สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
ประวัติศาสตร์การเมืองของจีนจะมีเอกลักษณ์พิเศษอย่างหนึ่งครับ คำจำกัดความอยู่ในประโยคแรกของหนังสือสามก๊ก
"การเมืองในใต้ฟ้านี้ เมื่อแตกแยกนานย่อมรวมสมาน รวมสมานนานไปย่อมแตกแยก"
การพิจารณากรณีความเป็นผู้นำของเฉาไก้และซ่งเจียง เราต้องแยกออกเป็น 2 มุมมองครับ
1. มุมมองของคนปัจจุบัน ซึ่งเป็นมุมมองร้อยละ 90% ของผู้อ่านซ้องกั๋ง หากมองในมุมนี้ย่อมจะเห็นซ่งเจียงเป็นตัวร้าย ที่หลอกใช้คนอื่นเพื่อทวงคืนตำแหน่งราชการและใช้พี่น้องเป็นขั้นบันไดสู่ความรุ่งเรืองของตัวเอง แม้ว่ารู้ทั้งรู้ว่าราชสำนักเต็มไปด้วยกังฉิน หากกลับเข้าสู่วงราชการย่อมลำบากกว่าอยู่อย่างอิสรเสรี ในมุมมองส่วนนี้ผมจะไม่อฑิบายมากนะครับ เพราะทุกท่านที่อ่านหรือดูซ้องกั๋งคงจะมีความรู้สึกเหมือนๆ กัน
2. มุมมองของคนร่วมสมัย ส่วนนี้ "ผมสันนิษฐานว่า" น่าจะเป็นความรู้สึกที่แท้จริงของเฉาไก้และซ่งเจียง เฉาไก้เป็นชาวยุทธจักร ทัศนคติย่อมเป็นทัศนคติของฝ่ายบู๊ และที่ปรึกษาคนสนิทอย่างอู๋ย่งนี่แหละที่น่าจะมีอิทธิพลสำคัญต่อจิตใจเฉาไก้ในการตัดสินอนาคตเขาเหลียงซาน เฉาไก้และอู๋ย่งรู้ดีว่าภายในราชสำนักซ่งเหนือฟอนเฟะ ในขณะที่อาณาจักรรอบข้างอย่างต้าจิน (ไต้กิม) เติบโตขึ้นทุกขณะ รวมถึงกบฏกลุ่มอื่นๆ ก็ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด อู๋ย่งย่อมทราบประวัติศาสตร์จีนและวัฏจักรราชวงศ์ดี บริบทเป่ยซ่งตอนนั้นคล้ายกับปลายราชวงศ์ฉิน ทั้งอาณาจักรต้ากิม กบฎฟางล่า และกลุ่มอื่นๆ รวมถึงเขาเหลียงซาน เปรียบเสมือนกบฏเฉินเซิง อู๋กว่าง เซี่ยงเหลียง และเชื้อสายของอดีตรัฐทั้งหกในสมัยราชวงศ์ฉิน อู๋ย่งคาดคะเนว่าในไม่ช้าเป่ยซ่งจะแตกออกเป็นเสี่ยงๆ และเฉาไก้จะกลายเป็นผู้นำในการทำศึกรวบรวมแผ่นดินอีกครั้ง ส่วนตัวเฉาไก้และพี่น้องเองอาจแค่คิดว่าอิสรเสรี มีสุราดื่มไปวันๆ ส่วนซ่งเจียงก็เป็นหนึ่งในไม่กี่คนบนเขาเหลียงซานที่มีการศึกษาดี ซ่งเจียงเชื่อมั่นในตัวเองว่าหากรวบรวมผู้มีความสามารถเข้ามามากพอและกลับเข้ารับราชการ จะสามารถปฏิรูปการเมืองภายในได้ ดังจะสังเกตได้ว่าการรวบรวมคนของเฉาไก้และซ่งเจียงแตกต่างกันอย่างชัดเจน เฉาไก้รับแต่คนจริงใจ นับถือเป็นพี่น้อง ในลักษณะชาวยุทธจักรแท้ๆ แต่ซ่งเจียงมักจะเชื้อเชิญคนที่มีสติปัญญา มีบารมี หรืออดีตนายทหารข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ หลูจุ้นอวี้ก็เป็นอีกคนหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อซ่งเจียงมาก ซ่งเจียงและหลูจุ้นอวี้พยายามแสดงให้ซ่งฮุยจงเห็นว่าเขาเหลียงซานมีทั้ง "ความสามารถ" และ "ความจงรักภักดี" เพียงหวังว่าฮ่องเต้จะช่วงใช้ ตนจึงจะมีโอกาส "ปฏิรูปการเมือง" กวาดล้างกังฉิน และกอบกู้ความเข้มแข็งของเป่ยซ่งคืนมาได้ รวมถึงเหตุผลที่ซ่งเจียงพยายามอธิบายให้พี่น้องโดยเฉพาะชาวยุทธจักรเข้าใจว่า "อนาคตไม่สามารถอยู่อย่างนี้ตลอดไปได้ ไม่สามารถให้ลูกหลานมีบรรพบุรุษเป็นโจรได้" อุดมการณ์นี้แหละที่ทำให้ผู้อ่านส่วนมากเข้าใจซ่งเจียงไปในแง่ลบ แต่ผมลองมองอีกมุมก็เห็นถึงความจริงใจของซ่งเจียง เพียงแต่เฉาไก้และซ่งเจียงมีคุณธรรม มีความจริงใจ หากแต่ต่างเดินไปในวิถีทางของตน
ดังนั้น เข้าประเด็นคำถามของ จขกท.
ความเป็นไปของเขาเหลียงซาน มีแค่ 4 แนวทาง ซึ่งความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นไม่ต่างกันมาก ได้แก่
แนวทางที่ 1 ตั้งตนเป็นรัฐอิสระ ชักนำผู้กล้ารวบรวมแผ่นดิน ตามแนวทางของอดีตปฐมจักรพรรดิของทุกราชวงศ์ แนวทางนี้คือทางที่เฉาไก้และอู๋ย่งต้องการให้เป็น
แนวทางที่ 2 ตั้งตนเป็นรัฐอิสระ แต่ไม่ได้มีเจตนารวมแผ่นดิน เพียงแค่ต้องการอยู่ในเขาเหลียงซานเท่านั้น นี่เป็นแนวทางที่ผู้กล้าเขาเหลียงซานส่วนใหญ่ต้องการให้เป็น แต่ท้ายที่สุดแล้วซ่งเจียงเห็นว่าแนวทางนี้ไม่มีทางยั่งยืนต่อไปได้นาน
แนวทางที่ 3 สวามิภักดิ์ราชสำนัก แล้วใช้ความสามารถและความจงรักภักดีเข้าแลก ปฏิรูปการเมือง กวาดล้างกังฉิน ทำให้ราชสำนักเข้มแข็ง นี่เป็นแนวทางที่ซ่งเจียงและหลูจุ้นอวี้ต้องการให้เป็น
แนวทางที่ 4 สวามิภักดิ์ราชสำนัก แต่ท้ายสุดถูกกังฉินถูกกวาดล้างซะเอง แนวทางนี้พี่น้องเขาเหลียงซานส่วนใหญ่คิดว่าจะเกิดขึ้น แต่ซ่งเจียงไม่คิดว่าจะเป็น แล้วสุดท้ายก็เกิดขึ้นจริงๆ
