จากกรณีรับน้องของ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคอีสาน ที่ปรากฏภาพ นักศึกษาชายและหญิง ในลักษณะที่แก้มใกล้ชิดกัน
โดยเป็นข่าวอยู่สักระยะ และได้สรุปผลบทลงโทษออกมาแล้ว
https://manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9600000068949
ที่น่าแปลกใจ คือ บทลงโทษแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
1. นักศึกษาที่เป็นคนนำรูปภาพไปโพสต์ในโลกออนไลน์ มีจำนวน 2 คน ซึ่ง เป็นการกระทำที่ทำให้นักศึกษาหญิงสาวที่อยู่ในภาพเกิดความเสียหาย
ถูกลงโทษตัดคะแนนความประพฤติ 10 คะแนน แจ้งให้ผู้ปกครองทราบ และให้บำเพ็ญประโยชน์ 100 ชั่วโมง
2. นักศึกษารุ่นพี่ที่ควบคุมฐานกิจกรรม มีจำนวน 4 คน
ถูกลงโทษตัดคะแนนความประพฤติ 5 คะแนน แจ้งให้ผู้ปกครองทราบ และให้บำเพ็ญประโยชน์ 50 ชั่วโมง
3. นักศึกษาที่อยู่ในฐานกิจกรรม ซึ่งเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่ร่วมทำกิจกรรมดังกล่าวจำนวนกว่า 40 คน
ถูกลงโทษด้วยการภาคทัณฑ์ และให้บำเพ็ญประโยชน์ 50 ชั่วโมง[\b]
สังเกตดีๆ จะพบว่าโทษแบ่งออกเป็น หนัก กลาง เบา
ด้วยสามัญสำนึกแบบคนทั่วไป เราคงคิดว่า คนที่กระทำผิดต้องรับโทษหนัก คนที่เป็นเหยื่อไม่ควรรับโทษ
แต่ไม่รู้ด้วยสาเหตุอะไร คนที่รับโทษหนักสุด คือ คนที่เปิดเผย คนที่เป็นเหยื่อต้องรับโทษด้วย ส่วนคนทำผิดรับกลางๆ
แต่... ไม่มีอาจารย์หรือบุคลากรของมหาวิทยาลัยรับโทษเลย
อยากรู้ว่า คนที่มีอำนาจของ มหาลัยแห่งนี้ ใช้ตรรกะ อะไรตัดสินตามนี้ เพราะเชื่อว่าหลายคนจะคิดเอาว่า
ชื่อเสียงมหาวิทยาลัยสำคัญกว่าจิตใจของนักศึกษา ทำให้คนที่เปิดเผยส่งผลต่อชื่อเสียงมหาวิทยาลัยมีโทษที่หนักสุด
คนกระทำผิด ถ้าไม่เปิดเผยก็คงไม่มีบทลงโทษ ยังดีไม่ลงโทษ น้องคนในรูป ฐานยอมให้ถูกกระทำ
เทียบเคียงกรณีรับน้องของ มหาวิทยาลัยที่หัวหิน ที่เกิดเหตุดังในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน
พี่สาวของเหยื่อ ได้พบอธิการบดี "ไม่ต้องห่วงชื่อเสียงมหาลัย เดี๋ยวก็กู้ได้ ตอนนี้ห่วงความรู้สึกจิตใจของน้องก่อน"
และลงโทษถึงขั้น พักการเรียน คนทำผิด
ทำไมถึงแตกต่างได้เพียงนี้ มหาลัยแห่งนั้นในอีสาน ต้องการสอนให้ คนโดนทำผิดต้องทำใจ ต้องซุกความผิดไว้เพื่อชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยใช่หรือไม่
ในอนาคต เหยื่อต้องทนรับสภาพเพื่อชื่อเสียงของสถานที่มากกว่าหรืออย่างไร หรือชีวิตและจิตใจของคนมันไม่สำคัญ
แปลกใจบทลงโทษ "รับน้อง มหาลัยในอีสาน" มหาวิทยาลัยต้องการสอนอะไรแก่สังคม?
