นั่งรถไฟไปกินต้มเป็ด ณ เมืองปราสาทสายฟ้า

    
     ช่วงต้นเดือนกรกฏาคม ๒๕๖๐ มีวันหยุดยาว ๓ วัน คือ วันเสาร์ที่ ๘ กรกฎาคมเป็นวันอาสาฬหบูชา - วันอาทิตย์ที่ ๙ กรกฏาคมเป็นวันเข้าพรรษา - เเละวันจันทร์ที่ ๑๐ กรกฏาคมเป็นวันหยุดชดเชยวันอาสาฬหบูชาอีกหนึ่งวัน ไปไหนดี... บ้านก็พึ่งกลับมา ตั้งคำถามกับตัวเองเอาเย็นวันศุกร์เเล้ว ขืนอยู่กรุงเทพฯ ก็ไม่ได้ทำอะไร เพื่อนก็โทรมาชวนไปเที่ยวบุรีรัมย์บ้านญาติ เอาไงดี ๆ ตัดสินใจไปอีสานนี่แหละ ดินเเดนอารธรรมเเละงานบุญ
     คำถามต่อมาคือไปยังไง ช่วงเทศกาลงี้ คนเดินทางเยอะเเน่ ๆ รถไฟดีกว่า ไม่ได้นั่งมานาน เคยเเต่นั่งจากอุบลฯ ลงกรุงเทพ ไม่เคยขึ้นสายอีสานสักครั้ง ได้โอกาส ลองเลยดีกว่า ว่าเเล้ว ก็เลิกงานเก็บสัมภาระยัดลงเป้ ยกขึ้นหลัง
เเล้วจะไปหัวลำโพงยังไงละ ? หาข้อมูลด่วน...... ได้มาเเล้ว จะไปยังไง เลือกเอา.
     ๑. Taxi ต่อเดียวถึง เเต่เเพง คนรวย ๆ อย่างผมมีรึจะขึ้น ฉะนั้นตีตกไป !!!
     ๒. นั่งรถเมล์สาย ๑๐๒ จากแบริ่ง ขึ้นทางด่วน ไปลงหน้าอู่สาย ๔ ต่อรถเมล์สาย ๔ ไปลงหน้าสถานีรถไฟหัวลำโพงเลย วิธีนี้ประหยัด
     ๓. BTS. ต่อ MRT. เดินขึ้นสถานีรถไฟหัวลำโพงเลย สะดวก สบาย นั่งแอร์เย็น ๆ ไป ว่าเเล้วก็เอาวิธีนี้เเหละ ง่าย สะดวก ราคาพอรับได้
ได้ Plan. เเล้ว ก็เดินไปเรียกพี่วินมอไซร์ "พี่ ๆ ไป BTS. แบริ่ง"
จาก  BTS. แบริ่ง ไปลง BTS. อโศก เดินลงไปต่อ MRT. ไปขึ้น MRT. สถานีหัวลำโพงเลย มีทางเดินเชื่อมขึ้นสู่สถานีรถไฟหัวลำโพงได้เลย
     เข้าไปในสถานีก็มองซ้ายมองขวา ใช้ sense. หน่อย อยากขึ้นรถ ก็ต้องหาคนขายตั๋ว เดินตรงไปยังช่องจำหน่ายตั๋วเลย
"สวัสดีครับ มีเที่ยวไหนผ่านบุรีรัมย์บ้างครับ" สิ้นประโยคคำถาม คำตอบก็ลอยผ่านตู้กระจกออกมา
"มีคะ รอบ ๑๘.๕๕ ตั๋วยืนนะคะ" ผมรีบถามกลับ
"ตั๋วยืน คือยืนตลอดทาง ไม่ได้นั่งเลยใช้มั้ยครับ"  
"ใช่คะ เเต่ถ้ามีที่เก้าอี้ไหนว่าง ไม่มีผู้โดยสาร ก็สามารถนั่งได้คะ" นั่นก็คือว่าผมต้องยืนยาวจนถึงปลายทาง
