ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีภาระหนี้สูง แสนสิริมีบี/อี สูงสุด กว่า 6 พันล้านบาท หลายบริษัทเจอหุ้นกู้ครบกำหนดปีนี้ ผู้ประกอบการดิ้นเพิ่มสภาพคล่อง เพซยืนยันฐานะแกร่ง ทริสจับตาห่วงรายกลางและเล็ก
รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้รวบรวมข้อมูลหุ้นกู้และตั๋วเงินระยะสั้นของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ จำนวน 43 บริษัท ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2560 พบว่า บริษัทจำนวน 30 แห่ง มีตั๋วเงินระยะสั้นทั้งสิ้น 42,262.50 ล้านบาท โดยบริษัท แสนสิริฯ (SIRI) มียอดหนี้ตั๋วเงินระยะสั้นสูงที่สุด 6,200 ล้านบาท ตามด้วย บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน)หรือ AP จำนวน 5,377 ล้านบาท และบริษัทเพซ ดีเวลลอปเมนท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ PACE จำนวน 4,000 ล้านบาท
ส่วนบริษัทที่ไม่มียอดตั๋วเงินระยะสั้นคงค้างมีจำนวน 13 บริษัท ได้แก่ บริษัท เอคิว เอสเตท จำกัด (มหาชน) หรือ AQ, บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือANAN, บริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ BLAND, บริษัท บ้านร็อคการ์เด้น จำกัด (มหาชน) หรือ BROCK, บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ PSH บริษัท ชาญอิสสระ ดีเวล็อปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ CI, บริษัท อีสเทอร์น สตาร์ เรียล เอสเตท จำกัด (มหาชน) หรือ ESTAR, บริษัท เอ็น. ซี. เฮ้าส์ซิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ NCH, บริษัท ปรีชากรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ PRECHA , บริษัท ไรมอน แลนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ RML, บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน)หรือ S, บริษัท เค.ซี. พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ KC และ บริษัท ยู ซิตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ U
ทั้งนี้ บริษัทอสังหาริมทรัพย์ยังมีภาระหนี้หุ้นกู้อยู่จำนวนมาก และบริษัทหลายแห่งมีหุ้นกู้ที่จะครบกำหนดภายในปีนี้ เช่น บริษัทศุภาลัย มีหุ้นกู้จะครบกำหนดในวันที่ 25 กันยายน 2560 จำนวน 200 ล้านบาท และวันที่ 4 ธันวาคมจะครบอีก 1,000 ล้านบาท หลังจากล็อตใหญ่เพิ่งครบอายุไปในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2560 มูลค่า 2,300 ล้านบาท บริษัทอนันดาฯ มีหุ้นกู้มูลค่า 1,000 ล้านบาท จะครบอายุในวันที่ 6 ตุลาคม 2560
"แสนสิริมีตั๋วเงินระยะสั้นมาก แต่ปีนี้ไม่มีหุ้นกู้ที่จะครบกำหนด ส่วน AP มีหุ้นกู้ที่จะกำ หนดชำระหลายชุด เช่นวันที่ 22 กรกฎาคม มีมูลค่า 400 ล้านบาท"
ด้านแหล่งข่าวจากบริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด เปิดเผยว่า ทริสมีลูกค้าที่เป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์จำนวน 20 บริษัท ซึ่งใกล้เคียงกับปลายปีที่ผ่านมา ส่วนที่บริษัทอสังหาฯมาจัดอันดับเครดิตมากขึ้น เนื่องจากธุรกิจนี้ ใช้เงินจำนวนมากสำหรับการลงทุน ที่ผ่านมามีการใช้ตั๋วแลกเงิน (บี/อี) จำนวนมาก แต่เมื่อตลาดมีปัญหา ก็จะต้องหันมาใช้หุ้นกู้เป็นแหล่งเงินทุนแทน
