10อันดับกษัตริย์และราชินีแห่งอังกฤษ ที่ครองราชย์สั้นที่สุด

ดินแดนอังกฤษ หรือแค้วนอังกฤษในสมัยโบราณ มีความหมายคือดินแดนแห่งแองเกิล
เป็นดินแดนที่เก่าแก่ มีเอกลักษณ์ และมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ยังเป็นประเทศที่มีกษัตริย์ปกครองมายาวนานเกินพันปี  
ท่ามกลางกระแสเวลาระบอบการปกครองพัฒนาและล่มหายไหลผ่านยุคผ่านสมัย ทว่าระบอบและสถาบันกษัตริย์อังกฤษก็ยังดำรงไว้
สถาบันที่มีความคลาสสิคและเก่าแก่เช่นราชวงศ์อังกฤษมีอยู่ไม่มากแล้ว ราชวงศ์จีนก็ไม่มีอยู่แล้วมีสถาบันจักรพรรดิญี่ปุ่นที่ยังคงอยู่
    เราคงทราบแน่แท้ว่ากษัตริย์หรือสมเด็จพระราชินีนาถ ที่ครองราชย์นานที่สุดของเกาะอังกฤษคือ "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร" พระราชพิธีพัชราภิเษกในปี พ.ศ. 2555 เป็นปีที่ทรงเฉลิมฉลองการครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี(Diamond Jubilee ) และในปี พ.ศ.2558 สามารถครองราชย์ยาวนานชนะสถิติของ"สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย" ที่ทรงทำไว้ในระยะเวลา 63 ปี 7เดือน 2 วันแม้ทราบสถิติยาวนานสูงสุดไปแล้ว แล้วสิบอันดับที่ครองราชย์สั้นที่สุดละ มีพระองค์ไหนบ้าง
ขอเรียงสิบอันดับดังต่อไปนี้

                                  
"เริ่มจากอันดับ 10"
พระเจ้าเจมส์ที่ สอง(ราชวงศ์สจ๊วต )(ระยะเวลา ราว ราว 3ปีกว่า)
ขึ้นครองราชย์ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685- 23 ธันวาคม ค.ศ.1688
            “กษัตริย์เทวสิทธิองค์สุดท้าย”
             เราขอย้อนเวลาไปสู่อังกฤษในช่วง เลยหลังช่วงยุคสงครามกลางเมืองนิดหน่อย ซึ่งตรงกับยุคสมเด็จพระนารายณ์มหาราชตอนปลาย- สมเด็จพระเพทราชา เวลานั้นอังกฤษเอง ถึงแม้จะเริ่มได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีอำนาจในยุโรประดับหนึ่งแล้ว และยิ่งชัยชนะจากสงครามทางทะเลอาร์มาดาด้วยแล้ว ทำให้อังกฤษไต่แร้งกิ้งอำนาจแห่งยุโรปขึ้นมาแนวหน้าได้เลยทีเดียว แต่กระนั้น คนเราแข็งแรงภายนอก แต่อ่อนแอในได้ ประเทศหรืออาณาจักรเองก็เช่นกัน สังคมเราเคยมีคนกล่าวว่า การเมือง ศาสนา ความเชื่อ อย่าได้ถก เพราะถกแล้วจะยาว มันเป็นเรื่องไม่เข้าใครออกใคร ร้อยพ่อพันแม่ ร้อยครอบครัวพันอาจารย์หมื่นตำรา จะนับถ้วนได้หมดรึ? อังกฤษเองก็หนีวังวันของความขัดแย้งของศาสนาไม่พ้นเหมือนกัน ความขัดแย้งของกลุ่มคาทอลิกดั้งเดิมกับกลุ่มสายปฏิรูปฝ่ายโปรเตสแตนด์ นับว่าเรื้อรังพัวพันกันยาวนานตั้งแต่ รัชสมัยพระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 แห่งทิวดอร์ ราชวงศ์ที่แล้ว มีการผลัดกันรุกผลัดกันรับ ผลัดกันเป็นใหญ่ ระหว่างสองนิกายนี้มาอย่างยาวนาน จะบอกว่าเลือดและขี้เถ้าของจำนวนคนที่ถูกเผาเพราะความเชื่อต่างนิกายกันนั้นสามารถสร้างเป็น “เทพีเสรีเลือด”ขนาดใหญ่ก็ยังได้
