วันนี้ขอเปลี่ยนแนวมาเป็นคนมีสาระกันบ้างนะคะ เนื่องจากวันก่อนไปอ่านเจอข้อมูลเรื่องสารตกค้างในผลิตภัณฑ์ดูแลผิว จากมติชนออนไลน์ (ที่มา:
https://www.matichon.co.th/news/585703 ) อ่านจบปุ๊บ ตกใจมากเลยค่ะ ก่อนหน้านี้ก็ไม่เคยนึกถึงเรื่องนี้มาก่อนเลย ทุกทีก็จะเลือกซื้อพวกครีมอาบน้ำตามโปรโมชั่น ตามความงกในสายเลือด ส่วนของพ่อ และ ลูก ๆ ก็จะเลือกที่กลิ่นที่พวกเค้าชอบและเลือกแบบที่ใช้ได้ทั้งหัวจรดเท้า ก็สายงกอีกแหละคะ ฮ่า ๆๆ
ก่อนจะเริ่มไร้สาระ ขอกลับมามีสาระ และขอสรุปใจความให้เพื่อนๆ ที่ขี้เกียจ คลิกไปอ่าน ดังนี้จ้า
คือในผลิตภัณฑ์ดูแลผิวต่าง ๆ โดยเฉพาะครีมอาบน้ำ ทางผู้ผลิตก็มักจะใส่สารต่าง ๆ เพื่อให้ได้ตามคุณสมบัติและวัตถุประสงค์ที่ต้องการ อย่างเช่น สารกันเสีย ง่าย ๆ ก็คือใส่ไว้ให้มันเก็บได้นาน ๆ หรือสารลดแรงตึงผิวของน้ำ ช่วยทำให้เกิดฟองและสารยับยั้งเชื้อแบคทีเรียเพื่อช่วยฆ่าเชื้อโรคนั่นเองค่ะ
กลุ่มสารกันเสียที่นิยมใช้กัน ก็จะมี Parabens และ Methylisothiazolinone โดยมักจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองหรือแพ้จากการใช้ เคยมีรายงานว่าตรวจพบพาราเบนในเซลล์มะเร็ง แต่ก็ยังไม่มีงานวิจัยที่ยืนยันแน่ชัด และทั้งสองตัวก็เป็นสารควบคุมที่ทางกระทรวงสาธารณสุขกำหนดความเข้มข้นของการนำมาใช้เอาไว้
ส่วนสาร Sodium Lauryl Sulfate (SLS) มีอยู่ในแทบจะทุกผลิตภัณฑ์ประเภทสบู่-ครีมอาบน้ำ ยาสระผม เป็นสารทำให้เกิดฟอง ช่วยทำให้สิ่งสกปรกและคราบไขมันหลุดออกง่าย ตามที่เคยมีกระแสว่าเป็นสารก่อมะเร็งนั้น ยังไม่มีงานวิจัยที่สามารถสรุปได้ชัดเจน แต่สารนี้ก็ทำให้เกิดการระคายเคืองได้ไม่น้อยเลยเหมือนกัน โดยมีการเปลี่ยนไปใช้สาร Sodium Laureth Sulfate (SLES) แทน เพราะอ่อนโยนกว่า และก่อให้เกิดการระคายเคืองน้อยกว่า
สุดท้ายคือสาร Triclosan มักใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด มีฤทธิ์ช่วยลดการติดเชื้อแบคทีเรีย แต่หากใช้ในปริมาณมากเกินกำหนดจะทำให้เกิดพิษและมีความเสี่ยงต่อเชื้อแบคทีเรียดื้อยา
จริง ๆ แล้วสารพวกนี้ก็ไม่ได้เป็นอันตรายถึงขั้นห้ามนำมาใช้นะคะ แต่มันก็เป็นสารก่ออาการระคายเคืองและแพ้ได้ในหลาย ๆ คน โดยเฉพาะเด็กเล็ก ๆ และคงไม่ดีแน่ถ้ามันตกค้างอยู่บนผิวเราในระยะยาว
