10 อย่างที่อยากบอกนักเรียนแลกเปลี่ยนอเมริกาก่อนไป

สวัสดีครับ ผมไปแลกเปลี่ยนโครงการ AFS พึ่งกลับมาจาก San Francisco, California
ตลอดปีแลกเปลี่ยนของผมได้เรียนรู้อะไรหลายๆอย่าง ซึ่งผมเลยรวบรวมสิ่งที่น่าจะมีประโยชน์กับรุ่นน้องที่จะไปแลกเปลี่ยนในอนาคตมาบอกต่อกันครับ

1.อย่าด่วนตัดสิน
หลายๆคนที่สอบติดเข้ามาในโครงการแลกเปลี่ยนคงเป็นที่แน่นอนว่าตัวน้องเองต้องมีทั้งความสามารถทั้งด้านวิชาการและมีฐานะในระดับนึง ทั้งหลักสูตรการเรียนก็ง่ายกว่าตามที่น้องๆได้ยินกันมาจริงๆ  แต่ด้วยมาจากเส้นกั้นทางภาษาและวัฒนธรรมจะทำให้ทุกอย่างยากขึ้นเองครับ เพราะฉะนั้นความคิดที่หวังว่าทุกอย่างจะไม่ง่ายๆชิลๆแบบที่วาดฝันไว้แน่นอน แต่ถ้าหลักสูตรทางวิชาการมันก็ยังง่ายสำหรับน้องอยู่ดี ขอแนะนำให้ลองมองไปให้มากกว่าการเรียนเพื่อความเข้าใจแล้วประยุกต์ใช้กับชีวิตและสนุกไปกับมันแทนที่จะเรียนเอาเกรดที่ทำกันมาตลอดดูครับ

2.เปิดกว้าง
น้องกำลังเดินทางไปในประเทศที่เป็นประเทศมหาอำนาจโลกที่ใครๆก็รู้จัก แน่นอนว่าน้องๆต้องมีความรู้พื้นฐานอะไรบางอย่างของประเทศนี้แน่นอน แต่ที่น้องรู้มาตรงนั้น ปริมาณมันเทียบไม่ได้กับที่มาเจอกับตัวแน่นอนครับ จะมีหลายๆอย่างที่เรารู้มาผิดๆหรือไม่รู้เลยอีกมาก เพราะฉะนั้นอยากให้เปิดกว้างให้มากๆ เตรียมตัวให้พร้อมกับการเจอสิ่งใหม่ๆที่มากมายที่จะผ่านเข้ามาในปีแลกเปลี่ยนนี้ให้ดีครับ ลองพยายามเปิดรับทุกอย่างที่ไม่คิดว่าชีวิตนี้จะมีโอกาสได้เจออีกแล้วก็อย่าปฏิเสธครับ


3.ยอมรับและเข้าใจในความแตกต่าง
ภาพของอเมริกาที่น้องได้รู้จักมาจากเกม ภาพยนตร์ คำบอกเล่า หรืออะไรก็ตามแต่ น้องอาจจะได้เจอมันกับตัวจริงๆ ซึ่งมันจะ "แตกต่าง" กับประเทศไทยๆที่เราอยู่มาตั้งแต่เกิดมาเป็นอย่างมาก เช่นเรื่องเล็กๆแค่ "การใส่รองเท้าเดินในบ้าน" มันอาจฟังดูเป็นเรื่องเล็กๆที่ดูไม่น่ามีปัญหาอะไรกับชีวิตเรา มันจะทำให้เราฉุกคิดได้ทันทีว่า "เออว่ะ เขาไม่ถอดรองเท้ากัน" เรื่องเล็กๆที่มันดูเล็กๆมันอาจจะเป็นเรื่องใหญ่กับเราได้ตลอด แล้ววัฒนธรรมเหล่านี้มันไม่มีคำว่า "ดีกว่า" แต่มันคือ "แตกต่าง" แล้วเราแค่คุ้นชินกับมันแค่ไหน ชอบแบบไหนมากกว่าและเลือกที่จะทำแบบไหน