อย่างไรก็ตาม ทริสยังคงจับตาเรื่องสภาพคล่องของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ฯ และแนะนำให้บริษัทหาวงเงินสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์เตรียมไว้บ้าง รองรับความเสี่ยงเรื่องปัญหาบี/อีลุกลามเข้าตลาดหุ้นกู้ นอกจากนั้นสภาพธุรกิจก็ไม่ดี โดยเฉพาะบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก เนื่องจากลูกค้าที่สนใจซื้อบ้าน ถูกปฎิเสธคำขอสินเชื่อ ส่งผลกระทบต่อการโอน ทำให้ตลาดรวมมีสินค้าคงค้างมากถึง 7 แสนล้านบาท นับว่าสูงที่สุดในรอบ 5 ปี
"บริษัทอสังหาฯ ขนาดใหญ่ไม่น่าห่วงมากนัก เพราะโครงการยังขายและโอนได้ และมีสัดส่วนหนี้สินต่อทุน (ดี/อี)ประมาณ 1 เท่า ส่วนบริษัทขนาดกลางและเล็กมีดี/อี มากกว่า 1.5 เท่า ในปีนี้จะเห็นบริษัทออกหุ้นกู้มาก เพื่อนำไปลงทุนโครงการที่เลื่อนมาจากปลายปีที่ผ่านมา" แหล่งข่าวกล่าว
ปัจจุบันบริษัทอสังหา ริมทรัพย์หลายแห่ง มีการปรับตัวเรื่องสภาพคล่อง เช่น บริษัทศุภาลัยฯ ไม่จ่ายเงินปันผลระหว่างกาลครั้งแรกในรอบ 10 ปี โดยเลือกที่จะให้ผลตอบแทนผู้ถือหุ้นโดยการแจกใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้นหรือวอร์แรนต์ รวมถึงประกาศว่ามีแผนจะออกหุ้นกู้มูลค่า 2,000-3,000 ล้านบาท อายุ 3-5 ปี เพื่อทดแทนหุ้นกู้ที่ครบกำหนด บริษัท ปริญสิริฯ เตรียมเปิดขายหุ้นกู้มูลค่า 700 ล้านบาท อายุ 3 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ 6.00% ต่อปี ให้ผู้ลงทุนสถาบันและ/หรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ระหว่างวันที่ 13-18 กรกฎาคม 2560 เพื่อชำระคืนหุ้นกู้และนำไป ขยายการลงทุนและบริษัท เอพี (ไทยแลนด์)ฯ มีการจัดอันดับเครดิตเพื่อเตรียมเสนอขายหุ้นกู้
นางอาภา อรรถบูรณ์วงศ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ริชี่ เพลซ 2002 จำกัด (RICHY) เปิดเผยว่า บริษัทเตรียมขายหุ้นกู้ 540 ล้านบาท อายุ 2 ปี ครบกำหนดไถ่ถอนปี 2562 อัตราดอกเบี้ยคงที่ 6.25% ต่อปี เสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนสถาบันและ/หรือ ผู้ลงทุนรายใหญ่ ระหว่างวันที่ 3-4 และ 7-8 สิงหาคม 2560 โดยปีนี้เตรียมเปิดใหม่ 3 โครงการมูลค่ากว่า 2,500 ล้าน บาท ส่วนผลงานตั้งเป้าหมายรายได้เติบโตกว่าเท่าตัวเมื่อเทียบกับปี 2559 ซึ่งมีรายได้รวมกว่า 1,000 ล้านบาท
ขณะที่บริษัท สิงห์ เอสเตทฯ เลือกการเพิ่มทุนจดทะเบียน เสนอขายนักลงทุนเฉพาะเจาะจง(พีพี) 400 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 4.16 บาท ต่ำกว่าราคาตลาดและกดดันราคาหุ้น
ด้าน นายสรพจน์ เตชะไกรศรี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เพซ ดีเวลลอปเมนท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดแถลงข่าว ชี้แจงสถานะการเงินและเปิดชมโครงการมหานคร เพื่อสร้างความเชื่อมั่นนักลงทุน หลังเกิดกระแสความวิตกกังวลของเจ้าหนี้ โดยยอมรับว่า มีการขอสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์เพิ่ม จำนวน 3,000 ล้านบาท เพื่อเตรียมตัวคืนตั๋วเงินบี/อี ที่ครบกำหนดปีนี้ 4,000 ล้านบาท เนื่องจากมีนักลงทุนบางรายต่อตั๋วและบางรายเรียกเงินคืน ส่วนหุ้นกู้ทั้งหมด 5,000 ล้านบาท เป็นหนี้ระยะยาว กำหนดไถ่ถอน ปี 2561 จำนวน 3,000 ล้านบาท ปี 2562 จำนวน 2,000 ล้านบาท
"บริษัทให้ความสำคัญกับความมั่นคงทางการเงิน โดยมีสิน ทรัพย์ทั้งหมด 3.7 หมื่นล้านบาท ขณะที่หนี้สิน 1.9 หมื่นล้านบาท ส่วนผลการดำเนินงานในปี 2560 คาดว่าผลประกอบการกลับมาเป็นบวกได้และการจับมือกับซีติก คอน สตรัคชั่น เป็นพันธมิตร บริษัทมีแผนเพิ่มทุนเฉพาะเจาะจงให้กับซีติกด้วย 10% ภายในไตรมาส 3 นี้" นายสรพจน์ กล่าว
