คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
เรียน สมาชิกคุณ I Love Omelet
จากกรณีที่สอบถามขออนุญาตชี้แจงแบ่งออกเป็น 2 กรณีดังนี้ค่ะ
1.กรณีเจ้าของชื่อสกุลยังมีชีวิตอยู่ (ผู้อาวุโสเป็นคนจัดตั้งนามสกุลเอง)
1.1 เอกสารสำหรับเจ้าของชื่อสกุล (เจ้าของนามสกุล)
- หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนชื่อสกุล (แบบ ช.2)
- ทะเบียนบ้าน
- บัตรประจำตัวประชาชน
- ใบสำคัญทางทหาร (ถ้ามี)
1.2 เอกสารสำหรับผู้ขอร่วมใช้ชื่อสกุล (ผู้ขอร่วมใช้นามสกุล)
- หนังสืออนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุล (แบบ ช.6)
- ทะเบียนบ้าน
- บัตรประจำตัวประชาชน
- สูติบัตร (กรณียังมิได้ทำบัตรประจำตัวประชาชน)
- ใบสำคัญทางทหาร (ถ้ามี)
1.3 ขั้นตอนการดำเนินการขอร่วมใช้ชื่อสกุล กรณีเจ้าของชื่อสกุล ยังมีชีวิตอยู่
1. เจ้าของชื่อสกุล ยื่นแบบคำขอต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
2. เมื่อนายทะเบียนท้องที่เห็นว่าถูกต้อง จะออกหนังสืออนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุล (แบบ ช.6) ให้กับเจ้าของชื่อสกุล เพื่อนำไปให้กับผู้ที่ขอร่วมใช้ชื่อสกุล
3. จากนั้นผู้ขอร่วมใช้ชื่อสกุล ยื่นคำขอต่อ นายทะเบียนท้องที่ที่ตนเองมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
4. เมื่อนายทะเบียนท้องที่เห็นว่าถูกต้อง จะออกหนังสือสำคัญแสดงการร่วมใช้ชื่อสกุล (แบบ ช.4) ให้กับผู้ที่ขอร่วมใช้ชื่อสกุล เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน
2.กรณีเจ้าของชื่อสกุลเสียชีวิตหรือศาลมีคำสั่งว่าเป็นบุคคลที่หายสาบสูญ (ผู้อาวุโสใช้นามสกุลต่อจากบรรพบุรูษ)
ผู้ที่มีสิทธิขอหนังสือรับรองเป็นผู้มีสิทธิอนุญาตให้ผู้อื่นร่วมใช้ชื่อสกุล จะต้องเป็นผู้สืบสันดานโดยสายโลหิตลำดับใกล้ชิดที่สุดที่ชอบด้วยกฎหมายที่ยังคงมีชีวิตและใช้ชื่อสกุลนั้นอยู่ ซึ่งสามารถติดต่อ ณ สำนักทะเบียนที่มีชื่ออยู่ปัจจุบัน
2.1 เอกสารสำหรับการขอหนังสือรับรองเป็นผู้มีสิทธิอนุญาตให้ผู้อื่นร่วมใช้ชื่อสกุล (ช.7)
- บัตรประจำตัวประชาชน
- ทะเบียนบ้าน
- ใบสำคัญการจัดตั้งชื่อสกุล (ช.2)
- หลักฐานทางราชการที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นผู้มีสิทธิอนุญาต อาทิ
- ใบสำคัญการสมรส
- สำเนาทะเบียนรับรองบุตร
- คำพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นบุตร
- สูติบัตร
- สำเนาทะเบียนบ้าน
2.2 เอกสารสำหรับผู้ขอร่วมใช้ชื่อสกุล (ผู้ขอร่วมใช้นามสกุล)
- หนังสืออนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุล (แบบ ช.6)
- ทะเบียนบ้าน
- บัตรประจำตัวประชาชน
- สูติบัตร (กรณียังมิได้ทำบัตรประจำตัวประชาชน)
- ใบสำคัญทางทหาร (ถ้ามี)
2.3 ขั้นตอนการดำเนินการขอร่วมใช้ชื่อสกุล กรณีเจ้าของชื่อสกุล เสียชีวิต หรือศาลมีคำสั่งว่าเป็นบุคคลที่หายสาบสูญ
1. ให้ผู้ที่มีสิทธิอนุญาตให้บุคคลอื่นร่วมใช้ชื่อสกุล ยื่นแบบคำขอต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
