จังหวัดกาญจนบุรีเป็นจังหวัดที่ผมได้มีโอกาสไปบ่อยมากๆ
คงเป็นเพราะว่าที่เมืองกาญนั้นมีสถานที่ท่องเที่ยวหลากหลาย
ทั้งวัด ถ้ำ น้ำตก ล่องเเพ และอยู่ใกล้กรุงเทพซึ่งก็ใช้เวลาเดินทางไม่นาน
และคราวนี้ผมก็ได้กลับมาเมืองกาญอีกครั้ง
เพื่อมาเที่ยวสถานที่ย้อนยุคอย่างเมืองมัลลิกา ร.ศ.124
และนอนพักแบบขุนนางเมืองหลวงที่ ทรีธารา
ในการเที่ยวครั้งนี้เราจะเที่ยวที่เมืองมัลลิกา ร.ศ.124 แบบ เต็มวันกว่าจะกลับก็ค่ำๆโน่น
เราจึงขอไปเช็คอินที่ทรีธาราก่อนครับ ถ้ามาตามแผนที่ก็ตามนี้เลยครับ
https://goo.gl/maps/C9a8cC8E8bB2
ทรีธารานั้นเป็นรีสอร์ทที่อยู่ในตัวอำเภอไทรโยค ติดแม่น้ำแควน้อย
ใกล้ทั้งแหล่งของกินอย่างตลาดนัด, 7-11
และอยู่ใกล้กับสถานีรถไฟถ้ำกระเเซมาก
ทางเข้าหาไม่ยาก อยู่ติดถนนทางไปถ้ำกระเเซ มีป้ายโรงแรมเหมือนแผ่นดินเผาใหญ่ๆ
เดินเข้ามาสู่รีเซฟชั่น
พร้อมรับเวลคัมดริ้งค์เป็นน้ำอัญชันเย็นๆ
ภายในรีสอร์ททรีธารานั้นร่มรื่นมากครับ เป็นเหมือนรีสอร์ทในสวน
ภาพแบบ 360 องศา
https://goo.gl/FVDpv3
ที่ทรีธารามีสระว่ายน้ำด้วยนะครับ
อยู่ริมแม่น้ำแควน้อยเลย และน้ำไปมองแม่น้ำไป
แถมตอนเช้าๆมีช้างจากฝั่งตรงข้ามลงมาเล่นน้ำด้วยนะครับ
ภาพแบบ 360 องศา
https://goo.gl/e8dfBX
ห้องพักที่เราพักในคืนนี้คือ villa a2 ตอนนี้มีโปรโมชั่นราคา 2,500 บาท พร้อมอาหารเช้า
เป็นไงบ้างที่นงที่นอนเมือนพวกคหบดีในสมัยก่อนมั้ย
ภาพแบบ 360 องศา
https://goo.gl/BBuhDT
ภายในห้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบทั้ง
ทีวี ตู้เย็น กาน้ำร้อน ชุดชากาแฟ ไดร์เป่าผม เครื่องอาบน้ำ น้ำเปล่า
เอาล่ะเราแวะมาที่ทีธาราเพื่อที่จะเก็บของก่อน
จากนั้นเราจึงย้อนกลับไปเที่ยวที่เมืองมัลลิกา ร.ศ.124 กันนะขอรับ
เมืองมัลลิกา ร.ศ.124 นั้นตั้งอยู่บนถนนหมายเลข 323 (ถนนแสงชูโต) เลยขอรับ
ทางเข้าจะอยู่ติดกับปั้มบางจากเลย แผนที่
https://goo.gl/maps/q1rqe7b6mL62
จุดเด่นของสถานที่แห่งนี้คือ เมืองย้อนยุคของวิถีชีวิตชาวสยามบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
ภายในเมืองนี้ทั้งตึกรามบ้างช่อง ผู้คน การแต่งกาย รวมไปถึงคำพูดคำจา
ก็จะถูกย้อนยุคไปทั้งหมดนะขอรับ
เพื่อความอินในการเข้าชมเมืองมัลลิกา ร.ศ.124 แนะนำว่าให้เช่าชุดไทยเข้าไปเดินครับ
