หากคุณเคยสงสัยว่า เพราะอะไรคุณถึงไม่ชนะเกมที่ใช้ทักษะต่างๆอย่างเช่นโป๊กเกอร์หรือหมากรุกนั้น ก็อาจจะมีเหตุผลหลายประการด้วยกัน
งานวิจัยนี้มีการตีพิมพ์ใน Proceedings Of The National Academy Of Sciences ซึ่งทางด้านแพทย์ในมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ก็ได้ค้นพบว่า เกมบางเกมเป็นเรื่องยากที่จะเรียนรู้ได้อย่างถ่องแท้หรือมีความซับซ้อนเกินกว่าที่มนุษย์จะเข้าใจ
Dr.Tobias Galla จากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์และอาจารย์ Doyne Farmer จากมหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ดและสถาบัน Santa Fe ก็ได้ทำการจำลองเกมหลายพันเกมที่มีผู้เล่น 2 คน เพื่อที่จะทำความเข้าใจว่า พฤติกรรมมนุษย์ส่งผลต่อการคิดตัดสินใจอย่างไร
เกมง่ายๆหลายเกมที่ไม่ต้องใช้ทักษะอะไรมากอย่างเช่น Noughts and Crosses ก็เป็นเกมใช้กลยุทธ์ที่ง่ายต่อการคาดเดาและเกมพวกนี้ก็ไม่ได้เป็นที่น่าสนใจสำหรับผู้คนมากนัก
อย่างไรก็ตามเมื่อเล่มเกมต่างๆที่มีความซับซ้อนและใช้ทักษะต่างๆอย่างเช่น หมากรุก บอร์ดเกมโกหรือเกมการ์ดที่มีความซับซ้อน ซึ่งทางด้านนักวิชาการก็ได้อธิบายว่า ผู้เล่นไม่ค่อยได้ใช้หลักเหตุผลและจึงเป็นเรื่องยากที่จะค้นพบกลยุทธ์ที่เหมาะสม
งานวิจัยชิ้นนี้ได้เชื่อมโยงถึงตลาดทางการเงินด้วย ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์หลายคนก็ได้ใช้ข้อมูลการเงินในการคาดการณ์ทิศทางตลาดหุ้นตามหลักทฤษฎีดุลยภาพ สอดคล้องกับเทรดเดอร์หลายคนที่จะต้องใช้สติปัญญาและหลักการใช้เหตุผลอย่างไม่มีข้อจำกัด
นักวิชาการก็ได้อธิบายว่า เป็นเรื่องยากที่จะศึกษากรณีตัวอย่างและสามารถนำไปสู่การถกประเด็นเกี่ยวกับการคาดการณ์ที่ไม่แม่นยำในตลาดแต่ละแห่ง
ในทางทฤษฎีเกมนั้น ก็มีการใช้หลักกลยุทธ์ในการแก้ปัญหาตัดสินใจ โดยยึดหลักจุดดุลยภาพ ทั้งผู้เล่นหรือคนงานต่างก็มีความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่พวกเขาทำอยู่อย่างลึกซึ้งและรู้ว่าฝ่ายตรงข้ามกำลังทำอะไร
Dr.Galla จากโรงเรียนฟิสิกข์และดาราศาสตร์ก็ได้กล่าวว่า : “ดุลยภาพไม่ได้เป็นสิ่งที่ถูกต้องเสมอไปหากคุณลองดูในเกมที่คุณเล่นอยู่
“ในสถานการณ์ต่างๆนั้น ผู้คนก็ไม่ได้ใช้กลยุทธ์ดุลยภาพ โดยพวกเขาได้ใช้กลยุทธ์แบบสุ่มหรือใช้กลยุทธ์ในการใช้เหตุผลต่างๆที่มีความคลุมเครือ ดังนั้นจึงไม่สามารถที่จะคาดการณ์ได้ว่ารูปแบบดุลยภาพเป็นสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสม
“ตัวอย่างเช่น ในการเทรดในตลาดหุ้นนั้น คุณสามารถที่จะเลือกหุ้นหลายพันตัวที่แตกต่างกันออกไปและผู้คนไม่ได้มีพฤติกรรมการใช้หลักเหตุและผลในแต่ละสถานการณ์ต่างๆหรือพวกเขาได้รับข้อมูลไม่เพียงพอต่อการใช้เหตุผล เรื่องนี่ก็สามารถเข้าใจได้ว่า ผลกระทบนี้ส่งผลต่อพฤติกรรมตลาดได้อย่างไร”
“จึงมีความเป็นไปได้ว่า พวกเราจะต้องละทิ้งทฤษฎีต่างๆเกี่ยวกับเกมและหันมาดูว่า จะคาดการณ์พฤติกรรมของผู้คนได้อย่างไร”
นักศึกษาที่ให้ความร่วมมือกับทางอาจารย์ที่แมนเชสเตอร์ก็ได้มองไปที่งานวิจัยเกี่ยวกับเกมที่มีผู้เล่นหลายคนและในกรณีศึกษานั้นเกมจะมีการเปลี่ยนแปลงโดยตัวมันเอง ซึ่งเรื่องนี้สามารถเปรียบเทียบได้กับความเคลื่อนไหวในโลกตลาดการเงิน
ผลลัพธ์ต่างๆที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ก็ชี้ว่า จำนวนผู้เล่นจะเพิ่มมากขึ้น โอกาสที่จะใช้กลยุทธ์ดุลยภาพจะลดน้อยลง ด้วยเหตุนี้เกมต่างๆที่มีความซับซ้อนพร้อมกับมีผู้เล่นเข้ามาหลายคนอย่างเช่น ตลาดการเงินนั้น ค่าดุลยภาพแทบจะไม่สามารถตอบโจทย์เรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นได้เลย
ผู้แปล : Mr.lawrence10
ที่มา : sciencedaily.com
เหตุผลที่พวกเราเล่นเกมแพ้ : เกมบางเกมมีความซับซ้อนเกินกว่าที่มนุษย์จะเข้าใจ
หากคุณเคยสงสัยว่า เพราะอะไรคุณถึงไม่ชนะเกมที่ใช้ทักษะต่างๆอย่างเช่นโป๊กเกอร์หรือหมากรุกนั้น ก็อาจจะมีเหตุผลหลายประการด้วยกัน
งานวิจัยนี้มีการตีพิมพ์ใน Proceedings Of The National Academy Of Sciences ซึ่งทางด้านแพทย์ในมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ก็ได้ค้นพบว่า เกมบางเกมเป็นเรื่องยากที่จะเรียนรู้ได้อย่างถ่องแท้หรือมีความซับซ้อนเกินกว่าที่มนุษย์จะเข้าใจ
Dr.Tobias Galla จากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์และอาจารย์ Doyne Farmer จากมหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ดและสถาบัน Santa Fe ก็ได้ทำการจำลองเกมหลายพันเกมที่มีผู้เล่น 2 คน เพื่อที่จะทำความเข้าใจว่า พฤติกรรมมนุษย์ส่งผลต่อการคิดตัดสินใจอย่างไร
เกมง่ายๆหลายเกมที่ไม่ต้องใช้ทักษะอะไรมากอย่างเช่น Noughts and Crosses ก็เป็นเกมใช้กลยุทธ์ที่ง่ายต่อการคาดเดาและเกมพวกนี้ก็ไม่ได้เป็นที่น่าสนใจสำหรับผู้คนมากนัก
อย่างไรก็ตามเมื่อเล่มเกมต่างๆที่มีความซับซ้อนและใช้ทักษะต่างๆอย่างเช่น หมากรุก บอร์ดเกมโกหรือเกมการ์ดที่มีความซับซ้อน ซึ่งทางด้านนักวิชาการก็ได้อธิบายว่า ผู้เล่นไม่ค่อยได้ใช้หลักเหตุผลและจึงเป็นเรื่องยากที่จะค้นพบกลยุทธ์ที่เหมาะสม