2. เมื่อนายทะเบียนท้องที่ตรวจสอบว่าผู้ที่ยื่นคำขอเป็นผู้ที่สามารถอนุญาตให้บุคคลร่วมใช้ชื่อสกุลได้ จะออกหนังสือรับรองเป็นผู้มีสิทธิอนุญาตให้ผู้อื่นร่วมใช้ชื่อสกุล (แบบ ช.7) ให้ผู้ยื่นคำขอ
3. จากนั้นให้ผู้ที่มีสิทธิอนุญาตให้บุคคลอื่นร่วมใช้ชื่อสกุล ยื่นคำขออีกครั้งพร้อมกับหนังสือรับรองเป็นผู้มีสิทธิอนุญาตให้ผู้อื่นร่วมใช้ชื่อสกุล (แบบ ช.7)
4. เมื่อนายทะเบียนท้องที่เห็นว่าถูกต้อง จะออกหนังสืออนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุล (แบบ ช.6) ให้เพื่อนำไปให้กับผู้ที่ขอร่วมใช้ชื่อสกุล
5. จากนั้นผู้ขอร่วมใช้ชื่อสกุล ยื่นคำขอต่อ นายทะเบียนท้องที่ที่ตนเองมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
6. เมื่อนายทะเบียนท้องที่เห็นว่าถูกต้อง จะออกหนังสือสำคัญแสดงการร่วมใช้ชื่อสกุล (แบบ ช.4) ให้กับผู้ที่ขอร่วมใช้ชื่อสกุล เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน
2.4 ค่าธรรมเนียมในการขอร่วมใช้ชื่อสกุล ครั้งละ 100 บาท
สถานที่ติดต่อ : ยื่นเรื่องได้ ณ สำนักทะเบียนที่มีชื่อตามทะเบียนบ้านอยู่เท่านั้น
Tidawan
จากกรณีที่สอบถามขออนุญาตชี้แจงแบ่งออกเป็น 2 กรณีดังนี้ค่ะ
1.กรณีเจ้าของชื่อสกุลยังมีชีวิตอยู่ (ผู้อาวุโสเป็นคนจัดตั้งนามสกุลเอง)
1.1 เอกสารสำหรับเจ้าของชื่อสกุล (เจ้าของนามสกุล)
- หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนชื่อสกุล (แบบ ช.2)
- ทะเบียนบ้าน
- บัตรประจำตัวประชาชน
- ใบสำคัญทางทหาร (ถ้ามี)
1.2 เอกสารสำหรับผู้ขอร่วมใช้ชื่อสกุล (ผู้ขอร่วมใช้นามสกุล)
- หนังสืออนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุล (แบบ ช.6)
- ทะเบียนบ้าน
- บัตรประจำตัวประชาชน
- สูติบัตร (กรณียังมิได้ทำบัตรประจำตัวประชาชน)
- ใบสำคัญทางทหาร (ถ้ามี)
1.3 ขั้นตอนการดำเนินการขอร่วมใช้ชื่อสกุล กรณีเจ้าของชื่อสกุล ยังมีชีวิตอยู่
1. เจ้าของชื่อสกุล ยื่นแบบคำขอต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
2. เมื่อนายทะเบียนท้องที่เห็นว่าถูกต้อง จะออกหนังสืออนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุล (แบบ ช.6) ให้กับเจ้าของชื่อสกุล เพื่อนำไปให้กับผู้ที่ขอร่วมใช้ชื่อสกุล
3. จากนั้นผู้ขอร่วมใช้ชื่อสกุล ยื่นคำขอต่อ นายทะเบียนท้องที่ที่ตนเองมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
4. เมื่อนายทะเบียนท้องที่เห็นว่าถูกต้อง จะออกหนังสือสำคัญแสดงการร่วมใช้ชื่อสกุล (แบบ ช.4) ให้กับผู้ที่ขอร่วมใช้ชื่อสกุล เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน
2.กรณีเจ้าของชื่อสกุลเสียชีวิตหรือศาลมีคำสั่งว่าเป็นบุคคลที่หายสาบสูญ (ผู้อาวุโสใช้นามสกุลต่อจากบรรพบุรูษ)
ผู้ที่มีสิทธิขอหนังสือรับรองเป็นผู้มีสิทธิอนุญาตให้ผู้อื่นร่วมใช้ชื่อสกุล จะต้องเป็นผู้สืบสันดานโดยสายโลหิตลำดับใกล้ชิดที่สุดที่ชอบด้วยกฎหมายที่ยังคงมีชีวิตและใช้ชื่อสกุลนั้นอยู่ ซึ่งสามารถติดต่อ ณ สำนักทะเบียนที่มีชื่ออยู่ปัจจุบัน
