ตอนนี้ตลาด free agency ก็ผ่านมา 2 อาทิตย์แล้ว ล่าสุด Rajon Rondo ก็เพิ่งเซ็นกับทีม Pelicans ไป 1 ปี เราเห็นบทความใน NBC Sports ที่พูดถึงเรื่องภาษีของรัฐต่างๆ กับรายได้นักบาสแล้ว เห็นว่าน่าสนใจดีเลยเอามาลงแชร์ที่นี่ค่ะ
Stephen Curry เพิ่งต่อสัญญา supermax extension กับทีม Warriors 5 ปี/$201 ล้าน แต่อัตราภาษีรายได้ของรัฐ California สูงที่สุดในอเมริกา ดังนั้น Curry เลยต้องเสียภาษีรายได้ 13.3% เป็นเงินจำนวน $26.7 ล้าน
ส่วน James Harden ที่เซ็นต่อสัญญากับ Rockets 6 ปี/$228 ล้านกลับได้เงินเหนาะๆ เพราะรัฐ Texas ที่ทีม Houston Rockets ตั้งอยู่ไม่มีการเก็บภาษีรายได้ Harden เลยไม่ต้องเสียภาษีให้รัฐ TX เลยสักบาท แต่ Harden ยังต้องต้องเสียภาษีระดับรัฐบาลกลางอยู่นะ การตัดสินใจเลือกทีมของนักบาสนี่ อัตราภาษีระดับรัฐก็มีส่วนเกี่ยวข้องอยู่เหมือนกัน อาจจะไม่ใช่ปัจจัยหลักในการตัดสินใจเลือกทีมแต่ผู้เล่นส่วนใหญ่ก็ต้องคำนึงเรื่องอัตราภาษีของรัฐด้วย การได้ข้อเสนอจากทีมนั่นเป็นแค่รายได้ก่อนหักภาษี (gross income) แต่รายได้จริงๆ หลังหักภาษี (net income) จะไม่เท่ากันในแต่ละรัฐ
ภาษีระดับ federal (รัฐบาลกลาง) ทุกคนต้องจ่ายในเรทเดียวกัน ไม่เหมือนภาษีของ state (แต่ละรัฐใน50 รัฐ) ที่มีอัตราแตกต่างกันไปในแต่ละรัฐ บางรัฐภาษีถูก บางรัฐภาษีรายได้แพง บางรัฐไม่มีภาษีรายได้เลย อันนี้คือตาราง state income tax ของทีม NBA ข้อมูลของปีก่อนนะคะ ตอนนี้อัตราอาจมีเปลี่ยนแปลงบ้าง
กรณีของ Gordon Hayward ทีม Celtics กับทีม Heat ได้ยื่น max offer 4ปี/ $128 ล้าน ให้เขาทั้งสองทีมแต่ถ้า Hayward เลือกเซ็นกับทีม Heat เขาจะได้ค่าเหนื่อยหลังหักภาษีมากกว่าค่าเหนื่อยที่ได้จากทีม Celtics เพราะอัตราภาษีรัฐ Massachusetts สูงถึง 5.1% แต่ Florida ไม่เก็บภาษีรายได้
ถ้า Hayward เลือกอยู่ทีม Jazz ต่อ ทีม Jazz จะสามารถเสนอสัญญาให้เขาได้ 5 ปี/$172 ล้าน หลังหักภาษีแล้ว net income จะเหลืออยู่ที่ $91.3 ล้าน ทีมที่ตั้งอยู่ในรัฐที่ไม่เก็บภาษีรายได้มักจะยื่นค่าเหนื่อยให้ผู้เล่นน้อยกว่าทีมที่อยู่ในรัฐที่มีภาษีรายได้สูง ดังนั้นทีม Spurs, Heat, Rockets, Mavericks, Grizzlies และ Magic มักจะยื่นข้อเสนอค่าเหนื่อยให้ผู้เล่นน้อยกว่าทีมอื่นแต่ถ้าคำนวณเรื่องภาษีรัฐแล้ว