พระรังโรค(พระสูตร)

ภิกษุ ท. ! โรคสองอย่างเหล่านี้มีอยู่. สองอย่างอะไรกันเล่า ? สอง
อย่างคือ โรคทางกาย กับ โรคทางใจ
ภิกษุ ท. ! ย่อมเห็นกันอยู่แล้วว่า สัตว์ทั้งหลาย ที่ยืนยันถึงความไม่มี
โรคทางกายตลอด ๑ ปีบ้าง, ๒ ปีบ้าง, ๓ ปีบ้าง, ๔ ปีบ้าง, ๕ ปีบ้าง,
๑๐ ปีบ้าง, ๒๐ ปีบ้าง, ๓๐ ปีบ้าง, ๔๐ ปีบ้าง, ๕๐ ปีบ้าง, ๑๐๐ ปีบ้าง,
และที่ยืนยันถึงความไม่มีโรคทางกายยิ่งกว่า ๑๐๐ ปีบ้าง, ก็พอจะหาได้.
ภิกษุ ท. ! แต่หมู่สัตว์ ที่จะกล้ายืนยันถึงความไม่มีโรคทางใจแม้ชั่ว
เวลาเพียงครู่เดียว (มุหุตฺต) เว้นแต่พระขีณาสพแล้ว นับว่า หาได้แสนยากในโลก.
ภิกษุ ท. ! โรคของบรรพชิตสี่อย่างเหล่านี้. สี่อย่างอะไรกันเล่า ?
สี่อย่างคือ :-
(๑) ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้มักมาก มีความร้อนใจเพราะความมักมาก
อยู่เสมอ, ไม่รู้จักพอด้วยผ้านุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย และหยูกยาแก้ไข้ ตามมี
ตามได้.
(๒) ภิกษุนั้น เมื่อเป็นผู้มักมาก มีความร้อนใจเพราะความมักมากอยู่
เสมอ ไม่รู้จักพอด้วยผ้านุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย และหยูกยาแก้ไข้ ตามมี
ตามได้แล้ว, ย่อมตั้งความปรารถนาลามก เพื่อจะได้รับการคอยเอาอกเอาใจ
จากคนอื่น, และเพื่อจะได้ลาภสักการะและเสียงเยินยอ.
(๓) ภิกษุนั้น ย่อมวิ่งเต้น ขวนขวาย พยายาม เพื่อจะได้รับการ
เอาอกเอาใจจากคนอื่น, และเพื่อจะได้ลาภสักการะและเสียงเยินยอ.
(๔) ภิกษุนั้น ย่อมคิดวางแผนการเข้าสู่สกุล ย่อมคิดวางแผนการ
นั่งในสกุล ย่อมคิดวางแผนการกล่าวธรรมในสกุล ย่อมคิดวางแผนการทนกลั้น
อุจจาระปัสสาวะ คลุกคลีอยู่ในสกุล
ภิกษุ ท. ! โรคของบรรพชิตสี่อย่างเหล่านี้แล.
ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจ
ว่า “เราทั้งหลาย จักไม่เป็นผู้มักมาก, จักไม่เป็นผู้ร้อนใจเพราะความมักมาก,
แต่เป็นผู้รู้จักพอด้วยผ้านุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย และหยูกยาแก้ไข้ ตามมี
ตามได้ ; จักไม่ตั้งความปรารถนาลามก เพื่อให้ได้รับการคอยเอาอกเอาใจจาก
คนอื่น และเพื่อให้ได้ลาภสักการะและเสียงเยินยอ ; จักไม่วิ่งเต้น ขวนขวาย
พยายาม เพื่อให้ได้รับการคอยเอาอกเอาใจจากคนอื่น, และเพื่อให้ได้ลาภสักการะ
และเสียงเยินยอ ; จักเป็นผู้อดทนต่อหนาว ร้อน หิว กระหาย ต่อสัมผัสแห่ง
เหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์ยิ้มคลานทั้งหลาย, ต่อถ้อยคำหยาบคาย
ร้ายแรงต่างๆ, เป็นผู้อดทนต่อเวทนาที่เกิดในกาย อันเป็นทุกข์ กล้าแข็ง เผ็ดร้อน
ขมขื่นไม่เจริญใจ ถึงขนาดจะคร่าเอาชีวิตเสียได้” ดังนี้. ภิกษุ ท ! พวกเธอ
ทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้อย่างนี้แล.


๑. บาลี พระพุทธภาษิต จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๙๑/๑๕๗, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย.
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่