สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
โทษของเลซิทินถ้าได้รับมากเกิน(เลซิทินเป็นไขมันที่ดีชนิดหนึ่ง)
แน่นท้อง คลื่นไส้ ใจสั่น เหงื่อออก(สารอาหารหลายๆอย่างได้รับมากไปก็มีอาการเช่นนี้ได้ อย่าหลงปักใจกล่าวโทษแต่เลซิทิน ถ้ามีอาการเหล่านี้)
ในเครื่องดื่ม เช่น นม เวย์ ไม่มากเกินหรอกครับ ในเวย์ใส่แค่พอเป็นตัวช่วยให้เวย์ผงเข้ากับน้ำ
ประโยชน์ของเลซิทินถ้าได้รับเพียงพอ
เป็นสารป้องกันการผิดปกติขององค์ประกอบของเซลล์
ควบคุมระดับคอเลสเตอรอล เลซิทินทำหน้าที่เป็นตัวทำละลายไขมันในหลอดเลือดทำให้ไขมันแตกตัวเป็นอนุภาคเล็กๆ
และไหลเวียนไปกับกระแสเลือด เลซิทินจึงเป็นสารอาหารที่สามารถป้องกันการจับตัวของไขมันที่ผนังหลอดเลือด อันเป็น
สาเหตุทำให้หลอดเลือด หัวใจตีบ หรืออุดตันอันมีผลให้หัวใจวายได้
ช่วยในการเสริมสร้างความจำ เลซิทินเป็นสารที่จำเป็นต่อการสร้างโคลีน ซึ่งโคลีนนี้เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของสารสื่อ
กระแสประสาท ที่เรียกว่า แอซิทิลโคลีน (acethyl choline) สารสื่อกระแสประสาทนี้เมื่อเพิ่มขึ้นจะมีผลในการเสริมสร้าง
ความจำและลดอาการหลงลืมในผู้สูงอายุ นอกจากนี้ยังพบว่าผู้มีระดับโคลีนในร่างกายต่ำจะทำให้เกิดอาการซึมเศร้า
จิตใจหดหู่ หลงลืมและไม่มีสมาธิ และโคลีนยังช่วยในการปล่อยฮอร์โมน วาโสเพรสซิน (vasopressin) ซึ่งจำเป็นต่อ
การเรียนรู้และความจำ การควบคุมปริมาณของปัสสาวะ และควบคุมความดันโลหิต
ซ่อมแซมเซลล์ที่สึกหรอ ส่งเสริมการทำงานของเซลล์ให้มีประสิทธิภาพอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ ตับ ไต
และต่อมไร้ท่อ ตลอดจนการไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น
ป้องกันนิ่วในถุงน้ำดี ซึ่งเกิดจากการตกตะกอนของคอเลสเตอรอลในถุงน้ำดี เลซิทินทำให้คอเลสเตอรอล กลายเป็นน้ำดี
ช่วยในการดูดซึมวิตามินบีหนึ่งเพิ่มขึ้นในตับและเพิ่มการดูดซึมวิตามินเอในลำไส้
ลดการเกิดหลอดเลือดแข็งตัว
ป้องกันไขมันพอกตับ
คนเราต้องการ Lecithin เท่าใด
สมัยก่อนไม่ค่อยพบว่ามีการขาดสาร Lecithin แต่ปัจจุบันคนนิยมรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำจึงอาจจะทำให้เกิดการขาด Lecithinในคนปกติต้องการ Lecithin วันละ 6 กรัม ส่วน Cholin ต้องการวันละ 0.6-1 กรัม เราได้รับสารอาหารนี้จากธรรมชาติโดยเฉพาะอาหารที่ค่อนข้างจะมัน
เช่น ไข่แดง ถั่วเหลือง น้ำนม สมอง ตับ ไต ปลา เมล็ดธัญพืช น้ำมันถั่วเหลือง และสัตว์ต่างๆ
ในไข่แดงมีเลซิทินประมาณร้อยละ 6-8
สำหรับในพืช พบว่าถั่วเหลืองมีเลซิตินสูงที่สุดประมาณ ร้อยละ 1.1-3.2
ในข้าวโพดมี ร้อยละ 1.0-2.4
และในเมล็ดฝ้ายพบเพียงร้อยละ 0.7
อ้างอิงจาก
http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/1280/lecithin-%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%99
และ
http://elib.fda.moph.go.th/library/default.asp?page2=subdetail&id_L1=27&id_L2=15700&id_L3=1338
