ในนัดชิงบอลถ้วย อะไรก็ได้สักถ้วย แฟนบอลของทั้งสองทีม รู้สึกตื่นเต้น ตื่นตัว รู้สึกกระสับกระส่าย เครียดกระวนกระวาย ประหม่า ความรู้สึกเหล่านี้ จะยังคงมีตั้งแต่ ก่อนแข่ง ไปถึงเสียงนกหวีดเริ่มการแข่งขัน ไปยันจบการแข่งขัน และยังมีความรู้สึกอีกมากมาย ตามมาหลังจบการแข่งขัน ลิงโลดดีใจ ของผู้ชนะ หดหู่เศร้าหมองของผู้แพ้ เกิดอะไรขึ้นในสมองของเราบ้างเวลาเราดูกีฬา ? เรามาดูกันดีกว่าครับ
สิ่งที่เกิดขึ้นในสมองขณะที่รับชมกีฬาก็เป็นสิ่งเดียวกับที่เกิดในขณะเล่นกีฬา
เมื่อเรารับชมการแข่งขันกีฬา สิ่งที่เกิดในสมองของเราก็เหมือนกับเราเล่นกีฬานั้นๆอยู่ ราวกับว่าการเคลื่อนไหวของนักกีฬาคนนั้น คือการเคลื่อนไหวของเรานะครับ ในสมองของเราซีกขวา จะมีเซล์สมองตัวนึง ชื่อว่า เซลล์สมองกระจกเงา
THE MIRROR-NEURON SYSTEM (ค้นพบโดย 2 นักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาลี
Giacomo Rizzolatti and Laila Craighero จากมหาวิทยาลัยปาร์มา อ่านเพิ่มเติมได้ที่ source) ซึ่งเป็นเซลล์ที่สามารถตอบสนอง ต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ต่างๆ ของมนุษย์ เช่นการตอบสนองต่อการมองเห็น การได้ยิน การได้เห็นภาพ โดยเฉพาะผ่านการกระทำของผู้อื่น ยิ่งเป็นการเคลื่อนไหวที่เคยเห็นจนคุ้นเคย เจนตา เราจะยิ่งสามารถรับรู้การกระทำเหล่านั้น คาดเดา การกระทำต่อไป และสมองของเราก็จะจำลองวิธีคิดที่ทำให้เกิดการกระทำเหล่านั้นไว้ในหัวด้วย และสามารถทำให้เข้าใจ เป้าประสงค์ของผู้กระทำและเหตุการณ์เชื่อมโยงที่จะทำให้เกิดผลตามมาได้อีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราเห็นการกระทำอะไรสักอย่างในการเล่นกีฬาที่เป็นการจุดประกาย เช่นในกรณีฟุตบอล คือ การกระทำอะไรสักอย่างที่เป็นการจุดประกายและนำไปสู่การทำประตู เมื่อเรารับชมเราจะรู้สึกตื่นเต้น และอัตราการเต้นของหัวใจก็จะเพิ่มขึ้น เพราะสมองเราจะเริ่มจำลองสถานะการณ์ และคิด คาดเดาสิ่งที่จะเกิดต่อไป
เรื่องนี้ยังอธิบายไปถึงว่า เมื่อเราเชียร์นักกีฬา รึ ทีมกีฬาทีมใด อย่างต่อเนื่อง ยาวนาน ถึงเกิดสิ่งที่เรียกว่าความผูกพันธ์ขึ้น เพราะสมองเราได้จำลองสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับนักกีฬา รึ ทีมกีฬานั้นๆ นั่นเอง
ในทุกประเภทของกีฬา ไม่ใช่แค่ฟุตบอล ต้องมีการวางแผน เทคติค มีปฏิกริยาตอบสนอง การดูกีฬาช่วยพัฒนาความคิดเรา และความสามารถในการประมวลสถานการณ์ ถึงแม้ร่างกายเราจะไม่ได้ลงไปเล่นกีฬาด้วยตนเอง แต่สมองเราประมวลผล (เรื่องนี้ต้องแยกประเด็นนะครับ การดูกีฬาช่วยพัฒนาวิธีคิดอย่างเป็นระบบแต่ไม่ได้ช่วยในเรื่องร่างกายนะครับ อยากแข็งแรงก็ต้องเล่นกีฬาเองรึ ออกกำลังกาย)