                         เราจะมากล่าวถึงแค่ยุคของพระองค์ พระเจ้าเจมส์ที่2 สาเหตุและความเป็นมาของพระองค์แบบสั้นสั้นเท่านั้น
พระองค์มีเชื้อสายสก๊อตแลนด์ ตามมาตรฐานของราชวงศ์สจ๊วตแห่งอังกฤษ กล่าวคือยุคนี้ คือสมัยแห่งการเป็นสหราชอาณาจักรอย่างแท้จริง สก๊อตแลนด์ที่เป็นไม้เบื่อ ไม้เมากับอังกฤษมายาวนานถูกรวมเป็นสหราชอาณาจักรบริเตนสมัยราชวงศ์สจ๊วตนี่เอง แน่นอนเมื่อปู่ของพระองค์คือ กษัตริย์พระเจ้าเจมส์ที่ 1แห่งอังกฤษ แต่ก็เป็นพระเจ้าเจมส์ที่ 6แห่งสก๊อตแลนด์ด้วยเช่นกันครับ ส่วนพระเจ้าเจมส์ที่2 ตัวเอกของเราก็เช่นกันครับ พระองค์เป็นพระเจ้าเจมส์ที่ 7แห่งสก๊อตแลนด์ด้วยเช่นกัน และมีสิทธิปกครองถึงไอร์แลนด์ด้วย ถึงแม้พระองค์จะมีรัชสมัยยาวนานแค่สามปี แต่ก็มีเหตุการณ์สำคัญพอสมควรที่จะเปลี่ยนแปลงโลกได้.......
                                     หลังจากครองราชย์ได้ไม่นาน พระเจ้าเจมส์ที่ 2 ก็มีเหตุการณ์กบฎโดย The Earl of Argyll ที่ต้องการสนับสนุน Duke of Monmouthโอรสนอกฎหมายของพระเจ้าชาร์ลที่ 2ขึ้นครองบังลังก์ แต่ถูกปราบได้ที่ Battle of Sedgemoor แน่นอนพวกเขาถูกไต่สวนและประหารชีวิต Duke of Monmouth ลงทุนคุกเข่าขอชีวิตกับลุงของเขาเอง(โอ้.. คล้ายลิโป้เลย)ซึ่งก็คือพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แต่พระองค์ไม่สนใจ การประหารต้องลงขวานถึงหกครั้งถึงจะประหารสำเร็จ (ลิโป้ ในหงสาราชันย์ใช่ไหมเนี่ย!!)
พระองค์ทรงประกาศอย่างเปิดเผยที่ จะนำอังกฤษกลับสู่อ้อมอกของนิกายคาทอลิคอีกครั้งโดยการจัดตั้งกองกำลังทหาร 13,000 ใกล้กับกรุงลอนดอนเพื่อจัดการผู้ที่ไม่เห็นด้วย การที่ดำเนินนโยบายด้านศาสนาที่แข็งกร้าว ทำให้เกิดการโต้เถียงกับสถาบันศาสนาและรัฐสภา ยิ่งการที่พระองค์ทรงคุกเข่าให้ตัวแทนของพระสันตะปะปา สำหรับชาวอังกฤษแล้วเป็นการเสื่อมเสียศักดิ์ศรีของษัตริย์อังกฤษอย่างมาก