ทีนี้เราจะรู้ได้ยังไงล่ะ ว่ามีสารพวกนี้อยู่ในผลิตภัณฑ์ที่เราใช้อยู่หรือเปล่า ง่าย ๆ เลยค่ะ คว้าแว่นขยาย แล้วไปส่องดูที่ส่วนผสมข้าง ๆ ขวดได้เลยค่ะ ว่าแล้วก็วิ่งปรู๊ดไปดูในห้องน้ำ ก็พบว่าโดนทุกขวดเลยค่ะ ขวดนึงมีอย่างน้อย 2 สารที่เล่ามาข้างต้น ทั้งของลูกของแม่ของพ่อ ฮ่า ๆๆ ยกเว้นครีมล้างหน้าเป็นยี่ห้อที่นำเข้าจากอเมริกา รอดอยู่ขวดเดียวค่ะ T_T
อีกคำถามนึงคือ แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าเค้าใส่ปริมาณเท่าไหร่ คำตอบคือไม่มีทางรู้เลยค่ะ เพราะข้อมูลบนฉลากนั้น จะไม่ได้บอกสัดส่วนสารทั้งหมดที่ใส่มา แต่จะเป็นแค่การเรียงลำดับความเข้มข้นจากลำดับแรกคือมากสุดไปหาน้อยสุดค่ะ และวิธีเดียวที่จะหลีกเลี่ยงได้ ก็คือหาผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีส่วนผสมของสารเหล่านี้เลยค่ะ บางทีเค้าก็มีระบุไว้ด้วยนะคะ เช่น No Paraben หรือ SLS-Free เป็นต้นค่ะ
อ่านจบแล้ว อย่าลืมวิ่งไปสำรวจสบู่ ครีมอาบน้ำหรือผลิตภัณฑ์ดูแลผิว ที่ใช้กันอยู่ด้วยนะคะ ด้วยความห่วงใยจากแม่ที่ใส่ใจ
หากมีข้อมูลผิดพลาดประการใด ขออภัยไว้ล่วงหน้าด้วยนะคะ /|\
แม่ ๆ คนไหนมีลูกที่เหมือนจะอยู่ในข่าย ผิวแพ้เป็นผื่น ลูกชอบเกา ลองดูกันนะคะว่าสบู่หรือครีมอาบน้ำที่ใช้ มีส่วนผสมเหล่านี้อยู่หรือเปล่า มาแลกเปลี่ยนกันค่ะ จะได้ช่วยกันระวัง
แชร์ถึงแม่ๆ ระวังให้ดีภัยเงียบของสารเคมีในสบู่และครีมอาบน้ำ อันตรายกับลูกและครอบครัวกว่าที่คุณคิด!!!
ก่อนจะเริ่มไร้สาระ ขอกลับมามีสาระ และขอสรุปใจความให้เพื่อนๆ ที่ขี้เกียจ คลิกไปอ่าน ดังนี้จ้า
คือในผลิตภัณฑ์ดูแลผิวต่าง ๆ โดยเฉพาะครีมอาบน้ำ ทางผู้ผลิตก็มักจะใส่สารต่าง ๆ เพื่อให้ได้ตามคุณสมบัติและวัตถุประสงค์ที่ต้องการ อย่างเช่น สารกันเสีย ง่าย ๆ ก็คือใส่ไว้ให้มันเก็บได้นาน ๆ หรือสารลดแรงตึงผิวของน้ำ ช่วยทำให้เกิดฟองและสารยับยั้งเชื้อแบคทีเรียเพื่อช่วยฆ่าเชื้อโรคนั่นเองค่ะ
กลุ่มสารกันเสียที่นิยมใช้กัน ก็จะมี Parabens และ Methylisothiazolinone โดยมักจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองหรือแพ้จากการใช้ เคยมีรายงานว่าตรวจพบพาราเบนในเซลล์มะเร็ง แต่ก็ยังไม่มีงานวิจัยที่ยืนยันแน่ชัด และทั้งสองตัวก็เป็นสารควบคุมที่ทางกระทรวงสาธารณสุขกำหนดความเข้มข้นของการนำมาใช้เอาไว้