2.1 เอกสารสำหรับการขอหนังสือรับรองเป็นผู้มีสิทธิอนุญาตให้ผู้อื่นร่วมใช้ชื่อสกุล (ช.7)
- บัตรประจำตัวประชาชน
- ทะเบียนบ้าน
- ใบสำคัญการจัดตั้งชื่อสกุล (ช.2)
- หลักฐานทางราชการที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นผู้มีสิทธิอนุญาต อาทิ
- ใบสำคัญการสมรส
- สำเนาทะเบียนรับรองบุตร
- คำพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นบุตร
- สูติบัตร
- สำเนาทะเบียนบ้าน
2.2 เอกสารสำหรับผู้ขอร่วมใช้ชื่อสกุล (ผู้ขอร่วมใช้นามสกุล)
- หนังสืออนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุล (แบบ ช.6)
- ทะเบียนบ้าน
- บัตรประจำตัวประชาชน
- สูติบัตร (กรณียังมิได้ทำบัตรประจำตัวประชาชน)
- ใบสำคัญทางทหาร (ถ้ามี)
2.3 ขั้นตอนการดำเนินการขอร่วมใช้ชื่อสกุล กรณีเจ้าของชื่อสกุล เสียชีวิต หรือศาลมีคำสั่งว่าเป็นบุคคลที่หายสาบสูญ
1. ให้ผู้ที่มีสิทธิอนุญาตให้บุคคลอื่นร่วมใช้ชื่อสกุล ยื่นแบบคำขอต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
2. เมื่อนายทะเบียนท้องที่ตรวจสอบว่าผู้ที่ยื่นคำขอเป็นผู้ที่สามารถอนุญาตให้บุคคลร่วมใช้ชื่อสกุลได้ จะออกหนังสือรับรองเป็นผู้มีสิทธิอนุญาตให้ผู้อื่นร่วมใช้ชื่อสกุล (แบบ ช.7) ให้ผู้ยื่นคำขอ
3. จากนั้นให้ผู้ที่มีสิทธิอนุญาตให้บุคคลอื่นร่วมใช้ชื่อสกุล ยื่นคำขออีกครั้งพร้อมกับหนังสือรับรองเป็นผู้มีสิทธิอนุญาตให้ผู้อื่นร่วมใช้ชื่อสกุล (แบบ ช.7)
4. เมื่อนายทะเบียนท้องที่เห็นว่าถูกต้อง จะออกหนังสืออนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุล (แบบ ช.6) ให้เพื่อนำไปให้กับผู้ที่ขอร่วมใช้ชื่อสกุล
5. จากนั้นผู้ขอร่วมใช้ชื่อสกุล ยื่นคำขอต่อ นายทะเบียนท้องที่ที่ตนเองมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
6. เมื่อนายทะเบียนท้องที่เห็นว่าถูกต้อง จะออกหนังสือสำคัญแสดงการร่วมใช้ชื่อสกุล (แบบ ช.4) ให้กับผู้ที่ขอร่วมใช้ชื่อสกุล เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน
2.4 ค่าธรรมเนียมในการขอร่วมใช้ชื่อสกุล ครั้งละ 100 บาท
สถานที่ติดต่อ : ยื่นเรื่องได้ ณ สำนักทะเบียนที่มีชื่อตามทะเบียนบ้านอยู่เท่านั้น
Tidawan
แสดงความคิดเห็น
ขอคำแนะนำ ต้องการเปลี่ยน นามสกุล โดยที่ไม่ได้เป็นญาติหรือสายเลือดเดียวกัน ต้องใช้เอกสารอะไรบ้างครับ
1 เจ้าของนามสกุล ทะเบียนบ้าน อยู่ ต่างจังหวัด
2 ผมอยู่ กรุงเทพ ทะเบียนบ้านอยู่กรุงเทพ
3 ผู้อาวุโสสูงสุดของนามสกุลนั้น อนุญาติปากเปล่าแล้ว และให้ผมเตรียมเอกสาร เพื่อให้ท่านเซ็นหรือประทับลายนิ้วมือครับ ท่านอายุมากแล้ว
ผมทำงานทุกวันครับ การลาหยุดเพื่อไปเดินเรื่อง เจ้านายอนุญาติ แต่ก็เกรงใจแกครับ
จึงอยากหาข้อมูลให้รอบด้าน เพื่อเตรียมตัว จะได้ใช้เวลาไม่เสียเปล่าในการติดต่อกับราชการครับ
ปล ผมโทรไปสอบถามที่เขตตั้งแต่ก่อนวันหยุดแล้ว แต่ จนท. ที่ทำเรื่องนี้ลาฉุกเฉิน จึงได้ข้อมูลไม่ครบถ้วนครับ
ท่านใดพอแนะนำได้ ขอความกรุณาด้วยครับ
ขอบคุณครับ