การรับน้องคืออยากไห้น้องรู้จักกัน หรือแค่อยากเอาคืนจากรุ่นพี่ปีที่แล้ว แล้วมาลงกับรุ่นน้องหรอ การรู้จักกันมันมีหลายวิธีนะ หรืออยากให้น้องมีระเบียบวินัย แล้วรุ่นมีระเบียบวินัยหรือป่าวที่จะมาสอนน้อง
ไปเจอคอมเมนต์นึงในอีกเว็บ อ่านแล้วรู้สึกตอบคำถามแทนเราได้หมด ขอเอามาแชร์นะคะ
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ส่วนตัวดิฉันไม่เห็นด้วยกับรูปแบบการจัดกิจกรรมของนิสิตนักศึกษาไทยนะคะ
โดยเฉพาะการว๊ากและรับน้องแบบต้องมาจัดระเบียบแถว แล้วร้องด่าโวกเวก เพราะเหมือนคนด้อยพัฒนาและไม่สามารถเจริญสติปัญญาได้
ส่วนเรื่องการติดป้ายชื่อดิฉันก็ไม่เห็นด้วยค่ะ เพราะไม่ใช่วิธีการสร้างสรรค์ แต่เป็นการบังคับ ไม่ใช่การสมใจยินยอม
ดิฉันเคยสอนอยู่ในมหาวิทยาลัยในไทยมาก่อน จึงรู้วิธีการของเด็กเหล่านี้ดีว่าเขาทำการบังคับเด็กน้องใหม่ยังไงบ้าง
เคยไปถามเด็กที่มานั่งเรียนไหมละคะว่าทำไมต้องแขวนป้าย แม้แต่จะทำปฎิบัติการ ขับขี่รถ ไปไหนทุกเวลา เกือบ 24 ชั่วโมงต้องแขวนป้ายชื่อตลอดเวลา
ถ้าไปถามจะได้คำตอบคล้าย ๆ กันคือ ไม่กล้าถอดออก เพราะรุ่นพี่บังคับ หรือจะบอกว่ารุ่นพี่บอกว่าถ้าถอดจะไม่ได้รุ่น
คำตอบแบบนี้ไม่ใช่วิธีการสร้างสรรค์เพื่อให้เราได้รู้จักกันนะคะ
ลองถามย้อนตัวเองดูสิคะว่าตอนเราเป็นเด็กประถม มัธยม เราต้องแขวนป้ายชื่อขนาดกระดาษ A4 กันไหม
ย้ำว่าหลายคณะมีป้ายชื่อขนาด A4 แขวนคอไปไหนตลอดเกือบ 24 ชม. เลยนะคะ ตอนเราเป็นเด็ก เราจะรู้จักเพื่อนในห้องเรียน จำเป็นไหมต้องทำขนาดนี้
เด็กต่างประเทศ ในประเทศที่เจริญแล้ว ที่เรายังไปพึ่งเทคโนโลยีเขา เขาก็ไม่เคยทำอะไรกันแบบนี้เลยค่ะ
ดิฉันเรียนที่ต่างประเทศมาตั้งแต่วัยรุ่น เห็นอะไรมาเยอะแยะ ก็ไม่เคยเห็นมหาวิทยาลัยไหนในประเทศออสเตรเลีย อังกฤษ นิวซีแลนด์ อเมริกา ทำแบบนี้เลยค่ะ แม้แต่ญี่ปุ่นก็ไม่ทำกัน
แต่ทำไมประเทศเหล่านี้ทุกมีบัณฑิตที่มีคุณภาพมากกว่าเรา จบไปเป็นที่ต้องการในบริษัทระดับโลก มีคนต้องการตัวมากกว่าบัณฑิตไทย
แถมคนเหล่านั้นจำนวนมาก กลายเป็นคนที่ผลิตคิดค้นเทคโนโลยีต่าง ๆ รวมถึงนวัตกรรมทางการแพทย์มาให้คนไทยใช้อีกที
ดิฉันไม่ปฎิเสธว่าการทำกิจกรรมเสริมเป็นเรื่องที่ดี แต่การทำกิจกรรมควรจะอยู่บนพื้นฐานสิทธิมนุษยชนที่ดี และไม่ใช่การบังคับให้ใครทำ เพื่อ
1. สนองกิเลสตัวเอง หรือ 2. เพื่อบอกว่าถ้าไม่ทำ จะไม่ได้หน่วยกิจกรรม หรือ 3. ทำเพื่อให้ได้รุ่น
เพราะที่เมืองนอกไม่มีใครทำแบบนี้แน่นอน ไม่มีเลย แต่เขากลับเจริญกว่าเรา และก็รู้จักกันได้ โดยวิธีอื่น
