กระทู้ชุดราชวงศ์จีน
#1 กำเนิดมวลมนุษย์
https://ppantip.com/topic/36579621
#2 สามราชา ห้าจักรพรรดิ
https://ppantip.com/topic/36590122
#3 ราชวงศ์เซี่ย
https://ppantip.com/topic/36599852
#4 ราชวงศ์ซาง
https://ppantip.com/topic/36606919
#5 ราชวงศ์โจว(ตะวันตก-ตะวันออก)
https://ppantip.com/topic/36612649
--------------------------------------
จากครั้งที่แล้ว ผมได้พูดถึงราชวงศ์โจวทั้ง 2 ช่วงกันไปแล้ว สำหรับกระทู้นี้จะกล่าวถึง ยุคที่จีนแตกแยกเป็นแคว้นรัฐ เพื่อต่างครอบครองแผ่นดิน ชึ่งอยู่ในสมัยเดียวกันกับราชวงศ์โจวตะวันออก นั่นคือ ยุคชุนชิวและยุคจ้านกว๋อ โดยกระทู้นี้จะเป็นเรื่องราวของยุคชุนชิวครับ
###################
ยุคชุนชิว( Spring and Autumn period , 春秋 )
ระยะเวลา : 771 ถึง 476 ปีก่อน ค.ศ
ราชวงศ์ : โจวตะวันออก
จำนวนรัฐ : มากกว่า 200 รัฐ
###################
จุดเริ่มต้นของยุคชุนชิว
จากกระทู้ที่หากยังจำกันได้ เรารู้ว่าหลังจากที่ราชวงศ์โจวตะวันตกถูกโค่น แล้วโจวผิงหวางตั้งราชวงศ์โจวตะวันออกแล้วนั่น อำนาจของราชสำนักโจวที่จะควบคุมนครรัฐต่างๆนั่น ก็ค่อยๆเสื่อมถอยลง เพราะมีสาเหตุจากเหล่าบรรดาอ๋อง ในแต่ละรัฐ เริ่มที่จะตั้งตัวเป็นอิสระ และหมายที่จะเป็นใหญ่ในดินแดน จึงเกิดศึกระหว่างรัฐขึ้น นำไปสู่ยุคชุนชิวและจ้านกว๋อต่อไปครับ
ส่วนที่มาของชื่อยุคนั้น น่าจะมาจากชื่อตำราบันทึกเหตุการณ์ของขงจื้อ โดยขงจื้อได้เปรียบนครรัฐทั้งหลาย ว่าเปรียบเสมือนกับฤดูกาล ที่มีทั้งเกิด ทั้งสิ้นสุด และหมุนเปลี่ยนผันแปร ไปตามวัฏจักร
###############
ฉีหวนกง กษัตริย์แห่งฉี
-ฉีหวนกง( 齐桓公 )
รัฐฉี( 齐 )มีอำนาจอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือ มีฉีหวนกงเป็นเจ้ารัฐ ฉีหวนกงมีที่ปรึกษาชื่อ กว่างจัง ที่ช่วยพัฒนารัฐฉี ทั้งด้านทหารและเศรษฐกิจ รัฐฉีจึงแข็งแกร่ง นโยบายสำคัญของฉีหวนกง ก็คือการสนับสนุนราชวงศ์โจว และปราบปรามชนกลุ่มน้อย โดยรัฐฉีมีพันธมิตรเช่น รัฐหลู่,รัฐซ่ง เป็นต้น
ในปี 656 ปีก่อน ค.ศ รัฐฉีและรัฐพันธมิตร ได้บุกรัฐฉู่( 楚 )โดยอ้างว่า เพื่อทวงบรรณการให้ราชสำนักโจว สุดท้ายรัฐฉู่ขอสงบศึก
###############
รัฐฉู่เรืองอำนาจ
-ซ่งเซียงกง(宋襄公)
หลังจากที่ฉีหวนกงตาย ซ่งเซียงกงจึงขึ้นเป็นฉีอ๋องต่อ แต่ซ่งเซียงกงไม่มีความสามารถเท่ากับฉีหวงกง เมื่อรัฐฉีทำศึกกับรัฐฉู่อีกครั้ง รัฐฉีกลับสู้รัฐฉู่ไม่ได้ เหล่าพันธมิตรของรัฐฉี เลยไปเข้ากับรัฐฉู่กันหมด อำนาจของรัฐฉีถดถอยลง สลับกับรัฐฉู่ที่มีอำนาจมากขึ้น รัฐฉู่มีอำนาจสูงสุดในสมัยของ ฉู่จวงหวัง ( 楚庄王 )