ซึ่งการแต่งกายชุดไทยนั้นมีให้บริการทั้งผู้ชายและผู้หญิง
ผู้หญิง มีให้เลือก 2 แบบ ได้แก่
ราคา 200 บาท : ผ้าสไบ โจงกระเบน เครื่องประดับ เข็มรัด และร่ม
ราคา 300 บาท : เสื้อแขนหมูแฮม พร้อมแพรสะพาย โจงกระเบน เครื่องประดับ เข็มขัด และร่ม
ผู้ชาย
ราคา 100 บาท : เสื้อกุยเฮง โจงกระเบน และผ้าคาดเอว
ราคา 300 บาท : เสื้อราชปะแตน โจงกระเบน
เด็ก
ราคา 50 บาท : เสื้อคอกระเช้าสำหรับผู้หญิง เสื้อกุยเฮงสำหรับผู้ชาย และโจงกระเบน
ราคาค่าเข้า ทุกวันรวมวันหยุดสุดสัปดาห์
ผู้ใหญ่ 200 บาท/ เด็ก, ผู้สูงอายุและผู้พิการ 100 บาท
ค่าเข้าชม+ สำรับเย็น + ชมการแสดง ราคา ผู้ใหญ่ 700 บาท เด็ก 350 บาท
เด็ก - ความสูงต่ำกว่า 100 cm. เข้าฟรี เด็กความสูงตั้งแต่ 100 - 130 cm.
และผู้สูงอายุ - อายุ 70 ปีขึ้นไปใช้ราคาเด็ก
แต่ตอนนี้มีโปรวันธรรมดา จันทร์ – ศุกร์
1.ค่าเข้า + ชุดไทย + สำรับเย็น ราคา 650 บาทต่อท่าน
2.ค่าเข้า + ชุดไทย ราคา 350 บาทต่อท่าน
ด้านหน้าของเมืองมัลลิกาจะเป็นกำแพงเมืองโบราณขนาดใหญ่สีขาว
เอาไว้ป้องกันพวกไททันเข้าเมือง??? ใช่หรอ????
ด้านหน้าประตูเมืองก็ยังมีรถลากในยุคเก่าก่อนหรือที่เราเรียกกันติดปากว่ารถเจ๊ก
รถที่ใช้คนลาก โดยส่วนใหญ่เป็นคนจีน
ที่อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕
การนั่งรถเจ๊กนี้มีค่าบริการ 50 บาท ต่อเที่ยวขอรับ
การซื้อของภายในเมืองมัลลิกา ร.ศ.124 นั้นเราจะเงินรู
เป็นเงินตราที่ใช้สมัยโบราณทั้งอยูธยาและสุโขทัย โดยมีอัตราการแลกเงินรู : 1 สตางค์ = 5 บาท
เมื่อเดินเข้ามาภายในเขตกำแพงเมืองมัลลิกา เราจะพบกับสะพานหัน
ชื่อนี้เรียกตามจาก ลักษณะของตัวสะพานที่ สมัยก่อนนั้นจะเป็นไม้แผ่นเดียวพาดข้ามคลอง
ปลายข้างหนึ่งตรึงแน่นกับที่ ส่วนอีกข้างจะไม่ตอกติด จับหันไปมาได้เพื่อให้เรือแล่นผ่านต่อมาใสมัยรัชกาลที่ 5
ได้เปลี่ยนทำเป็นแบบสะพานริอัลโตทีนครเวนิซ และที่ปองเตเวกคิโอ เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี
คือ เป็นสะพานไม้โค้งกว้าง สองฟากสะพานมีห้องแถวเล็กๆ ให้ขายของ ส่วนตรงกลางเป็นทางเดิน
ซึ่งสะพานนี้ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ชอบเสด็จประพาสเพื่อซื้อผลไม้แห้งที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ
เช่นลูกพลับแห้ง และผลไม้แห้งต่างๆ นานาชนิด
ถัดจากสะพานหัน เราจะเดินเข้าสู่ย่านการค้า
ในสมัย ร.ศ. ๑๒๔ มีย่านการค้าที่ขึ้นชื่อและมีสินค้ามากและทันสมัยสำหรับยุคสมัยนั้น ได้แก่
ย่านถนนแพร่งนรา, ถนนแพร่งภูธร, ถนนแพร่งสรรพศาสตร์ และย่านบางรัก
ในย่านการค้านี้จะมีของกินสมัยโบราณ เครื่องดื่ม และของที่ระลึกจำหน่ายมากมาย
ภาพแบบ 360 องศา
https://goo.gl/VSY8nE
จากนั้นเราจะขึ้นไปหอชมเมืองกัน ซึ่งหอชมเมืองนี้จำลองมาจากหอคอยคุก
ซึ่งเป็นหอคอยที่ใช้สำหรับตรวจตราป้องกันมิให้นักโทษหนี
ซึ่งเมืองมัลลิกา ใช้สำหรับชมเมือง ว่ามีทัศนียภาพที่ว่างดงามเพียงใด
ภาพแบบ 360 องศา
https://goo.gl/7KyVoG
เดินพ้นจากย่านการค้ามาเราจะพบกับ เรือนแพ
ในยุคสมัยนั้น การสัญจรไปมาส่วนใหญ่ใช้แม่น้ำ
ดังนั้นร้านค้าขายที่จะตั้งอยุ๋ริมน้ำเป็นส่วนใหญ่ซึ่งในเมืองมัลลิกาก็เข่นเดียวกัน
จะมีเรือนแพสำหรับค้าขาย เป็นร้านกาแฟ ตงฮู
ซึ่งเป็นร้านกาแฟที่ทันสมัยในยุคนั้นโดยการนำเข้าเมล็ดกาแฟสดจากต่างประเทศเข้ามา
และเพื่อรองรับนักเดินทาง ก็จะมีร้านข้าวแกงทรงโปรดในเรือนแพนี้ด้วย อันร้านข้าวแกงทรงโปรดนั้น
ทางเมืองมัลลิกาได้ นำเอาอาหารที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าทรงโปรดมา
เพื่อให้ประสกนิกร และนักท่องเที่ยวได้เห็นความเรียบง่ายของอาหาร
ที่มหาราชขของชนชาวไทยเสวยซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นอาหารที่ง่ายแต่มีความอร่อยอย่างไทยแท้
เราแวะที่เรือนเดี่ยว เป็นเรือนชาวบ้าน ซึ่งผู้ที่อาศัยอยู่เรือนนี้คือคนชนชั้นกรรมาชีพ
มีหน้าที่ ผลิตปัจจัยเบื้องต้นในการยังชีพอันได้แก่ การทำไร่ ทำนา ทำสวน ปลูกผัก
สีข้าว ทอผ้า จักสาน อันเป็นอาชีพทั่วไปของชนชั้นนี้ ในเมืองมัลลิกา นั้นจะมีเรือนเดี่ยว
เพื่อแสดงถึงวิถีของชาวบ้านในสมัย ร.ศ. ๑๒๔ ว่ามีวิถีชีวิตอย่างไร
ใกล้ๆกันเป็นเรือนคหบดี ที่แสดงวิถีความเป็นอยู่ของชนชั้นปกครองซึ่งจะมีกิจกรรมบนเรือน
เช่น งานใบตอง งานดอกไม้ งานเครื่องแขวน งานแกะสลักผลไม้ ซึ่งงานเหล่านี้เป็นงานวิจิตรที่จะใช้จริงในเมืองมัลลิกา
ด้านหลังเรือนคหบดีจะมีโรงครัว ประกอบด้วย โรงสี ยุ้งข้าว โรงเตรียม
แสดงกรรมวิธีการฝัดข้าว สีข้าว ตำข้าว พร้อมทั้ง การหุงข้าวเตากระทะใบบัว
แม่ครัวในโรงครัวนั้นต้องทำอาหารเลี้ยงบ่าวไพร่จำนวนมาก และประกอบอาหารคาวหวาน
