สัปดาห์ที่ผ่านมาเกิดดราม่าหอชมเมืองฯ สนั่นสังคมออนไลน์ หลังจากได้ไปตามอ่านจากสื่อต่างๆ ก็เลยอยากรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับหอระฟ้าแห่งนี้มาแชร์ให้คนที่ไม่ได้ตามมาตั้งแต่ต้นเหมือนเราได้อ่านกัน จะได้คุยกับใครๆ เขารู้เรื่อง
แต่ถ้างงหนักกว่าเดิม ก็ไปอ่านจากข่าวในลิงค์ที่แนบมาแล้วกันเนอะ
เท้าความ
เนื่องจากมีเอกชนสนใจจะเช่าที่ดินรกร้างว่างเปล่าริมแม่น้ำเจ้าพระยาของกรมธนารักษ์ ก่อสร้างหอชมเมือง ซึ่งการขอเช่าที่จากกรมธนารักษ์โดยไม่ต้องประมูลสามารถทำได้ แต่ต้องให้ครม.อนุมัติก่อน
มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 13 ธ.ค. 2559: อนุมัติให้มีการก่อสร้างโครงการหอชมเมืองกรุงเทพมหานคร
ช่วงต้นปี 2560: มีการดำเนินการเกี่ยวกับขั้นตอนต่างๆ ในการสร้างหอชมเมือง เช่น การสรรหาพื้นที่ของรัฐในการสร้าง ยื่นแบบขออนุญาตต่างๆ
ข้อมูลทั่วไป
ที่ดิน: ราชพัสดุ แปลงหมายเลข กท. 3275 เขตคลองสาน กรุงเทพฯ
ที่ตั้ง: ซอยเจริญนคร 7
ขนาดที่ดิน: 4 ไร่ 2 งาน 34 ตารางวา
ราคาประเมิน: 198 ล้านบาท
สัญญาเช่าที่ดิน: 30 ปี กับกรมธนารักษ์
เมื่อครบกำหนด: สิ่งก่อสร้างจะตกเป็นของรัฐ
เงื่อนไขการเช่า: ห้ามทำการค้าขายหรือกิจกรรมเชิงพาณิชย์ รายได้ต้องนำเข้าการกุศล
ผู้ที่สนใจลงทุน: เป็นโครงการร่วมทุนกันระหว่างเอกชน 3 รายใหญ่ คือ
1. สยามพิวรรธน์ เจ้าของโครงการสยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่
2. Magnolia Quality Development บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
3. เครือเจริญโภคภัณฑ์
ดำเนินการก่อสร้างโดย: มูลนิธิหอชมเมืองกรุงเทพมหานคร
ระยะเวลาก่อสร้าง: 3 ปี คาดว่าจะแล้วเสร็จปี 2563 ผ่านการรายงานด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (EIA) แล้ว
งบลงทุน: 4,621.47 ล้านบาท
เงินตั้งต้นของมูลนิธิ: 5 แสนบาท
เงินกู้จากสถาบันการเงิน: 2,500 ล้านบาท
สถาบันการเงิน: ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารเกียรตินาคิน ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ธนาคารทหารไทย ธนาคารทิสโก้ ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารธนชาติ ธนาคารกรุงไทย และธนาคารออมสิน
เงินบริจาคจากบริษัทเอกชนชั้นนำ: 2,100 ล้านบาท
ผลประโยชน์: ประมาณ 46,000 ล้านบาท ตลอดระยะเวลาให้เช่า 30 ปี
ประมาณการรายได้จากการจำหน่ายบัตรเข้าชม: 1,054 ล้านบาท/ปี
ค่าใช้จ่ายต่อปี: 892 ล้านบาท
ดอกเบี้ยต่อปี: 38 ล้านบาท
รายได้หลังหักค่าใช้จ่าย: บริจาคองค์กรสาธารณกุศล
เงื่อนไข
- โครงการนี้มีมูลค่าเกินกว่า 1,000 ล้านบาท
- เป็นการนำที่ดินของรัฐเข้าไปร่วมดำเนินการ
- ตีราคาค่าเช่าระยะ 30 ปี
= เป็นเงินร่วมลงทุนกับเอกชน
จำเป็นต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556
วัตถุประสงค์
1. เพื่อก่อสร้างและบริหารถาวรวัตถุที่เป็นเอกลักษณ์ของกรุงเทพมหานคร ดำเนินการใดๆ อันเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติเป็นส่วนรวม ศึกษาวิเคราะห์วิจัยงานต่างๆ อันเป็นประโยชน์สาธารณะและร่วมมือกับส่วนราชการและองค์การอื่นๆในกิจการเกี่ยวกับการเผยแพร่พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และกิจการอื่นๆ ที่เกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะหรือสาธารณกุศล
2. เป็นการดำเนินการเพื่อสาธารณประโยชน์โดยมิได้มุ่งหาผลประโยชน์มาแบ่งปันกัน
