รู้สึกสังหรณ์ใจอยู่ลึกๆ ว่า ในระยะอันใกล้นี้อาจจะมีข่าวคราวเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษาของพระเณร. จึงถือโอกาสนี้แนะนำให้รู้จัก “โรงเรียนพระปริยัติธรรม” แบบคร่าวๆ ดังนี้:-
หลายท่านอาจจะพึ่งเคยผ่านตาและไม่ค่อยคุ้นเคยกับสถาบันศึกษาที่เรียกว่า “โรงเรียนพระปริยัติธรรม” นัก.....แต่ถ้าพูดถึง “มหาวิทยาลัยสงฆ์” หลายท่านอาจจะคุ้นหูคุ้นตามาบ้าง อย่างเช่น มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มหานิกาย)และมหามกุฏราชวิทยาลัย(ธรรมยุติ) ก่อนอื่น ควรต้องรับทราบว่า การมีมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งนั้นนั้น เป็นพระราชประสงค์ของสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ที่อยากจะให้ให้พระเณรได้เล่าเรียนศึกษาให้ทันทางโลก เพื่อปรับการสั่งสอนและปฏิบัติให้เข้ากับยุคสมัย พระองค์ทรงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในการสร้าง และทรงประทานพระนามของพระองค์ให้เป็นชื่อของมหาวิทยาลัย “มหาจุฬาลงการราชวิทยาลัย" (มหาวิทยาลัยสงฆ์) หรือชื่อย่อ “มจร.” อย่าสับสนกับ “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ของทางโลกนะครับ เมื่อมีมหาวิทยาลัยสงฆ์แล้ว ก็ต้องมีระดับเตรียมอุดมเพื่อป้อนให้พระและสามเณรเข้าเป็นนิสิต และโรงเรียนระดับเตรียมอุดมและก่อนเตรียมสำหรับพระเณรนั่นแหละครับเรียกว่า “โรงเรียนพระปริยัติธรรม สายสามัญ” คล้ายๆ กับมัธยมทั่วๆ ไปในเชิงโครงสร้าง(แต่แตกต่างมากพอสมควรในเชิงปฏิบัติ)
โรงเรียนพระปริยัติเป็น “ความหวัง” ของกุลบุตรที่ขาดโอกาสด้านการศึกษา แม้ภาครัฐจะมีนโยบาย “เรียนฟรี” ไปถึงระดับมัธยมแล้วก็ตาม แต่สำหรับครอบครัวที่ยากจนที่ไม่อาจรับค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆ ไหว การให้ลูกบวชเรียนจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือก บางท่านอาจจะมองว่าการ “บวชเรียน” เรียนในโรงเรียนพระปริยัติเป็นการเอาเปรียบในเชิงว่าบ้านก็ไม่ได้เช่า ข้าวก็ไม่ได้ซื้อ.....ถ้ามองในลักษณะนี้ก็เห็นจะเป็นจริง แต่ยังมีอีกหลากหลายมิติที่ควรมองและทำความเข้าใจด้วย ในภาพรวมหลักๆ แล้ว.....โรงเรียนพระปริยัติธรรมได้ผลิตในการพัฒนาคุณภาพประชากรมาอย่างมากมาย และอีกทางหนึ่งก็แก้ปัญหาประชากรด้อยโอกาสทางการศึกษาของชาติ พระสงฆ์สามเณรเหล่านั้น เมื่ออยู่ในสมณเพศต่อไปก็ถือเป็นฟันเฟืองในการขับเคลื่อนพระพุทธศาสนา หรือเมื่อสึกออกมา ส่วนใหญ่ก็เป็นประชากรที่ดีของชาติเป็นหรือเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชาติ สังคม และการศึกษา เช่น ท่านอาจารย์จำนงค์ ทองประเสริฐ ท่านเสฐียรพงษ์ วรรณปก ปิ๋น มุฑุกัณฑ์ ธนิต อยู่โพธิ์ ฯลฯ