เพื่อรับรองแขกเหรื่อ โดยเป็นการประกอบอาหารด้วยเตาถ่านทั้งสิ้น
มีการเดินกะลานวดเท้าด้วยนะครับ
สุดท้ายคือ เรือนหมู่
เป็นเรือนสำหรับรับรองแขกบ้านแขกเมือง ของคหบดีไทยซึ่งอาจเป็น
ขุนนางผู้ทรงศักดิ์ หรือคหบดีผู้มั่งคั่ง ซึ่งในสมัยนั้น นิยมมีคณะนาฎศิลป์ เป็นของตนเอง
สำหรับรับแขก ดังนั้นเมืองมัลลิกา จึงสร้างเรือนหมู่ ขึ้นซึ่งถือว่าเป็นเรือนหมู่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
โดยเรือนหมู่ดังกล่าวจะแสดงให้เห็นถึงวิถึชีวิต ของนาฎศิลป์ไทย ว่าใช้ชีวิตอย่างไรในเวลากลางวันและในเวลากลางคืน
เมื่อมีแขกบ้านแขกเมืองมาเยี่ยมเพื่อรับประทานอาหารเย็นนั้น บนเรือนจะมีการแสดงนาฎศิลป์ไทย
และเสริฟอาหารไทยโบราณทีคงความเป็นไทย ในแบบฉบับของไทย อาหารที่เป็นภูมิปัญญาไทย
ที่บรรพบุรุษของไทยได้สร้างสรรค์ไว้ให้ลูกหลานไทย เราจะเห็นอาหารที่เป็นภูมิปัญญาโดยแท้
อาหารทานเล่นนั้นเป็น ข้าวตังหน้าตั้ง
ส่วนอาหารในสำรับมี แกงกะทิสายบัว ยำทวาย แกงมัสมั่นไก่ น้ำพริกขี้กา
หมี่กรอบโบราณ และผลไม้สด
แกงกะทิสายบัว
ยำทวาย
แกงมัสมั่นไก่
น้ำพริกขี้กา
[SR] ไปเที่ยวกาญนะ....Ep.1 ท่องเมืองมัลลิกา นอนพักทรีธารา พร้อมภาพแบบ 360 องศา
คงเป็นเพราะว่าที่เมืองกาญนั้นมีสถานที่ท่องเที่ยวหลากหลาย
ทั้งวัด ถ้ำ น้ำตก ล่องเเพ และอยู่ใกล้กรุงเทพซึ่งก็ใช้เวลาเดินทางไม่นาน
และคราวนี้ผมก็ได้กลับมาเมืองกาญอีกครั้ง
เพื่อมาเที่ยวสถานที่ย้อนยุคอย่างเมืองมัลลิกา ร.ศ.124
และนอนพักแบบขุนนางเมืองหลวงที่ ทรีธารา
ในการเที่ยวครั้งนี้เราจะเที่ยวที่เมืองมัลลิกา ร.ศ.124 แบบ เต็มวันกว่าจะกลับก็ค่ำๆโน่น
เราจึงขอไปเช็คอินที่ทรีธาราก่อนครับ ถ้ามาตามแผนที่ก็ตามนี้เลยครับ
https://goo.gl/maps/C9a8cC8E8bB2
ทรีธารานั้นเป็นรีสอร์ทที่อยู่ในตัวอำเภอไทรโยค ติดแม่น้ำแควน้อย
ใกล้ทั้งแหล่งของกินอย่างตลาดนัด, 7-11
และอยู่ใกล้กับสถานีรถไฟถ้ำกระเเซมาก
ทางเข้าหาไม่ยาก อยู่ติดถนนทางไปถ้ำกระเเซ มีป้ายโรงแรมเหมือนแผ่นดินเผาใหญ่ๆ
เดินเข้ามาสู่รีเซฟชั่น
พร้อมรับเวลคัมดริ้งค์เป็นน้ำอัญชันเย็นๆ
ภายในรีสอร์ททรีธารานั้นร่มรื่นมากครับ เป็นเหมือนรีสอร์ทในสวน
ภาพแบบ 360 องศา https://goo.gl/FVDpv3
ที่ทรีธารามีสระว่ายน้ำด้วยนะครับ