แนวทางที่ 1 และ 2 ซึ่งพี่น้องเขาเหลียงซาน (และผู้อ่านส่วนใหญ่) ต้องการให้เป็น หากท้ายที่สุดไม่สามารถทำสำเร็จตามเป้าประสงค์ ผลสุดท้ายยังเลวร้ายกว่าแนวทางที่ 3 และ 4 เพราะหากล้มเหลวคือถูกประหารหมดฐานกบฏ แต่ซ่งเจียงทำให้พี่น้องได้รับอภัยโทษ แม้ท้ายที่สุดจะตายเกือบหมด ก็ยังคงมีบางคนพบจุดจบที่ดี เช่น กวนเซิ่ง ฮูเหยียนจั๋ว จูถง รวมถึงพวกที่แยกตัวไปใช้ชีวิตสันโดษ เช่น บู๊ซ้ง หลี่จุ้น เอี้ยนชิง หยวนเสี่ยวชี ฯลฯ แต่ผมคิดว่าในสถานการณ์การเมืองวุ่นวายแบบนั้น ทางออกที่ดีที่สุดคือใช้ชีวิตแบบกงซุนเซิ่ง ปล่อยวางตามวิถีเต๋า หากเทียบกับสามก๊กก็เหมือนกับสำนักสุมาเต็กโซ ใช้ชีวิตเหมือนสุมาเต็กโซ ซุยเป๋ง ฯลฯ สุขสราญตามอัตภาพ หากเทียบกับยุคปัจจุบันก็คล้ายๆ หลักพอประมาณและภูมิคุ้มกันในหลักเศรษฐกิจพอเพียง
เรื่องนี้หากจะตอบว่าใครเป็นผู้นำแล้วจุดจบจะดีกว่า มันก็บอกไม่ได้หรอกครับ เพราะเป็นการคาดคะเนในลักษณะ If... แต่ผมคิดว่าทางเลือกของซ่งเจียงเสี่ยงน้อยกว่าแนวทางของเฉาไก้ เพราะผมดูจากนิสัยเฉาไก้คงไม่อาจปกครองแผ่นดินได้ คล้ายกับบรรดายอดขุนศึกในยุคแตกแยก เช่น เซี่ยงอวี่ กัวจื่อซิง หลี่จื้อเฉิง ฯลฯ ท้ายที่สุดชาวเขาเหลียงซานอาจถูกปราบปรามหมดสิ้นไม่มีคนเหลือรอดก็เป็นได้
"การเมืองในใต้ฟ้านี้ เมื่อแตกแยกนานย่อมรวมสมาน รวมสมานนานไปย่อมแตกแยก"
การพิจารณากรณีความเป็นผู้นำของเฉาไก้และซ่งเจียง เราต้องแยกออกเป็น 2 มุมมองครับ
1. มุมมองของคนปัจจุบัน ซึ่งเป็นมุมมองร้อยละ 90% ของผู้อ่านซ้องกั๋ง หากมองในมุมนี้ย่อมจะเห็นซ่งเจียงเป็นตัวร้าย ที่หลอกใช้คนอื่นเพื่อทวงคืนตำแหน่งราชการและใช้พี่น้องเป็นขั้นบันไดสู่ความรุ่งเรืองของตัวเอง แม้ว่ารู้ทั้งรู้ว่าราชสำนักเต็มไปด้วยกังฉิน หากกลับเข้าสู่วงราชการย่อมลำบากกว่าอยู่อย่างอิสรเสรี ในมุมมองส่วนนี้ผมจะไม่อฑิบายมากนะครับ เพราะทุกท่านที่อ่านหรือดูซ้องกั๋งคงจะมีความรู้สึกเหมือนๆ กัน