รายได้หลังหักภาษีก็อาจจะดีกว่าข้อเสนอจากทีมที่มาจากรัฐที่มีภาษีรายได้สูงๆ นะ หลายๆ ทีมก็มักจะเกี้ยวผู้เล่นว่า “ทีมเราอาจจะเสนอเงินค่าเหนื่อยให้คุณไม่มากนักถ้าเทียบกับข้อเสนอที่คุณได้รับจากทีมอื่นๆ แต่ถ้าคำนวณแล้ว คุณจะได้เงินมากกว่าถ้าเซ็นกับเรานะ เพราะรัฐเราไม่เก็บภาษีรายได้” บางทีแทคติกนี้ก็ได้ผลนะ
การคำนวณอัตราภาษีที่แต่ละคนต้องจ่ายในแต่ละปีก็ไม่ได้คำนวณได้ง่ายๆ นะเพราะหลายๆ รัฐในอเมริกามีภาษีที่เรียกว่า “jock tax” ด้วยคือเป็นภาษีที่รัฐเก็บจากนักกีฬาจากรัฐอื่นที่เดินทางมาซ้อมหรือมาแข่งในรัฐนั้น เช่นผู้เล่นทีม Spurs หรือจรวดที่มาจากรัฐ Texas ที่ไม่มีการเก็บภาษีรายได้แต่ถ้าทั้งสองทีมนี้ไปลงแข่งรัฐที่มี jock tax นักกีฬาก็ต้องเสียภาษีให้รัฐที่เก็บภาษีนี้ด้วย ภาษีนี้คำนวณแบบรายวัน นับวันซ้อม วันลงแข่ง วันประชุม นับตั้งแต่วันที่นักกีฬาบินมาถึงเลย ในนัดชิง NBA ปีก่อนที่ทีม Cavaliers ได้แชมป์ลีกหลังมาเอาชนะเกมส์ 7 ที่บ้านทีม Warriors รัฐแคลิฟอร์เนียเป็นรัฐที่มีอัตรา jock tax สูงที่สุดในอเมริกาคือ 13.3% ผู้เล่นทีม Cavaliers ก็ต้องจ่ายภาษี jock tax ไปอ่วมเหมือนกัน ตอนนี้มีทั้งหมด 21 รัฐในอเมริกาที่เก็บภาษีนี้ ผู้เล่นที่มีสัญญาระดับ minimum นี่ถ้าเจอ jock tax ยามไปแข่งต่างรัฐมากๆ ก็สามารถจนได้เลยนะเพราะบางคนค่าเหนื่อยแค่หลักแสนเหรียญเอง
ต้นเหตุที่มีการเก็บ jock tax นี่ต้องโทษ Michael Jordan เลยเพราะเมื่อปี 1991 ทีม Chicago Bulls เอาชนะเลเกอร์ใน series นัดชิง NBA ไป 4-1 ทีมเลเกอร์เดือดจัดที่แพ้ เลยอาละวาดจะเอาคืน MJ ด้วยการเก็บภาษีจากรายได้ในวันที่ MJ และลูกทีมมาแข่งที่ California
พอทางรัฐ Illinois ที่ตั้งของทีม Bulls รู้เข้าก็เลยเอาคืนด้วยการออก jock tax ในแบบฉบับพิเศษที่เรียกว่า “การแก้แค้นของ Michael Jordan” ซึ่งรัฐ IL จะเก็บภาษี jock tax นี้จากนักกีฬาที่เดินทางมาแข่งจากรัฐแคลิฟอร์เนียเท่านั้น ไม่เก็บจากนักกีฬาที่มาจากรัฐอื่น หลังจากนั้นหลายๆ รัฐก็ทำตาม นี่เลยเป็นที่มาของ jock tax น่าสนใจดีนะคะเรื่องนี้
ถ้าเพื่อนๆ ห้องนี้เป็นนักบาส NBA จะให้ความสำคัญเรื่องอัตราภาษีแค่ไหนคะ? หรือว่าอยากไปเล่นให้ทีมที่เราอยากลงเล่นให้มากกว่า? Harden นี่ค่าเหนื่อยเลยกลายเป็นว่าได้เยอะกว่า Curry มากเพราะไม่ต้องเสียภาษีให้รัฐ TX เลย ทีมจรวดไม่ควรไปทุ่มให้ผู้เล่นคนเดียวมากขนาดนี้เลยนะ