-ฉู่จวงหวัง
##############
รัฐฉินและรัฐจิ้น
ในทิศตะวันตกมีรัฐฉิน(秦) โดยรัฐฉินได้ปราบรัฐขนาดเล็ก และขยายอาณาเขตไปทางตะวันตก โดยมีอำนาจในสมัยของฉินมู่กง(秦穆公) และรัฐฉินก็จะมีบทบาทสำคัญอย่างมาก ในยุคจ้านกว๋อ
-ฉินมู่กง
ส่วนทางทิศเหนือ มีรัฐจิ้น(晋) มีอำนาจบริเวณเหนือแม่น้ำฮวงโห รัฐจิ้นรุ่งเรืองในสมัยของ จิ้นเหวินกง(晋文公)
-จิ้นเหวินกง
################
อำนาจรัฐทางตอนใต้
ทางใต้ของจีนมีรัฐอู๋(吴)และรัฐเอวี่ยหรือเย่ว์(越)
ตลอดเวลารัฐทั้งสองทำศึกกันตลอด จนปี 496 ปีก่อน ค.ศ. ฟูไช อู๋อ๋องสามารถรบชนะรัฐเย่ว์ได้ รัฐอู๋ยึดรัฐเย่ว์ได้ประมาณ 10 ปีจนกระทั่งโกวเจี้ยน(勾踐)กอบกู้รัฐเย่ว์ได้
-โกวเจี้ยน
หลังจากนั้น บรรดารัฐขนาดเล็ก ก็ถูกรัฐขนาดใหญ่เข้าครอบครอง จากรัฐมากกว่า 200 รัฐสุดท้ายก็เหลือ 7 รัฐเท่านั้น และเข้าสู่ยุคจ้านกว๋อนั่นเอง
##############
ยุคชุนชิว ยุคแห่งนักปราชญ์
นอกจากที่ยุคชุนชิว เป็นสมัยที่เกิดศึกสงครามมากมาย แต่ก็ยังเป็นสมัยที่มีเหล่านักปราชญ์ได้ถือกำเนิดขึ้น อันได้แก่ ขงจื้อและเล่าจื้อ
-ขงจื้อ(孔子,Confucius)
ขงจื้อ(551-479 ปีก่อน ค.ศ.) เกิดที่รัฐหลู่ โดยบรรพบุรุษของขงจื้อ เป็นเชื้อสายของราชวงศ์ซาง(อาศัยอยู่ที่รัฐซ่ง) บิดาของขงจื้อตายไป ตั้งแต่ขงจื้อยังเป็นเด็ก จึงมีมารดาและท่านตา คอยสั่งสอนเลี้ยงดู ขงจื้อศึกษาในศาสตร์ในเกือบทุกๆด้าน
พออายุเข้าวัยหนุ่ม ขงจื้อได้รับราชการในรัฐหลู่
จนในปี 517 ปีก่อน ค.ศ. รัฐหลู่เกิดความวุ่นวาย ขงจื้อจึงย้ายไปอยู่รัฐฉี และเป็นที่ปรึกษาให้ฉีอ๋อง และช่วงเวลานี้ เป็นช่วงที่ขงจื้อเริ่มที่จะสั่งสอนคำสอนของเขา ให้แก่บรรดาลูกศิษย์
-สัญลักษณ์ของขงจื้อ
จนกระทั่งเข้าสู่วัยชรา ขงจื้อเบื่อหน่ายกับชีวิตราชการ ขงจื้อจึงลาออก และได้เดินทางไปเผยแพร่หลักปรัชญา และคำสอนให้แก่ผู้คนไปตามรัฐต่างๆ ขงจื้อได้พยายามให้ผู้ครองรัฐต่างๆใช้หลักคุณธรรม ในการแก้ไขปัญหาบ้านเมือง โดยขงจื้อได้กล่าวว่า " การศึกสงคราม ไม่ได้ช่วยให้ แผ่นดินสงบสุข แต่คุณธรรมต่างหาก ที่ทำให้แผ่นดินสงบสุขลงได้ " ขงจื้อเสียชีวิตในวัย 72 ปี หลักคำสอนของขงจื้อ ยังคงสามารถนำมาปรับใช้ได้ จนถึงปัจจุบัน แม้ว่าจะผ่านมานานกว่า 3000 ปีมาแล้ว
#############
-เล่าจื้อ(Lao Tzu)
เล่าจื้อ(ประมาณ 576 ปีก่อน ค.ศ.) เกิดที่รัฐฉู่ เป็นขุนนางให้กับราชวงศ์โจวตะวันออก มีความเฉี่ยวชาญทั้งในด้านการปกครอง ดาราศาสตร์
