สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
ช่วงแรกๆที่นูร์ฮาร์ชีกำลังรวบรวมชาวหนี่เจินแห่งไห่ซีและเจี้ยงโจวนั้น ดินแดนมองโกลฟากตะวันออก (ในแคว้นชาร์ฮาร์) อยู่ใต้การปกครองของ หลิงตานข่าน ครับ ซึ่งถือว่าเขาเป็นข่านที่เข้มแข็งของมองโกลคนสุดท้าย ก่อนที่ตำแหน่งต้าข่านจะกลายเป็นของจักรพรรดิชิงไป
ช่วงปี 1600-1615 นั้น หลิงตานข่านก็มีการปะทะกับกองทัพของนูร์ฮาร์ชีประจำนั่นแลครับ แย่งเมืองกันบ้าง แย่งทุ่งหญ้าบ้าง แย่งแหล่งน้ำบ้าง ผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะไปๆมาๆ แต่ทว่าหลังปี 1615 เป็นต้นมา นูร์ฮาร์ชีรวมชาวหนี่เจินเป็นปึกแผ่นได้ และเข้มแข็งขึ้นมาก จนทำให้ฝ่ายหลิงตานข่านนั้นชักจะสู้ไม่ไหวครับ
ในปี 1618 นั้น หลิงตานข่านก็ดันทะลึ่งไปทำสนธิสัญญากับต้าหมิง โดยยอมรับเงินค่าจ้างจากหมิงให้คอยทำหน้าที่ปกป้องดินแดนทางเหนือของกำแพงยักษ์ เป็นหอกข้างแคร่ไว้คอยทิ่มฝ่ายนูร์ฮาร์ชีครับ ซึ่งนั่นทำให้นูร์ฮาร์ชีหมดความอดทนและวางแผนว่าต้องจัดการหลิงตานข่าน ยึดแคว้นชาร์ฮาร์มาให้ได้ เพื่อจะได้ยกลงใต้รบกับต้าหมิงได้อย่างสบายใจ
ช่วงปี 1620-1624 นั้น นูร์ฮาร์ชีก็จัดการถล่มพลพรรคของหลิงตานข่านอย่างหนักหน่วง จนหลิงตานข่านพ่ายแพ้บ่อยๆทำให้ พวกมองโกลในชาร์ฮาร์และทุ่งหญ้าตะวันออกเลยเกิดการแตกแยกกันเอง เพราะชักไม่มั่นใจแล้วว่า หากติดตามหลิงตานข่านรบจะจบอย่างไร
ท้ายสุด มองโกลเผ่าหนึ่งคือเผ่าเค่อฉิน ซึ่งหัวหน้าเผ่าสืบเชื้อสายมาจากตระกูลป๋อเอ้อร์จื่อจินของเจงกีสข่าน ก็เล็งเห็นว่า การจะเอาอย่างหลิงตานข่านไปเข้าข้างต้าหมิง มารบกับต้าจินนั้น เป็นหนทางแห่งความพินาศ เพื่อความอยู่รอดเห็นจะต้องไปสวามิภักดิ์ต้าจินดีกว่า แล้วอาศัยกำลังของต้าจินมาเป็นฐานสนับสนุนเผ่าของตนให้เป็นใหญ่ในทุ่งหญ้าตะวันออกแต่เพียงผู้เดียว
ปี 1624 เป็นปีแรกที่ หัวหน้าเผ่าเค่อฉิน เข้าสวามิภักดิ์ต่อนูร์ฮาร์ชีครับ และนูร์ฮาร์ชีก็จัดการขอลูกสาวหัวหน้าเผ่าเค่อฉินมาตกแต่งเป็นสะใภ้ทันที นับแต่นั้นมา เผ่าเค่อฉินและต้าจินก็เป็นญาติมิตรกัน
การสวามิภักดิ์ของเผ่าเค่อฉิน ค่อยๆทำให้เผ่าอื่นๆแปรพักตร์ทิ้งหลิงตานข่านครับ อันนำมาซึ่งความพ่ายแพ่ใหญ่ในปี 1628 จนฝ่ายหลิงตานข่านไม่สามารถฟื้นขึ้นมาได้อีกเลย และกองทัพจินก็ค่อยๆเข้าควบคุมทุ่งหญ้าตะวันออกอย่างเบ็ดเสร็จในปี 1635 ซึ่งทำให้มองโกลเผ่าต่างๆในทุ่งหญ้าตะวันออก สวามิภักดิ์หมดสิ้นครับ
