หยุดรักครั้งนี้ต้องทำอย่างไร?

เราไปอ่านเจอบทความอันหนึ่ง ดีมากๆ ตอนเราอกหักเราก็ทำแบบนี้นะ แต่อันนี้เค้าอธิบายว่าทำไมมันถึงได้ผล วิธีง่ายๆ ที่หลายๆ คนไม่ยอมทำค่ะ

เครดิต
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

หยุดรักครั้งนี้ต้องทำอย่างไร? แบบฝึกหัดคนใจสลายจากนักประสาทวิทยา

ใครบ้างไม่เคยอกหัก ใครที่อกหักใจสลายอยู่ก็คงอยากได้แนวทาง อยากได้แบบฝึกหัดในการฝึกหัวใจที่เว้าแหว่งให้กลับมาแข็งแรงดังเดิม



อกหักเป็นเรื่องธรรมดา ความรักเป็นเรื่องลึกลับและซับซ้อน การลงทุนความรักไปก็ไม่ได้หมายความว่ารักนั้นจะได้รับการตอบสนอง หรือจะผลิดอกออกผลยืนยงไปจนนิรันดร์  ดังนั้นหัวใจและความรู้สึกของเราที่แสนจะบาง เลยเป็นสิ่งที่เราต้องจัดการให้มันแข็งแรง รักร้างเรื่องปกติ และจะฟื้นตื่นจากความรักอย่างไร นักประสาทวิทยามี ‘แบบฝึกหัด’ เพื่อฝึกหัวใจในภาวะใจสลายมาบอก คือ อย่าทำอะไรที่เราจะเสียใจขึ้นไปอีกและเสียใจเมื่อทำลงไปแล้ว



ในทางความรู้สึก อาการอกหักคือภาวะความเจ็บปวดทางอารมณ์ที่เราเผชิญจากการที่ความรักและความปรารถนาต่อคนอีกคนไม่ได้รับการตอบสนอง ‘อาการ’ อกหักจาก ‘ความรู้สึก’ ที่เรารู้สึกว่าหัวใจมันโหวงๆ ช่องอกของเรามันเหมือนอะไรแหว่งๆ นั้น ในทางกายภาพวิท ยาศาสตร์บอกว่าการเผชิญความเจ็บปวดทางอารมณ์ส่งผลกับ ‘ร่างกาย’ ของเราจริงๆ

ความเศร้าอย่างรุนแรงมีผลกับร่างกายและสุขภาพเราอย่างเป็นรูปธรรม ขณะที่เราเผชิญกับอาการใจสลาย ระบบภูมิคุ้มกันของเราลดต่ำลง ความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มสูงขึ้น กล้ามเนื้อสำคัญๆ เกิดอาการอ่อนแรง ความเศร้าโศกทำให้ฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) หลั่งมากกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดความรู้สึกหักๆ คันๆ ในพื้นที่ช่วงอกของเรา (เห็นมั้ย ไม่ได้คิดไปเอง!)



ความอ่อนแอของหัวใจส่งผลให้ร่างกายของเราอ่อนแอ


ถ้ารักมันผ่านพ้นไปแล้วแต่หัวใจยังร้าวรานอยู่ แถมภาวะใจสลายยังส่งผลเสียต่อทั้งสุขภาพจิตและสุขภาพใจ ไอ้คำพูดที่ว่าตัดใจ เลิกเศร้าได้แล้ว แค่พูดมันก็แสนจะง่าย แต่ใจก็รู้ๆ ว่าการจะทำใจได้นั้นแสนจะยากเย็น คำแนะนำพื้นฐานก็บอกว่า ถ้ามีแผลก็อย่าไปเกา ปล่อยให้เวลาทำหน้าที่ของมันไป คนอกหักก็ต้องดูแลตัวเอง ควบคุมตัวเอง อย่าเอาตัวเองไปอยู่ในอะไรที่จะสะกิดให้แผลเปิด



Barbara Sahakian ศาสตราจารย์คลินิกทางจิตประสาทวิทยา (neuropsychology) จากมหาวิทยาลัย Cambridge พยายามทำความเข้าใจและหาทางออกจากการศึกษาสมองและพฤติกรรมของมนุษย์ งานวิจัยหลักๆ ของเธออยู่ที่การใช้แบบทดสอบทางคอมพิวเตอร์ เช่นการให้กดปุ่มลูกศรตามลูกศรที่ปรากฏขึ้นบนจอ เพื่อเป็นการฝึก ‘การควบคุมตัวเอง’ (self-control) ของผู้เข้าร่วมการทดลอง

การตอบสนองต่อภาวะรักร้าวที่สำคัญคือการ ‘อดใจ’ จากความรักที่จบสิ้นลงไปแล้ว การ ‘ตัดใจจากความรัก’ คือการฝึก ‘การควบคุมตัวเอง’ งานศึกษาหลักๆ ของ Sahakian คือใช้การฝึกสมองเพื่อยับยั้งพฤติกรรมที่ถูกกระตุ้นจากอาการผิดปกติทางจิตใจ ซึ่งตรงนี้เองสำหรับคนที่ใจป่วย งานศึกษานี้ก็ถือว่าครอบคลุมด้วยได้



คำแนะนำสำคัญจากผู้เชี่ยวชาญจึงบอกคนที่รักร้าวว่า การจะถอนใจจากรักที่พังไปคือการฝึกสมองให้ระงับการกระทำที่จะทำให้เราเสียใจในเวลาต่อมา เช่น การไปเล่นซ้ำเรื่องเก่าๆ ที่ไม่มีวันได้กลับมา การส่งข้อความไปหาคนที่ไม่ใช่ของเราอีกต่อไปแล้ว การควบคุมตัวเองให้เลิกทำในสิ่งที่ห้ามใจได้ยากนี่แหละที่เป็นแบบฝึกใจสำคัญที่จะทำให้ผ่านพ้นช่วงเวลาแห่งความยากลำบากไปได้

ผู้วิจัยบอกว่า “สิ่งที่แย่ที่สุดที่พวกคนอกหักจะทำคือ การอยู่บ้านคนเดียวแล้วรื้อฟื้นว่าความทรงจำจากความรักความสัมพันธ์ (ที่มันไม่มีอีกต่อไปแล้ว) มันสวยงามแค่ไหน” – ซึ่งมันจะยิ่งโคตรเศร้า เพราะมันสวยงามก็จริง แต่ก็เป็นแค่อดีตที่สิ้นสุดลงไปแล้ว ซึ่งการทำแบบนี้ ซักพักเราก็จะเสียใจไงว่าทำแบบนี้ไปทำไมวะ

ถ้าเป็นวิถีในการฝึกสมองอย่างที่ Sahakian ทำก็คือเราอาจเข้าไปนั่งเจอแบบทดสอบให้กดปุ่มไปเรื่อยๆ ซักชุดหนึ่ง แต่ตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ การเอาตัวเองออกจากการจ่อมจมกับอดีตก็ดูเป็นทางที่ถูกต้องในการ ‘ก้าวต่อไป’



เพราะคำว่า ‘เสียดาย’ เป็นเรื่องของอดีต วันนี้ เวลานี้ อะไรที่จบแล้วก็ถือว่าจบไป ความเสียใจที่ยังคงหลังเหลืออยู่ เราเองก็รู้ว่าถ้าทำอะไรแล้วยิ่งเสียใจขึ้นไปอีก

แล้วจะไปทำทำไม!
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่