รายได้นักบาส 🏀 NBA กับอัตราภาษีรายได้
Stephen Curry เพิ่งต่อสัญญา supermax extension กับทีม Warriors 5 ปี/$201 ล้าน แต่อัตราภาษีรายได้ของรัฐ California สูงที่สุดในอเมริกา ดังนั้น Curry เลยต้องเสียภาษีรายได้ 13.3% เป็นเงินจำนวน $26.7 ล้าน
ส่วน James Harden ที่เซ็นต่อสัญญากับ Rockets 6 ปี/$228 ล้านกลับได้เงินเหนาะๆ เพราะรัฐ Texas ที่ทีม Houston Rockets ตั้งอยู่ไม่มีการเก็บภาษีรายได้ Harden เลยไม่ต้องเสียภาษีให้รัฐ TX เลยสักบาท แต่ Harden ยังต้องต้องเสียภาษีระดับรัฐบาลกลางอยู่นะ การตัดสินใจเลือกทีมของนักบาสนี่ อัตราภาษีระดับรัฐก็มีส่วนเกี่ยวข้องอยู่เหมือนกัน อาจจะไม่ใช่ปัจจัยหลักในการตัดสินใจเลือกทีมแต่ผู้เล่นส่วนใหญ่ก็ต้องคำนึงเรื่องอัตราภาษีของรัฐด้วย การได้ข้อเสนอจากทีมนั่นเป็นแค่รายได้ก่อนหักภาษี (gross income) แต่รายได้จริงๆ หลังหักภาษี (net income) จะไม่เท่ากันในแต่ละรัฐ
ภาษีระดับ federal (รัฐบาลกลาง) ทุกคนต้องจ่ายในเรทเดียวกัน ไม่เหมือนภาษีของ state (แต่ละรัฐใน50 รัฐ) ที่มีอัตราแตกต่างกันไปในแต่ละรัฐ บางรัฐภาษีถูก บางรัฐภาษีรายได้แพง บางรัฐไม่มีภาษีรายได้เลย อันนี้คือตาราง state income tax ของทีม NBA ข้อมูลของปีก่อนนะคะ ตอนนี้อัตราอาจมีเปลี่ยนแปลงบ้าง
กรณีของ Gordon Hayward ทีม Celtics กับทีม Heat ได้ยื่น max offer 4ปี/ $128 ล้าน ให้เขาทั้งสองทีมแต่ถ้า Hayward เลือกเซ็นกับทีม Heat เขาจะได้ค่าเหนื่อยหลังหักภาษีมากกว่าค่าเหนื่อยที่ได้จากทีม Celtics เพราะอัตราภาษีรัฐ Massachusetts สูงถึง 5.1% แต่ Florida ไม่เก็บภาษีรายได้
ถ้า Hayward เลือกอยู่ทีม Jazz ต่อ ทีม Jazz จะสามารถเสนอสัญญาให้เขาได้ 5 ปี/$172 ล้าน หลังหักภาษีแล้ว net income จะเหลืออยู่ที่ $91.3 ล้าน ทีมที่ตั้งอยู่ในรัฐที่ไม่เก็บภาษีรายได้มักจะยื่นค่าเหนื่อยให้ผู้เล่นน้อยกว่าทีมที่อยู่ในรัฐที่มีภาษีรายได้สูง ดังนั้นทีม Spurs, Heat, Rockets, Mavericks, Grizzlies และ Magic มักจะยื่นข้อเสนอค่าเหนื่อยให้ผู้เล่นน้อยกว่าทีมอื่นแต่ถ้าคำนวณเรื่องภาษีรัฐแล้ว รายได้หลังหักภาษีก็อาจจะดีกว่าข้อเสนอจากทีมที่มาจากรัฐที่มีภาษีรายได้สูงๆ นะ หลายๆ ทีมก็มักจะเกี้ยวผู้เล่นว่า “ทีมเราอาจจะเสนอเงินค่าเหนื่อยให้คุณไม่มากนักถ้าเทียบกับข้อเสนอที่คุณได้รับจากทีมอื่นๆ แต่ถ้าคำนวณแล้ว คุณจะได้เงินมากกว่าถ้าเซ็นกับเรานะ เพราะรัฐเราไม่เก็บภาษีรายได้” บางทีแทคติกนี้ก็ได้ผลนะ