แน่นท้อง คลื่นไส้ ใจสั่น เหงื่อออก(สารอาหารหลายๆอย่างได้รับมากไปก็มีอาการเช่นนี้ได้ อย่าหลงปักใจกล่าวโทษแต่เลซิทิน ถ้ามีอาการเหล่านี้)
ในเครื่องดื่ม เช่น นม เวย์ ไม่มากเกินหรอกครับ ในเวย์ใส่แค่พอเป็นตัวช่วยให้เวย์ผงเข้ากับน้ำ
ประโยชน์ของเลซิทินถ้าได้รับเพียงพอ
เป็นสารป้องกันการผิดปกติขององค์ประกอบของเซลล์
ควบคุมระดับคอเลสเตอรอล เลซิทินทำหน้าที่เป็นตัวทำละลายไขมันในหลอดเลือดทำให้ไขมันแตกตัวเป็นอนุภาคเล็กๆ
และไหลเวียนไปกับกระแสเลือด เลซิทินจึงเป็นสารอาหารที่สามารถป้องกันการจับตัวของไขมันที่ผนังหลอดเลือด อันเป็น
สาเหตุทำให้หลอดเลือด หัวใจตีบ หรืออุดตันอันมีผลให้หัวใจวายได้
ช่วยในการเสริมสร้างความจำ เลซิทินเป็นสารที่จำเป็นต่อการสร้างโคลีน ซึ่งโคลีนนี้เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของสารสื่อ
กระแสประสาท ที่เรียกว่า แอซิทิลโคลีน (acethyl choline) สารสื่อกระแสประสาทนี้เมื่อเพิ่มขึ้นจะมีผลในการเสริมสร้าง
ความจำและลดอาการหลงลืมในผู้สูงอายุ นอกจากนี้ยังพบว่าผู้มีระดับโคลีนในร่างกายต่ำจะทำให้เกิดอาการซึมเศร้า
จิตใจหดหู่ หลงลืมและไม่มีสมาธิ และโคลีนยังช่วยในการปล่อยฮอร์โมน วาโสเพรสซิน (vasopressin) ซึ่งจำเป็นต่อ
การเรียนรู้และความจำ การควบคุมปริมาณของปัสสาวะ และควบคุมความดันโลหิต
ซ่อมแซมเซลล์ที่สึกหรอ ส่งเสริมการทำงานของเซลล์ให้มีประสิทธิภาพอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ ตับ ไต
และต่อมไร้ท่อ ตลอดจนการไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น
ป้องกันนิ่วในถุงน้ำดี ซึ่งเกิดจากการตกตะกอนของคอเลสเตอรอลในถุงน้ำดี เลซิทินทำให้คอเลสเตอรอล กลายเป็นน้ำดี
ช่วยในการดูดซึมวิตามินบีหนึ่งเพิ่มขึ้นในตับและเพิ่มการดูดซึมวิตามินเอในลำไส้
ลดการเกิดหลอดเลือดแข็งตัว
ป้องกันไขมันพอกตับ
คนเราต้องการ Lecithin เท่าใด
สมัยก่อนไม่ค่อยพบว่ามีการขาดสาร Lecithin แต่ปัจจุบันคนนิยมรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำจึงอาจจะทำให้เกิดการขาด Lecithinในคนปกติต้องการ Lecithin วันละ 6 กรัม ส่วน Cholin ต้องการวันละ 0.6-1 กรัม เราได้รับสารอาหารนี้จากธรรมชาติโดยเฉพาะอาหารที่ค่อนข้างจะมัน
เช่น ไข่แดง ถั่วเหลือง น้ำนม สมอง ตับ ไต ปลา เมล็ดธัญพืช น้ำมันถั่วเหลือง และสัตว์ต่างๆ
ในไข่แดงมีเลซิทินประมาณร้อยละ 6-8
สำหรับในพืช พบว่าถั่วเหลืองมีเลซิตินสูงที่สุดประมาณ ร้อยละ 1.1-3.2
ในข้าวโพดมี ร้อยละ 1.0-2.4
และในเมล็ดฝ้ายพบเพียงร้อยละ 0.7
อ้างอิงจาก
http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/1280/lecithin-%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%99
และ
http://elib.fda.moph.go.th/library/default.asp?page2=subdetail&id_L1=27&id_L2=15700&id_L3=1338
แสดงความคิดเห็น
โทษของLecithin มีอะไรบ้างคะ