สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
พระเสวียนจั้ง (玄奘, Xuánzàng) มีชีวิตอยู่ในช่วงปี พ.ศ.1145-1207 เกิดในสกุลเฉิน (Chen, ถ้าออกเสียงตามจีนแต้จิ๋วคือ ตั้ง) นามเดิมชื่อฮุย เกิดในรัชสมัยพระเจ้าสุยเหวินตี้ (Sui Wen Di) ที่นครลั่วหยาง อำเภอโกวซื่อ มณฑลเหอหนาน บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 13 ปีที่วัดจิ้งถู่ (净土寺) และมีความสามารถในการแสดงธรรมเป็นอย่างมาก เมื่อสิ้นราชวงศ์สุย และเปลี่ยนเป็นราชวงศ์ถังแล้ว ท่านจึงตัดสินใจเดินทางไปแสวงธรรมในประเทศอินเดีย ได้ออกเดินทางเมื่อเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ.1170 โดยลักลอบเดินทางออกนอกประเทศ เพียงคนเดียวในตอนกลางคืน เนื่องจากช่วงนั้นเป็นช่วงสงครามเปลี่ยนราชวงศ์ และสถาปนาราชวงศ์ถัง ตลอดแนวชายแดนยังถูกอิทธิพลของชนชาติเติร์กคุกคาม จึงมีกฎห้ามประชาชนเดินทางออกนอกพรมแดน ถ้าไม่มีหนังสืออนุญาต
โดยสาเหตุที่พระเสวียนจั้ง ได้ตัดสินใจออกเดินทางไปจาริกแสวงบุญ อัญเชิญพระคัมภีร์พระไตรปิฎกที่ชมพูทวีป สาเหตุสำคัญก็สืบเนื่องมาจาก พุทธศาสนาในประเทศจีนในสมัยนั้น มีการตีความคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแตกต่างกันหลากแขนง หลายแนวทางของแต่ละสำนัก ส่วนหนึ่งก็มาจากพุทธศาสนาที่เดินทางมาจากอินเดีย สู่ประเทศจีนในยุคแรกเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.568 ในยุคสมัยฮั่นตะวันออก ผ่านเส้นทางสายไหมอันทุรกันดาร ทำให้เอกสาร คัมภีร์ ตำรา คำสอนต่างๆ นั้นส่วนมาก ก็มักจะเป็นการตีความ การจดจำ ของสงฆ์ที่เดินทางไปชมพูทวีป แล้วกลับมาเผยแผ่ธรรมะนั่นเอง จึงทำให้ธรรมะต่างๆ มีการตีความ เจือความคิดเห็นส่วนตัวของสงฆ์เหล่านั้นลงไปในคำสอนของตนเองด้วย จึงทำให้พระเสวียนจั้ง เมื่อศึกษาพระคัมภีร์จนแตกฉานมากขึ้นก็บังเกิดข้อสงสัยขึ้นมากมาย แต่เมื่อหาคำตอบแล้วกลับพบว่า แต่ละสำนัก ต่างก็ตีความไปคนละทิศละทาง