โดยเป็นข่าวอยู่สักระยะ และได้สรุปผลบทลงโทษออกมาแล้ว
https://manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9600000068949
ที่น่าแปลกใจ คือ บทลงโทษแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
1. นักศึกษาที่เป็นคนนำรูปภาพไปโพสต์ในโลกออนไลน์ มีจำนวน 2 คน ซึ่ง เป็นการกระทำที่ทำให้นักศึกษาหญิงสาวที่อยู่ในภาพเกิดความเสียหาย ถูกลงโทษตัดคะแนนความประพฤติ 10 คะแนน แจ้งให้ผู้ปกครองทราบ และให้บำเพ็ญประโยชน์ 100 ชั่วโมง
2. นักศึกษารุ่นพี่ที่ควบคุมฐานกิจกรรม มีจำนวน 4 คน ถูกลงโทษตัดคะแนนความประพฤติ 5 คะแนน แจ้งให้ผู้ปกครองทราบ และให้บำเพ็ญประโยชน์ 50 ชั่วโมง
3. นักศึกษาที่อยู่ในฐานกิจกรรม ซึ่งเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่ร่วมทำกิจกรรมดังกล่าวจำนวนกว่า 40 คน ถูกลงโทษด้วยการภาคทัณฑ์ และให้บำเพ็ญประโยชน์ 50 ชั่วโมง[\b]
สังเกตดีๆ จะพบว่าโทษแบ่งออกเป็น หนัก กลาง เบา
ด้วยสามัญสำนึกแบบคนทั่วไป เราคงคิดว่า คนที่กระทำผิดต้องรับโทษหนัก คนที่เป็นเหยื่อไม่ควรรับโทษ
แต่ไม่รู้ด้วยสาเหตุอะไร คนที่รับโทษหนักสุด คือ คนที่เปิดเผย คนที่เป็นเหยื่อต้องรับโทษด้วย ส่วนคนทำผิดรับกลางๆ
แต่... ไม่มีอาจารย์หรือบุคลากรของมหาวิทยาลัยรับโทษเลย
อยากรู้ว่า คนที่มีอำนาจของ มหาลัยแห่งนี้ ใช้ตรรกะ อะไรตัดสินตามนี้ เพราะเชื่อว่าหลายคนจะคิดเอาว่า
ชื่อเสียงมหาวิทยาลัยสำคัญกว่าจิตใจของนักศึกษา ทำให้คนที่เปิดเผยส่งผลต่อชื่อเสียงมหาวิทยาลัยมีโทษที่หนักสุด
คนกระทำผิด ถ้าไม่เปิดเผยก็คงไม่มีบทลงโทษ ยังดีไม่ลงโทษ น้องคนในรูป ฐานยอมให้ถูกกระทำ
เทียบเคียงกรณีรับน้องของ มหาวิทยาลัยที่หัวหิน ที่เกิดเหตุดังในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน
พี่สาวของเหยื่อ ได้พบอธิการบดี "ไม่ต้องห่วงชื่อเสียงมหาลัย เดี๋ยวก็กู้ได้ ตอนนี้ห่วงความรู้สึกจิตใจของน้องก่อน"
และลงโทษถึงขั้น พักการเรียน คนทำผิด
ทำไมถึงแตกต่างได้เพียงนี้ มหาลัยแห่งนั้นในอีสาน ต้องการสอนให้ คนโดนทำผิดต้องทำใจ ต้องซุกความผิดไว้เพื่อชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยใช่หรือไม่
ในอนาคต เหยื่อต้องทนรับสภาพเพื่อชื่อเสียงของสถานที่มากกว่าหรืออย่างไร หรือชีวิตและจิตใจของคนมันไม่สำคัญ