ผมถามต่อเพื่อหาหนทางอื่น "รอบอื่นละครับ" เเละก็ได้รับคำตอบเช่นเดิม นั้นคือ "เต็มหมดทุกรอบ"
เเต่ก็ไม่ได้กังวลอะไร เพราะ Backpack มาตลอดอยู่เเล้ว สบาย ๆ ขอเเค่ไม่เปียกเป็นพอ ว่าเเล้วก็ซื้อตั๋วในราคา ๑๔๔.- บาท (ใช้บัตรลดราคา)
     รถออกจากสถานี ๑๘.๕๕ น. ถึงสถานีบุรีรัมย์ ๐๒.๒๒ น. มาดูกันว่าจะช้ากว่ากำหนด ดังคำเขาว่ากันรึป่าว ส่วนตัวผมไม่รีบอยู่เเล้ว นั่งไปเรื่อย ๆ อ่านหนังสือ คุยกับคนร่วมทางไป สนุกดี
     ระหว่างรอเวลารถไฟออก พึ่งเคยเห็นการล้างโบกี้รถไฟ ล้างกันเร็วมาก เดินลูบ ๆ ปาด ๆ เช็ด ๆ แป๊บเดียวขบวนหนึ่ง ข้างในก็ ๑ ชุด ข้างนอกก็ ๑ ชุด ต่างคนต่างทำ ดูจะเเข่งกับเวลา

ด้านนอกเหมือนพระพิรุณจะกรีฑาทัพ มุ่งหน้ามาทางนี้เเล้วนะขอรับ.
ไม่น่ารอด !!!
ได้เวลาก่อนรถไฟออก เพื่อความชัวร์ หยิบตั๋วขึ้นมาเเล้วเดินไปถามเจ้าหน้าที่ในขบวนที่จะเดินทาง ครั้งนี้ของผมขบวนที่ ๑๓๙
"พี่ครับ ของผมเป็นตั๋วยืนใช่มั้ยครับ ยืนตรงไหนได้บ้างครับ" ผมถามเจ้าหน้าที่ด้วยสีหน้าที่เป็นมิตรสุด ๆ เผื่อจะได้รับความเห็นใจ หาที่นั่งให้ผมได้ 555++
"ยืนได้ทุกที่ ที่มีที่ว่างเลยน้อง เเต่ยังไง น้องลองเดินไปดูโบกี้ข้างหน้า ที่นั่งสำรองสำหรับพระภิกษุสงฆ์ดูนะ พระท่านนั่งไม่เต็มหรอก เเต่จะทันชาวบ้านรึป่าวไม่รู้นะ ลองไปดู" พี่เจ้าหน้าที่เเนะนำมา ผมก็ใจชื่น โชคอาจเข้าข้าง ว่าเเล้วก็รีบบึ่งไปยังโบกี้ข้างหน้าเลย
     เเล้วโชคก็เข้าข้างจริง ๆ ครับ เข้าข้างชาวบ้าน เเต่ไม่เข้าข้างผม ที่นั่งสำรองสำหรับพระภิกษุ สามเณรเต็มไปด้วยฆารวาสตาดำ  ๆ ผมหลากสีเลย ทุกคนมีเป้าหมายเดียวกัน เเละเขาเหล่านั้นคือผู้ชนะ ผมต้องเดินกลับ มาใช้กลยุทธ์สุดท้ายถ้าหากอยากจะนั่ง เพราะดูจากสถานการณ์เเล้ว หาที่นั่งเป็นกิจลักษณะจะดีกว่า เพราะคนเยอะมาก ฝนก็เริ่มตั้งเค้า โปรยเม็ดฝนเล็ก ๆ ลงมาเเล้ว