ดังนั้นท่านจึงเกิดข้อสันนิษฐานขึ้นว่าการแปล พระไตรปิฎกจากต้นฉบับมาเป็นภาษาจีนนั้นอาจทำให้ความดั้งเดิมในพระไตรปิฎกคลาดเคลื่อน และตัดสินใจว่า จะต้องเดินทางย้อนไปยังดินแดนอันเป็นต้นธารกำเนิดของศาสนาพุทธ ซึ่งก็คือ ประเทศอินเดียในปัจจุบัน เพื่อศึกษาพระไตรปิฎกฉบับดั้งเดิมและคัดลอกนำกลับมายังแผ่นดินจีนให้ได้ แต่อย่างไรก็ตามการเดินทางออกจาก มหานครฉางอานในช่วงที่สงคราม การเปลี่ยนราชวงศ์เพิ่งสงบ และเกิดการแย่งบัลลังก์กันในราชสำนักนั้นกลับมิใช่เรื่องง่ายแต่ประการใด โดยเฉพาะในปี พ.ศ.1170 อันเป็นปีแรกที่ หลี่ซื่อหมิน (李世民) เพิ่งจะแย่งบัลลังก์มาจากพี่ชายหลี่เจี้ยนเฉิง (李建成) และขึ้นครองราชย์แทนหลี่ยวน (李渊) ผู้พ่อได้สำเร็จ
ด้วยความที่แผ่นดินจีนในขณะนั้นยังไม่มีเสถียรภาพ องค์ฮ่องเต้ถังไท่จง (หลี่ซื่อหมิน) จึงควบคุมการเดินทางเข้าออกนครฉางอานอย่างเข้มงวด ทั้งนี้เมื่อ พระเสวียนจั้ง ได้ขออนุญาตเดินทางออกจากฉางอานไปยังอินเดีย (คล้ายกับการขอพาสปอร์ตในปัจจุบัน) ถึง 3 ครั้งแต่ไม่สำเร็จ ท่านจึงแอบลักลอบเดินทางออกจากนครฉางอานโดยผิดกฎหมายในเวลาค่ำคืน เพื่อหลบหลีกการไล่ล่าของทหารตรวจคนเข้าเมือง …. โดยเดินทางอย่างโดดเดี่ยว
พระเสวียนจั้ง มิได้มีเงินถุงเงินถังจากราชสำนักเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปอัญเชิญไตรปิฎกถึงอินเดีย มิได้มีผู้ช่วยเหลือเป็น เห้งเจีย ตือโป๊ยก่าย ซัวเจ๋ง แต่อย่างใด อย่างไรก็ตามอุปสรรคที่ท่านต้องประสบพบนั้นกลับมิได้ลดน้อยไปกว่า เรื่องราวที่วรรณกรรมระบุแม้แต่น้อย ท่านเสวียนจั้ง เพียงมี ความศรัทธาต่อศาสนาพุทธ เป็นเข็มทิศ เป็นแรงผลักดันให้เท้าก้าวเดิน ฝ่าฟันข้ามดินแดนอันแห้งแล้งมุ่งไปยังจุดหมายข้างหน้าที่สายตามิอาจมองเห็น
ปี พ.ศ.1170 หลังจากออกจากฉางอาน พระเสวียนจั้ง เผชิญกับสภาวะธรรมชาติอันโหดร้าย เดินทางข้ามทะเลทรายอันเวิ้งว้าง ภูเขาหิมะหนาวเหน็บ ทุ่งหญ้าที่กว้างไกลสุดลูกหูลูกตา ผจญกับอุปสรรคและสิ่งเย้ายวนสารพัดสารพัน โจรปล้นคณะพ่อค้า ลูกไม้ต่างๆ รั้งท่านให้อยู่แสดงธรรมต่อของกษัตริย์ในประเทศต่างๆ ที่เป็นทางผ่าน ด้วย สตรี อำนาจ ทรัพย์สิน
พระเสวียนจั้ง เดินทางผ่าน 16 ประเทศ ใช้เวลาทั้งหมด 4 ปี ฝ่าฟันอุปสรรคกายและอุปสรรคใจ ทั้งมวลมาถึงจุดหมายคือ มหาวิทยาลัยนาลันทา (那烂陀) ในประเทศอินเดียที่แต่เดิมชาวจีนเรียกว่า จู๋กั๋ว (竺国)
พระเสวียนจั้งใช้เวลาศึกษาพระไตรปิฎกที่มหาวิทยาลัยนาลันทา เป็นเวลา 6 ปีก่อนออกเดินทางไปทั่วประเทศอินเดียเพื่อเปิดโลกทัศน์ให้กับตนเอง ก่อนจะออกเดินทางกลับประเทศจีนพร้อมกับพระไตรปิฎกที่คัดลอกมาจากต้นฉบับในปี พ.ศ.1186