การเข้าแทนที่หลิงตานข่านของ หวงไท่จี๋นี้เอง ทำให้หวงไท่จี๋ทำการอ้างสิทธิ์การเป็นต้าข่านแห่งมองโกลไปด้วย และหวงไท่จี๋ก็สืบทอดตำแหน่งนี้ให้จักรพรรดิชิงรุ่นต่อๆมาจนถึง จักรพรรดิเสวียนถงนั้นแล
ช่วงปี 1600-1615 นั้น หลิงตานข่านก็มีการปะทะกับกองทัพของนูร์ฮาร์ชีประจำนั่นแลครับ แย่งเมืองกันบ้าง แย่งทุ่งหญ้าบ้าง แย่งแหล่งน้ำบ้าง ผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะไปๆมาๆ แต่ทว่าหลังปี 1615 เป็นต้นมา นูร์ฮาร์ชีรวมชาวหนี่เจินเป็นปึกแผ่นได้ และเข้มแข็งขึ้นมาก จนทำให้ฝ่ายหลิงตานข่านนั้นชักจะสู้ไม่ไหวครับ
ในปี 1618 นั้น หลิงตานข่านก็ดันทะลึ่งไปทำสนธิสัญญากับต้าหมิง โดยยอมรับเงินค่าจ้างจากหมิงให้คอยทำหน้าที่ปกป้องดินแดนทางเหนือของกำแพงยักษ์ เป็นหอกข้างแคร่ไว้คอยทิ่มฝ่ายนูร์ฮาร์ชีครับ ซึ่งนั่นทำให้นูร์ฮาร์ชีหมดความอดทนและวางแผนว่าต้องจัดการหลิงตานข่าน ยึดแคว้นชาร์ฮาร์มาให้ได้ เพื่อจะได้ยกลงใต้รบกับต้าหมิงได้อย่างสบายใจ
ช่วงปี 1620-1624 นั้น นูร์ฮาร์ชีก็จัดการถล่มพลพรรคของหลิงตานข่านอย่างหนักหน่วง จนหลิงตานข่านพ่ายแพ้บ่อยๆทำให้ พวกมองโกลในชาร์ฮาร์และทุ่งหญ้าตะวันออกเลยเกิดการแตกแยกกันเอง เพราะชักไม่มั่นใจแล้วว่า หากติดตามหลิงตานข่านรบจะจบอย่างไร
ท้ายสุด มองโกลเผ่าหนึ่งคือเผ่าเค่อฉิน ซึ่งหัวหน้าเผ่าสืบเชื้อสายมาจากตระกูลป๋อเอ้อร์จื่อจินของเจงกีสข่าน ก็เล็งเห็นว่า การจะเอาอย่างหลิงตานข่านไปเข้าข้างต้าหมิง มารบกับต้าจินนั้น เป็นหนทางแห่งความพินาศ เพื่อความอยู่รอดเห็นจะต้องไปสวามิภักดิ์ต้าจินดีกว่า แล้วอาศัยกำลังของต้าจินมาเป็นฐานสนับสนุนเผ่าของตนให้เป็นใหญ่ในทุ่งหญ้าตะวันออกแต่เพียงผู้เดียว
ปี 1624 เป็นปีแรกที่ หัวหน้าเผ่าเค่อฉิน เข้าสวามิภักดิ์ต่อนูร์ฮาร์ชีครับ และนูร์ฮาร์ชีก็จัดการขอลูกสาวหัวหน้าเผ่าเค่อฉินมาตกแต่งเป็นสะใภ้ทันที นับแต่นั้นมา เผ่าเค่อฉินและต้าจินก็เป็นญาติมิตรกัน
การสวามิภักดิ์ของเผ่าเค่อฉิน ค่อยๆทำให้เผ่าอื่นๆแปรพักตร์ทิ้งหลิงตานข่านครับ อันนำมาซึ่งความพ่ายแพ่ใหญ่ในปี 1628 จนฝ่ายหลิงตานข่านไม่สามารถฟื้นขึ้นมาได้อีกเลย และกองทัพจินก็ค่อยๆเข้าควบคุมทุ่งหญ้าตะวันออกอย่างเบ็ดเสร็จในปี 1635 ซึ่งทำให้มองโกลเผ่าต่างๆในทุ่งหญ้าตะวันออก สวามิภักดิ์หมดสิ้นครับ
การเข้าแทนที่หลิงตานข่านของ หวงไท่จี๋นี้เอง ทำให้หวงไท่จี๋ทำการอ้างสิทธิ์การเป็นต้าข่านแห่งมองโกลไปด้วย และหวงไท่จี๋ก็สืบทอดตำแหน่งนี้ให้จักรพรรดิชิงรุ่นต่อๆมาจนถึง จักรพรรดิเสวียนถงนั้นแล
แสดงความคิดเห็น
ทำไมช่วงที่แมนจูเรืองอำนาจ มองโกลยอมอยู่ภายในอาณัติแมนจูง่ายๆละครับ