การจะรู้วว่าบวชไปทำไม ควรจะต้องรู้วัตถุประสงค์ในการบวช ประการหนึ่ง
กับเมื่อบวชแล้วได้ศึกษาและปฏิบัติขัดเกลาตัวเองตามธรรมวินัยได้เต็มที่มากน้อยขนาดไหน?
ควรแยกแยะพิจารณา
ถ้าจะมองง่ายๆ
อย่างแรกคือบวชเพื่อตัวเอง ฝึกฝนอบรมตนเองและเพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง
และผลพลอยได้ คือผู้ร่วมอนุโมทนาในการบวชก็จะได้บุญไปด้วย เช่นบิดามารดาเป็นต้น
เมื่อได้ฝึกฝนอบรมตนเองแล้ว ย่อมเกิดผลจากการปฏิบัติมากน้อย ตามกำลังแห่ง
ความเพียรของผู้บวช ตั้งแต่ได้ความสงบเบื้องต้น ได้ฌาณ ได้อภิญญา ไล่สูงไปเรื่อยๆ
จนถึงบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์
เมื่อมองภาพรวมของพระพุทธศาสนาตอนนี้ คือมีคนเข้ามาบวชน้อยลงมาก จำนวนพระเณร
ที่ลดลงอย่างต่อเนื่องกำลังเป็นปัญหาใหญ่ของคณะสงฆ์ไทย จึงควรสนับสนุนให้กุลบุตร
ได้มีโอกาสบวชกันมากขึ้น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ จำนวนพระสงฆ์ ๒๙๐,๐๑๕ รูป สามเณร ๕๘,๔๑๘ รูป รวม ๓๔๘,๔๓๓ รูป (ที่มา: สํานักงาน
เจ้าคณะจังหวัด , สํานักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557)
แม้ว่าเมื่อจำแนกเฉพาะพระอย่างเดียว ตัวเลขเมื่อปี ๒๕๔๙ เมืองไทยยังมีพระถึง ๒๕๐,๔๓๗ รูป
มากกว่าเมื่อปี ๒๕๐๗ ซึ่งมีภิกษุเพียง ๑๕๒,๕๑๐ รูป แต่ตัวเลขดังกล่าวอาจเป็นภาพลวงตา
เมื่อพิจารณาถึงข้อเท็จจริงที่ว่า ในจำนวนกว่า ๒ แสน ๕ หมื่นรูปนี้รวมทั้งพระที่บวชระยะสั้นคือ ๗ วัน
ถึง ๑ เดือนด้วย มีข้อมูลการวิจัยระบุว่า ในช่วงปี ๒๕๔๕-๒๕๔๗ พระเณรที่บวชตั้งแต่ ๗ วันถึง ๑ เดือน
ในกรุงเทพมหานครและราชบุรีมีเกือบร้อยละ ๗๐ ของผู้บวชทั้งหมด หากคนในจังหวัดอื่น ๆ
มีระยะเวลาการบวชในทำนองเดียวกับคนในสองจังหวัดดังกล่าว ก็หมายความว่า ในเมืองไทยปัจจุบันมี
พระที่บวชเกินกว่า ๑ เดือนขึ้นไปประมาณ ๘๐,๐๐๐ รูปเท่านั้น หรือเท่ากับ ๑ รูปเศษ ๆ ต่อ ๑ หมู่บ้าน
และหากคัดพระที่บวชตั้งแต่ ๑- ๓ เดือนออกไป จะเหลือพระที่ยืนพื้นน้อยกว่านี้มาก อาจไม่ถึง ๑ รูป
ต่อ ๑ หมู่บ้านด้วยซ้ำ (ที่มา: http://www.visalo.org/article/matichon255107.htm)
ดังนั้น การแก้ปัญหาภาพรวมของพระพุทธศาสนาตอนนี้ คือทำอย่างไรจะทำให้มีชายแท้ๆ เข้ามาบวช
เพิ่มมากขึ้นๆๆ จะมาบวชวัตถุประสงค์ใด ศรัทธาอาจยังไม่มาก แต่ขอให้มาบวชเสียก่อน ศรัทธาเป็นเรื่อง
ที่พัฒนาและเปลี่ยนแปลงได้ ตอนแรกที่มาบวชอาจจะไม่เต็มใจนัก อาจบวชด้วยสาเหตุที่แตกต่างกันไปก็ตาม
การแก้สถานการณ์พระพุทธศาสนาในยุคปัจจุบันนี้ คือ ต้องให้ชายแท้ มาบวชมากๆๆ
ยิ่งได้บวช ๑ เดือน ๑ พรรษา เหมือนชายไทยสมัยก่อนยิ่งประเสริฐ อย่างไรก็ตาม มีการบวช
ก็ยังดีกว่าไม่มีการบวช เพราะเป็นโอกาสให้กุลบุตรเหล่านั้นได้มีโอกาสสลัดตนให้พ้นจากกองทุกข์
พบความสุขที่แท้จริง มุ่งตรงต่อหนทางพระนิพพาน
- ประเด็นอยู่ที่บวชแล้วต้องเรียน ท่านเรียก "บวชเรียน" จะเป็นคันถธุระ วิปัสสนาธุระ