ในเส้นทางขากลับจากอินเดีย พระเสวียนจั้งใช้เวลาเดินทางน้อยกว่าขาไปครึ่งหนึ่ง คือ ใช้เวลา 2 ปี โดยกลับถึงนครฉางอานเมื่อ ปี พ.ศ.1188 พร้อมกับอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ 150 องค์ พระไตรปิฎกจำนวน 257 เล่มสมุด บรรทุกด้วยม้าจำนวน 20 ตัว รวมระยะเวลาที่ท่านจากบ้านไปอัญเชิญพระไตรปิฎกที่อินเดียนานถึง 19 ปี รวมระยะการเดินทางกว่า 50,000 ลี้
“ระหว่างเส้นทางของการเดินทางกลับของพระเสวียนจั้ง ในบางช่วงท่านอาศัยเดินทางกับคณะพ่อค้าที่กำลังเดินทางมาค้าขายที่ฉางอาน แต่ก็โชคไม่ดีนักที่ คณะรวม 24 คนถูกโจรปล้นฆ่าเอาสินค้าไปไม่น้อย โดย สุดท้ายเมื่อมาถึงเมืองฉางอาน จากจำนวน 24 คน ต้องเสียชีวิตไปเสีย สองในสาม เหลือรอดมาได้เพียง 8 คน โดย พระเสวียนจั้งนั้นต้องขอร้องให้โจรละเว้นตัวท่านกับพระไตรปิฎกที่อุตสาหะไปนำมาจากอินเดีย”
“เมื่อกลับมาถึงเมืองจีน การเผยแพร่ศาสนาพุทธของ พระเสวียนจั้งก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากในราชสำนักขณะนั้นฮ่องเต้ยังคงยึดถึง ลัทธิและคำสอนของขงจื๊อเป็นหลัก โดย กว่าที่จะกล่อมองค์ฮ่องเต้ให้หันมานับถือศาสนาพุทธได้นั้น พระเสวียนจั้งก็ต้องใช้เวลากว่า 20 ปี ตั้งแต่ ฮ่องเต้ถังไท่จง เรื่อยมาจนถึงพระราชโอรส ฮ่องเต้ถังเกาจง”
ในเวลาต่อมาด้วยการอุทิศตนของ พระเสวียนจั้ง ท่านได้แปลพระไตรปิฎกฉบับดั้งเดิมให้เป็นภาษาจีน จำนวนมากถึง 75 เล่มสมุด 1,335 ม้วน ซึ่งในปัจจุบัน พระไตรปิฎกฉบับแปลโดย พระเสวียนจั้ง ดังกล่าวก็ยังคงใช้กันอย่างแพร่หลายในวงพุทธศาสนาของประเทศจีน
นอกจากพระไตรปิฎกฉบับแปลเป็นภาษาจีน ที่พระเสวียนจั้งได้ทิ้งไว้เป็นมรดกอันล้ำค่าสำหรับชาวจีนและชาวเอเชียตะวันออกแล้ว ท่านยังได้ทิ้ง ‘บันทึกดินแดนตะวันตกในสมัยถัง (大唐西域记)’ บันทึกประวัติศาสตร์อันมีค่ามหาศาลไว้เป็นมรดกทาง วัฒนธรรม สำหรับชาวโลกรุ่นหลังอีกด้วย
(ขอบคุณการรวบรวม และสรุปสาระสำคัญในส่วนของพระสมณะเสวียนจั้ง จาก http://www.palungdham.com/t802.html)