อยู่ริมแม่น้ำแควน้อยเลย และน้ำไปมองแม่น้ำไป
แถมตอนเช้าๆมีช้างจากฝั่งตรงข้ามลงมาเล่นน้ำด้วยนะครับ
ภาพแบบ 360 องศา https://goo.gl/e8dfBX
ห้องพักที่เราพักในคืนนี้คือ villa a2 ตอนนี้มีโปรโมชั่นราคา 2,500 บาท พร้อมอาหารเช้า
เป็นไงบ้างที่นงที่นอนเมือนพวกคหบดีในสมัยก่อนมั้ย
ภาพแบบ 360 องศา https://goo.gl/BBuhDT
ภายในห้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบทั้ง
ทีวี ตู้เย็น กาน้ำร้อน ชุดชากาแฟ ไดร์เป่าผม เครื่องอาบน้ำ น้ำเปล่า
เอาล่ะเราแวะมาที่ทีธาราเพื่อที่จะเก็บของก่อน
จากนั้นเราจึงย้อนกลับไปเที่ยวที่เมืองมัลลิกา ร.ศ.124 กันนะขอรับ
เมืองมัลลิกา ร.ศ.124 นั้นตั้งอยู่บนถนนหมายเลข 323 (ถนนแสงชูโต) เลยขอรับ
ทางเข้าจะอยู่ติดกับปั้มบางจากเลย แผนที่ https://goo.gl/maps/q1rqe7b6mL62
จุดเด่นของสถานที่แห่งนี้คือ เมืองย้อนยุคของวิถีชีวิตชาวสยามบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
ภายในเมืองนี้ทั้งตึกรามบ้างช่อง ผู้คน การแต่งกาย รวมไปถึงคำพูดคำจา
ก็จะถูกย้อนยุคไปทั้งหมดนะขอรับ
เพื่อความอินในการเข้าชมเมืองมัลลิกา ร.ศ.124 แนะนำว่าให้เช่าชุดไทยเข้าไปเดินครับ
ซึ่งการแต่งกายชุดไทยนั้นมีให้บริการทั้งผู้ชายและผู้หญิง
ผู้หญิง มีให้เลือก 2 แบบ ได้แก่
ราคา 200 บาท : ผ้าสไบ โจงกระเบน เครื่องประดับ เข็มรัด และร่ม
ราคา 300 บาท : เสื้อแขนหมูแฮม พร้อมแพรสะพาย โจงกระเบน เครื่องประดับ เข็มขัด และร่ม
ผู้ชาย
ราคา 100 บาท : เสื้อกุยเฮง โจงกระเบน และผ้าคาดเอว
ราคา 300 บาท : เสื้อราชปะแตน โจงกระเบน
เด็ก
ราคา 50 บาท : เสื้อคอกระเช้าสำหรับผู้หญิง เสื้อกุยเฮงสำหรับผู้ชาย และโจงกระเบน
ราคาค่าเข้า ทุกวันรวมวันหยุดสุดสัปดาห์
ผู้ใหญ่ 200 บาท/ เด็ก, ผู้สูงอายุและผู้พิการ 100 บาท
ค่าเข้าชม+ สำรับเย็น + ชมการแสดง ราคา ผู้ใหญ่ 700 บาท เด็ก 350 บาท
เด็ก - ความสูงต่ำกว่า 100 cm. เข้าฟรี เด็กความสูงตั้งแต่ 100 - 130 cm.
และผู้สูงอายุ - อายุ 70 ปีขึ้นไปใช้ราคาเด็ก
แต่ตอนนี้มีโปรวันธรรมดา จันทร์ – ศุกร์
1.ค่าเข้า + ชุดไทย + สำรับเย็น ราคา 650 บาทต่อท่าน
2.ค่าเข้า + ชุดไทย ราคา 350 บาทต่อท่าน
ด้านหน้าของเมืองมัลลิกาจะเป็นกำแพงเมืองโบราณขนาดใหญ่สีขาว
เอาไว้ป้องกันพวกไททันเข้าเมือง??? ใช่หรอ????