3. แนวคิดในเบื้องต้นที่จะก่อสร้างเป็นอาคารถาวรและจัดสรรพื้นที่ใช้สอยเพื่อประโยชน์ต่างๆ
รายละเอียดโครงการ
ความสูง: 459 เมตร
จุดชมวิวสูงสุด: 357.50 เมตร
พื้นที่ใช้สอย: 22,281 ตารางเมตร
ชั้นบนสุด: เป็นโถงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช แห่งมหาจักรีพระบรมราชวงศ์ โดยประดิษฐานพระบรมรูปของบูรพมหากษัตริยาธิราชในมหาจักรีบรมราชวงศ์ และเป็นที่ประดิษฐานรูปหล่อพระคลังมหาสมบัติ เพื่อให้ประชาชนได้สักการะบูชา พร้อมพื้นที่ประมาณ 500 ตารางเมตร สำหรับจัดแสดงพระราชกรณียกิจต่างๆ อันเป็นประโยชน์แก่ชาวไทย เพื่อเผยแพร่ “ศาสตร์พระราชา” ทุกๆ ด้าน เช่น ด้านการเกษตรและการยกระดับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ด้านการศึกษา ด้านศาสนา ด้านกีฬา ด้านการสื่อสารเทคโนโลยี และการคมนาคม เป็นต้น
ชั้นกลาง: เป็นห้องโถงที่มีกระจกขนาดใหญ่สามารถมองเห็นทัศนียภาพของกรุงเทพมหานครและปริมณฑลได้โดยรอบ
ชั้นล่าง: เป็นพื้นที่อเนกประสงค์ประมาณ 4,000 ตารางเมตร เช่น ห้องจัดนิทรรศการ และพื้นที่ส่วนกลางสำหรับจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรม รวมทั้งเทศกาลต่าง ๆ บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาตลอดทั้งปี เป็นต้น รวมถึงจะจัดแสดงเรื่องราวอันน่าภาคภูมิใจของคนไทย (The Pride of Thailand) จากโครงการภาคภูมิแผ่นดินไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการสานพลังประชารัฐที่มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมเรื่องราวที่ดีงามกว่าหนึ่งล้านเรื่องราวจากทุกชุมชนทั่วประเทศ โดยประชาชนชาวไทยได้ร่วมกันสืบค้นและรวบรวมผ่านโครงการภาคภูมิแผ่นดินไทย เติมความภูมิใจให้เต็มชาติเพื่อเป็นมรดกให้คนรุ่นหลังสืบไป
การเดินทาง: เน้นทางเรือ ส่วนทางบกในอนาคตทางมูลนิธิหอชมเมืองฯ อาจมีการเจรจากับทาง "ไอคอนสยาม" ที่ตั้งอยู่ติดกัน เพื่ออำนวยความสะดวกด้านที่จอดรถ
ภาพรวมทางเศรษฐกิจ
- กระตุ้นการท่องเที่ยว
- กระตุ้นการใช้จ่าย
- ส่งเสริมทัศนียภาพริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
- เป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ของเมืองไทย
- ประโยชน์ 3 ระดับ
ระดับท้องถิ่น: ธุรกิจริมแม่น้ำเจ้าพระยา รวมถึงผู้ประกอบการเรือขนส่ง
ระดับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว: หอชมเมืองฯ จะเป็น attraction แห่งใหม่ที่มีพลังมาก สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกให้มาเยี่ยมชมได้ ช่วยกระตุ้นพัฒนาการการท่องเที่ยว
ระดับประเทศ: จะได้รับ Global Recognition เมื่อสร้างเสร็จจะอยู่ลำดับที่ 6 ของทำเนียบหอคอยที่สูงที่สุดในโลกและสูงที่สุดใน South East Asia ซึ่งจะทำให้คนทั่วโลกรู้จักประเทศไทยมากขึ้น เป็นจุดสนใจในการมาเยี่ยมชมมากขึ้น และเป็นสัญลักษณ์แห่งความดี เนื่องจากมีพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมความดีงามที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของชาติไว้
11 อันดับ หอคอย (ชมเมือง) สูงที่สุดในโลก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้1. โตเกียว สกายทรี (กรุงโตเกียว, ญี่ปุ่น) 634 เมตร
2. แคนตัน ทาวเวอร์ (เมืองกวางโจว, จีน) 595.7 เมตร
3. ซีเอ็น ทาวเวอร์ (นครโตรอนโต, แคนาดา) 553.33 เมตร
4. ออสตานกิโน ทาวเวอร์ (กรุงมอสโก, รัสเซีย) 540.1 เมตร