หรือทั้งสองอย่าง ตามความชอบใจ
แม้ในสมัยพุทธกาล กุลบุตรที่เข้ามาบวชก็มีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ดังเช่น พระสาวก
ในครั้งพุทธกาลรูปหนึ่ง ชื่อว่า พระรัฏฐปาละ ท่านเป็นลูกเศรษฐี แต่ก็ได้สละทรัพยสมบัติออกบวช
ปฏิบัติจนเป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง วันหนึ่ง พระเจ้าแผ่นดินของแคว้นนั้น พระนามว่าพระเจ้าโกรัพยะ
ได้ถามท่านว่า ท่านบวชทำไม? เพราะคนโดยมากนั้น บวชกันเพราะเหตุว่า มีความเสื่อมเพราะชราบ้าง
มีความเสื่อมเพราะความป่วยไข้บ้าง มีความเสื่อมเพราะทรัพยสมบัติบ้าง มีความเสื่อมญาติบ้าง
แต่ว่าท่านรัฏฐปาละเป็นผู้ที่ยังไม่มีความเสื่อมใดๆ ดังกล่าวนั้น ไฉนท่านจึงออกบวช ท่านก็ตอบว่า
พระพุทธเจ้าได้ตรัส ธัมมุเทส ไว้ ๔ ข้อ คือ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ ๑. ดูกรมหาบพิตร ธัมมุทเทสข้อที่หนึ่งว่า โลกอันชรานำเข้าไป ไม่ยั่งยืน ดังนี้แล
อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงแล้ว
ที่อาตมภาพรู้เห็นและได้ฟังแล้ว จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.
๒. ดูกรมหาบพิตร ธัมมุทเทสข้อที่สองว่า โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่เป็นใหญ่เฉพาะตน
ดังนี้แล อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงแสดงแล้ว ที่อาตมภาพรู้เห็นและได้ฟังแล้ว จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.
๓. ดูกรมหาบพิตร ธัมมุทเทสข้อที่สามว่า โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละสิ่งทั้งปวงไป
ดังนี้แล อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงแสดงแล้ว ที่อาตมภาพรู้เห็นและได้ฟังแล้ว จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.
๔. ดูกรมหาบพิตร ธัมมุทเทสข้อที่สี่ว่า โลกบกพร่องอยู่เป็นนิตย์ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา
ดังนี้แล อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงแสดงแล้ว ที่อาตมภาพรู้เห็นและได้ฟังแล้ว จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.
ดูกรมหาบพิตร ธัมมุทเทส ๔ ข้อนี้แล อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงแล้ว ที่อาตมภาพรู้เห็นและได้ฟังแล้ว จึงออก
จากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.
- โลกอันชราย่อมนำเข้าไป ไม่ยั่งยืน
- โลกไม่มีอะไรต้านทานจากความเจ็บป่วย ไม่เป็นใหญ่
- โลกไม่ใช่ของ ๆ ตน เพราะทุก ๆ คนจำต้องละสิ่งทั้งปวงไป ด้วยอำนาจของความตาย และ
- โลกพร่องอยู่ ไม่มีอิ่ม เป็นทาสของตัณหาคือความดิ้นรนทะยานอยาก
ท่านได้ปรารภธัมมุเทส คือการแสดงธรรมของพระพุทธเจ้าทั้ง ๔ ประการนี้ จึงได้ออกบวช
แต่ว่าการบวชนั้น ก็มีมุมมองประเด็นอื่นอีก ดังในมิลินทปัญหา พระเจ้ามิลินท์ได้ถาม พระนาคเสน
ว่าประโยชน์สูงสุดของการบวชคืออะไร ?