     กลยุทธ์สุดท้าย "ห้องเสบียง" จากที่เคยนั่งรถไฟมา ห้องเสบียงช่วยได้ ผมเดินไปห้องเสบียง เลือกเก้าอี้ทำเลเหมาะ คนยังไม่มาก เก็บสัมภาระเข้าช่องเหนือศรีษะ (นำของมีค่าติดตัวไว้เสมอ มันคือกฎเหล็ก) สำหรับตู้เสบียงนั้นเราสามารถซื้อที่นั่งได้โดยการจ่ายเพิ่มอีก ๑๘๐.- บาท จริง ๆ เเล้วเหมือนการซื้อของกินมากกว่า เพราะเมื่อคุณจ่ายเงินไป คุณจะได้ "น้ำเปล่า ๑ ขวด น้ำอัดลม ๑ ขวด ข้าวพร้อมกับ ๑ อย่าง ยำไส้กรอก ๑ จาน ขนม ๑ ห่อ"

หากเป็นระยะทางใกล้ ๆ อาจช่วยอุดหนุนสินค้าสักอย่างสองอย่างเป็นสินน้ำใจเล็ก ๆ น้อย ๆ
     นั่งไปเพลิน ๆ ดู Youtube. พูดคุยกับคนร่วมทางกันไป ก็ถึง "สถานีรถไฟบุรีรัมย์" จุดหมายปลายทางของเราสักที ขณะนี้เวลา ๐๓.๒๐ น. รับได้ เพราะผมไม่รีบอยู่เเล้ว ชิวไป ๆ
ล้างหน้า แปรงฟัน เข้าห้องน้ำให้สบายตัว นั่งพักยิดเส้นยืดสายสักพัก ก็ถึงเวลาตระเวนตลาดเช้า หาของกินกัน
     เดินออกมาหลังสถานีจะเจอหอนาฬิกา กลางถนนนิวาศ เป็นการสร้างคร่อมวงเวียนน้ำพุ โดยสร้างสมัยที่ นายสุรินทร์ ชัชวาลวงศ์ เป็นนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๒๔ - ๒๕๓๙ และผู้ที่ประสานงานกับบริษัทนาฬิกาไซโก้ ก็คือ เจ้าของร้านนาฬิกาผ่านฟ้า ถนนสุนทรเทพ. ปัจจุบันหอนาฬิกาแห่งนี้ยังคงตั้งตระหง่านอวดโฉม เป็นมุดหมายหนึ่งของเมืองบุรีรัมย์
เดินถามไปเรื่อย ไม่ไกลจากสถานีรถไฟบุรีรัมย์จะเจอกับตลาดเช้าเมืองบุรีรัมย์ เป็นลักษณะตลาดสด ขายปลีก - ส่ง สินค้าอุปโภค - บริโภค ทั้งของสด - ของเเห้ง
เดินเที่ยวจนรอบ ได้ของกินเรียบร้อย ก็เช้าฟ้าสว่างเเล้ว เพื่อนผมโทรมาพอดี นัดเจอกันหน้าตลาดเลย มุ่งหน้าไปกินต้มเป็ด สูตรบุรีรัมย์กัน
เสียดายมาครั้งนี้นอกจากต้มเป็ด ยังตั้งใจมากินเป็ดย่างคูเมืองอีกหนึ่งของเด็ดเมืองบุรีรัมย์ เเต่ร้านดันปิด เลยอดกิน.เม่าฝนตก
ไม่ได้เก็บภาพตอนปรุงเสร็จมาให้ดู อร่อยเพลินไปหน่อย สมความตั้งใจมากินต้มเป็ดเมืองปราสาทสายฟ้า.
จบทริปเเต่เพียงเท่านี้ครับ ไปกินต้มเป็ดก่อน เดี๋ยวหมด..... ขอบคุณมากครับที่ติดตาม.

Enjoy your Holiday "The Roamer"  
ติดตามกันได้อีกหนึ่งช่องทางครับ https://www.facebook.com/Andamantravel/
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่