4.พอใจในสิ่งที่ได้มาและเรียนรู้ไปกับมัน
สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่ใหญ่และหลากหลายมากๆ แค่ขนาดก็ใหญ่กว่าประเทศไทยได้ 20 รอบแล้ว หลายๆคนอาจจะคาดหวังทั้งสถานที่ โฮส โรงเรียน และอีกหลายๆอย่างที่เราเคยฝันไว้ ซึ่งการที่เราจะไปอยู่จุดไหนของประเทศ สภาพแวดล้อมเป็นยังไงโฮสแบบไหน โรงเรียนเป็นยังไง คนแถวนั้นมีความคิดแบบไหน ตัวแปรมากมายตรงนี้แหละครับ มันจะสอนตัวน้องเองเลยว่าจะได้รับประสบการณ์แบบไหน น้องอาจจะได้ไปอยู่ท่ามกลางทะเลทรายที่แทบไม่มีรถวิ่งผ่านหรือกลางเมืองที่วุ่นวายตลอดเวลาก็ได้ครับ โฮสที่น้องอยู่ด้วยอาจจะเป็นบ้านที่มีลูก 4 คน บ้านคนมีฐานะที่มีลูกคนเดียว โฮสคนเดียวที่หาเช้ากินค่ำแทบไม่มีเวลาว่างหรือโฮสที่เกษียณที่อยู่บ้านทั้งวันแล้วก็ได้ครับ รายละเอียดอย่างเรื่องเพื่อนของเขา ตารางเวลารายวันเป็นยังไง หรือปกติเขาทำอะไรในเวลาว่าง เรื่องเหล่านี้เลยครับที่จะเป็นตัวแปรสำคัญที่จะเปลี่ยนประสบการณ์ที่น้องจะได้รับ อย่างที่เขาว่ากันครับว่า "ไม่มีใครได้ประสบการณ์ที่เหมือนกัน"

5.อย่ากลัวที่จะถามหรือขอความช่วยเหลือ
ด้วยที่ต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบนี้ไปอีกเกือบปี แล้วหลายๆอย่างที่เราไม่คุ้นเคยมักจะสร้างปัญหาให้เสมอ โดยเฉพาะเรื่องที่เรามักนึกว่ารู้ดีแล้วนี้แหละที่มักจะลืมๆกัน โดยเรื่องที่แนะนำให้ถาม เช่น กฎต่างๆในบ้านที่เราไม่คุ้นเคย วิธีการส่งการบ้านที่โรงเรียน หรือเรื่องเดินทางที่ยังไงต้องมีปัญหาแน่นอนในครั้งแรกๆ ซึ่งตัวโฮสของเราเองหรือเพื่อนที่อยู่ในละแวกนี้มานานมักจะมี  tips แปลกๆที่จะทำให้ชีวิตแลกเปลี่ยนเราง่ายขึ้นเสมอ


6.ลดการติดต่อกับที่ไทย
ข้อนี้อาจฟังดูแปลกๆครับ แต่การลดการติดต่อสื่อสารที่ไทยนี้แหละครับ ที่จะทำให้ประสบการณ์แลกเปลี่ยนที่ได้มามันเต็มที่จริงๆ เพราะช่วงที่มาถึงแรกๆกับกลางๆที่เป็นเวลาต้องปรับตัวหนักๆ การติดต่อสื่อสารกับที่ไทยแต่อยู่ต่างประเทศพร้อมๆกันจะทำให้อาจจะเกิดอะไรแบบ "ตัวอยู่อเมริกาแต่ใจลอยไปอยู่ไทย" ซึ่งมันทำให้เราจดจ่อได้เต็มที่ไม่ได้สักอย่าง เลยขอแนะนำให้ลดเรื่องการติดต่อสื่อสารกับไทยให้เหลือเท่าที่ควรครับ เพราะเราไม่สามารถมีตัวตนอยู่ใน 2 ประเทศในเวลาเดียวกันได้ การติดต่อกับคนในไทยเพราะความคิดถึงไม่ใช้เรื่องที่ห้ามทำแต่เราก็อย่าลืมว่าเราเป็นคนทีเลือกเส้นทางนี้เอง เส้นทางที่เราต้องเดินทางออกมาจากอะไรเดิมๆ