5. โอเรียนทัล เพิร์ล ทาวเวอร์ (นครเซี่ยงไฮ้, จีน) 468 เมตร
อันดับที่ 6 หอชมเมืองกรุงเทพมหานคร (กรุงเทพฯ, ประเทศไทย 459 เมตร)
7. มิลาด ทาวเวอร์ (กรุงเตหะราน, อิหร่าน) 435 เมตร
8. เคแอล ทาวเวอร์ (กรุงกัวลาลัมเปอร์, มาเลเซีย) 421 เมตร
9. หอส่งสัญญาณวิทยุและโทรทัศน์เทียนจิน (นครเทียนจิน, จีน) 415.2 เมตร
10. เซ็นทรัล เรดิโอ แอนด์ ทีวี ทาวเวอร์ (กรุงปักกิ่ง, จีน) 405 เมตร
11. เจิ้งหยวน ทาวเวอร์ (เมืองเจิ้งโจว, จีน) 388 เมตร
-
ประมาณการรายได้
ผู้เข้าชม: 1.1 – 1.4 ล้านคนต่อปี 4,000 คนต่อวัน วันละ 10 รอบๆ ละ 400 คน
รายได้จากการจำหน่ายบัตรเข้าชม: ราคาตั๋ว 750 บาทต่อคน (คนไทยลด 50% หรือ 375 บาท)
ข้อกังขา
-
ที่ดิน/พื้นที่: พื้นที่ตาบอด (เข้าได้ทางน้ำ) พื้นที่ว่าง ถูกทิ้งร้างมานาน ไม่มีผู้เช่า
-
ไม่มีการเปิดประมูล: โครงการมีลักษณะเชิงสังคม ไม่ใช่เชิงพาณิชย์ ลงทุนก่อสร้างโดยมูลนิธิ ไม่มีปันผลหรือการแบ่งผลกำไร จะดำเนินการตามขั้นตอน PPP ประกอบกับเป็นการดำเนินงานประชารัฐ ตามแนวนโยบายประชารัฐที่เกิดจากความร่วมมือของหลายภาคส่วนและขั้นตอนของกฎหมายร่วมลงทุน
-
ผลกระทบต่อชุมชนใกล้เคียง: ชุมชนมัสยิดสุวรรณภูมิ
เห็นด้วย 80% : จะทำให้ชุมชนได้รับการพัฒนา อยากเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยว เพิ่มรายได้และปรับภูมิทัศน์ชุมชน โดยตนมั่นใจว่าจะไม่มีการไล่ที่แน่นอน เนื่องจากชาวบ้านมีโฉนดถูกต้อง
ไม่เห็นด้วย 20%: ส่วนใหญ่มีบ้านติดกับที่ดินราชพัสดุในรัศมีไม่เกิน 50 เมตร โดยจ่ายค่าเช่าบ้านให้แก่บริษัทเอกชนผู้เป็นเจ้าของโฉนด ในอัตราเดือนละ 300 บาท และเช่าอยู่มาเป็นเวลานานกว่า 40 ปี แม้อยากให้มีการพัฒนา แต่ก็มีความหวาดหวั่นว่าในอนาคตจะถูกไล่ออก เนื่องจากสภาพบ้านที่อยู่นั้นแออัดและทรุดโทรม อาจไม่เหมาะแก่การอยู่ใกล้หอชมเมืองที่มีความสวยงาม
ข้อมูลมูลนิธิหอชมเมืองกรุงเทพมหานคร
- หอชมเมืองกรุงเทพมหานคร บริหารโดย 2 มูลนิธิ ได้แก่ มูลนิธิหอชมเมืองกรุงเทพมหานคร ก่อตั้งเมื่อปี 2557 และมูลนิธิเสริมสร้างเอกลักษณ์แห่งชาติ
- มูลนิธิหอชมเมืองกรุงเทพมหานคร จดทะเบียนกับกระทรวงมหาดไทย
คณะกรรมการมูลนิธิหอชมเมืองกรุงเทพมหานคร
1. ดร.พนัส สิมะเสถียร ประธานกรรมการ
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง
กรรมการกฤษฎีกา
กรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
กรรมการบริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)
ประธานกรรมการบริหาร บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด
2. คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม กรรมการ
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง
เหรัญญิกสภากาชาดไทย
กรรมการ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
กรรมการ บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)
กรรมการ บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด
3. นางวัลลิยา ปังศรีวงศ์ กรรมการ
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง กรรมการ มูลนิธิเพื่อการศึกษาและประชาสงเคราะห์
4. รองศาสตราจารย์ ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี กรรมการ
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง
ศิลปินแห่งชาติ
ราชบัณฑิตสำนักศิลปกรรม ประเภทสถาปัตยศิลป์