ปี ค.ส.1688 กลุ่มศัตรูของพระองค์เคลื่อนไหวแค่ 6 เดือนจึงก่อการสำเร็จ โดยจาการที่เหล่าหัวหน้าพวกต่อต้านที่มีพวกทอรี หรือพวกอนุรักษ์นิยม ได้เชิญเจ้าชายวิลเลี่ยมแห่งราชวงศ์ออเรนจ์(ฮอลแลนด์)และพระชายาแมรี่(ซึ่งทั้งสองคนก็คือลูกเขยกับพระธิดาแท้แท้ของพระเจ้าเจมส์ที่ 2 ) ได้ยกพลขึ้นบกที่ทอร์เบย์13,000นาย พระเจ้าเจมส์ที่ 2 พยายามต่อต้านแล้ว ได้ทำการรบทัพจับศึก แต่ไม่เป็นผลสำเร็จเพราะแพ้กองทหารปืนใหญ่ ทำให้พระงอค์สูญเสียบังลังก์ไปเพราะลูกเขยของตนเองนั่นเอง ต่อมาจึงลี้ภัยไปที่ฝรั่งเศสและไม่ได้หวนคืนกลับมาเป็นกษัตริย์อังกฤษอีกเลย
             -เกร็ดเหตุการณ์สำคัญ-
             -การโค่นบังลังก์ของเจ้าชายวิลเลี่ยม เรียกกันอย่างเท่เท่ว่า "การปฏิวัติอันรุ่งโรจน์"Glorious Revolution ถือเป็นจุดสิ้นสุดของระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในอังกฤษ ทำให้กษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ
             -ปีค.ศ.1687 เซอร์ไอแซ็ค นีวตันได้พิมพ์หนังสือ Mathematical Principles of Natural Philosophy "Principia"อันโด่งดังตลอดกาลนั่นเอง ก็ออกมาในรัชกาลพระเจ้าเจมส์ที่ 2 ด้วย
รูปภาพโดย Peter Lely



                                  
อันดับ 9 (ระยะเวลา 3ปี 313 วัน)
Edwy The Fair เอ็ดวี่หรือ เอ็ดวิก,รูปงาม (ราชวงศ์เวสเซกส์)
ครองราชย์ 23 พ.ย.ค.ศ.955-1ตุลาคม ค.ศ.959 ยุคสมัยไล่เลี่ยกับอันดับ 8 นะครับ
                                         จะว่ากันตรงตรงถึงจะเป็นแค่เพียงระยะเพียงสามร้อยกว่าวัน แต่ก็ช่างเป็นเวลาอันยุ่งยากเสียเหลือเกินที่สำหรับใครบางคน..   พระราชาหนุ่มเริ่มครองราชย์ ด้วยวัยเพียง 15 ชันษา ซึ่งเอาจริงจริงแล้ว มันคงยังเยาว์ไปอยู่ดีสำหรับที่จะให้มารับภารกิจบริหารบ้านเมือง  และแค่เริ่มต้นก็มีแต่เรื่องปวดหัวและอื้อฉาวเสียแล้ว ในเดือนมกราคม ปี956 พระราชาเอ็ดวี่ ได้ลุกจากงานเลี้ยงฉลองพิธีราชาภิเษกตั้งแต่งานยังไม่เสร็จ เพื่อเสด็จไปหาหญิงทรงโปรด ชื่อเอล์ฟจิว่า ซึ่งเป็นญาติฝั่งมารดา เรื่องนี้ถึงหูอาร์คบิช็อปแห่งแคนเทอเบอรี่ โอดา จึงสั่งให้ดันสแตนเจ้าคณะแห่ง กลาสตันเบอรี่(เขาเป็นคนเก่าแก่ของราชกาลที่แล้ว) ไปตามยุวราชออกมา ปู่ดันฯ พบเอ็ดวี่ กับประทับอยู่กับ เอล์ฟจีวาและแม่ของเธอเอเธลจิวา ในสภาพไม่เหมาะสม (โห... หรือว่า - -*)
                                         ปู่ดันเราไม่รอช้า แยกทั้งสองคนออกจากสภาพ18+ ออกทันที ย้ำว่าจากอกสองแม่ลูกด้วย( โห!! พระเจ้า )และบังคับ เอ็ดวีมาร่วมพิธี  ต่อมาโอดาได้ยกเลิกพิธีการอภิเษกออกไปและขับไล่เอล์ฟจิว่าออกจากวังไป ต่อมาสภาไวตันแบ่งอาณาจักรออกเป็นสองส่วน พระอนุชาเอ็ดก้าร์ได้ปกครอง เมอร์เซีย นอร์ทธัมเบรีย ส่วนเอ็ดวี่ ได้ครองเพียงแคว้นเวสเซสและเค้นท์ ราวราวเดือนกันยายน ค.ศ.959 เอล์ฟจิวาเสียชีวิตที่กลอสเตอร์ ส่วนเอ็ดวี่ถูกลอบปลงพระชนม์ที่ 1 ตุลาคม ว่ากันว่า โอดะคุง มีส่วนรับรู้แน่แน่ โอดาจากโลกไป และปู่ดันรับตำแหน่งสืบทอดแทน


                                  