พระเสวียนจั้ง (玄奘, Xuánzàng) มีชีวิตอยู่ในช่วงปี พ.ศ.1145-1207 เกิดในสกุลเฉิน (Chen, ถ้าออกเสียงตามจีนแต้จิ๋วคือ ตั้ง) นามเดิมชื่อฮุย เกิดในรัชสมัยพระเจ้าสุยเหวินตี้ (Sui Wen Di) ที่นครลั่วหยาง อำเภอโกวซื่อ มณฑลเหอหนาน บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 13 ปีที่วัดจิ้งถู่ (净土寺) และมีความสามารถในการแสดงธรรมเป็นอย่างมาก เมื่อสิ้นราชวงศ์สุย และเปลี่ยนเป็นราชวงศ์ถังแล้ว ท่านจึงตัดสินใจเดินทางไปแสวงธรรมในประเทศอินเดีย ได้ออกเดินทางเมื่อเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ.1170 โดยลักลอบเดินทางออกนอกประเทศ เพียงคนเดียวในตอนกลางคืน เนื่องจากช่วงนั้นเป็นช่วงสงครามเปลี่ยนราชวงศ์ และสถาปนาราชวงศ์ถัง ตลอดแนวชายแดนยังถูกอิทธิพลของชนชาติเติร์กคุกคาม จึงมีกฎห้ามประชาชนเดินทางออกนอกพรมแดน ถ้าไม่มีหนังสืออนุญาต
โดยสาเหตุที่พระเสวียนจั้ง ได้ตัดสินใจออกเดินทางไปจาริกแสวงบุญ อัญเชิญพระคัมภีร์พระไตรปิฎกที่ชมพูทวีป สาเหตุสำคัญก็สืบเนื่องมาจาก พุทธศาสนาในประเทศจีนในสมัยนั้น มีการตีความคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแตกต่างกันหลากแขนง หลายแนวทางของแต่ละสำนัก ส่วนหนึ่งก็มาจากพุทธศาสนาที่เดินทางมาจากอินเดีย สู่ประเทศจีนในยุคแรกเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.568 ในยุคสมัยฮั่นตะวันออก ผ่านเส้นทางสายไหมอันทุรกันดาร ทำให้เอกสาร คัมภีร์ ตำรา คำสอนต่างๆ นั้นส่วนมาก ก็มักจะเป็นการตีความ การจดจำ ของสงฆ์ที่เดินทางไปชมพูทวีป แล้วกลับมาเผยแผ่ธรรมะนั่นเอง จึงทำให้ธรรมะต่างๆ มีการตีความ เจือความคิดเห็นส่วนตัวของสงฆ์เหล่านั้นลงไปในคำสอนของตนเองด้วย จึงทำให้พระเสวียนจั้ง เมื่อศึกษาพระคัมภีร์จนแตกฉานมากขึ้นก็บังเกิดข้อสงสัยขึ้นมากมาย แต่เมื่อหาคำตอบแล้วกลับพบว่า แต่ละสำนัก ต่างก็ตีความไปคนละทิศละทาง
ดังนั้นท่านจึงเกิดข้อสันนิษฐานขึ้นว่าการแปล พระไตรปิฎกจากต้นฉบับมาเป็นภาษาจีนนั้นอาจทำให้ความดั้งเดิมในพระไตรปิฎกคลาดเคลื่อน และตัดสินใจว่า จะต้องเดินทางย้อนไปยังดินแดนอันเป็นต้นธารกำเนิดของศาสนาพุทธ ซึ่งก็คือ ประเทศอินเดียในปัจจุบัน เพื่อศึกษาพระไตรปิฎกฉบับดั้งเดิมและคัดลอกนำกลับมายังแผ่นดินจีนให้ได้ แต่อย่างไรก็ตามการเดินทางออกจาก มหานครฉางอานในช่วงที่สงคราม การเปลี่ยนราชวงศ์เพิ่งสงบ และเกิดการแย่งบัลลังก์กันในราชสำนักนั้นกลับมิใช่เรื่องง่ายแต่ประการใด โดยเฉพาะในปี พ.ศ.1170 อันเป็นปีแรกที่ หลี่ซื่อหมิน (李世民) เพิ่งจะแย่งบัลลังก์มาจากพี่ชายหลี่เจี้ยนเฉิง (李建成) และขึ้นครองราชย์แทนหลี่ยวน (李渊) ผู้พ่อได้สำเร็จ