5. ร้อยโท ดร. สุวิทย์ ยอดมณี กรรมการ
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง รองประธานมูลนิธิเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ
6. ดร.วิทย์ สุนทรนันท์ กรรมการ
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง รองประธานกรรมการ มูลนิธิพุทธรักษา
7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์กนิช บุณยัษฐิติ กรรมการ
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
-
มูลนิธิเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ
ก่อตั้งเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2530 ในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปัจจุบันได้แยกตัวออกเป็นอิสระ
พลเอกพิจิตร กุลละวณิชย์ เป็นประธานกรรมการ โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิจากสาขาต่าง ๆ เป็นคณะกรรมการ
วัตถุประสงค์หลัก เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนชาวไทยเกิดความรัก ความสมัครสมานสามัคคี และความภาคภูมิใจในความเป็นไทยของคนในชาติ โดยในปี 2559 มูลนิธิเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อน “โครงการภาคภูมิแผ่นดินไทย” โดยรวบรวมข้อมูลความดีของคนไทย และเรื่องราวที่เป็นความภาคภูมิใจระดับประเทศของทั้ง 77 จังหวัดของไทยไว้ในคลังข้อมูลดิจิตอล เพื่อเผยแพร่ให้คนทั่วโลกได้รู้ ซึ่งนับว่ามีคุณค่าในการสืบสานประวัติศาสตร์ ประเพณี วัฒนธรรม ตลอดจนสิ่งดี ๆ ในชาติให้คงอยู่ ซึ่งจะนำมาไว้ในหอชมเมืองฯ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้มาเยี่ยมชม ปัจจุบันรวบรวมได้กว่า 500,000 เรื่องราวจากทั่วประเทศ นอกจากนี้ มูลนิธิเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติยังได้จัดทำโครงการแสงแห่งพระบารมี เชิญชวนคนไทยร่วมบันทึกความภูมิใจที่ได้ทำตามรอยพ่อหลวงอีกด้วย
*********************
อ้างอิง:
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้www.posttoday.com/local/bkk/470913
www.komchadluek.net/news/regional/285392
www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1498808332
www.thairath.co.th/content/986517
www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9600000065956
https://thaipublica.org/2017/07/bftf-bangkok-tower-1-7-2560/
www.youtube.com/watch?v=oA-gzyI4LZs
www.facebook.com/pg/HuaiToon/photos/?tab=album&album_id=2023908127635102
แกะรอยหอชมเมืองกรุงเทพมหานคร
เท้าความ
เนื่องจากมีเอกชนสนใจจะเช่าที่ดินรกร้างว่างเปล่าริมแม่น้ำเจ้าพระยาของกรมธนารักษ์ ก่อสร้างหอชมเมือง ซึ่งการขอเช่าที่จากกรมธนารักษ์โดยไม่ต้องประมูลสามารถทำได้ แต่ต้องให้ครม.อนุมัติก่อน
มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 13 ธ.ค. 2559: อนุมัติให้มีการก่อสร้างโครงการหอชมเมืองกรุงเทพมหานคร
ช่วงต้นปี 2560: มีการดำเนินการเกี่ยวกับขั้นตอนต่างๆ ในการสร้างหอชมเมือง เช่น การสรรหาพื้นที่ของรัฐในการสร้าง ยื่นแบบขออนุญาตต่างๆ
ข้อมูลทั่วไป
ที่ดิน: ราชพัสดุ แปลงหมายเลข กท. 3275 เขตคลองสาน กรุงเทพฯ
ที่ตั้ง: ซอยเจริญนคร 7
ขนาดที่ดิน: 4 ไร่ 2 งาน 34 ตารางวา
ราคาประเมิน: 198 ล้านบาท
สัญญาเช่าที่ดิน: 30 ปี กับกรมธนารักษ์
เมื่อครบกำหนด: สิ่งก่อสร้างจะตกเป็นของรัฐ