พระนาคเสนท่านก็ตอบว่า ประโยชน์สูงสุดของการบวชนั้น คือพระนิพพาน คือความดับ
เพราะไม่ยึดมั่นอะไรๆ ทั้งหมด
ดังมีเรื่องที่พระนาคเสนตอบพระเจ้ามิลินท์ ดังนี้
อย่างที่ ๑ เรียกว่า บวชได้กิ่งใบของพรหมจรรย์ คือบวชแล้วก็มุ่งแต่จะได้ลาภ ได้สักการะ
ได้สรรเสริญ เมื่อได้ก็พอใจเพียงเท่านั้น
อย่างที่ ๒ เรียกว่า บวชได้กะเทาะเปลือกของพรหมจรรย์ คือก็ไม่ได้มุ่งจะได้ลาภสักการะ
และสรรเสริญทีเดียว แต่ก็ปฏิบัติในศีลให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ด้วย และก็พอใจเพียงว่า
จะปฏิบัติในศีลให้บริสุทธิ์บริบูรณ์เท่านั้น
อย่างที่ ๓ เรียกว่า บวชได้เปลือกของพรหมจรรย์ คือเมื่อปฏิบัติในศีลให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ได้แล้ว
ก็ปฏิบัติในสมาธิให้บริบูรณ์ด้วย และก็พอใจเพียงสมาธิเท่านั้น
อย่างที่ ๔ เรียกว่า บวชได้กระพี้ของพรหมจรรย์ คือเมื่อปฏิบัติในศีล ในสมาธิ ให้บริบูรณ์แล้ว
ก็ปฏิบัติต่อไปจนเกิดญาณทัสสนะคือความรู้ความเห็นธรรมะขึ้นด้วย และก็พอใจ
เพียงที่รู้ที่เห็นเท่านั้น
อย่างที่ ๕ เรียกว่า บวชได้แก่นของพรหมจรรย์ คือว่าได้ปฏิบัติสืบขึ้นไปจนได้วิมุตติ คือความ
หลุดพ้นจากกิเลสและกองทุกข์บางส่วนหรือสิ้นเชิง ตามสามารถของการปฏิบัติ
อย่างที่ ๕ นี้ จึงจะชื่อว่าได้บรรลุแก่นของการบวช หรือว่าบวชได้แก่นของพรหมจรรย์
ดังนั้นผู้ชายแท้ๆ ผู้ได้โอกาสที่จะเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา จึงควรได้สละเวลาออกบวช
เพื่อศึกษาและ สัมผัสรับประโยชน์อย่างยิ่งจากการบวช แม้ลาสิกขาไป ก็จะมีธรรมะดีๆนำไปใช้ใน
ชีวิตการครองเรือนในเพศฆราวาสต่อไปได้
บวชทำไม? ประโยชน์สูงสุดของการบวชคืออะไร ?
กับเมื่อบวชแล้วได้ศึกษาและปฏิบัติขัดเกลาตัวเองตามธรรมวินัยได้เต็มที่มากน้อยขนาดไหน?
ควรแยกแยะพิจารณา
ถ้าจะมองง่ายๆ อย่างแรกคือบวชเพื่อตัวเอง ฝึกฝนอบรมตนเองและเพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง
และผลพลอยได้ คือผู้ร่วมอนุโมทนาในการบวชก็จะได้บุญไปด้วย เช่นบิดามารดาเป็นต้น
เมื่อได้ฝึกฝนอบรมตนเองแล้ว ย่อมเกิดผลจากการปฏิบัติมากน้อย ตามกำลังแห่ง
ความเพียรของผู้บวช ตั้งแต่ได้ความสงบเบื้องต้น ได้ฌาณ ได้อภิญญา ไล่สูงไปเรื่อยๆ
จนถึงบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์
เมื่อมองภาพรวมของพระพุทธศาสนาตอนนี้ คือมีคนเข้ามาบวชน้อยลงมาก จำนวนพระเณร
ที่ลดลงอย่างต่อเนื่องกำลังเป็นปัญหาใหญ่ของคณะสงฆ์ไทย จึงควรสนับสนุนให้กุลบุตร
ได้มีโอกาสบวชกันมากขึ้น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แม้ในสมัยพุทธกาล กุลบุตรที่เข้ามาบวชก็มีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ดังเช่น พระสาวก
ในครั้งพุทธกาลรูปหนึ่ง ชื่อว่า พระรัฏฐปาละ ท่านเป็นลูกเศรษฐี แต่ก็ได้สละทรัพยสมบัติออกบวช