เวลาจะเข้าชมรมกีฬา หรือชมรมต่าง ๆ เขาก็ใช้วิธี advertise แล้วก็นัดวัดมายื่นใบสม้คร แล้วถ้าเราสนใจ เราก็แค่ไปสมัครและร่วมกิจกรรมตามที่ชมรมกำหนด
จะแข่งกีฬาระหว่างคณะ (Interfaculty sports) ก็แค่มีการโฆษณาผ่านเว็บและทำแผ่นป้ายโฆษณา ชมรมกีฬาไหนในคณะที่ต้องการคนมาเล่นแข่ง ก็จะประกาศหาคน
แต่เมืองไทยเหรอ คือการเกณฑ์คนแบบการบังคับ โดยอ้างว่า ถ้าใครไม่ลงกีฬาหรือทำอะไร จะไม่ให้รุ่น จะไม่ได้รับการยอมรับจากรุ่นพี่ หรืออ้างเหตุผลที่ไม่เข้าท่า ซึ่งมันไม่ใช่วิธีการที่ดีเท่าไหร่
ในทำนองเดียวกัน เรื่องการทำแผ่นป้ายชื่อ ก็เป็นการบังคับให้น้องต้องสวมใส่ป้ายชื่อตลอดเวลา จะกินข้าว ขี่รถ ขับรถ ไปข้างนอกก็ต้องสวมใส่ เรียนปฎิบัติการที่ต้องถอดก็ไม่ยอมถอด
ดิฉันเคยบอกเด็กว่าทำไมถึงไม่ถอด ในเมื่อมันจะขวางการทำแลบ เด็กกลับบอกว่าถ้าถอด รุ่นพี่หรือเพื่อนไปบอกรุ่นพี่ รุ่นพี่จะลงโทษในเวลาเข้าเชียร์ ดูสิคะ
ขนาดอาจารย์บอกเด็กยังไม่เชื่อ แต่ไปเชื่อรุ่นพี่ นี่คือวิธีการคิดที่ผิดปกติของระบบการศึกษาไทยนะคะ
ถ้าใครคิดว่าการสวมใส่ป้ายเป็นการทำให้คนรู้จักกันมากขึ้น แต่ไม่ได้มองประเด็นเบื้องหลังพวกนี้ แสดงว่าคุณไม่เข้าใจรูปแบบการสร้างกฎสังคมที่ถูกต้อง
เพราะจะบอกว่ารุ่นพี่เหล่านี้ หรือเด็กเหล่านี้ หลังออกจากกิจกรรมเชียร์ เขาก็ไม่ได้สนใจจะทำตามกฎกติกาสังคมเท่าไหร่อยู่แล้ว
ไม่สิ ต้องบอกว่าแม้อยู่ในช่วงเข้ากิจกรรมเชียร์ เด็กเหล่านี้ก็ไม่เคยสนใจกฎกติกาสังคมส่วนรวม ไปดูได้เลย เขาจอดรถไม่เป็นระเบียบ เพื่อมาเข้าเชียร์และจอดขวางถนน
เขาเชื่อคำสั่งรุ่นพี่ และรุ่นพี่ก็บังคับน้องได้อย่างสมบูรณ์แบบ แต่ตัวรุ่นพี่เองกลับไม่เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับรุ่นน้อง
จิตสำนึกพื้นฐานต่อกฎเกณฑ์สังคมส่วนรวมเขากลับทำไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นการจอดรถไม่ขวางทางจราจร (เพราะส่วนใหญ่จะจอดข้างทางสะเปะสะปะ) ไม่ฝ่าไฟแดง ไม่ทิ้งขยะเกลื่อนหลังเชียร์
เมื่อจิตสำนึกพื้นฐานยังทำไม่ได้ (ทั้ง ๆ ที่เขาออกคำสั่งเรื่องไร้สาระให้น้องทำตาม) เพราะฉะนั้น เรื่องว่าสวมป้ายคอ (เหมือนปลอกคอสุนัข) แล้วจะทำให้คนรู้จักกันดีขึ้น มันก็แค่ข้ออ้างเท่านั้นค่ะ
สังคมที่ดีและมีคุณภาพ เขารู้จักกันได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการเช่นนี้หรอกค่ะ วิธีการแบบนี้ไม่ใช่วิธีของปัญญาชนค่ะ
ส่วนใครอยากสืบทอดวัฒนธรรมแย่ ๆ แบบนี้ต่อไป หรือเป็นผู้ใหญ่ที่สนับสนุนเรื่องแย่ ๆ ต่อ ก็เชิญค่ะ เพราะดิฉันมองว่าคนประเภทนี้คือคนด้อยพัฒนาและไร้คุณภาพค่ะ
การรับน้องควรมีอยู่ไหม???