ด้วยความที่แผ่นดินจีนในขณะนั้นยังไม่มีเสถียรภาพ องค์ฮ่องเต้ถังไท่จง (หลี่ซื่อหมิน) จึงควบคุมการเดินทางเข้าออกนครฉางอานอย่างเข้มงวด ทั้งนี้เมื่อ พระเสวียนจั้ง ได้ขออนุญาตเดินทางออกจากฉางอานไปยังอินเดีย (คล้ายกับการขอพาสปอร์ตในปัจจุบัน) ถึง 3 ครั้งแต่ไม่สำเร็จ ท่านจึงแอบลักลอบเดินทางออกจากนครฉางอานโดยผิดกฎหมายในเวลาค่ำคืน เพื่อหลบหลีกการไล่ล่าของทหารตรวจคนเข้าเมือง …. โดยเดินทางอย่างโดดเดี่ยว
พระเสวียนจั้ง มิได้มีเงินถุงเงินถังจากราชสำนักเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปอัญเชิญไตรปิฎกถึงอินเดีย มิได้มีผู้ช่วยเหลือเป็น เห้งเจีย ตือโป๊ยก่าย ซัวเจ๋ง แต่อย่างใด อย่างไรก็ตามอุปสรรคที่ท่านต้องประสบพบนั้นกลับมิได้ลดน้อยไปกว่า เรื่องราวที่วรรณกรรมระบุแม้แต่น้อย ท่านเสวียนจั้ง เพียงมี ความศรัทธาต่อศาสนาพุทธ เป็นเข็มทิศ เป็นแรงผลักดันให้เท้าก้าวเดิน ฝ่าฟันข้ามดินแดนอันแห้งแล้งมุ่งไปยังจุดหมายข้างหน้าที่สายตามิอาจมองเห็น
ปี พ.ศ.1170 หลังจากออกจากฉางอาน พระเสวียนจั้ง เผชิญกับสภาวะธรรมชาติอันโหดร้าย เดินทางข้ามทะเลทรายอันเวิ้งว้าง ภูเขาหิมะหนาวเหน็บ ทุ่งหญ้าที่กว้างไกลสุดลูกหูลูกตา ผจญกับอุปสรรคและสิ่งเย้ายวนสารพัดสารพัน โจรปล้นคณะพ่อค้า ลูกไม้ต่างๆ รั้งท่านให้อยู่แสดงธรรมต่อของกษัตริย์ในประเทศต่างๆ ที่เป็นทางผ่าน ด้วย สตรี อำนาจ ทรัพย์สิน
พระเสวียนจั้ง เดินทางผ่าน 16 ประเทศ ใช้เวลาทั้งหมด 4 ปี ฝ่าฟันอุปสรรคกายและอุปสรรคใจ ทั้งมวลมาถึงจุดหมายคือ มหาวิทยาลัยนาลันทา (那烂陀) ในประเทศอินเดียที่แต่เดิมชาวจีนเรียกว่า จู๋กั๋ว (竺国)
พระเสวียนจั้งใช้เวลาศึกษาพระไตรปิฎกที่มหาวิทยาลัยนาลันทา เป็นเวลา 6 ปีก่อนออกเดินทางไปทั่วประเทศอินเดียเพื่อเปิดโลกทัศน์ให้กับตนเอง ก่อนจะออกเดินทางกลับประเทศจีนพร้อมกับพระไตรปิฎกที่คัดลอกมาจากต้นฉบับในปี พ.ศ.1186
ในเส้นทางขากลับจากอินเดีย พระเสวียนจั้งใช้เวลาเดินทางน้อยกว่าขาไปครึ่งหนึ่ง คือ ใช้เวลา 2 ปี โดยกลับถึงนครฉางอานเมื่อ ปี พ.ศ.1188 พร้อมกับอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ 150 องค์ พระไตรปิฎกจำนวน 257 เล่มสมุด บรรทุกด้วยม้าจำนวน 20 ตัว รวมระยะเวลาที่ท่านจากบ้านไปอัญเชิญพระไตรปิฎกที่อินเดียนานถึง 19 ปี รวมระยะการเดินทางกว่า 50,000 ลี้
