาเงินตัวเองเข้าไปใส่แน่) เขาจะทำการเพิ่มทุนแบบเฉพาะเจาะจง (PP) ให้กับพวกพ้องตัวเอง โดยอ้างว่าเงินไม่พอ อะไรก็ว่าไป ซึ่งราคาที่เพิ่มทุนแบบเฉพาะเจาะจง (PP) มักจะเป็นราคาที่ถูกมาก เหตุผลที่เขาทำอย่างนี้ก็คือ เขาจะได้กำไรทันทีและได้เสียงในการบริหารเหมือนเดิม

- ถ้าเสียงไม่พอรายย่อยเริ่มป่วน ก็จัดประชุมไกลๆเลย ยกเลิกการประชุมบ่อยๆให้รายย่อยถอดใจไม่มา (บางคนมาจากต่างจังหวัด โดนอย่างนี้ไป 2-3 รอบก็ถอดใจแล้ว), ตั้งโต๊ะลงทะเบียนน้อยๆให้ลงทะเบียนไม่ทันและล็อกห้องประชุมซะอ้างว่าหมดเวลา หรือตรวจสอบเอกสารเข้มๆบอกว่าเอกสารไม่ครบ

7. ถ้าเห็นว่าบริษัทเริ่มไปไม่ไหวผู้บริหารโยนหุ้นขายขณะที่ตัวเองยังมีโอกาศขาย ปล่อยให้คนที่ไม่รู้รับกรรม

8. บริษัทเริ่มขาดทุนหนักและเข้าสู่แผนฟื้นฟูกิจการ

- ถ้าเอาแบบเหนือชั้นหน่อยแบบหุ้นที่เราก็รู้ว่าหุ้นอะไร เขาจะตั้งบริษัทของตัวเองขึ้นมาและให้บริษัทที่ตัวเองตั้งขึ้นมานี้ฟ้องบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ โดยให้บริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ไม่สู้คดี ผลที่ตามมาก็คือเมื่อบริษัทเลือกไม่สู้คดี ศาลจะถือว่าบริษัทยอมแพ้ ทำให้บริษัทที่อยู่ในตลาดต้องเข้าสู่แผนพื้นฟูอีกครั้งพร้อมภาระหนี้ เม่าตกอับ

- คราวนี้ตอนที่ร่างแผนพื้นฟู บริษัทที่เขาตั้งขึ้นมาก็จะตกลงกับบริษัทในตลาดว่าจะให้เปลี่ยนหนี้เป็นทุน คราวนี้ หุ้นของผู้ถือหุ้นเก่า ก็จะถูกเจือจางไปจนไม่เหลือมูลค่า และจะมีผู้ถือหุ้นใหม่มาเชิดหน้าชูตาทั้งๆที่ไม่ได้จ่ายอะไร แน่นอนเมื่อถึงขั้นนี้และออกจากแผนพื้นฟูได้แล้ว เม่าตาสว่าง

9. เมื่อกลับมาได้ เขาก็จะเปลี่ยนชื่อบริษัทและเริ่มต้นตั้งแต่ข้อ 2 ใหม่และเข้าวัฏจักรเดิม

นี้คือขั้นตอนคร่าวๆที่บริษัทจดทะเบียนขี้โกงชอบทำ ทุกวันนี้ก็มีหลายบริษัทที่ทำอย่างนี้อยู่ และสิ่งที่น่าเสียใจก็คือ ทั้ง 9 ข้อที่เราได้กล่าวไปทั้งหมดเคยเกิดขึ้นจริง และมีผู้ที่ได้รับความเสียหายจริง และยังไม่มีผู้ที่ได้รับผลกรรมจากการกระทำอย่างนี้เลยสักคน วีไอกับเทคนิค

ฝากแชร์ไปให้คนที่คุณรักด้วยนะครับ ผมเศร้าใจทุกครั้งที่เห็นคนตกเป็นเหยื่อบริษัทที่โกงอย่างนี้ เขาต้องเสียเงินที่เขาเก็บมาทั้งชีวิตไปให้กับผู้บริหารที่ทุจริต

เครดิต : https://www.facebook.com/StockLittle/
เพจ ลงทุนหุ้น
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่