ไปเจอคอมเมนต์นึงในอีกเว็บ อ่านแล้วรู้สึกตอบคำถามแทนเราได้หมด ขอเอามาแชร์นะคะ
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ส่วนตัวดิฉันไม่เห็นด้วยกับรูปแบบการจัดกิจกรรมของนิสิตนักศึกษาไทยนะคะ
โดยเฉพาะการว๊ากและรับน้องแบบต้องมาจัดระเบียบแถว แล้วร้องด่าโวกเวก เพราะเหมือนคนด้อยพัฒนาและไม่สามารถเจริญสติปัญญาได้
ส่วนเรื่องการติดป้ายชื่อดิฉันก็ไม่เห็นด้วยค่ะ เพราะไม่ใช่วิธีการสร้างสรรค์ แต่เป็นการบังคับ ไม่ใช่การสมใจยินยอม
ดิฉันเคยสอนอยู่ในมหาวิทยาลัยในไทยมาก่อน จึงรู้วิธีการของเด็กเหล่านี้ดีว่าเขาทำการบังคับเด็กน้องใหม่ยังไงบ้าง
เคยไปถามเด็กที่มานั่งเรียนไหมละคะว่าทำไมต้องแขวนป้าย แม้แต่จะทำปฎิบัติการ ขับขี่รถ ไปไหนทุกเวลา เกือบ 24 ชั่วโมงต้องแขวนป้ายชื่อตลอดเวลา
ถ้าไปถามจะได้คำตอบคล้าย ๆ กันคือ ไม่กล้าถอดออก เพราะรุ่นพี่บังคับ หรือจะบอกว่ารุ่นพี่บอกว่าถ้าถอดจะไม่ได้รุ่น
คำตอบแบบนี้ไม่ใช่วิธีการสร้างสรรค์เพื่อให้เราได้รู้จักกันนะคะ
ลองถามย้อนตัวเองดูสิคะว่าตอนเราเป็นเด็กประถม มัธยม เราต้องแขวนป้ายชื่อขนาดกระดาษ A4 กันไหม
ย้ำว่าหลายคณะมีป้ายชื่อขนาด A4 แขวนคอไปไหนตลอดเกือบ 24 ชม. เลยนะคะ ตอนเราเป็นเด็ก เราจะรู้จักเพื่อนในห้องเรียน จำเป็นไหมต้องทำขนาดนี้
เด็กต่างประเทศ ในประเทศที่เจริญแล้ว ที่เรายังไปพึ่งเทคโนโลยีเขา เขาก็ไม่เคยทำอะไรกันแบบนี้เลยค่ะ
ดิฉันเรียนที่ต่างประเทศมาตั้งแต่วัยรุ่น เห็นอะไรมาเยอะแยะ ก็ไม่เคยเห็นมหาวิทยาลัยไหนในประเทศออสเตรเลีย อังกฤษ นิวซีแลนด์ อเมริกา ทำแบบนี้เลยค่ะ แม้แต่ญี่ปุ่นก็ไม่ทำกัน
แต่ทำไมประเทศเหล่านี้ทุกมีบัณฑิตที่มีคุณภาพมากกว่าเรา จบไปเป็นที่ต้องการในบริษัทระดับโลก มีคนต้องการตัวมากกว่าบัณฑิตไทย
แถมคนเหล่านั้นจำนวนมาก กลายเป็นคนที่ผลิตคิดค้นเทคโนโลยีต่าง ๆ รวมถึงนวัตกรรมทางการแพทย์มาให้คนไทยใช้อีกที
ดิฉันไม่ปฎิเสธว่าการทำกิจกรรมเสริมเป็นเรื่องที่ดี แต่การทำกิจกรรมควรจะอยู่บนพื้นฐานสิทธิมนุษยชนที่ดี และไม่ใช่การบังคับให้ใครทำ เพื่อ
1. สนองกิเลสตัวเอง หรือ 2. เพื่อบอกว่าถ้าไม่ทำ จะไม่ได้หน่วยกิจกรรม หรือ 3. ทำเพื่อให้ได้รุ่น
เพราะที่เมืองนอกไม่มีใครทำแบบนี้แน่นอน ไม่มีเลย แต่เขากลับเจริญกว่าเรา และก็รู้จักกันได้ โดยวิธีอื่น
เวลาจะเข้าชมรมกีฬา หรือชมรมต่าง ๆ เขาก็ใช้วิธี advertise แล้วก็นัดวัดมายื่นใบสม้คร แล้วถ้าเราสนใจ เราก็แค่ไปสมัครและร่วมกิจกรรมตามที่ชมรมกำหนด