ส่วนสาร Sodium Lauryl Sulfate (SLS) มีอยู่ในแทบจะทุกผลิตภัณฑ์ประเภทสบู่-ครีมอาบน้ำ ยาสระผม เป็นสารทำให้เกิดฟอง ช่วยทำให้สิ่งสกปรกและคราบไขมันหลุดออกง่าย ตามที่เคยมีกระแสว่าเป็นสารก่อมะเร็งนั้น ยังไม่มีงานวิจัยที่สามารถสรุปได้ชัดเจน แต่สารนี้ก็ทำให้เกิดการระคายเคืองได้ไม่น้อยเลยเหมือนกัน โดยมีการเปลี่ยนไปใช้สาร Sodium Laureth Sulfate (SLES) แทน เพราะอ่อนโยนกว่า และก่อให้เกิดการระคายเคืองน้อยกว่า
สุดท้ายคือสาร Triclosan มักใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด มีฤทธิ์ช่วยลดการติดเชื้อแบคทีเรีย แต่หากใช้ในปริมาณมากเกินกำหนดจะทำให้เกิดพิษและมีความเสี่ยงต่อเชื้อแบคทีเรียดื้อยา
จริง ๆ แล้วสารพวกนี้ก็ไม่ได้เป็นอันตรายถึงขั้นห้ามนำมาใช้นะคะ แต่มันก็เป็นสารก่ออาการระคายเคืองและแพ้ได้ในหลาย ๆ คน โดยเฉพาะเด็กเล็ก ๆ และคงไม่ดีแน่ถ้ามันตกค้างอยู่บนผิวเราในระยะยาว
ทีนี้เราจะรู้ได้ยังไงล่ะ ว่ามีสารพวกนี้อยู่ในผลิตภัณฑ์ที่เราใช้อยู่หรือเปล่า ง่าย ๆ เลยค่ะ คว้าแว่นขยาย แล้วไปส่องดูที่ส่วนผสมข้าง ๆ ขวดได้เลยค่ะ ว่าแล้วก็วิ่งปรู๊ดไปดูในห้องน้ำ ก็พบว่าโดนทุกขวดเลยค่ะ ขวดนึงมีอย่างน้อย 2 สารที่เล่ามาข้างต้น ทั้งของลูกของแม่ของพ่อ ฮ่า ๆๆ ยกเว้นครีมล้างหน้าเป็นยี่ห้อที่นำเข้าจากอเมริกา รอดอยู่ขวดเดียวค่ะ T_T
อีกคำถามนึงคือ แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าเค้าใส่ปริมาณเท่าไหร่ คำตอบคือไม่มีทางรู้เลยค่ะ เพราะข้อมูลบนฉลากนั้น จะไม่ได้บอกสัดส่วนสารทั้งหมดที่ใส่มา แต่จะเป็นแค่การเรียงลำดับความเข้มข้นจากลำดับแรกคือมากสุดไปหาน้อยสุดค่ะ และวิธีเดียวที่จะหลีกเลี่ยงได้ ก็คือหาผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีส่วนผสมของสารเหล่านี้เลยค่ะ บางทีเค้าก็มีระบุไว้ด้วยนะคะ เช่น No Paraben หรือ SLS-Free เป็นต้นค่ะ
อ่านจบแล้ว อย่าลืมวิ่งไปสำรวจสบู่ ครีมอาบน้ำหรือผลิตภัณฑ์ดูแลผิว ที่ใช้กันอยู่ด้วยนะคะ ด้วยความห่วงใยจากแม่ที่ใส่ใจ
หากมีข้อมูลผิดพลาดประการใด ขออภัยไว้ล่วงหน้าด้วยนะคะ /|\
แม่ ๆ คนไหนมีลูกที่เหมือนจะอยู่ในข่าย ผิวแพ้เป็นผื่น ลูกชอบเกา ลองดูกันนะคะว่าสบู่หรือครีมอาบน้ำที่ใช้ มีส่วนผสมเหล่านี้อยู่หรือเปล่า มาแลกเปลี่ยนกันค่ะ จะได้ช่วยกันระวัง