การคำนวณอัตราภาษีที่แต่ละคนต้องจ่ายในแต่ละปีก็ไม่ได้คำนวณได้ง่ายๆ นะเพราะหลายๆ รัฐในอเมริกามีภาษีที่เรียกว่า “jock tax” ด้วยคือเป็นภาษีที่รัฐเก็บจากนักกีฬาจากรัฐอื่นที่เดินทางมาซ้อมหรือมาแข่งในรัฐนั้น เช่นผู้เล่นทีม Spurs หรือจรวดที่มาจากรัฐ Texas ที่ไม่มีการเก็บภาษีรายได้แต่ถ้าทั้งสองทีมนี้ไปลงแข่งรัฐที่มี jock tax นักกีฬาก็ต้องเสียภาษีให้รัฐที่เก็บภาษีนี้ด้วย ภาษีนี้คำนวณแบบรายวัน นับวันซ้อม วันลงแข่ง วันประชุม นับตั้งแต่วันที่นักกีฬาบินมาถึงเลย ในนัดชิง NBA ปีก่อนที่ทีม Cavaliers ได้แชมป์ลีกหลังมาเอาชนะเกมส์ 7 ที่บ้านทีม Warriors รัฐแคลิฟอร์เนียเป็นรัฐที่มีอัตรา jock tax สูงที่สุดในอเมริกาคือ 13.3% ผู้เล่นทีม Cavaliers ก็ต้องจ่ายภาษี jock tax ไปอ่วมเหมือนกัน ตอนนี้มีทั้งหมด 21 รัฐในอเมริกาที่เก็บภาษีนี้ ผู้เล่นที่มีสัญญาระดับ minimum นี่ถ้าเจอ jock tax ยามไปแข่งต่างรัฐมากๆ ก็สามารถจนได้เลยนะเพราะบางคนค่าเหนื่อยแค่หลักแสนเหรียญเอง
ต้นเหตุที่มีการเก็บ jock tax นี่ต้องโทษ Michael Jordan เลยเพราะเมื่อปี 1991 ทีม Chicago Bulls เอาชนะเลเกอร์ใน series นัดชิง NBA ไป 4-1 ทีมเลเกอร์เดือดจัดที่แพ้ เลยอาละวาดจะเอาคืน MJ ด้วยการเก็บภาษีจากรายได้ในวันที่ MJ และลูกทีมมาแข่งที่ California
พอทางรัฐ Illinois ที่ตั้งของทีม Bulls รู้เข้าก็เลยเอาคืนด้วยการออก jock tax ในแบบฉบับพิเศษที่เรียกว่า “การแก้แค้นของ Michael Jordan” ซึ่งรัฐ IL จะเก็บภาษี jock tax นี้จากนักกีฬาที่เดินทางมาแข่งจากรัฐแคลิฟอร์เนียเท่านั้น ไม่เก็บจากนักกีฬาที่มาจากรัฐอื่น หลังจากนั้นหลายๆ รัฐก็ทำตาม นี่เลยเป็นที่มาของ jock tax น่าสนใจดีนะคะเรื่องนี้
ถ้าเพื่อนๆ ห้องนี้เป็นนักบาส NBA จะให้ความสำคัญเรื่องอัตราภาษีแค่ไหนคะ? หรือว่าอยากไปเล่นให้ทีมที่เราอยากลงเล่นให้มากกว่า? Harden นี่ค่าเหนื่อยเลยกลายเป็นว่าได้เยอะกว่า Curry มากเพราะไม่ต้องเสียภาษีให้รัฐ TX เลย ทีมจรวดไม่ควรไปทุ่มให้ผู้เล่นคนเดียวมากขนาดนี้เลยนะ