อันดับ 8 2ปี 253วัน
(นักบุญ) พระเจ้าเอ็ดเวิร์ด เดอะ มาร์ทยร์(Edward the Martyr)
(ราชวงศ์เวสเซกส์หรือสมัยแองโกล-แซกซัน)
ครองราชย์ 8 ก.ค.975 - 18มีนา. ปี978
พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเป็นโอรสแห่งพระราชาเอ็ดก้าร์กับพระมเหสีเอเธอเฟลด้าร์
สถานะ:กษัตริย์แห่งอังกฤษ (ไม่เคยสมรส)
   ปีค.ศ.975 ตรงกับพ.ศ.1519 ราวราวช่วงหลังสงครามสงครามสามนคร ช่วงสุพรรณภูมิหรือละโว้ ก่อนยุคกรุงสุโขทัยสองร้อยปีและตรงกับรัชกาลพระเจ้าซ่งไท่จู่ (เจ้า ควงอิ้น)แห่งราชวงศ์ซ่งของจีน)
                                    นี่เป็นเรื่องราวของราชวงศ์เวสเซกส์ ซึงดินแดนอังกฤษเริ่มเป็นปึกแผ่นแล้วเพราะมีการรุกรานของกองทัพไวกิ้งซึ่งปกติอาณาจักรในเกาะบริเตนมี 7อาณาจักรที่อำนาจมากที่อยู่ ซึ่งในยุคนี้ อาณาจักรWessex 1ใน7  มีพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช ที่โด่งดังที่สุดสามารถยุติสงครามกับพวกไวกิ้งได้ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดก็คือเชื้อสายลูกหลานของพระเจ้าอัลเฟรดมหาราชนั่นเอง อาณาจักรอื่นอื่นก็มีอำนาจลดหลั่นกันมาแล้วแต่ยุคแล้วแต่สมัย
พระองค์อายุเพียง13ชันษาก็ขึ้นครองราชย์แทนพระราชบิดาพระราชาเอ็ดก้าร์ที่สิ้นพระชนม์ไป พระราชมารดาเลี้ยงเอลฟรีด้าแห่งเดว่อน ได้พยายามโน้มน้าวให้สภาไวตันเลือกพระโอรสของพระนางคือ "เอเธอลเรด"ผู้ไม่พร้อมขึ้นครองแทน แต่ไม่เป็นผล(ซึ่งโอรสของนางตัวเอเธลเรด อายุเพียง10ปี ไม่ต่างกันเท่าไรกับพระราชาเอ็ดเวิร์ด ห่วย!!)
                                     พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดถูกสังหารระหว่างการไปเยี่ยมพระอนุชาต่างมารดาของตนที่Corfe ภายหลังมีการเปิดโปงว่าเป็นแผนของเอลฟรีด้า พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดถูกยกย่องให้เป็นนักบุญ St. ในปีค.ศ.1001 เนื่องจากภายหลังหลุมพระศพของพระองค์มีปาฎิหารย์ที่เกิดขึ้นหลายครั้ง และมีรูปวาดว่าพระองค์ถูกแม่เลี้ยงแทงตายบนหลังม้า มีดาวหางปรากฎในสมัยพระองค์ ทำให้เกิดลางร้ายและข้าวยากหมากแพงด้วย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่