กลับมาเป็นประเด็นในหน้าสื่ออีกครั้ง เมื่อโรงเรียนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ที่เคยใช้คำว่า โรงเรียนวัด...แล้วตัดคำว่าวัดออกไปหลายปี กำลังจะทำประชาพิจารณ์ ว่า ควรนำชื่อเดิมที่มีคำว่าวัดอยู่ด้วย กลับมาใช้อีกหรือไม่? ตามมติของมหาเถรสมาคมที่ให้โรงเรียนซึ่งตั้งอยู่ในที่ธรณีสงฆ์ มีคำว่าวัด ในชื่อโรงเรียนด้วย
กว่าจะเป็นโรงเรียนวัด
สมัยก่อน การศึกษาของไทยสอนกันแต่ในบ้าน วัด วัง เท่านั้น และเป็นการสอนเฉพาะเด็กชาย จนมีการปฏิรูปการศึกษาในสมัยรัชกาลที่ 5 จึงเกิดการศึกษาในระบบโรงเรียนขึ้น และเป็นการศึกษาของทั้งเด็กชายและเด็กหญิง
ทรงมีความห่วงใยว่า “เด็กชั้นหลังจะเหินห่างจากศาสนา จนเลยเปนคนไม่มีธรรมในใจมากขึ้น” และถ้า “เปนคนไม่มีธรรมเปนเครื่องดำเนิน ตาม คงจะหันไปทางทุจริตโดยมาก ถ้ารู้น้อย ก็โกงไม่ค่อยคล่อง ฤาโกงไม่สนิท ถ้ารู้มากก็โกงคล่องขึ้น และโกงพิสดารมากขึ้น”
ในปีพ.ศ. 2427 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ตั้งโรงเรียนหลวงเพิ่มขึ้นตามวัดหลายแห่ง ทั้งในกรุงเทพมหานครและหัวเมือง โรงเรียนสำหรับสามัญชนแห่งแรก ตั้งขึ้นที่วัดมหรรณพาราม ถนนตะนาว มีชื่อว่า “โรงเรียนวัดมหรรณพาราม” ต่อมาเรียกว่า “โรงเรียนวัดมหรรณพ์” สถานที่เรียนเดิมนั้นใช้หอสวดมนต์ คณะ ๑ เป็นที่เรียน เป็นการพระราชทานการศึกษา ปวงชนครั้งแรก
ซึ่งการตั้งโรงเรียนในวัด ทำให้ได้ใช้ศาลาวัดเพื่อทำการเรียนการสอนหนังสือ เป็นการประหยัดงบประมาณแผ่นดินในส่วนการก่อสร้างอาคารเรียนใหม่ ประเพณีของไทยก็นิยมส่งบุตรหลานเข้าเรียนในวัดอยู่แล้ว และรัชกาลที่ 5ได้สร้างโรงเรียนตามวัดวาอารามต่างๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และ หัวเมืองต่างๆ ขึ้นอีกหลายแห่ง
โรงเรียนวัดในปัจจุบัน
จากการสำรวจโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่ใช้คำว่า วัด นำหน้าชื่อทั่วประเทศมีทั้งหมด 21,125 แห่ง เป็นโรงเรียนระดับประถม 20,907 แห่ง และโรงเรียนระดับมัธยมอีก 218 แห่ง
*หมายเหตุ ภาพโรงเรียนใช้ประกอบบทความเท่านั้น ไม่ใช่โรงเรียนที่จะนำชื่อวัดออก
ทำไมจึงไม่อยากมีคำว่า “ วัด” ในชื่อโรงเรียน?