Source: ฐานเศรษฐกิจ
อสังหาแบกบี/อีโป่ง4.2หมื่นล้าน
รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้รวบรวมข้อมูลหุ้นกู้และตั๋วเงินระยะสั้นของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ จำนวน 43 บริษัท ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2560 พบว่า บริษัทจำนวน 30 แห่ง มีตั๋วเงินระยะสั้นทั้งสิ้น 42,262.50 ล้านบาท โดยบริษัท แสนสิริฯ (SIRI) มียอดหนี้ตั๋วเงินระยะสั้นสูงที่สุด 6,200 ล้านบาท ตามด้วย บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน)หรือ AP จำนวน 5,377 ล้านบาท และบริษัทเพซ ดีเวลลอปเมนท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ PACE จำนวน 4,000 ล้านบาท
ส่วนบริษัทที่ไม่มียอดตั๋วเงินระยะสั้นคงค้างมีจำนวน 13 บริษัท ได้แก่ บริษัท เอคิว เอสเตท จำกัด (มหาชน) หรือ AQ, บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือANAN, บริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ BLAND, บริษัท บ้านร็อคการ์เด้น จำกัด (มหาชน) หรือ BROCK, บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ PSH บริษัท ชาญอิสสระ ดีเวล็อปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ CI, บริษัท อีสเทอร์น สตาร์ เรียล เอสเตท จำกัด (มหาชน) หรือ ESTAR, บริษัท เอ็น. ซี. เฮ้าส์ซิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ NCH, บริษัท ปรีชากรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ PRECHA , บริษัท ไรมอน แลนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ RML, บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน)หรือ S, บริษัท เค.ซี. พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ KC และ บริษัท ยู ซิตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ U
ทั้งนี้ บริษัทอสังหาริมทรัพย์ยังมีภาระหนี้หุ้นกู้อยู่จำนวนมาก และบริษัทหลายแห่งมีหุ้นกู้ที่จะครบกำหนดภายในปีนี้ เช่น บริษัทศุภาลัย มีหุ้นกู้จะครบกำหนดในวันที่ 25 กันยายน 2560 จำนวน 200 ล้านบาท และวันที่ 4 ธันวาคมจะครบอีก 1,000 ล้านบาท หลังจากล็อตใหญ่เพิ่งครบอายุไปในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2560 มูลค่า 2,300 ล้านบาท บริษัทอนันดาฯ มีหุ้นกู้มูลค่า 1,000 ล้านบาท จะครบอายุในวันที่ 6 ตุลาคม 2560
"แสนสิริมีตั๋วเงินระยะสั้นมาก แต่ปีนี้ไม่มีหุ้นกู้ที่จะครบกำหนด ส่วน AP มีหุ้นกู้ที่จะกำ หนดชำระหลายชุด เช่นวันที่ 22 กรกฎาคม มีมูลค่า 400 ล้านบาท"
ด้านแหล่งข่าวจากบริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด เปิดเผยว่า ทริสมีลูกค้าที่เป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์จำนวน 20 บริษัท ซึ่งใกล้เคียงกับปลายปีที่ผ่านมา ส่วนที่บริษัทอสังหาฯมาจัดอันดับเครดิตมากขึ้น เนื่องจากธุรกิจนี้ ใช้เงินจำนวนมากสำหรับการลงทุน ที่ผ่านมามีการใช้ตั๋วแลกเงิน (บี/อี) จำนวนมาก แต่เมื่อตลาดมีปัญหา ก็จะต้องหันมาใช้หุ้นกู้เป็นแหล่งเงินทุนแทน