ด้านหน้าประตูเมืองก็ยังมีรถลากในยุคเก่าก่อนหรือที่เราเรียกกันติดปากว่ารถเจ๊ก
รถที่ใช้คนลาก โดยส่วนใหญ่เป็นคนจีน
ที่อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕
การนั่งรถเจ๊กนี้มีค่าบริการ 50 บาท ต่อเที่ยวขอรับ
การซื้อของภายในเมืองมัลลิกา ร.ศ.124 นั้นเราจะเงินรู
เป็นเงินตราที่ใช้สมัยโบราณทั้งอยูธยาและสุโขทัย โดยมีอัตราการแลกเงินรู : 1 สตางค์ = 5 บาท
เมื่อเดินเข้ามาภายในเขตกำแพงเมืองมัลลิกา เราจะพบกับสะพานหัน
ชื่อนี้เรียกตามจาก ลักษณะของตัวสะพานที่ สมัยก่อนนั้นจะเป็นไม้แผ่นเดียวพาดข้ามคลอง
ปลายข้างหนึ่งตรึงแน่นกับที่ ส่วนอีกข้างจะไม่ตอกติด จับหันไปมาได้เพื่อให้เรือแล่นผ่านต่อมาใสมัยรัชกาลที่ 5
ได้เปลี่ยนทำเป็นแบบสะพานริอัลโตทีนครเวนิซ และที่ปองเตเวกคิโอ เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี
คือ เป็นสะพานไม้โค้งกว้าง สองฟากสะพานมีห้องแถวเล็กๆ ให้ขายของ ส่วนตรงกลางเป็นทางเดิน
ซึ่งสะพานนี้ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ชอบเสด็จประพาสเพื่อซื้อผลไม้แห้งที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ
เช่นลูกพลับแห้ง และผลไม้แห้งต่างๆ นานาชนิด
ถัดจากสะพานหัน เราจะเดินเข้าสู่ย่านการค้า
ในสมัย ร.ศ. ๑๒๔ มีย่านการค้าที่ขึ้นชื่อและมีสินค้ามากและทันสมัยสำหรับยุคสมัยนั้น ได้แก่
ย่านถนนแพร่งนรา, ถนนแพร่งภูธร, ถนนแพร่งสรรพศาสตร์ และย่านบางรัก
ในย่านการค้านี้จะมีของกินสมัยโบราณ เครื่องดื่ม และของที่ระลึกจำหน่ายมากมาย
ภาพแบบ 360 องศา https://goo.gl/VSY8nE
จากนั้นเราจะขึ้นไปหอชมเมืองกัน ซึ่งหอชมเมืองนี้จำลองมาจากหอคอยคุก
ซึ่งเป็นหอคอยที่ใช้สำหรับตรวจตราป้องกันมิให้นักโทษหนี
ซึ่งเมืองมัลลิกา ใช้สำหรับชมเมือง ว่ามีทัศนียภาพที่ว่างดงามเพียงใด
ภาพแบบ 360 องศา https://goo.gl/7KyVoG
เดินพ้นจากย่านการค้ามาเราจะพบกับ เรือนแพ
ในยุคสมัยนั้น การสัญจรไปมาส่วนใหญ่ใช้แม่น้ำ
ดังนั้นร้านค้าขายที่จะตั้งอยุ๋ริมน้ำเป็นส่วนใหญ่ซึ่งในเมืองมัลลิกาก็เข่นเดียวกัน
จะมีเรือนแพสำหรับค้าขาย เป็นร้านกาแฟ ตงฮู
ซึ่งเป็นร้านกาแฟที่ทันสมัยในยุคนั้นโดยการนำเข้าเมล็ดกาแฟสดจากต่างประเทศเข้ามา
และเพื่อรองรับนักเดินทาง ก็จะมีร้านข้าวแกงทรงโปรดในเรือนแพนี้ด้วย อันร้านข้าวแกงทรงโปรดนั้น