งานวิจัยชิ้นนี้ได้เชื่อมโยงถึงตลาดทางการเงินด้วย ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์หลายคนก็ได้ใช้ข้อมูลการเงินในการคาดการณ์ทิศทางตลาดหุ้นตามหลักทฤษฎีดุลยภาพ สอดคล้องกับเทรดเดอร์หลายคนที่จะต้องใช้สติปัญญาและหลักการใช้เหตุผลอย่างไม่มีข้อจำกัด
นักวิชาการก็ได้อธิบายว่า เป็นเรื่องยากที่จะศึกษากรณีตัวอย่างและสามารถนำไปสู่การถกประเด็นเกี่ยวกับการคาดการณ์ที่ไม่แม่นยำในตลาดแต่ละแห่ง
ในทางทฤษฎีเกมนั้น ก็มีการใช้หลักกลยุทธ์ในการแก้ปัญหาตัดสินใจ โดยยึดหลักจุดดุลยภาพ ทั้งผู้เล่นหรือคนงานต่างก็มีความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่พวกเขาทำอยู่อย่างลึกซึ้งและรู้ว่าฝ่ายตรงข้ามกำลังทำอะไร
Dr.Galla จากโรงเรียนฟิสิกข์และดาราศาสตร์ก็ได้กล่าวว่า : “ดุลยภาพไม่ได้เป็นสิ่งที่ถูกต้องเสมอไปหากคุณลองดูในเกมที่คุณเล่นอยู่
“ในสถานการณ์ต่างๆนั้น ผู้คนก็ไม่ได้ใช้กลยุทธ์ดุลยภาพ โดยพวกเขาได้ใช้กลยุทธ์แบบสุ่มหรือใช้กลยุทธ์ในการใช้เหตุผลต่างๆที่มีความคลุมเครือ ดังนั้นจึงไม่สามารถที่จะคาดการณ์ได้ว่ารูปแบบดุลยภาพเป็นสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสม
“ตัวอย่างเช่น ในการเทรดในตลาดหุ้นนั้น คุณสามารถที่จะเลือกหุ้นหลายพันตัวที่แตกต่างกันออกไปและผู้คนไม่ได้มีพฤติกรรมการใช้หลักเหตุและผลในแต่ละสถานการณ์ต่างๆหรือพวกเขาได้รับข้อมูลไม่เพียงพอต่อการใช้เหตุผล เรื่องนี่ก็สามารถเข้าใจได้ว่า ผลกระทบนี้ส่งผลต่อพฤติกรรมตลาดได้อย่างไร”
“จึงมีความเป็นไปได้ว่า พวกเราจะต้องละทิ้งทฤษฎีต่างๆเกี่ยวกับเกมและหันมาดูว่า จะคาดการณ์พฤติกรรมของผู้คนได้อย่างไร”
นักศึกษาที่ให้ความร่วมมือกับทางอาจารย์ที่แมนเชสเตอร์ก็ได้มองไปที่งานวิจัยเกี่ยวกับเกมที่มีผู้เล่นหลายคนและในกรณีศึกษานั้นเกมจะมีการเปลี่ยนแปลงโดยตัวมันเอง ซึ่งเรื่องนี้สามารถเปรียบเทียบได้กับความเคลื่อนไหวในโลกตลาดการเงิน
ผลลัพธ์ต่างๆที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ก็ชี้ว่า จำนวนผู้เล่นจะเพิ่มมากขึ้น โอกาสที่จะใช้กลยุทธ์ดุลยภาพจะลดน้อยลง ด้วยเหตุนี้เกมต่างๆที่มีความซับซ้อนพร้อมกับมีผู้เล่นเข้ามาหลายคนอย่างเช่น ตลาดการเงินนั้น ค่าดุลยภาพแทบจะไม่สามารถตอบโจทย์เรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นได้เลย
ผู้แปล : Mr.lawrence10
ที่มา : sciencedaily.com