ปฏิบัติจนเป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง วันหนึ่ง พระเจ้าแผ่นดินของแคว้นนั้น พระนามว่าพระเจ้าโกรัพยะ
ได้ถามท่านว่า ท่านบวชทำไม? เพราะคนโดยมากนั้น บวชกันเพราะเหตุว่า มีความเสื่อมเพราะชราบ้าง
มีความเสื่อมเพราะความป่วยไข้บ้าง มีความเสื่อมเพราะทรัพยสมบัติบ้าง มีความเสื่อมญาติบ้าง
แต่ว่าท่านรัฏฐปาละเป็นผู้ที่ยังไม่มีความเสื่อมใดๆ ดังกล่าวนั้น ไฉนท่านจึงออกบวช ท่านก็ตอบว่า
พระพุทธเจ้าได้ตรัส ธัมมุเทส ไว้ ๔ ข้อ คือ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
- โลกอันชราย่อมนำเข้าไป ไม่ยั่งยืน
- โลกไม่มีอะไรต้านทานจากความเจ็บป่วย ไม่เป็นใหญ่
- โลกไม่ใช่ของ ๆ ตน เพราะทุก ๆ คนจำต้องละสิ่งทั้งปวงไป ด้วยอำนาจของความตาย และ
- โลกพร่องอยู่ ไม่มีอิ่ม เป็นทาสของตัณหาคือความดิ้นรนทะยานอยาก
ท่านได้ปรารภธัมมุเทส คือการแสดงธรรมของพระพุทธเจ้าทั้ง ๔ ประการนี้ จึงได้ออกบวช
แต่ว่าการบวชนั้น ก็มีมุมมองประเด็นอื่นอีก ดังในมิลินทปัญหา พระเจ้ามิลินท์ได้ถาม พระนาคเสน
ว่าประโยชน์สูงสุดของการบวชคืออะไร ?
พระนาคเสนท่านก็ตอบว่า ประโยชน์สูงสุดของการบวชนั้น คือพระนิพพาน คือความดับ
เพราะไม่ยึดมั่นอะไรๆ ทั้งหมด
ดังมีเรื่องที่พระนาคเสนตอบพระเจ้ามิลินท์ ดังนี้
อย่างที่ ๑ เรียกว่า บวชได้กิ่งใบของพรหมจรรย์ คือบวชแล้วก็มุ่งแต่จะได้ลาภ ได้สักการะ
ได้สรรเสริญ เมื่อได้ก็พอใจเพียงเท่านั้น
อย่างที่ ๒ เรียกว่า บวชได้กะเทาะเปลือกของพรหมจรรย์ คือก็ไม่ได้มุ่งจะได้ลาภสักการะ
และสรรเสริญทีเดียว แต่ก็ปฏิบัติในศีลให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ด้วย และก็พอใจเพียงว่า
จะปฏิบัติในศีลให้บริสุทธิ์บริบูรณ์เท่านั้น
อย่างที่ ๓ เรียกว่า บวชได้เปลือกของพรหมจรรย์ คือเมื่อปฏิบัติในศีลให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ได้แล้ว
ก็ปฏิบัติในสมาธิให้บริบูรณ์ด้วย และก็พอใจเพียงสมาธิเท่านั้น
อย่างที่ ๔ เรียกว่า บวชได้กระพี้ของพรหมจรรย์ คือเมื่อปฏิบัติในศีล ในสมาธิ ให้บริบูรณ์แล้ว
ก็ปฏิบัติต่อไปจนเกิดญาณทัสสนะคือความรู้ความเห็นธรรมะขึ้นด้วย และก็พอใจ
เพียงที่รู้ที่เห็นเท่านั้น
อย่างที่ ๕ เรียกว่า บวชได้แก่นของพรหมจรรย์ คือว่าได้ปฏิบัติสืบขึ้นไปจนได้วิมุตติ คือความ
หลุดพ้นจากกิเลสและกองทุกข์บางส่วนหรือสิ้นเชิง ตามสามารถของการปฏิบัติ
อย่างที่ ๕ นี้ จึงจะชื่อว่าได้บรรลุแก่นของการบวช หรือว่าบวชได้แก่นของพรหมจรรย์
ดังนั้นผู้ชายแท้ๆ ผู้ได้โอกาสที่จะเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา จึงควรได้สละเวลาออกบวช
เพื่อศึกษาและ สัมผัสรับประโยชน์อย่างยิ่งจากการบวช แม้ลาสิกขาไป ก็จะมีธรรมะดีๆนำไปใช้ใน
ชีวิตการครองเรือนในเพศฆราวาสต่อไปได้