ในวันนี้แอดจะมาเล่าถึงผ้า #ไหมอีรี่ (Eri silk) ซึ่งเป็นผ้าไหมที่ได้จากไหมป่าพันธุ์ Samia cynthia ricini ซึ่งเป็นไหมอีกชนิดหนึ่งที่เริ่มมีการนิยมเพาะเลี้ยงในประเทศไทยนะครับ
ซึ่งปกติแล้วผ้าไหมที่ใช้ตามปกติในไทยนั้นเป็น “ไหมบ้าน” พันธุ์ Bombyx mori ที่มีการใช้งานมากมายในไทย ดังที่แอดเคยเล่าในลิงก์นี้นะครับ
https://www.facebook.com/textile.phys.and.chem/photos/a.507291945975911.112460.506996079338831/1172923999412699/?type=3&theater
แต่ไหมอีรี่ (ภาษาอัสสัม : এৰি ৰেচম) จัดว่าเป็นหนึ่งใน “ไหมป่า” ไม่กี่พันธุ์ที่สามารถเพาะเลี้ยงได้เต็มวงจรชีวิตในบ้านได้ โดยที่ชื่อ “eri” นั้นมาจากภาษาอัสสัมคำว่า “era” ที่แปลว่า “ต้นละหุ่ง” ที่เป็นแหล่งอาหารและพักอาศัยของเค้าน่ะครับ
โดยที่มีการกระจายพันธุ์เค้าที่บริเวณภาคเหนือของอินเดีย เนปาล จีนบางส่วน ญี่ปุ่ และในประเทศไทย
นอกจากที่เค้าสามารถกินใบละหุ่งเป็นอาหารได้แล้ว ใบมันสำปะหลังก็ยังเป็นอาหารที่ดีของเค้าด้วย ทำให้เราสามารถที่จะเลี้ยงด้วยของเหลือใช้จากการเพาะปลูกมันสำปะหลังได้ด้วย
เนื่องจากว่า “รังไหมอีรี่” นั้นมีปลายเปิดด้านหนึ่งทำให้เวลาผีเสื้อแก่พอที่จะออกจากรังไหมนั้นสามารถออกมาได้โดยที่รังไม่เสียหาย จึงทำให้เราสามารถเก็บเกี่ยวเส้นใยไหมได้ หลังจากที่ชีวิตน้อยๆของผีเสื้อได้บินออกจากรังไปแล้ว
โดยที่ไม่จำเป็นต้องต้มตัวไหมทั้งรังให้ตายทั้งเป็นแบบ “ไหมบ้าน” น่ะครับ ทำให้บางทีเราอาจจะเรียกไหมอีรี่ว่า “ไหมเจ” (Vegan silks) ก็ได้น่ะครับ เพราะกระบวนการทำนั้น "ไม่ได้ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต" เลย 😁
ซึ่งแอดก็ขอขอบคุณเนื้อความในย่อหน้านี้ตามลิงก์นี้ด้วยนะครับ
https://www.facebook.com/groups/734710249885642/permalink/1485598614796798/
เนื่องจากไหมอิรี่ได้มาจากรังปลายเปิด จึงทำให้ใยไหมที่ได้นั้นไม่เป็นเส้นใยยาว (filament yarn) เหมือนกับไหมบ้านพันธุ์ Bombyx mori น่ะครับ แต่กลับได้เป็นเส้นใยสั้น (staple fibers) แทน รวมไปถึงภาพตัดขวางของเค้าค่อนข้างจะไม่เป็นระเบียบเท่าไรนัก
ทำให้ผ้าที่ทอจากไหมอีรี่นั้นมีลักษณะผิวสัมผัสคล้ายผ้าฝ้ายที่มีความเงามันแบบไหม และมีความไม่สม่ำเสมอค่อนข้างสูง แต่ก็เป็นเอกลักษณ์ที่เด่นชัดของไหมอีรี่นั่นแหละ 😁
ผ้าที่ทอจากไหมอีรี่นั้นมีความนุ่ม ยืดหยุ่นได้ดี แต่มีความแข็งแรงทนทานสูง อีกทั้งยังสามารถควบคุมความชื้นได้ดีด้วย จึงทำให้สามารถรักษาอุณหภูมิขณะสวมใส่ได้ดี พูดง่ายๆก็คือว่า ยามที่อากาศหนาวก็จะสวมแล้วอบอุ่น ในขณะที่อากาศร้อนก็จะทำให้สวมแล้วเย็นสบายนั่นเอง 😁
อีกทั้งผ้าที่ได้นั้นมีความทึบและมีน้ำหนักมากกว่าไหมบ้านพันธุ์ Bombyx mori น่ะครับ ทำให้เวลาสวมใส่แล้วไม่โป๊ และไม่จำเป็นต้องใส่ผ้าซับในเวลาตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าด้วย
สมบัติการย้อมสีของเค้าก็เหมือนผ้าไหมทุกประการ ทั้งการย้อมด้วยสีธรรมชาติและสีสังเคราะห์อย่าง Acid dyes/Cathionic dyes/Reactive dyes/Metal complex dyes เป็นต้น
ดังนั้น “ไหมอีรี่” จึงจัดว่าเป็นอะไรที่น่าสนใจสำหรับการสร้างอาชีพของเกษตรกรไทยมากๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเพิ่มมูลค่าของใบมันสำปะหลังที่ปกติเป็นของเหลือทิ้งเวลาเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ดีเลย 😁
ขอบคุณบทความจากเพจ เคมีฟิสิกส์ของสิ่งทอ อาหาร และของรอบตัว
https://www.facebook.com/textile.phys.and.chem/photos/a.507291945975911.112460.506996079338831/1568115729893522/?type=3&theater