7.คิดถึงบ้านเป็นเรื่องปกติ
Homesick เป็นอะไรที่ไม่ว่าใครที่เดินทางไปต่างประเทศก็ต้องเจอแน่นอนไม่ช้าก็เร็ว ซึ่งความรุนแรงจะแตกต่างกันไปอีกที รวมถึงทั้งการแสดงออก เราอาจจะดูรูปเก่าๆ โทรหาเพื่อนๆหรือพ่อแม่มากกว่าปกติ เริ่มปลีกตัวมาคนเดียวบ่อยขึ้น ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องปกติทั้งนั้นจริงๆ พอเวลาผ่านไปได้ซักพัก เราจะเริ่มยอมรับในจุดตรงแล้วจะดีขึ้นเอง แต่ถ้าคิดว่าเรื่อง homesick เริ่มเป็นปัญหากับเราปรึกษา Liaison , อาสาสมัคร AFS หรือใครก็ได้ที่มีประสบการณ์ด้านนี้ดูเพราะพวกเขาจะช่วยในจุดนี้ได้เยอะมากๆจริงๆ


8.ใจเย็นๆและให้เวลากับตัวเองตอนแรก
ตอนที่มาถึงใหม่ๆทุกคนคงรู้สึกคล้ายๆกันว่าทุกอย่างมันน่าสนใจและตื่นเต้นไปหมดหรืออาจจะตรงกันข้ามเลยก็ได้ แนวไม่รักก็เกลียดไปเลย ไม่ว่าจะเป็นแต่ทุกอย่างไม่ว่าจะดีหรือร้ายพออยู่ไปสักพักเราจะเริ่มปรับตัวเข้ากับมันได้เอง จนทั้งหมดจะเริ่มกลายเป็นเรื่องปกติและเริ่มคุ้นชินไปเอง

9.เรามีสิทธิเหมือนกัน
อีกอย่างที่ผมสังเกตว่าคนไทยแตกต่างกันที่คนอเมริกันคือเรื่องมารยาทของคนไทยที่จะขี้เกรงใจจนเกินเหตุในหลายๆครั้ง ตัวอย่างเช่น ถ้าอาหารที่สั่งมาบางจานมีอะไรแปลกๆไม่ปกติ คนไทยมักบอกว่า "ไม่เป็นไร" แต่ที่นี้จะตรงกันข้ามเสมอเพราะถ้ามีอะไรที่ไม่ปกติลูกค้ามักจะเรียกพนักงานมาติเสมอว่าเกิดอะไรขึ้นเพื่อให้อาหารที่ได้มาถูกมาตรฐานที่ลูกค้าควรจะได้ ส่วนทางร้านที่มีความรับผิดชอบก็จะเปลี่ยนจานใหม่ให้หรือหาอะไรมาทดแทนให้เสมอ เพราะความเกรงใจที่มากเกินไปในหลายๆครั้งอาจทำให้เราลำบากขึ้นโดยไม่จำเป็น


10.อย่าลืมจดบันทึก
ช่วงเวลาในอเมริกาจะผ่านไปเร็วมากๆ ทุกโมเม้นต์ที่เกิดขึ้นพอรู้ตัวอีกทีจะหายไปเลยครับ รู้ตัวอีกทีก็ไม่สามารถกลับไปเจออะไรแบบนั้นได้แล้วจริงๆ จะเขียน diary, ถ่ายรูป หรืออะไรก็ได้ แค่ขอให้มีอะไรที่สามารถสื่อถึงประสบการณ์ที่เราได้รับมาก็เพียงพอแล้วครับ  ขณะนั่งเขียนกระทู้ในไทยนี้ตัวผมอยู่ก็นึกเสียดายอยู่เรื่อยๆถึงสิ่งที่พลาดไปตอนยังที่ยังมีเวลา

ทั้งหมดนี้ที่เขียนมาก็หวังว่าจะเป็นอะไรที่ขอให้มีประโยชน์กับรุ่นน้องต่อๆไปไม่มากก็น้อยครับ หัวเราะ ขอบคุณที่อ่านจบครับผม มีข้อสงสัยอะไร PM หรือ Comment ลงมาได้เลยครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่