ได้มีโรงเรียนหลายแห่งเปลี่ยนชื่อโดยเอาคำว่า วัด ออก โรงเรียนที่เปลี่ยนชื่อนั้นฝ่ายผู้บริหารโรงเรียน หรือผู้ปกครอง มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อชื่อวัดนำหน้า โดยคิดว่าเป็นโรงเรียนชั้นสอง และไม่นิยมส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนวัด
เป็นเหตุให้ คณะอนุกรรมาธิการกิจการพระพุทธศาสนา ในคณะกรรมาธิการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม ของสภาผู้แทนราษฎร เสนอต่อมหาเถรสมาคมเพื่อให้ออกคำสั่งแก่โรงเรียนวัดที่ใช้พื้นที่ของวัดหรือธรณีสงฆ์ที่เปลี่ยนชื่อแล้วรวมทั้งกำลังจะเปลี่ยนชื่อให้นำชื่อ วัด ใส่ไปดังเดิม
ซึ่งมหาเถรสมาคมเห็นชอบตามข้อเสนอ จึงได้ออกมติมหาเถรสมาคมห้ามเปลี่ยนชื่อโรงเรียนโดยตัดคำว่าวัดออกส่วนโรงเรียนที่เปลี่ยนชื่อไปแล้วให้เปลี่ยนกลับใช้ชื่อเดิม ทั้งนี้ให้ยกเว้นโรงเรียนที่ใช้ชื่อพระราชทาน ส่วนโรงเรียนใดไม่ปฏิบัติตามจะห้ามใช้พื้นที่ของวัด ตลอดจนที่ธรณีสงฆ์อื่นๆ นอกจากคำสั่งเรื่องการเปลี่ยนชื่อแล้วยังได้ให้สถาบันการศึกษาหรือโรงเรียนวัดร่วมมือกับทางวัดในการพัฒนาโรงเรียน
ปี พ.ศ. 2554 มหาเถรสมาคมได้ออกมติเกี่ยวกับโรงเรียนวัด โดยไม่อนุญาตให้นักเรียนหญิงมุสลิมแต่งกายโดยคลุมฮิญาบมาโรงเรียนวัด ทั้งนี้เพื่อปฏิบัติตามขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี วิถีไทย และวิถีพุทธ และกฎระเบียบของวัด ซึ่งกรณีดังกล่าวเกิดขึ้นกับโรงเรียนวัดหนองจอก ซึ่งได้มีมติออกมาดังนี้
1.โรงเรียนหรือหน่วยราชการใดที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ของวัดหรือที่ธรณีสงฆ์ การใช้พื้นที่ต้องปฏิบัติตามขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี วิถีไทย และวิถีพุทธ และกฎระเบียบของวัด
2.ให้คณะสงฆ์มีส่วนร่วมในการพิจารณาการแต่งตั้งผู้บริหารของโรงเรียนหรือหน่วยราชการที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ของวัดหรือที่ธรณีสงฆ์
3.ควรให้พระสงฆ์เข้าไปมีบทบาทในการกำหนดหลักสูตรการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนา หลักคุณธรรมจริยธรรมทุกระดับชั้น
4.โรงเรียนหรือหน่วยราชการใดขอใช้พื้นที่ของวัดหรือที่ธรณีสงฆ์ จักต้องหารือและได้รับความยินยอมจากเจ้าอาวาส และคณะสงฆ์ผู้ปกครองทุกระดับ จนถึงเจ้าคณะจังหวัดก่อน
คิดดีแล้วหรือจึงไม่อยากชื่อว่า โรงเรียนวัด.....?