ผ้าไหมอีรี่ (Eri silk) หรืออาจเรียกว่า “ไหมเจ” (Vegan silks)
ซึ่งปกติแล้วผ้าไหมที่ใช้ตามปกติในไทยนั้นเป็น “ไหมบ้าน” พันธุ์ Bombyx mori ที่มีการใช้งานมากมายในไทย ดังที่แอดเคยเล่าในลิงก์นี้นะครับ
https://www.facebook.com/textile.phys.and.chem/photos/a.507291945975911.112460.506996079338831/1172923999412699/?type=3&theater
แต่ไหมอีรี่ (ภาษาอัสสัม : এৰি ৰেচম) จัดว่าเป็นหนึ่งใน “ไหมป่า” ไม่กี่พันธุ์ที่สามารถเพาะเลี้ยงได้เต็มวงจรชีวิตในบ้านได้ โดยที่ชื่อ “eri” นั้นมาจากภาษาอัสสัมคำว่า “era” ที่แปลว่า “ต้นละหุ่ง” ที่เป็นแหล่งอาหารและพักอาศัยของเค้าน่ะครับ
โดยที่มีการกระจายพันธุ์เค้าที่บริเวณภาคเหนือของอินเดีย เนปาล จีนบางส่วน ญี่ปุ่ และในประเทศไทย
นอกจากที่เค้าสามารถกินใบละหุ่งเป็นอาหารได้แล้ว ใบมันสำปะหลังก็ยังเป็นอาหารที่ดีของเค้าด้วย ทำให้เราสามารถที่จะเลี้ยงด้วยของเหลือใช้จากการเพาะปลูกมันสำปะหลังได้ด้วย
เนื่องจากว่า “รังไหมอีรี่” นั้นมีปลายเปิดด้านหนึ่งทำให้เวลาผีเสื้อแก่พอที่จะออกจากรังไหมนั้นสามารถออกมาได้โดยที่รังไม่เสียหาย จึงทำให้เราสามารถเก็บเกี่ยวเส้นใยไหมได้ หลังจากที่ชีวิตน้อยๆของผีเสื้อได้บินออกจากรังไปแล้ว
โดยที่ไม่จำเป็นต้องต้มตัวไหมทั้งรังให้ตายทั้งเป็นแบบ “ไหมบ้าน” น่ะครับ ทำให้บางทีเราอาจจะเรียกไหมอีรี่ว่า “ไหมเจ” (Vegan silks) ก็ได้น่ะครับ เพราะกระบวนการทำนั้น "ไม่ได้ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต" เลย 😁
ซึ่งแอดก็ขอขอบคุณเนื้อความในย่อหน้านี้ตามลิงก์นี้ด้วยนะครับ
https://www.facebook.com/groups/734710249885642/permalink/1485598614796798/
เนื่องจากไหมอิรี่ได้มาจากรังปลายเปิด จึงทำให้ใยไหมที่ได้นั้นไม่เป็นเส้นใยยาว (filament yarn) เหมือนกับไหมบ้านพันธุ์ Bombyx mori น่ะครับ แต่กลับได้เป็นเส้นใยสั้น (staple fibers) แทน รวมไปถึงภาพตัดขวางของเค้าค่อนข้างจะไม่เป็นระเบียบเท่าไรนัก
ทำให้ผ้าที่ทอจากไหมอีรี่นั้นมีลักษณะผิวสัมผัสคล้ายผ้าฝ้ายที่มีความเงามันแบบไหม และมีความไม่สม่ำเสมอค่อนข้างสูง แต่ก็เป็นเอกลักษณ์ที่เด่นชัดของไหมอีรี่นั่นแหละ 😁
ผ้าที่ทอจากไหมอีรี่นั้นมีความนุ่ม ยืดหยุ่นได้ดี แต่มีความแข็งแรงทนทานสูง อีกทั้งยังสามารถควบคุมความชื้นได้ดีด้วย จึงทำให้สามารถรักษาอุณหภูมิขณะสวมใส่ได้ดี พูดง่ายๆก็คือว่า ยามที่อากาศหนาวก็จะสวมแล้วอบอุ่น ในขณะที่อากาศร้อนก็จะทำให้สวมแล้วเย็นสบายนั่นเอง 😁
อีกทั้งผ้าที่ได้นั้นมีความทึบและมีน้ำหนักมากกว่าไหมบ้านพันธุ์ Bombyx mori น่ะครับ ทำให้เวลาสวมใส่แล้วไม่โป๊ และไม่จำเป็นต้องใส่ผ้าซับในเวลาตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าด้วย
สมบัติการย้อมสีของเค้าก็เหมือนผ้าไหมทุกประการ ทั้งการย้อมด้วยสีธรรมชาติและสีสังเคราะห์อย่าง Acid dyes/Cathionic dyes/Reactive dyes/Metal complex dyes เป็นต้น
ดังนั้น “ไหมอีรี่” จึงจัดว่าเป็นอะไรที่น่าสนใจสำหรับการสร้างอาชีพของเกษตรกรไทยมากๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเพิ่มมูลค่าของใบมันสำปะหลังที่ปกติเป็นของเหลือทิ้งเวลาเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ดีเลย 😁
ขอบคุณบทความจากเพจ เคมีฟิสิกส์ของสิ่งทอ อาหาร และของรอบตัว
https://www.facebook.com/textile.phys.and.chem/photos/a.507291945975911.112460.506996079338831/1568115729893522/?type=3&theater