อย่างไรก็ตาม ทริสยังคงจับตาเรื่องสภาพคล่องของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ฯ และแนะนำให้บริษัทหาวงเงินสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์เตรียมไว้บ้าง รองรับความเสี่ยงเรื่องปัญหาบี/อีลุกลามเข้าตลาดหุ้นกู้ นอกจากนั้นสภาพธุรกิจก็ไม่ดี โดยเฉพาะบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก เนื่องจากลูกค้าที่สนใจซื้อบ้าน ถูกปฎิเสธคำขอสินเชื่อ ส่งผลกระทบต่อการโอน ทำให้ตลาดรวมมีสินค้าคงค้างมากถึง 7 แสนล้านบาท นับว่าสูงที่สุดในรอบ 5 ปี
"บริษัทอสังหาฯ ขนาดใหญ่ไม่น่าห่วงมากนัก เพราะโครงการยังขายและโอนได้ และมีสัดส่วนหนี้สินต่อทุน (ดี/อี)ประมาณ 1 เท่า ส่วนบริษัทขนาดกลางและเล็กมีดี/อี มากกว่า 1.5 เท่า ในปีนี้จะเห็นบริษัทออกหุ้นกู้มาก เพื่อนำไปลงทุนโครงการที่เลื่อนมาจากปลายปีที่ผ่านมา" แหล่งข่าวกล่าว
ปัจจุบันบริษัทอสังหา ริมทรัพย์หลายแห่ง มีการปรับตัวเรื่องสภาพคล่อง เช่น บริษัทศุภาลัยฯ ไม่จ่ายเงินปันผลระหว่างกาลครั้งแรกในรอบ 10 ปี โดยเลือกที่จะให้ผลตอบแทนผู้ถือหุ้นโดยการแจกใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้นหรือวอร์แรนต์ รวมถึงประกาศว่ามีแผนจะออกหุ้นกู้มูลค่า 2,000-3,000 ล้านบาท อายุ 3-5 ปี เพื่อทดแทนหุ้นกู้ที่ครบกำหนด บริษัท ปริญสิริฯ เตรียมเปิดขายหุ้นกู้มูลค่า 700 ล้านบาท อายุ 3 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ 6.00% ต่อปี ให้ผู้ลงทุนสถาบันและ/หรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ระหว่างวันที่ 13-18 กรกฎาคม 2560 เพื่อชำระคืนหุ้นกู้และนำไป ขยายการลงทุนและบริษัท เอพี (ไทยแลนด์)ฯ มีการจัดอันดับเครดิตเพื่อเตรียมเสนอขายหุ้นกู้
นางอาภา อรรถบูรณ์วงศ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ริชี่ เพลซ 2002 จำกัด (RICHY) เปิดเผยว่า บริษัทเตรียมขายหุ้นกู้ 540 ล้านบาท อายุ 2 ปี ครบกำหนดไถ่ถอนปี 2562 อัตราดอกเบี้ยคงที่ 6.25% ต่อปี เสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนสถาบันและ/หรือ ผู้ลงทุนรายใหญ่ ระหว่างวันที่ 3-4 และ 7-8 สิงหาคม 2560 โดยปีนี้เตรียมเปิดใหม่ 3 โครงการมูลค่ากว่า 2,500 ล้าน บาท ส่วนผลงานตั้งเป้าหมายรายได้เติบโตกว่าเท่าตัวเมื่อเทียบกับปี 2559 ซึ่งมีรายได้รวมกว่า 1,000 ล้านบาท
ขณะที่บริษัท สิงห์ เอสเตทฯ เลือกการเพิ่มทุนจดทะเบียน เสนอขายนักลงทุนเฉพาะเจาะจง(พีพี) 400 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 4.16 บาท ต่ำกว่าราคาตลาดและกดดันราคาหุ้น
ด้าน นายสรพจน์ เตชะไกรศรี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เพซ ดีเวลลอปเมนท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดแถลงข่าว ชี้แจงสถานะการเงินและเปิดชมโครงการมหานคร เพื่อสร้างความเชื่อมั่นนักลงทุน หลังเกิดกระแสความวิตกกังวลของเจ้าหนี้ โดยยอมรับว่า มีการขอสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์เพิ่ม จำนวน 3,000 ล้านบาท เพื่อเตรียมตัวคืนตั๋วเงินบี/อี ที่ครบกำหนดปีนี้ 4,000 ล้านบาท เนื่องจากมีนักลงทุนบางรายต่อตั๋วและบางรายเรียกเงินคืน ส่วนหุ้นกู้ทั้งหมด 5,000 ล้านบาท เป็นหนี้ระยะยาว กำหนดไถ่ถอน ปี 2561 จำนวน 3,000 ล้านบาท ปี 2562 จำนวน 2,000 ล้านบาท
"บริษัทให้ความสำคัญกับความมั่นคงทางการเงิน โดยมีสิน ทรัพย์ทั้งหมด 3.7 หมื่นล้านบาท ขณะที่หนี้สิน 1.9 หมื่นล้านบาท ส่วนผลการดำเนินงานในปี 2560 คาดว่าผลประกอบการกลับมาเป็นบวกได้และการจับมือกับซีติก คอน สตรัคชั่น เป็นพันธมิตร บริษัทมีแผนเพิ่มทุนเฉพาะเจาะจงให้กับซีติกด้วย 10% ภายในไตรมาส 3 นี้" นายสรพจน์ กล่าว
Source: ฐานเศรษฐกิจ