“ระหว่างเส้นทางของการเดินทางกลับของพระเสวียนจั้ง ในบางช่วงท่านอาศัยเดินทางกับคณะพ่อค้าที่กำลังเดินทางมาค้าขายที่ฉางอาน แต่ก็โชคไม่ดีนักที่ คณะรวม 24 คนถูกโจรปล้นฆ่าเอาสินค้าไปไม่น้อย โดย สุดท้ายเมื่อมาถึงเมืองฉางอาน จากจำนวน 24 คน ต้องเสียชีวิตไปเสีย สองในสาม เหลือรอดมาได้เพียง 8 คน โดย พระเสวียนจั้งนั้นต้องขอร้องให้โจรละเว้นตัวท่านกับพระไตรปิฎกที่อุตสาหะไปนำมาจากอินเดีย”
“เมื่อกลับมาถึงเมืองจีน การเผยแพร่ศาสนาพุทธของ พระเสวียนจั้งก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากในราชสำนักขณะนั้นฮ่องเต้ยังคงยึดถึง ลัทธิและคำสอนของขงจื๊อเป็นหลัก โดย กว่าที่จะกล่อมองค์ฮ่องเต้ให้หันมานับถือศาสนาพุทธได้นั้น พระเสวียนจั้งก็ต้องใช้เวลากว่า 20 ปี ตั้งแต่ ฮ่องเต้ถังไท่จง เรื่อยมาจนถึงพระราชโอรส ฮ่องเต้ถังเกาจง”
ในเวลาต่อมาด้วยการอุทิศตนของ พระเสวียนจั้ง ท่านได้แปลพระไตรปิฎกฉบับดั้งเดิมให้เป็นภาษาจีน จำนวนมากถึง 75 เล่มสมุด 1,335 ม้วน ซึ่งในปัจจุบัน พระไตรปิฎกฉบับแปลโดย พระเสวียนจั้ง ดังกล่าวก็ยังคงใช้กันอย่างแพร่หลายในวงพุทธศาสนาของประเทศจีน
นอกจากพระไตรปิฎกฉบับแปลเป็นภาษาจีน ที่พระเสวียนจั้งได้ทิ้งไว้เป็นมรดกอันล้ำค่าสำหรับชาวจีนและชาวเอเชียตะวันออกแล้ว ท่านยังได้ทิ้ง ‘บันทึกดินแดนตะวันตกในสมัยถัง (大唐西域记)’ บันทึกประวัติศาสตร์อันมีค่ามหาศาลไว้เป็นมรดกทาง วัฒนธรรม สำหรับชาวโลกรุ่นหลังอีกด้วย
(ขอบคุณการรวบรวม และสรุปสาระสำคัญในส่วนของพระสมณะเสวียนจั้ง จาก http://www.palungdham.com/t802.html)
ความคิดเห็นที่ 2
พระพุทธศาสนาที่เข้าไปในดินแดนประเทศจีนนั้นเป็นทางสายมหายานครับ และเนื่องจากมีพระสายมหายานเดินทางเข้าไปหลายครั้ง (นับตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นเป็นต้นมา) และพระที่เข้าไปก็ไม่เข้าใจภาษาจีนดีพอ รวมทั้งพระจีนไม่เข้าใจภาษาสันสกฤต (ที่จารึกพระไตรปิฎกทางสายมหายาน) ดีพอ เมื่อแปลออกเป็นภาษาจึงค่อนข้างไม่ตรง และเมื่อนานเข้าเกิดการตีความแตกต่างกันไปต่าง ๆ เมื่อถึงราชวงศ์ถังแผ่นดินจีนสงบขึ้น (ก่อนหน้านั้นเป็นช่วงยุคที่แผ่นดินจีนแตกออกเป็น 2 ฝั่ง คือ เหนือ-ใต้ หรือยุคหนานเป่ย (南北朝) คือมีอาณาจักรผลัดกันเป็นใหญ่ มาถึงราชวงศ์สุยการเมืองก็ยังไม่นิ่ง) พระสวนจ้าง (玄奘) ซึ่งบวชแต่เล็กศึกษาพระสูตรต่าง ๆ แล้วเกิดติดใจสงสัย พอไปถามพระเถระก็ตีความต่างไปอีก จึงเป็นแรงผลักดันให้ท่านอยากไปศึกษาและเรียนรู้คัมภีร์พระสูตร (จากต้นฉบับจริง ๆ) จึง "ลอบหนี" จากเมืองหลวงไปจนถึงนาลันทามหาวิหาร ซึ่งตอนนั้นมหายาน ความจริงคือแนวคิดแบบมหายานค่อนข้างรุ่งเรือง (ส่วนเถรวาทนั้นไปรุ่งเรืองแถบทางอินเดียใต้) และศึกษาภาษาสันสกฤตจนเข้าใจแตกฉาน ตามประวัติกล่าวว่าท่านได้เรียบเรียงบทโต้วาทีเรื่องมหายาน (ด้วยภาษาสันสกฤต) รอจน 7 วันก็ยังไม่มีใครแย้งบทนิพนธ์ท่านได้ หลังจากนั้นจึงออกจาริกไปสักการะสังเวชนียสถาน ขากลับพระเจ้าหรรษวรรธนะ ได้พระราชทานพระไตรปิฎก และพระพุทธรูป ให้ท่านนำกลับมาด้วย
ตามประวัติจริงเมื่อท่านมาถึงชายแดนจีนแล้ว ได้เขียนหนังสือขอพระราชทานอภัยโทษไปถวายถังไท่จง (ที่แอบหนีออกจากประเทศ) เมื่อได้รับพระราชทานอภัยโทษแล้วจึงไปเริ่มดำเนินการแปลพระสูตร ซึ่งหากพระสูตรไหนมีแปลแล้วก็เอาต้นฉบับมาเทียบว่าผิดถูกตรงไหนก็แก้ ส่วนที่ยังไม่มีแปลก็แปลใหม่ และนำพระสูตรแปลขึ้นทูลเกล้าถวายพระเจ้าไท่จงทอดพระเนตรซึ่งพระองค์ได้ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองคำนำพระราชทานด้วย ด้วยเหตุที่ท่านอุตสาหะแปลพระไตรปิฎกจนสำเร็จจึงได้ชื่อว่าเป็นพระถังซานจ้าง (唐三藏) อันหมายถึง พระไตรปิฎกราชวงศ์ถัง
ตามประวัติจริงเมื่อท่านมาถึงชายแดนจีนแล้ว ได้เขียนหนังสือขอพระราชทานอภัยโทษไปถวายถังไท่จง (ที่แอบหนีออกจากประเทศ) เมื่อได้รับพระราชทานอภัยโทษแล้วจึงไปเริ่มดำเนินการแปลพระสูตร ซึ่งหากพระสูตรไหนมีแปลแล้วก็เอาต้นฉบับมาเทียบว่าผิดถูกตรงไหนก็แก้ ส่วนที่ยังไม่มีแปลก็แปลใหม่ และนำพระสูตรแปลขึ้นทูลเกล้าถวายพระเจ้าไท่จงทอดพระเนตรซึ่งพระองค์ได้ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองคำนำพระราชทานด้วย ด้วยเหตุที่ท่านอุตสาหะแปลพระไตรปิฎกจนสำเร็จจึงได้ชื่อว่าเป็นพระถังซานจ้าง (唐三藏) อันหมายถึง พระไตรปิฎกราชวงศ์ถัง
แสดงความคิดเห็น
ทำไมพระถังซัมจั๋งต้องไปเอาพระไตรปิฏกจากอินเดียครับ ทั้งๆที่พุทธมาอยู่ในจีนตั้งนานแล้ว