2. มุมมองของคนร่วมสมัย ส่วนนี้ "ผมสันนิษฐานว่า" น่าจะเป็นความรู้สึกที่แท้จริงของเฉาไก้และซ่งเจียง เฉาไก้เป็นชาวยุทธจักร ทัศนคติย่อมเป็นทัศนคติของฝ่ายบู๊ และที่ปรึกษาคนสนิทอย่างอู๋ย่งนี่แหละที่น่าจะมีอิทธิพลสำคัญต่อจิตใจเฉาไก้ในการตัดสินอนาคตเขาเหลียงซาน เฉาไก้และอู๋ย่งรู้ดีว่าภายในราชสำนักซ่งเหนือฟอนเฟะ ในขณะที่อาณาจักรรอบข้างอย่างต้าจิน (ไต้กิม) เติบโตขึ้นทุกขณะ รวมถึงกบฏกลุ่มอื่นๆ ก็ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด อู๋ย่งย่อมทราบประวัติศาสตร์จีนและวัฏจักรราชวงศ์ดี บริบทเป่ยซ่งตอนนั้นคล้ายกับปลายราชวงศ์ฉิน ทั้งอาณาจักรต้ากิม กบฎฟางล่า และกลุ่มอื่นๆ รวมถึงเขาเหลียงซาน เปรียบเสมือนกบฏเฉินเซิง อู๋กว่าง เซี่ยงเหลียง และเชื้อสายของอดีตรัฐทั้งหกในสมัยราชวงศ์ฉิน อู๋ย่งคาดคะเนว่าในไม่ช้าเป่ยซ่งจะแตกออกเป็นเสี่ยงๆ และเฉาไก้จะกลายเป็นผู้นำในการทำศึกรวบรวมแผ่นดินอีกครั้ง ส่วนตัวเฉาไก้และพี่น้องเองอาจแค่คิดว่าอิสรเสรี มีสุราดื่มไปวันๆ ส่วนซ่งเจียงก็เป็นหนึ่งในไม่กี่คนบนเขาเหลียงซานที่มีการศึกษาดี ซ่งเจียงเชื่อมั่นในตัวเองว่าหากรวบรวมผู้มีความสามารถเข้ามามากพอและกลับเข้ารับราชการ จะสามารถปฏิรูปการเมืองภายในได้ ดังจะสังเกตได้ว่าการรวบรวมคนของเฉาไก้และซ่งเจียงแตกต่างกันอย่างชัดเจน เฉาไก้รับแต่คนจริงใจ นับถือเป็นพี่น้อง ในลักษณะชาวยุทธจักรแท้ๆ แต่ซ่งเจียงมักจะเชื้อเชิญคนที่มีสติปัญญา มีบารมี หรืออดีตนายทหารข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ หลูจุ้นอวี้ก็เป็นอีกคนหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อซ่งเจียงมาก ซ่งเจียงและหลูจุ้นอวี้พยายามแสดงให้ซ่งฮุยจงเห็นว่าเขาเหลียงซานมีทั้ง "ความสามารถ" และ "ความจงรักภักดี" เพียงหวังว่าฮ่องเต้จะช่วงใช้ ตนจึงจะมีโอกาส "ปฏิรูปการเมือง" กวาดล้างกังฉิน และกอบกู้ความเข้มแข็งของเป่ยซ่งคืนมาได้ รวมถึงเหตุผลที่ซ่งเจียงพยายามอธิบายให้พี่น้องโดยเฉพาะชาวยุทธจักรเข้าใจว่า "อนาคตไม่สามารถอยู่อย่างนี้ตลอดไปได้ ไม่สามารถให้ลูกหลานมีบรรพบุรุษเป็นโจรได้" อุดมการณ์นี้แหละที่ทำให้ผู้อ่านส่วนมากเข้าใจซ่งเจียงไปในแง่ลบ แต่ผมลองมองอีกมุมก็เห็นถึงความจริงใจของซ่งเจียง เพียงแต่เฉาไก้และซ่งเจียงมีคุณธรรม มีความจริงใจ หากแต่ต่างเดินไปในวิถีทางของตน
ดังนั้น เข้าประเด็นคำถามของ จขกท.
