พุทธวจน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นนิพพานโดยความ
เป็นทุกข์ จักเป็นผู้ประกอบด้วยขันติที่สมควร ข้อนั้นย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
เธอไม่ประกอบด้วยขันติที่สมควรแล้ว จักก้าวลงสู่ความเป็นชอบและความแน่นอน
ข้อนั้นย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อไม่ก้าวลงสู่ความเป็นชอบและความแน่นอน
จักกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรือ อรหัตผล
ข้อนั้นย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นนิพพานโดยความเป็นสุข จักเป็น
ผู้ประกอบด้วยขันติที่สมควร ข้อนั้นย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ เธอประกอบด้วย
ขันติที่สมควรแล้ว จักก้าวลงสู่ความเป็นชอบและความแน่นอน ข้อนั้นย่อมเป็น
ฐานะที่จะมีได้ เมื่อก้าวลงสู่ความเป็นชอบและความแน่นอน จักกระทำให้แจ้ง
ซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรือ อรหัตผล ข้อนั้นย่อมเป็นฐานะ
ที่จะมีได้ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นอานิสงส์ ๖
ประการ เป็นผู้สามารถเพื่อไม่กระทำเขตจำกัดในธรรมทั้งปวง
แล้วยังอนัตตสัญญาให้ปรากฏ อานิสงส์ ๖ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุพิจารณาเห็นอยู่ว่า
เราเป็นผู้ไม่มีตัณหาและทิฐิในโลกทั้งปวง ๑ ทิฐิอันเป็นเหตุให้กระทำความถือตัว
ว่าเราของเราจักดับ ๑ ตัณหาอันเป็นเหตุให้กระทำการยึดถือว่าของเราของเราจัก
ดับ ๑ เราจักเป็นผู้ประกอบด้วยอสาธารณญาณ ๑ เราจะเห็นเหตุด้วยดี ๑ และ
จักเห็นธรรมที่เกิดขึ้นแต่เหตุด้วยดี ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็น
อานิสงส์ ๖ ประการนี้แล เป็นผู้สามารถเพื่อไม่กระทำเขตจำกัดในธรรมทั้งปวง
แล้วยังอนัตตสัญญาให้ปรากฏ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัณหา ๓ และมานะ ๓ ควรละ ตัณหา ๓
เป็นไฉน คือ กามตัณหา ๑ ภวตัณหา ๑ วิภวตัณหา ๑ ตัณหา ๓ นี้ควรละ มานะ ๓
เป็นไฉน คือ ความถือตัวว่าเสมอเขา ๑ ความถือตัวว่าเลวกว่าเขา ๑ ความถือตัวว่า
ดีกว่าเขา ๑ มานะ ๓ นี้ควรละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ตัณหา ๓ และมานะ
๓ นี้ย่อมเป็นธรรมชาติอันภิกษุละได้แล้ว เมื่อนั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ได้ตัดตัณหา
ขาดแล้ว คลายสังโยชน์ได้แล้ว ได้กระทำที่สุดทุกข์เพราะละมานะได้โดยชอบ
ดับทุกข์ ด้วยพุทธวจน นิพพาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นนิพพานโดยความ
เป็นทุกข์ จักเป็นผู้ประกอบด้วยขันติที่สมควร ข้อนั้นย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
เธอไม่ประกอบด้วยขันติที่สมควรแล้ว จักก้าวลงสู่ความเป็นชอบและความแน่นอน
ข้อนั้นย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อไม่ก้าวลงสู่ความเป็นชอบและความแน่นอน
จักกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรือ อรหัตผล
ข้อนั้นย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นนิพพานโดยความเป็นสุข จักเป็น
ผู้ประกอบด้วยขันติที่สมควร ข้อนั้นย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ เธอประกอบด้วย
ขันติที่สมควรแล้ว จักก้าวลงสู่ความเป็นชอบและความแน่นอน ข้อนั้นย่อมเป็น
ฐานะที่จะมีได้ เมื่อก้าวลงสู่ความเป็นชอบและความแน่นอน จักกระทำให้แจ้ง
ซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรือ อรหัตผล ข้อนั้นย่อมเป็นฐานะ
ที่จะมีได้ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นอานิสงส์ ๖
ประการ เป็นผู้สามารถเพื่อไม่กระทำเขตจำกัดในธรรมทั้งปวง
แล้วยังอนัตตสัญญาให้ปรากฏ อานิสงส์ ๖ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุพิจารณาเห็นอยู่ว่า
เราเป็นผู้ไม่มีตัณหาและทิฐิในโลกทั้งปวง ๑ ทิฐิอันเป็นเหตุให้กระทำความถือตัว
ว่าเราของเราจักดับ ๑ ตัณหาอันเป็นเหตุให้กระทำการยึดถือว่าของเราของเราจัก
ดับ ๑ เราจักเป็นผู้ประกอบด้วยอสาธารณญาณ ๑ เราจะเห็นเหตุด้วยดี ๑ และ
จักเห็นธรรมที่เกิดขึ้นแต่เหตุด้วยดี ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็น
อานิสงส์ ๖ ประการนี้แล เป็นผู้สามารถเพื่อไม่กระทำเขตจำกัดในธรรมทั้งปวง
แล้วยังอนัตตสัญญาให้ปรากฏ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัณหา ๓ และมานะ ๓ ควรละ ตัณหา ๓
เป็นไฉน คือ กามตัณหา ๑ ภวตัณหา ๑ วิภวตัณหา ๑ ตัณหา ๓ นี้ควรละ มานะ ๓
เป็นไฉน คือ ความถือตัวว่าเสมอเขา ๑ ความถือตัวว่าเลวกว่าเขา ๑ ความถือตัวว่า
ดีกว่าเขา ๑ มานะ ๓ นี้ควรละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ตัณหา ๓ และมานะ
๓ นี้ย่อมเป็นธรรมชาติอันภิกษุละได้แล้ว เมื่อนั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ได้ตัดตัณหา
ขาดแล้ว คลายสังโยชน์ได้แล้ว ได้กระทำที่สุดทุกข์เพราะละมานะได้โดยชอบ