เงื่อนไขการเช่า: ห้ามทำการค้าขายหรือกิจกรรมเชิงพาณิชย์ รายได้ต้องนำเข้าการกุศล
ผู้ที่สนใจลงทุน: เป็นโครงการร่วมทุนกันระหว่างเอกชน 3 รายใหญ่ คือ
1. สยามพิวรรธน์ เจ้าของโครงการสยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่
2. Magnolia Quality Development บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
3. เครือเจริญโภคภัณฑ์
ดำเนินการก่อสร้างโดย: มูลนิธิหอชมเมืองกรุงเทพมหานคร
ระยะเวลาก่อสร้าง: 3 ปี คาดว่าจะแล้วเสร็จปี 2563 ผ่านการรายงานด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (EIA) แล้ว
งบลงทุน: 4,621.47 ล้านบาท
เงินตั้งต้นของมูลนิธิ: 5 แสนบาท
เงินกู้จากสถาบันการเงิน: 2,500 ล้านบาท
สถาบันการเงิน: ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารเกียรตินาคิน ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ธนาคารทหารไทย ธนาคารทิสโก้ ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารธนชาติ ธนาคารกรุงไทย และธนาคารออมสิน
เงินบริจาคจากบริษัทเอกชนชั้นนำ: 2,100 ล้านบาท
ผลประโยชน์: ประมาณ 46,000 ล้านบาท ตลอดระยะเวลาให้เช่า 30 ปี
ประมาณการรายได้จากการจำหน่ายบัตรเข้าชม: 1,054 ล้านบาท/ปี
ค่าใช้จ่ายต่อปี: 892 ล้านบาท
ดอกเบี้ยต่อปี: 38 ล้านบาท
รายได้หลังหักค่าใช้จ่าย: บริจาคองค์กรสาธารณกุศล
เงื่อนไข
- โครงการนี้มีมูลค่าเกินกว่า 1,000 ล้านบาท
- เป็นการนำที่ดินของรัฐเข้าไปร่วมดำเนินการ
- ตีราคาค่าเช่าระยะ 30 ปี
= เป็นเงินร่วมลงทุนกับเอกชน
จำเป็นต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556
วัตถุประสงค์
1. เพื่อก่อสร้างและบริหารถาวรวัตถุที่เป็นเอกลักษณ์ของกรุงเทพมหานคร ดำเนินการใดๆ อันเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติเป็นส่วนรวม ศึกษาวิเคราะห์วิจัยงานต่างๆ อันเป็นประโยชน์สาธารณะและร่วมมือกับส่วนราชการและองค์การอื่นๆในกิจการเกี่ยวกับการเผยแพร่พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และกิจการอื่นๆ ที่เกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะหรือสาธารณกุศล
2. เป็นการดำเนินการเพื่อสาธารณประโยชน์โดยมิได้มุ่งหาผลประโยชน์มาแบ่งปันกัน
3. แนวคิดในเบื้องต้นที่จะก่อสร้างเป็นอาคารถาวรและจัดสรรพื้นที่ใช้สอยเพื่อประโยชน์ต่างๆ
รายละเอียดโครงการ
ความสูง: 459 เมตร
จุดชมวิวสูงสุด: 357.50 เมตร
พื้นที่ใช้สอย: 22,281 ตารางเมตร
ชั้นบนสุด: เป็นโถงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช แห่งมหาจักรีพระบรมราชวงศ์ โดยประดิษฐานพระบรมรูปของบูรพมหากษัตริยาธิราชในมหาจักรีบรมราชวงศ์ และเป็นที่ประดิษฐานรูปหล่อพระคลังมหาสมบัติ เพื่อให้ประชาชนได้สักการะบูชา พร้อมพื้นที่ประมาณ 500 ตารางเมตร สำหรับจัดแสดงพระราชกรณียกิจต่างๆ อันเป็นประโยชน์แก่ชาวไทย เพื่อเผยแพร่ “ศาสตร์พระราชา” ทุกๆ ด้าน เช่น ด้านการเกษตรและการยกระดับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ด้านการศึกษา ด้านศาสนา ด้านกีฬา ด้านการสื่อสารเทคโนโลยี และการคมนาคม เป็นต้น
ชั้นกลาง: เป็นห้องโถงที่มีกระจกขนาดใหญ่สามารถมองเห็นทัศนียภาพของกรุงเทพมหานครและปริมณฑลได้โดยรอบ