ทางเมืองมัลลิกาได้ นำเอาอาหารที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าทรงโปรดมา
เพื่อให้ประสกนิกร และนักท่องเที่ยวได้เห็นความเรียบง่ายของอาหาร
ที่มหาราชขของชนชาวไทยเสวยซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นอาหารที่ง่ายแต่มีความอร่อยอย่างไทยแท้
เราแวะที่เรือนเดี่ยว เป็นเรือนชาวบ้าน ซึ่งผู้ที่อาศัยอยู่เรือนนี้คือคนชนชั้นกรรมาชีพ
มีหน้าที่ ผลิตปัจจัยเบื้องต้นในการยังชีพอันได้แก่ การทำไร่ ทำนา ทำสวน ปลูกผัก
สีข้าว ทอผ้า จักสาน อันเป็นอาชีพทั่วไปของชนชั้นนี้ ในเมืองมัลลิกา นั้นจะมีเรือนเดี่ยว
เพื่อแสดงถึงวิถีของชาวบ้านในสมัย ร.ศ. ๑๒๔ ว่ามีวิถีชีวิตอย่างไร
ใกล้ๆกันเป็นเรือนคหบดี ที่แสดงวิถีความเป็นอยู่ของชนชั้นปกครองซึ่งจะมีกิจกรรมบนเรือน
เช่น งานใบตอง งานดอกไม้ งานเครื่องแขวน งานแกะสลักผลไม้ ซึ่งงานเหล่านี้เป็นงานวิจิตรที่จะใช้จริงในเมืองมัลลิกา
ด้านหลังเรือนคหบดีจะมีโรงครัว ประกอบด้วย โรงสี ยุ้งข้าว โรงเตรียม
แสดงกรรมวิธีการฝัดข้าว สีข้าว ตำข้าว พร้อมทั้ง การหุงข้าวเตากระทะใบบัว
แม่ครัวในโรงครัวนั้นต้องทำอาหารเลี้ยงบ่าวไพร่จำนวนมาก และประกอบอาหารคาวหวาน
เพื่อรับรองแขกเหรื่อ โดยเป็นการประกอบอาหารด้วยเตาถ่านทั้งสิ้น
มีการเดินกะลานวดเท้าด้วยนะครับ
สุดท้ายคือ เรือนหมู่
เป็นเรือนสำหรับรับรองแขกบ้านแขกเมือง ของคหบดีไทยซึ่งอาจเป็น
ขุนนางผู้ทรงศักดิ์ หรือคหบดีผู้มั่งคั่ง ซึ่งในสมัยนั้น นิยมมีคณะนาฎศิลป์ เป็นของตนเอง
สำหรับรับแขก ดังนั้นเมืองมัลลิกา จึงสร้างเรือนหมู่ ขึ้นซึ่งถือว่าเป็นเรือนหมู่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
โดยเรือนหมู่ดังกล่าวจะแสดงให้เห็นถึงวิถึชีวิต ของนาฎศิลป์ไทย ว่าใช้ชีวิตอย่างไรในเวลากลางวันและในเวลากลางคืน
เมื่อมีแขกบ้านแขกเมืองมาเยี่ยมเพื่อรับประทานอาหารเย็นนั้น บนเรือนจะมีการแสดงนาฎศิลป์ไทย
และเสริฟอาหารไทยโบราณทีคงความเป็นไทย ในแบบฉบับของไทย อาหารที่เป็นภูมิปัญญาไทย
ที่บรรพบุรุษของไทยได้สร้างสรรค์ไว้ให้ลูกหลานไทย เราจะเห็นอาหารที่เป็นภูมิปัญญาโดยแท้
อาหารทานเล่นนั้นเป็น ข้าวตังหน้าตั้ง
ส่วนอาหารในสำรับมี แกงกะทิสายบัว ยำทวาย แกงมัสมั่นไก่ น้ำพริกขี้กา
หมี่กรอบโบราณ และผลไม้สด
แกงกะทิสายบัว
ยำทวาย
แกงมัสมั่นไก่
น้ำพริกขี้กา