คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
ไว้เป็นเครื่องมือกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการใช้จ่ายของรัฐบาล
ปกติเวลารอบเศรษฐกิจสั้นๆเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัว แบงค์ชาติจะลดดอกเบี้ย ส่วนรัฐบาลจะใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
ถ้าหนี้ส่วนนี้มากเกินไปจนถึงจุดนึงที่มากเกิน income ไปมากๆก็จะก่อหนี้ใหม่ไม่ได้ ประเทศก็จะเข้าสู่สภาวะเริ่มใช้หนี้
พอถึงตอนนั้นเมื่อหนี้มากเกินไป แต่รายได้ประชากรตามไม่ทัน เศรษฐกิจก็จะชะลอตัวลง และเป็นการยากที่จะฟื้นตัวโดยที่ไม่มีการบริหารจัดการ เพราะเมื่อถึงจุดที่หนี้สาธารณะสูงมากๆ cycle อัตราดอกเบี้ยจะอยู่ที่ 0 ทำให้แบงค์ชาติลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจไม่ได้อีกต่อไป ส่วนรัฐจะกู้เงินมากระตุ้นเศรษฐกิจก็ทำได้ไม่มากเพราะที่มีอยู่ก็เป็นภาระนักหนาแล้ว ทำให้สถานการณ์เศรษฐกิจประเทศถดถอยหากบริหารไม่ดี
ทางแก้ที่นิยมกันคือ QE เพื่อเพิ่ม liquidity แก่ระบบเพื่อทดแทนสองส่วนแรกที่ใช้การไม่ได้ แต่หากทำมากไปก็จะเกิดเงินเฟ้อได้ ต้องบริหารทุกนโยบายให้สมดุล
ระบบเศรษฐกิจในระยะยาวสำคัญที่สุดคือ Productivity หากรัฐบาลต้องการใช้จ่ายเหรือลงทุนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ก็ควรเป็นการใช้จ่ายที่สร้าง productivity เพราะ productivity จะทำให้ในอนาคตประเทศมีเงินมาใช้หนี้ได้ในอนาคต เปรียบเหมือนชาวนากู้เงินมาซื้อรถไถซึ่งจะสร้าง productivity ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นมาใช้หนี้ในอนาคต แต่ถ้ารัฐบาลใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายมากไป ก็จะกลายเป็นว่าการใช้จ่ายตรงนั้นไม่ได้ช่วยสร้างรายได้อะไรให้เพื่อนำไปใช้หนี้ในอนาคต ประมาณเหมือนซื้อของเล่น แต่ในอนาคตต้องใช้เงินเจ้าหนี้ค่าซื้อของเล่นคืน ก็ต้องไปหยิบยกรายได้จากส่วนอื่นมาใช้เค้า (อันนี้ไม่ได้แซะใครนะยกตัวอย่าง)
หาก จขกท. สนใจลองศึกษาได้จาก youtube : How the economic machine works จัดทำโดย Ray Dalio ผู้จัดการกองทุน Global Macro ที่ใหญ่สุดในโลก เข้าใจง่ายและกระชับ จากนั้นลองศึกษาอดีตจากเคส uJapan ยุค 90 , eu กับ us ช่วง 2008 , us 1930 กลุ่มประเทศเหล่านี้กำลังอยู่ในช่วงปลดหนี้(ปัจจุบันญี่ปุ่นติดมานานมากละบริหารจัดการไม่ดี , eu us ใกล้ละ)
ปกติเวลารอบเศรษฐกิจสั้นๆเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัว แบงค์ชาติจะลดดอกเบี้ย ส่วนรัฐบาลจะใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
ถ้าหนี้ส่วนนี้มากเกินไปจนถึงจุดนึงที่มากเกิน income ไปมากๆก็จะก่อหนี้ใหม่ไม่ได้ ประเทศก็จะเข้าสู่สภาวะเริ่มใช้หนี้
พอถึงตอนนั้นเมื่อหนี้มากเกินไป แต่รายได้ประชากรตามไม่ทัน เศรษฐกิจก็จะชะลอตัวลง และเป็นการยากที่จะฟื้นตัวโดยที่ไม่มีการบริหารจัดการ เพราะเมื่อถึงจุดที่หนี้สาธารณะสูงมากๆ cycle อัตราดอกเบี้ยจะอยู่ที่ 0 ทำให้แบงค์ชาติลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจไม่ได้อีกต่อไป ส่วนรัฐจะกู้เงินมากระตุ้นเศรษฐกิจก็ทำได้ไม่มากเพราะที่มีอยู่ก็เป็นภาระนักหนาแล้ว ทำให้สถานการณ์เศรษฐกิจประเทศถดถอยหากบริหารไม่ดี
ทางแก้ที่นิยมกันคือ QE เพื่อเพิ่ม liquidity แก่ระบบเพื่อทดแทนสองส่วนแรกที่ใช้การไม่ได้ แต่หากทำมากไปก็จะเกิดเงินเฟ้อได้ ต้องบริหารทุกนโยบายให้สมดุล
ระบบเศรษฐกิจในระยะยาวสำคัญที่สุดคือ Productivity หากรัฐบาลต้องการใช้จ่ายเหรือลงทุนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ก็ควรเป็นการใช้จ่ายที่สร้าง productivity เพราะ productivity จะทำให้ในอนาคตประเทศมีเงินมาใช้หนี้ได้ในอนาคต เปรียบเหมือนชาวนากู้เงินมาซื้อรถไถซึ่งจะสร้าง productivity ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นมาใช้หนี้ในอนาคต แต่ถ้ารัฐบาลใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายมากไป ก็จะกลายเป็นว่าการใช้จ่ายตรงนั้นไม่ได้ช่วยสร้างรายได้อะไรให้เพื่อนำไปใช้หนี้ในอนาคต ประมาณเหมือนซื้อของเล่น แต่ในอนาคตต้องใช้เงินเจ้าหนี้ค่าซื้อของเล่นคืน ก็ต้องไปหยิบยกรายได้จากส่วนอื่นมาใช้เค้า (อันนี้ไม่ได้แซะใครนะยกตัวอย่าง)
หาก จขกท. สนใจลองศึกษาได้จาก youtube : How the economic machine works จัดทำโดย Ray Dalio ผู้จัดการกองทุน Global Macro ที่ใหญ่สุดในโลก เข้าใจง่ายและกระชับ จากนั้นลองศึกษาอดีตจากเคส uJapan ยุค 90 , eu กับ us ช่วง 2008 , us 1930 กลุ่มประเทศเหล่านี้กำลังอยู่ในช่วงปลดหนี้(ปัจจุบันญี่ปุ่นติดมานานมากละบริหารจัดการไม่ดี , eu us ใกล้ละ)
แสดงความคิดเห็น
การมีหนี้สาธารณะมากเกินไป นอกจากเราจะต้องคอยส่งต้นส่งดอกให้เจ้าหนี้แล้วส่งผลอย่างไรกับประเทศในด้านอื่นๆบ้างคะ