ชั้นล่าง: เป็นพื้นที่อเนกประสงค์ประมาณ 4,000 ตารางเมตร เช่น ห้องจัดนิทรรศการ และพื้นที่ส่วนกลางสำหรับจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรม รวมทั้งเทศกาลต่าง ๆ บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาตลอดทั้งปี เป็นต้น รวมถึงจะจัดแสดงเรื่องราวอันน่าภาคภูมิใจของคนไทย (The Pride of Thailand) จากโครงการภาคภูมิแผ่นดินไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการสานพลังประชารัฐที่มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมเรื่องราวที่ดีงามกว่าหนึ่งล้านเรื่องราวจากทุกชุมชนทั่วประเทศ โดยประชาชนชาวไทยได้ร่วมกันสืบค้นและรวบรวมผ่านโครงการภาคภูมิแผ่นดินไทย เติมความภูมิใจให้เต็มชาติเพื่อเป็นมรดกให้คนรุ่นหลังสืบไป
การเดินทาง: เน้นทางเรือ ส่วนทางบกในอนาคตทางมูลนิธิหอชมเมืองฯ อาจมีการเจรจากับทาง "ไอคอนสยาม" ที่ตั้งอยู่ติดกัน เพื่ออำนวยความสะดวกด้านที่จอดรถ
ภาพรวมทางเศรษฐกิจ
- กระตุ้นการท่องเที่ยว
- กระตุ้นการใช้จ่าย
- ส่งเสริมทัศนียภาพริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
- เป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ของเมืองไทย
- ประโยชน์ 3 ระดับ
ระดับท้องถิ่น: ธุรกิจริมแม่น้ำเจ้าพระยา รวมถึงผู้ประกอบการเรือขนส่ง
ระดับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว: หอชมเมืองฯ จะเป็น attraction แห่งใหม่ที่มีพลังมาก สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกให้มาเยี่ยมชมได้ ช่วยกระตุ้นพัฒนาการการท่องเที่ยว
ระดับประเทศ: จะได้รับ Global Recognition เมื่อสร้างเสร็จจะอยู่ลำดับที่ 6 ของทำเนียบหอคอยที่สูงที่สุดในโลกและสูงที่สุดใน South East Asia ซึ่งจะทำให้คนทั่วโลกรู้จักประเทศไทยมากขึ้น เป็นจุดสนใจในการมาเยี่ยมชมมากขึ้น และเป็นสัญลักษณ์แห่งความดี เนื่องจากมีพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมความดีงามที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของชาติไว้
11 อันดับ หอคอย (ชมเมือง) สูงที่สุดในโลก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
- ประมาณการรายได้
ผู้เข้าชม: 1.1 – 1.4 ล้านคนต่อปี 4,000 คนต่อวัน วันละ 10 รอบๆ ละ 400 คน
รายได้จากการจำหน่ายบัตรเข้าชม: ราคาตั๋ว 750 บาทต่อคน (คนไทยลด 50% หรือ 375 บาท)
ข้อกังขา
- ที่ดิน/พื้นที่: พื้นที่ตาบอด (เข้าได้ทางน้ำ) พื้นที่ว่าง ถูกทิ้งร้างมานาน ไม่มีผู้เช่า
- ไม่มีการเปิดประมูล: โครงการมีลักษณะเชิงสังคม ไม่ใช่เชิงพาณิชย์ ลงทุนก่อสร้างโดยมูลนิธิ ไม่มีปันผลหรือการแบ่งผลกำไร จะดำเนินการตามขั้นตอน PPP ประกอบกับเป็นการดำเนินงานประชารัฐ ตามแนวนโยบายประชารัฐที่เกิดจากความร่วมมือของหลายภาคส่วนและขั้นตอนของกฎหมายร่วมลงทุน
- ผลกระทบต่อชุมชนใกล้เคียง: ชุมชนมัสยิดสุวรรณภูมิ
เห็นด้วย 80% : จะทำให้ชุมชนได้รับการพัฒนา อยากเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยว เพิ่มรายได้และปรับภูมิทัศน์ชุมชน โดยตนมั่นใจว่าจะไม่มีการไล่ที่แน่นอน เนื่องจากชาวบ้านมีโฉนดถูกต้อง
ไม่เห็นด้วย 20%: ส่วนใหญ่มีบ้านติดกับที่ดินราชพัสดุในรัศมีไม่เกิน 50 เมตร โดยจ่ายค่าเช่าบ้านให้แก่บริษัทเอกชนผู้เป็นเจ้าของโฉนด ในอัตราเดือนละ 300 บาท และเช่าอยู่มาเป็นเวลานานกว่า 40 ปี แม้อยากให้มีการพัฒนา แต่ก็มีความหวาดหวั่นว่าในอนาคตจะถูกไล่ออก เนื่องจากสภาพบ้านที่อยู่นั้นแออัดและทรุดโทรม อาจไม่เหมาะแก่การอยู่ใกล้หอชมเมืองที่มีความสวยงาม
ข้อมูลมูลนิธิหอชมเมืองกรุงเทพมหานคร