1. โรงเรียนวัด เป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในธรณีสงฆ์ หรือตั้งในบริเวณวัด หรือใช้ทุนทรัพย์ของวัด
2. นักเรียนในโรงเรียนวัด มีโอกาสได้เรียนรู้พระพุทธศาสนา สวดมนต์ นั่งสมาธิ ฟังธรรมจากพระในวัด ทั้งครูและนักเรียนอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เป็นบุญกุศล สะดวกในการไปทำบุญ ถวายสังฆทาน
3. เจ้าอาวาสที่โรงเรียนวัดตั้งอยู่ ให้การสนับสนุนโรงเรียนวัดตลอดมา
4. หากคิดว่า โรงเรียนวัดเป็นโรงเรียนชั้นสอง ทำไมจึงมีคนเก่งคนดี คนคุณภาพ ของประเทศไทยจำนวนมากจบจากโรงเรียนวัด? ปัจจุบันเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ของบ้านเมืองในทุกสาขาอาชีพ นักเรียนโรงเรียนวัดสามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้เป็นอันดับหนึ่งของประเทศของประเทศไทยก็เคยมีมาแล้ว โรงเรียนวัดเป็นตัวแทนของประเทศไปแข่งขันทั้งด้านวิชาการ ดนตรี กีฬา ระดับนานาชาติ และได้รับชัยชนะ มีให้เห็นมากมาย
5.ในขณะที่โรงเรียนทางเลือกของเอกชนหลายแห่ง อยากเป็นโรงเรียนวิถีพุทธ เพราะเห็นคุณค่าของพระพุทธศาสนาในการสอนวิชาชีวิตและสร้างคนให้สมบูรณ์ มีการนำพระพุทธศาสนาเข้าสู่โรงเรียน ผู้ปกครองยินดีจ่ายเงินค่าเทอมหลายแสนบาทต่อปีเพื่อให้โรงเรียนแบบนี้ยังอยู่ได้ในสังคม แต่ทำไมโรงเรียนที่ใกล้ชิดพระพุทธศาสนาอยู่
แล้ว บุคลากรในโรงเรียนกลับไม่เห็นคุณค่า?
กาลครั้งหนึ่ง โรงเรียนวัด กำเนิดจากวัด... จะว่าไป วัดเป็นดั่งบุพการี ให้ผืนแผ่นดินในการตั้งโรงเรียน ทั้งให้การประคับประคองอุ้มชูสนับสนุนตั้งแต่เริ่มตั้งโรงเรียน จนเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ในโลกยุคใหม่
ผิดตรงไหน..ที่โรงเรียนก็ตั้งอยู่ในพื้นที่วัด และมีคำว่า 'วัด' เป็นชื่อโรงเรียน?
ที่มา:
https://teen.mthai.com/variety/57269.html
http://catholichaab.com/main/index.php/research-and-study/research-and-study/1170-2016-05-13-02-18-01
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94
ผิดตรงไหน..ที่โรงเรียนก็ตั้งอยู่ในพื้นที่วัด และมีคำว่า 'วัด' เป็นชื่อโรงเรียน?
กว่าจะเป็นโรงเรียนวัด
สมัยก่อน การศึกษาของไทยสอนกันแต่ในบ้าน วัด วัง เท่านั้น และเป็นการสอนเฉพาะเด็กชาย จนมีการปฏิรูปการศึกษาในสมัยรัชกาลที่ 5 จึงเกิดการศึกษาในระบบโรงเรียนขึ้น และเป็นการศึกษาของทั้งเด็กชายและเด็กหญิง
ทรงมีความห่วงใยว่า “เด็กชั้นหลังจะเหินห่างจากศาสนา จนเลยเปนคนไม่มีธรรมในใจมากขึ้น” และถ้า “เปนคนไม่มีธรรมเปนเครื่องดำเนิน ตาม คงจะหันไปทางทุจริตโดยมาก ถ้ารู้น้อย ก็โกงไม่ค่อยคล่อง ฤาโกงไม่สนิท ถ้ารู้มากก็โกงคล่องขึ้น และโกงพิสดารมากขึ้น”
ในปีพ.ศ. 2427 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ตั้งโรงเรียนหลวงเพิ่มขึ้นตามวัดหลายแห่ง ทั้งในกรุงเทพมหานครและหัวเมือง โรงเรียนสำหรับสามัญชนแห่งแรก ตั้งขึ้นที่วัดมหรรณพาราม ถนนตะนาว มีชื่อว่า “โรงเรียนวัดมหรรณพาราม” ต่อมาเรียกว่า “โรงเรียนวัดมหรรณพ์” สถานที่เรียนเดิมนั้นใช้หอสวดมนต์ คณะ ๑ เป็นที่เรียน เป็นการพระราชทานการศึกษา ปวงชนครั้งแรก