ภาพพระเณรสะพายย่ามไปเรียนหนังสืออาจจะสร้างทัศนะคติได้สองหรือสามทาง บางคนเห็นแล้วก็พลอยยินดีกับท่าน บางท่านเห็นแล้วก็นึกครหาว่าเอาเปรียบสังคม บางคนเห็นแล้วก็วางอุเบกขาคือเฉยๆ.....แต่ยังมีคนอีกจำนวนมากที่ยังไม่เคยเห็นภาพเบื้องหลังการสะพายย่ามไปเรียนหนังสือของพระหนุ่มสามเณรน้อยเหล่านั้น ซึ่งไม่ใช่ว่าพระเณรทุกรูปจะมีโอกาสเช่นนั้น บางรูปต้องฝ่าฟันอุปสรรคและเงื่อนไขมากมาย เช่นวัดบางวัดมีนโยบายไม่ให้พระเณรเรียนปริยัติสายสามัญโดยเด็ดขาด!(ตั้งนโยบายไว้เพื่อเอาใจพระผู้ใหญ่และเพื่อไม่ให้กระทบตำแหน่งสังฆาธิการของตน) การอยู่ในบรรยากาศอย่างนั้น ก็มีพระเณรลูกวัดบางรูปที่ใฝ่เรียน ต้องยอมฝืนกฏ อาศัยโยนหนังสือเรียนข้ามกำแพงวัด สะพายย่ามเปล่าออกจากวัดแล้วย้อนไปเก็บเอาหนังสือเรียน หรือให้ลูกศิษย์วัดนำหนังสือไปดักรอที่ป้ายรถเมล์ มีหลากหลายวิธีที่ต้องหลีกเลี่ยง ถ้าโดนจับได้ก็อาจจะถูกไล่ออกจากวัดหรือสั่งให้หยุดเรียน ผมมีเพื่อนสามเณรรูปหนึ่งจากครอบครัวยากจนที่สุรินทร์ ตระเวณอาศัยไปนอนตามวัดนู่นวัดนี้ไปเรื่อยจนเรียนจบปริยัติสายสามัญ แล้วไปเรียนเนติที่รามต่อ ตอนนี้เป็นทนายความที่บ้านเกิด
....มาทำความรู้จัก "โรงเรียนพระปริยัติธรรม" สักนิด..../วัชรานนท์
หลายท่านอาจจะพึ่งเคยผ่านตาและไม่ค่อยคุ้นเคยกับสถาบันศึกษาที่เรียกว่า “โรงเรียนพระปริยัติธรรม” นัก.....แต่ถ้าพูดถึง “มหาวิทยาลัยสงฆ์” หลายท่านอาจจะคุ้นหูคุ้นตามาบ้าง อย่างเช่น มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มหานิกาย)และมหามกุฏราชวิทยาลัย(ธรรมยุติ) ก่อนอื่น ควรต้องรับทราบว่า การมีมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งนั้นนั้น เป็นพระราชประสงค์ของสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ที่อยากจะให้ให้พระเณรได้เล่าเรียนศึกษาให้ทันทางโลก เพื่อปรับการสั่งสอนและปฏิบัติให้เข้ากับยุคสมัย พระองค์ทรงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในการสร้าง และทรงประทานพระนามของพระองค์ให้เป็นชื่อของมหาวิทยาลัย “มหาจุฬาลงการราชวิทยาลัย" (มหาวิทยาลัยสงฆ์) หรือชื่อย่อ “มจร.” อย่าสับสนกับ “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ของทางโลกนะครับ เมื่อมีมหาวิทยาลัยสงฆ์แล้ว ก็ต้องมีระดับเตรียมอุดมเพื่อป้อนให้พระและสามเณรเข้าเป็นนิสิต และโรงเรียนระดับเตรียมอุดมและก่อนเตรียมสำหรับพระเณรนั่นแหละครับเรียกว่า “โรงเรียนพระปริยัติธรรม สายสามัญ” คล้ายๆ กับมัธยมทั่วๆ ไปในเชิงโครงสร้าง(แต่แตกต่างมากพอสมควรในเชิงปฏิบัติ)
