สมัยกรุงศรีอยุธยา ทำสงครามกับพม่า มีการรวบรวมไพล่พลกัน เป็นเรือนหมื่นเรือนแสน ทำได้จริงๆ หรือว่าเป็นแค่เชิงสัญลักษ์ ?

สมัยกรุงศรีอยุธยา ทำสงครามกับพม่า มีการรวบรวมไพล่พลกัน เป็นเรือนหมื่นเรือนแสน ทำได้จริงๆ หรือว่าเป็นแค่เชิงสัญลักษ์ ?
สมัยโน้น มี ประชากร มาก ขนาดนั้น ที่จะนำมาเป็นทหาร เคลื่อนทัพได้ขนาดนั้นเลยรึ  หรือว่า บอกตัวเลข ในเชิงสัญลักษ์ เพื่อแสดงความยิ่งใหญ่ เท่านั้น  

ลองคิดคร่าวๆว่า ทหารห้าสิบหมื่น (หรือห้าแสนคน) ถือดาบคนละเล่ม ดาบ 1 เล่ม หนัก 1 กิโล ต้องใช้เหล็ก ห้าแสนโล มาตีดาบ นั่นคือ เหล็ก 500 ตัน  (จะหาจากใหน ?)
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 13
แยกเป็นสองกรณีนะครับ

1. จำนวนไพร่พลสามารถระดมได้ถึงหลักหมื่นหลักแสนมั้ย  ระดับหลักแสนนี่สงครามใหญ่เลยครับ  แล้วก็เกิดขึ้นแค่สองช่วงในประวัติศาสตร์ของภูมิภาคนี้  คือช่วงราชวงศ์ตองอูกับราชวงศ์คองบองซึ่งเป็นช่วงพีคของพม่า  มีเมืองออกมากมายทำให้สามารถระดมพลได้มาก  แต่ตัวเลขอาจมีการแต่งเติมให้มากเพื่อให้ดูยิ่งใหญ่  อย่างสมัยบุเรงนอง-นันทบุเรงก็คาดการณ์กันว่าไม่น่าจะถึง 200,000  แต่ถ้าจัดทัพหลักหมื่นนี่สามารถระดมพลได้ในเวลาอันสั้นเลย  เพราะมูลนายแต่ละคนรู้จำนวนไพร่ในสังกัดของตนอยู่  และกรมสุรัสวดีก็มีตัวเลขในมืออยู่แล้ว

2. ส่วนที่ว่าเรื่องอาวุธยุทโธปกรณ์จะจัดหามาได้ยังไงมากมาย  คำตอบคือ  ไพร่ต้องเอามาเองครับ  และถ้าใครถนัดอาวุธอะไรหรือมีความสามารถพิเศษอะไร  กรมสุรัสวดีก็จะจัดไปลงกรมกองนี่เหมาะสม  โดยมีทหารอาสาเป็นหัวหอกในกรมกองนั้นๆ  ถ้าไม่มีอะไรติดตัวมาเลยมาแบบตัวเปล่าก็อาจถูกจัดไปอยู่กองเกียกกาย  ทหารที่จะได้รับแจกอาวุธจากหลวงคือทหารอาสา  ทหารสนม  และเหล่าตำรวจจากกรมพระตำรวจครับ  ส่วนเรื่องเสบียงอาหารการกินก็อยู่ในการดูแลของกรมนาครับ  ข้าวเหล่านี้มาจากไหน  ก็จากนาหลวงนั่นแหล่ะ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่