จะแข่งกีฬาระหว่างคณะ (Interfaculty sports) ก็แค่มีการโฆษณาผ่านเว็บและทำแผ่นป้ายโฆษณา ชมรมกีฬาไหนในคณะที่ต้องการคนมาเล่นแข่ง ก็จะประกาศหาคน
แต่เมืองไทยเหรอ คือการเกณฑ์คนแบบการบังคับ โดยอ้างว่า ถ้าใครไม่ลงกีฬาหรือทำอะไร จะไม่ให้รุ่น จะไม่ได้รับการยอมรับจากรุ่นพี่ หรืออ้างเหตุผลที่ไม่เข้าท่า ซึ่งมันไม่ใช่วิธีการที่ดีเท่าไหร่
ในทำนองเดียวกัน เรื่องการทำแผ่นป้ายชื่อ ก็เป็นการบังคับให้น้องต้องสวมใส่ป้ายชื่อตลอดเวลา จะกินข้าว ขี่รถ ขับรถ ไปข้างนอกก็ต้องสวมใส่ เรียนปฎิบัติการที่ต้องถอดก็ไม่ยอมถอด
ดิฉันเคยบอกเด็กว่าทำไมถึงไม่ถอด ในเมื่อมันจะขวางการทำแลบ เด็กกลับบอกว่าถ้าถอด รุ่นพี่หรือเพื่อนไปบอกรุ่นพี่ รุ่นพี่จะลงโทษในเวลาเข้าเชียร์ ดูสิคะ
ขนาดอาจารย์บอกเด็กยังไม่เชื่อ แต่ไปเชื่อรุ่นพี่ นี่คือวิธีการคิดที่ผิดปกติของระบบการศึกษาไทยนะคะ
ถ้าใครคิดว่าการสวมใส่ป้ายเป็นการทำให้คนรู้จักกันมากขึ้น แต่ไม่ได้มองประเด็นเบื้องหลังพวกนี้ แสดงว่าคุณไม่เข้าใจรูปแบบการสร้างกฎสังคมที่ถูกต้อง
เพราะจะบอกว่ารุ่นพี่เหล่านี้ หรือเด็กเหล่านี้ หลังออกจากกิจกรรมเชียร์ เขาก็ไม่ได้สนใจจะทำตามกฎกติกาสังคมเท่าไหร่อยู่แล้ว
ไม่สิ ต้องบอกว่าแม้อยู่ในช่วงเข้ากิจกรรมเชียร์ เด็กเหล่านี้ก็ไม่เคยสนใจกฎกติกาสังคมส่วนรวม ไปดูได้เลย เขาจอดรถไม่เป็นระเบียบ เพื่อมาเข้าเชียร์และจอดขวางถนน
เขาเชื่อคำสั่งรุ่นพี่ และรุ่นพี่ก็บังคับน้องได้อย่างสมบูรณ์แบบ แต่ตัวรุ่นพี่เองกลับไม่เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับรุ่นน้อง
จิตสำนึกพื้นฐานต่อกฎเกณฑ์สังคมส่วนรวมเขากลับทำไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นการจอดรถไม่ขวางทางจราจร (เพราะส่วนใหญ่จะจอดข้างทางสะเปะสะปะ) ไม่ฝ่าไฟแดง ไม่ทิ้งขยะเกลื่อนหลังเชียร์
เมื่อจิตสำนึกพื้นฐานยังทำไม่ได้ (ทั้ง ๆ ที่เขาออกคำสั่งเรื่องไร้สาระให้น้องทำตาม) เพราะฉะนั้น เรื่องว่าสวมป้ายคอ (เหมือนปลอกคอสุนัข) แล้วจะทำให้คนรู้จักกันดีขึ้น มันก็แค่ข้ออ้างเท่านั้นค่ะ
สังคมที่ดีและมีคุณภาพ เขารู้จักกันได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการเช่นนี้หรอกค่ะ วิธีการแบบนี้ไม่ใช่วิธีของปัญญาชนค่ะ
ส่วนใครอยากสืบทอดวัฒนธรรมแย่ ๆ แบบนี้ต่อไป หรือเป็นผู้ใหญ่ที่สนับสนุนเรื่องแย่ ๆ ต่อ ก็เชิญค่ะ เพราะดิฉันมองว่าคนประเภทนี้คือคนด้อยพัฒนาและไร้คุณภาพค่ะ