ความเป็นไปของเขาเหลียงซาน มีแค่ 4 แนวทาง ซึ่งความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นไม่ต่างกันมาก ได้แก่
แนวทางที่ 1 ตั้งตนเป็นรัฐอิสระ ชักนำผู้กล้ารวบรวมแผ่นดิน ตามแนวทางของอดีตปฐมจักรพรรดิของทุกราชวงศ์ แนวทางนี้คือทางที่เฉาไก้และอู๋ย่งต้องการให้เป็น
แนวทางที่ 2 ตั้งตนเป็นรัฐอิสระ แต่ไม่ได้มีเจตนารวมแผ่นดิน เพียงแค่ต้องการอยู่ในเขาเหลียงซานเท่านั้น นี่เป็นแนวทางที่ผู้กล้าเขาเหลียงซานส่วนใหญ่ต้องการให้เป็น แต่ท้ายที่สุดแล้วซ่งเจียงเห็นว่าแนวทางนี้ไม่มีทางยั่งยืนต่อไปได้นาน
แนวทางที่ 3 สวามิภักดิ์ราชสำนัก แล้วใช้ความสามารถและความจงรักภักดีเข้าแลก ปฏิรูปการเมือง กวาดล้างกังฉิน ทำให้ราชสำนักเข้มแข็ง นี่เป็นแนวทางที่ซ่งเจียงและหลูจุ้นอวี้ต้องการให้เป็น
แนวทางที่ 4 สวามิภักดิ์ราชสำนัก แต่ท้ายสุดถูกกังฉินถูกกวาดล้างซะเอง แนวทางนี้พี่น้องเขาเหลียงซานส่วนใหญ่คิดว่าจะเกิดขึ้น แต่ซ่งเจียงไม่คิดว่าจะเป็น แล้วสุดท้ายก็เกิดขึ้นจริงๆ
แนวทางที่ 1 และ 2 ซึ่งพี่น้องเขาเหลียงซาน (และผู้อ่านส่วนใหญ่) ต้องการให้เป็น หากท้ายที่สุดไม่สามารถทำสำเร็จตามเป้าประสงค์ ผลสุดท้ายยังเลวร้ายกว่าแนวทางที่ 3 และ 4 เพราะหากล้มเหลวคือถูกประหารหมดฐานกบฏ แต่ซ่งเจียงทำให้พี่น้องได้รับอภัยโทษ แม้ท้ายที่สุดจะตายเกือบหมด ก็ยังคงมีบางคนพบจุดจบที่ดี เช่น กวนเซิ่ง ฮูเหยียนจั๋ว จูถง รวมถึงพวกที่แยกตัวไปใช้ชีวิตสันโดษ เช่น บู๊ซ้ง หลี่จุ้น เอี้ยนชิง หยวนเสี่ยวชี ฯลฯ แต่ผมคิดว่าในสถานการณ์การเมืองวุ่นวายแบบนั้น ทางออกที่ดีที่สุดคือใช้ชีวิตแบบกงซุนเซิ่ง ปล่อยวางตามวิถีเต๋า หากเทียบกับสามก๊กก็เหมือนกับสำนักสุมาเต็กโซ ใช้ชีวิตเหมือนสุมาเต็กโซ ซุยเป๋ง ฯลฯ สุขสราญตามอัตภาพ หากเทียบกับยุคปัจจุบันก็คล้ายๆ หลักพอประมาณและภูมิคุ้มกันในหลักเศรษฐกิจพอเพียง
เรื่องนี้หากจะตอบว่าใครเป็นผู้นำแล้วจุดจบจะดีกว่า มันก็บอกไม่ได้หรอกครับ เพราะเป็นการคาดคะเนในลักษณะ If... แต่ผมคิดว่าทางเลือกของซ่งเจียงเสี่ยงน้อยกว่าแนวทางของเฉาไก้ เพราะผมดูจากนิสัยเฉาไก้คงไม่อาจปกครองแผ่นดินได้ คล้ายกับบรรดายอดขุนศึกในยุคแตกแยก เช่น เซี่ยงอวี่ กัวจื่อซิง หลี่จื้อเฉิง ฯลฯ ท้ายที่สุดชาวเขาเหลียงซานอาจถูกปราบปรามหมดสิ้นไม่มีคนเหลือรอดก็เป็นได้
แสดงความคิดเห็น
ถ้าเฉาไก้ไม่ตาย พี่น้องเขาเหลียงซานจะมีจุดจบดีกว่านี้ไหมครับ