ซึ่งการตั้งโรงเรียนในวัด ทำให้ได้ใช้ศาลาวัดเพื่อทำการเรียนการสอนหนังสือ เป็นการประหยัดงบประมาณแผ่นดินในส่วนการก่อสร้างอาคารเรียนใหม่ ประเพณีของไทยก็นิยมส่งบุตรหลานเข้าเรียนในวัดอยู่แล้ว และรัชกาลที่ 5ได้สร้างโรงเรียนตามวัดวาอารามต่างๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และ หัวเมืองต่างๆ ขึ้นอีกหลายแห่ง
โรงเรียนวัดในปัจจุบัน
จากการสำรวจโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่ใช้คำว่า วัด นำหน้าชื่อทั่วประเทศมีทั้งหมด 21,125 แห่ง เป็นโรงเรียนระดับประถม 20,907 แห่ง และโรงเรียนระดับมัธยมอีก 218 แห่ง
*หมายเหตุ ภาพโรงเรียนใช้ประกอบบทความเท่านั้น ไม่ใช่โรงเรียนที่จะนำชื่อวัดออก
ทำไมจึงไม่อยากมีคำว่า “ วัด” ในชื่อโรงเรียน?
ได้มีโรงเรียนหลายแห่งเปลี่ยนชื่อโดยเอาคำว่า วัด ออก โรงเรียนที่เปลี่ยนชื่อนั้นฝ่ายผู้บริหารโรงเรียน หรือผู้ปกครอง มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อชื่อวัดนำหน้า โดยคิดว่าเป็นโรงเรียนชั้นสอง และไม่นิยมส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนวัด
เป็นเหตุให้ คณะอนุกรรมาธิการกิจการพระพุทธศาสนา ในคณะกรรมาธิการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม ของสภาผู้แทนราษฎร เสนอต่อมหาเถรสมาคมเพื่อให้ออกคำสั่งแก่โรงเรียนวัดที่ใช้พื้นที่ของวัดหรือธรณีสงฆ์ที่เปลี่ยนชื่อแล้วรวมทั้งกำลังจะเปลี่ยนชื่อให้นำชื่อ วัด ใส่ไปดังเดิม
ซึ่งมหาเถรสมาคมเห็นชอบตามข้อเสนอ จึงได้ออกมติมหาเถรสมาคมห้ามเปลี่ยนชื่อโรงเรียนโดยตัดคำว่าวัดออกส่วนโรงเรียนที่เปลี่ยนชื่อไปแล้วให้เปลี่ยนกลับใช้ชื่อเดิม ทั้งนี้ให้ยกเว้นโรงเรียนที่ใช้ชื่อพระราชทาน ส่วนโรงเรียนใดไม่ปฏิบัติตามจะห้ามใช้พื้นที่ของวัด ตลอดจนที่ธรณีสงฆ์อื่นๆ นอกจากคำสั่งเรื่องการเปลี่ยนชื่อแล้วยังได้ให้สถาบันการศึกษาหรือโรงเรียนวัดร่วมมือกับทางวัดในการพัฒนาโรงเรียน
ปี พ.ศ. 2554 มหาเถรสมาคมได้ออกมติเกี่ยวกับโรงเรียนวัด โดยไม่อนุญาตให้นักเรียนหญิงมุสลิมแต่งกายโดยคลุมฮิญาบมาโรงเรียนวัด ทั้งนี้เพื่อปฏิบัติตามขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี วิถีไทย และวิถีพุทธ และกฎระเบียบของวัด ซึ่งกรณีดังกล่าวเกิดขึ้นกับโรงเรียนวัดหนองจอก ซึ่งได้มีมติออกมาดังนี้
1.โรงเรียนหรือหน่วยราชการใดที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ของวัดหรือที่ธรณีสงฆ์ การใช้พื้นที่ต้องปฏิบัติตามขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี วิถีไทย และวิถีพุทธ และกฎระเบียบของวัด
2.ให้คณะสงฆ์มีส่วนร่วมในการพิจารณาการแต่งตั้งผู้บริหารของโรงเรียนหรือหน่วยราชการที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ของวัดหรือที่ธรณีสงฆ์
3.ควรให้พระสงฆ์เข้าไปมีบทบาทในการกำหนดหลักสูตรการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนา หลักคุณธรรมจริยธรรมทุกระดับชั้น
4.โรงเรียนหรือหน่วยราชการใดขอใช้พื้นที่ของวัดหรือที่ธรณีสงฆ์ จักต้องหารือและได้รับความยินยอมจากเจ้าอาวาส และคณะสงฆ์ผู้ปกครองทุกระดับ จนถึงเจ้าคณะจังหวัดก่อน
คิดดีแล้วหรือจึงไม่อยากชื่อว่า โรงเรียนวัด.....?