☼ เกิดอะไรขึ้นบ้างในสมองของเราเมื่อดูกีฬา ☼
สิ่งที่เกิดขึ้นในสมองขณะที่รับชมกีฬาก็เป็นสิ่งเดียวกับที่เกิดในขณะเล่นกีฬา
เมื่อเรารับชมการแข่งขันกีฬา สิ่งที่เกิดในสมองของเราก็เหมือนกับเราเล่นกีฬานั้นๆอยู่ ราวกับว่าการเคลื่อนไหวของนักกีฬาคนนั้น คือการเคลื่อนไหวของเรานะครับ ในสมองของเราซีกขวา จะมีเซล์สมองตัวนึง ชื่อว่า เซลล์สมองกระจกเงา THE MIRROR-NEURON SYSTEM (ค้นพบโดย 2 นักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาลี Giacomo Rizzolatti and Laila Craighero จากมหาวิทยาลัยปาร์มา อ่านเพิ่มเติมได้ที่ source) ซึ่งเป็นเซลล์ที่สามารถตอบสนอง ต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ต่างๆ ของมนุษย์ เช่นการตอบสนองต่อการมองเห็น การได้ยิน การได้เห็นภาพ โดยเฉพาะผ่านการกระทำของผู้อื่น ยิ่งเป็นการเคลื่อนไหวที่เคยเห็นจนคุ้นเคย เจนตา เราจะยิ่งสามารถรับรู้การกระทำเหล่านั้น คาดเดา การกระทำต่อไป และสมองของเราก็จะจำลองวิธีคิดที่ทำให้เกิดการกระทำเหล่านั้นไว้ในหัวด้วย และสามารถทำให้เข้าใจ เป้าประสงค์ของผู้กระทำและเหตุการณ์เชื่อมโยงที่จะทำให้เกิดผลตามมาได้อีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราเห็นการกระทำอะไรสักอย่างในการเล่นกีฬาที่เป็นการจุดประกาย เช่นในกรณีฟุตบอล คือ การกระทำอะไรสักอย่างที่เป็นการจุดประกายและนำไปสู่การทำประตู เมื่อเรารับชมเราจะรู้สึกตื่นเต้น และอัตราการเต้นของหัวใจก็จะเพิ่มขึ้น เพราะสมองเราจะเริ่มจำลองสถานะการณ์ และคิด คาดเดาสิ่งที่จะเกิดต่อไป
เรื่องนี้ยังอธิบายไปถึงว่า เมื่อเราเชียร์นักกีฬา รึ ทีมกีฬาทีมใด อย่างต่อเนื่อง ยาวนาน ถึงเกิดสิ่งที่เรียกว่าความผูกพันธ์ขึ้น เพราะสมองเราได้จำลองสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับนักกีฬา รึ ทีมกีฬานั้นๆ นั่นเอง
ในทุกประเภทของกีฬา ไม่ใช่แค่ฟุตบอล ต้องมีการวางแผน เทคติค มีปฏิกริยาตอบสนอง การดูกีฬาช่วยพัฒนาความคิดเรา และความสามารถในการประมวลสถานการณ์ ถึงแม้ร่างกายเราจะไม่ได้ลงไปเล่นกีฬาด้วยตนเอง แต่สมองเราประมวลผล (เรื่องนี้ต้องแยกประเด็นนะครับ การดูกีฬาช่วยพัฒนาวิธีคิดอย่างเป็นระบบแต่ไม่ได้ช่วยในเรื่องร่างกายนะครับ อยากแข็งแรงก็ต้องเล่นกีฬาเองรึ ออกกำลังกาย)