โรงเรียนพระปริยัติเป็น “ความหวัง” ของกุลบุตรที่ขาดโอกาสด้านการศึกษา แม้ภาครัฐจะมีนโยบาย “เรียนฟรี” ไปถึงระดับมัธยมแล้วก็ตาม แต่สำหรับครอบครัวที่ยากจนที่ไม่อาจรับค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆ ไหว การให้ลูกบวชเรียนจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือก บางท่านอาจจะมองว่าการ “บวชเรียน” เรียนในโรงเรียนพระปริยัติเป็นการเอาเปรียบในเชิงว่าบ้านก็ไม่ได้เช่า ข้าวก็ไม่ได้ซื้อ.....ถ้ามองในลักษณะนี้ก็เห็นจะเป็นจริง แต่ยังมีอีกหลากหลายมิติที่ควรมองและทำความเข้าใจด้วย ในภาพรวมหลักๆ แล้ว.....โรงเรียนพระปริยัติธรรมได้ผลิตในการพัฒนาคุณภาพประชากรมาอย่างมากมาย และอีกทางหนึ่งก็แก้ปัญหาประชากรด้อยโอกาสทางการศึกษาของชาติ พระสงฆ์สามเณรเหล่านั้น เมื่ออยู่ในสมณเพศต่อไปก็ถือเป็นฟันเฟืองในการขับเคลื่อนพระพุทธศาสนา หรือเมื่อสึกออกมา ส่วนใหญ่ก็เป็นประชากรที่ดีของชาติเป็นหรือเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชาติ สังคม และการศึกษา เช่น ท่านอาจารย์จำนงค์ ทองประเสริฐ ท่านเสฐียรพงษ์ วรรณปก ปิ๋น มุฑุกัณฑ์ ธนิต อยู่โพธิ์ ฯลฯ
ภาพพระเณรสะพายย่ามไปเรียนหนังสืออาจจะสร้างทัศนะคติได้สองหรือสามทาง บางคนเห็นแล้วก็พลอยยินดีกับท่าน บางท่านเห็นแล้วก็นึกครหาว่าเอาเปรียบสังคม บางคนเห็นแล้วก็วางอุเบกขาคือเฉยๆ.....แต่ยังมีคนอีกจำนวนมากที่ยังไม่เคยเห็นภาพเบื้องหลังการสะพายย่ามไปเรียนหนังสือของพระหนุ่มสามเณรน้อยเหล่านั้น ซึ่งไม่ใช่ว่าพระเณรทุกรูปจะมีโอกาสเช่นนั้น บางรูปต้องฝ่าฟันอุปสรรคและเงื่อนไขมากมาย เช่นวัดบางวัดมีนโยบายไม่ให้พระเณรเรียนปริยัติสายสามัญโดยเด็ดขาด!(ตั้งนโยบายไว้เพื่อเอาใจพระผู้ใหญ่และเพื่อไม่ให้กระทบตำแหน่งสังฆาธิการของตน) การอยู่ในบรรยากาศอย่างนั้น ก็มีพระเณรลูกวัดบางรูปที่ใฝ่เรียน ต้องยอมฝืนกฏ อาศัยโยนหนังสือเรียนข้ามกำแพงวัด สะพายย่ามเปล่าออกจากวัดแล้วย้อนไปเก็บเอาหนังสือเรียน หรือให้ลูกศิษย์วัดนำหนังสือไปดักรอที่ป้ายรถเมล์ มีหลากหลายวิธีที่ต้องหลีกเลี่ยง ถ้าโดนจับได้ก็อาจจะถูกไล่ออกจากวัดหรือสั่งให้หยุดเรียน ผมมีเพื่อนสามเณรรูปหนึ่งจากครอบครัวยากจนที่สุรินทร์ ตระเวณอาศัยไปนอนตามวัดนู่นวัดนี้ไปเรื่อยจนเรียนจบปริยัติสายสามัญ แล้วไปเรียนเนติที่รามต่อ ตอนนี้เป็นทนายความที่บ้านเกิด