- หอชมเมืองกรุงเทพมหานคร บริหารโดย 2 มูลนิธิ ได้แก่ มูลนิธิหอชมเมืองกรุงเทพมหานคร ก่อตั้งเมื่อปี 2557 และมูลนิธิเสริมสร้างเอกลักษณ์แห่งชาติ
- มูลนิธิหอชมเมืองกรุงเทพมหานคร จดทะเบียนกับกระทรวงมหาดไทย
คณะกรรมการมูลนิธิหอชมเมืองกรุงเทพมหานคร
1. ดร.พนัส สิมะเสถียร ประธานกรรมการ
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง
กรรมการกฤษฎีกา
กรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
กรรมการบริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)
ประธานกรรมการบริหาร บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด
2. คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม กรรมการ
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง
เหรัญญิกสภากาชาดไทย
กรรมการ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
กรรมการ บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)
กรรมการ บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด
3. นางวัลลิยา ปังศรีวงศ์ กรรมการ
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง กรรมการ มูลนิธิเพื่อการศึกษาและประชาสงเคราะห์
4. รองศาสตราจารย์ ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี กรรมการ
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง
ศิลปินแห่งชาติ
ราชบัณฑิตสำนักศิลปกรรม ประเภทสถาปัตยศิลป์
5. ร้อยโท ดร. สุวิทย์ ยอดมณี กรรมการ
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง รองประธานมูลนิธิเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ
6. ดร.วิทย์ สุนทรนันท์ กรรมการ
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง รองประธานกรรมการ มูลนิธิพุทธรักษา
7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์กนิช บุณยัษฐิติ กรรมการ
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- มูลนิธิเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ
ก่อตั้งเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2530 ในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปัจจุบันได้แยกตัวออกเป็นอิสระ
พลเอกพิจิตร กุลละวณิชย์ เป็นประธานกรรมการ โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิจากสาขาต่าง ๆ เป็นคณะกรรมการ
วัตถุประสงค์หลัก เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนชาวไทยเกิดความรัก ความสมัครสมานสามัคคี และความภาคภูมิใจในความเป็นไทยของคนในชาติ โดยในปี 2559 มูลนิธิเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อน “โครงการภาคภูมิแผ่นดินไทย” โดยรวบรวมข้อมูลความดีของคนไทย และเรื่องราวที่เป็นความภาคภูมิใจระดับประเทศของทั้ง 77 จังหวัดของไทยไว้ในคลังข้อมูลดิจิตอล เพื่อเผยแพร่ให้คนทั่วโลกได้รู้ ซึ่งนับว่ามีคุณค่าในการสืบสานประวัติศาสตร์ ประเพณี วัฒนธรรม ตลอดจนสิ่งดี ๆ ในชาติให้คงอยู่ ซึ่งจะนำมาไว้ในหอชมเมืองฯ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้มาเยี่ยมชม ปัจจุบันรวบรวมได้กว่า 500,000 เรื่องราวจากทั่วประเทศ นอกจากนี้ มูลนิธิเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติยังได้จัดทำโครงการแสงแห่งพระบารมี เชิญชวนคนไทยร่วมบันทึกความภูมิใจที่ได้ทำตามรอยพ่อหลวงอีกด้วย
*********************
อ้างอิง:
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้