1. โรงเรียนวัด เป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในธรณีสงฆ์ หรือตั้งในบริเวณวัด หรือใช้ทุนทรัพย์ของวัด
2. นักเรียนในโรงเรียนวัด มีโอกาสได้เรียนรู้พระพุทธศาสนา สวดมนต์ นั่งสมาธิ ฟังธรรมจากพระในวัด ทั้งครูและนักเรียนอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เป็นบุญกุศล สะดวกในการไปทำบุญ ถวายสังฆทาน
3. เจ้าอาวาสที่โรงเรียนวัดตั้งอยู่ ให้การสนับสนุนโรงเรียนวัดตลอดมา
4. หากคิดว่า โรงเรียนวัดเป็นโรงเรียนชั้นสอง ทำไมจึงมีคนเก่งคนดี คนคุณภาพ ของประเทศไทยจำนวนมากจบจากโรงเรียนวัด? ปัจจุบันเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ของบ้านเมืองในทุกสาขาอาชีพ นักเรียนโรงเรียนวัดสามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้เป็นอันดับหนึ่งของประเทศของประเทศไทยก็เคยมีมาแล้ว โรงเรียนวัดเป็นตัวแทนของประเทศไปแข่งขันทั้งด้านวิชาการ ดนตรี กีฬา ระดับนานาชาติ และได้รับชัยชนะ มีให้เห็นมากมาย
5.ในขณะที่โรงเรียนทางเลือกของเอกชนหลายแห่ง อยากเป็นโรงเรียนวิถีพุทธ เพราะเห็นคุณค่าของพระพุทธศาสนาในการสอนวิชาชีวิตและสร้างคนให้สมบูรณ์ มีการนำพระพุทธศาสนาเข้าสู่โรงเรียน ผู้ปกครองยินดีจ่ายเงินค่าเทอมหลายแสนบาทต่อปีเพื่อให้โรงเรียนแบบนี้ยังอยู่ได้ในสังคม แต่ทำไมโรงเรียนที่ใกล้ชิดพระพุทธศาสนาอยู่
แล้ว บุคลากรในโรงเรียนกลับไม่เห็นคุณค่า?
กาลครั้งหนึ่ง โรงเรียนวัด กำเนิดจากวัด... จะว่าไป วัดเป็นดั่งบุพการี ให้ผืนแผ่นดินในการตั้งโรงเรียน ทั้งให้การประคับประคองอุ้มชูสนับสนุนตั้งแต่เริ่มตั้งโรงเรียน จนเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ในโลกยุคใหม่
ผิดตรงไหน..ที่โรงเรียนก็ตั้งอยู่ในพื้นที่วัด และมีคำว่า 'วัด' เป็นชื่อโรงเรียน?
ที่มา:
https://teen.mthai.com/variety/57269.html
http://catholichaab.com/main/index.php/research-and-study/research-and-study/1170-2016-05-13-02-18-01
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94