และประวัติศาสตร์ โดยเป็นผู้ให้กำเนิดลัทธิเต๋า และตำรา"เต๋าเต็กเก็ง"
道德經)ที่บรรจุหลักคำสอนในด้านต่างๆ
-หยินหยาง สัญลักษณ์ของเต๋า
หลักสำคัญของเต๋า ก็คือหยินหยาง(陰陽)โดยกล่าวว่า ทุกสิ่งทุกอย่างบนเอกภพ ล้วนประกอบไปด้วยสองด้าน คือหยิน เป็นด้านมืด ความชั่วร้าย ความเย็น และลึกลับ กับหยาง เป็นด้านสว่าง ความดี ความร้อรงน และแจ่มแจ้ง ทั้งสองจะอยู่ตรงกันข้ามเสมอเป็นหลักนิรันดร์
#############
ไซซี มัจฉาจมวารี
-ไซซี(西施)
ไซซีเป็นหญิงสามัญชน ชาวรัฐเย่ว์ ขณะนั้นรัฐอู๋กับรัฐเย่ว์ทำศึกต่อกัน และเป็นรัฐอู๋เอาชนะได้ โกวเจี้ยนวางแผน ที่จะกอบกู้รัฐเย่ว์ให้ได้ จึงวางอุบายส่งสาวงาม ไปให้อู๋อ๋อง
วันหนึ่งโกวเจี้ยน ไปเจอกับนางไซซีกับนางเจิ้งต้าน โกวเจี้ยนจึงให้ฟ่านหลี นำทั้งสองนางเข้าไปฝึกอบรม ในการเป็นกุลสตรีเพื่ิอให้อุบายสำเร็จ จนกระทั่งโกวเจี้ยนส่งทั้งสองนาง ไปที่รัฐอู๋
ฟูไชอู๋อ๋อง ลุ่มหลงในนางไซซีมาก จนนางเจิ้งต้านน้อยใจ ฆ่าตัวตาย นางไซซีได้ใช้เสน่ห์ของนาง ทำให้ฟูไชไม่เป็นอันกินอันนอน ฟูไชเลยปล่อยปละละเลย หน้าที่บริหารรัฐอู๋ เมื่อรัฐอู๋อ่อนแอ่ โกวเจี้ยนจึงได้โอกาส และสุดท้ายสามารถกู้รัฐเย่ว์ได้ ฟูไชถูกสังหาร แต่นางไซซีได้หายสาบสูญไป โดยนางไซซี เป็น 1 ใน 4 หญิงงามในประวัติศาสตร์จีน โดยมีฉายาว่า "มัจฉาจมวารี" ที่แปลว่า ความสวยของนางนั่น สวยถึงขนาดเหล่าฝูงปลา ถึงกับจมน้ำตายเลยที่เดียว
###############
ซุนวู ขุนพลพิชัยสงคราม
-ซุนวู(孙武 , Sun Tzu)
ซุนวู(722-481 หรือ 403-221 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นขุนนางให้กับรัฐอู๋ ในสมัยของเหอหลีอู๋อ๋อง ทำหน้าที่ควบคุม และฝึกฝนทหาร ซุนวูได้เสนอแผนพิชัยสงครามให้เหอหลี แต่เหอหลีไม่เชื่อ ซุนวูจึงขอสอนนางสนมแทน แต่เหล่านางสนมกับหัวเราะเยาะซุนวู ซุนวูจึงสั่งประหารเหล่านางสนม เหอหลีเห็นว่าซุนวูมีจิตใจเด็ดขาด จึงเชื่อในหลักพิชัยของซุนวู และตั้งซุนวูเป็นแม่ทัพใหญ่ของรัฐอู๋
ซุนวูนำทัพรัฐอู๋ บุกรัฐฉู่ แต่ขณะเดียวกันรัฐเย่ว์ ก็บุกรัฐอู๋ ซุนวูจึงถอยทัพไปป้องกันรัฐอู๋ เหอหลีแค้นรัฐเย่ว์ จึงคิดจะรบกับเย่ว์ แต่เหล่าขุนนางและซุนวู ได้ห้ามไว้เพราะกำลังรัฐเย่ว์มีมาก ควรรอโอกาสที่ดีกว่านี้ แต่เหอหลีไม่ฟัง ยกทัพบุกรัฐเย่ว์ สุดท้ายรัฐอู๋แพ้ เหอหลีตายขณะถอยทัพกลับ
ฟูไชจึงขึ้นเป็นอู๋อ๋อง และสามารถยึดรัฐเย่ว์ แต่ก็ถูกอุบายนางไซซีเข้าไป จึงแพ้ให้รัฐเย่ว์ ต่อมาฟูซา เป็นอู๋อ๋องต่อจากฟูไช ซุนวูเห็นว่าฟูซาไร้ความสามารถ และคิดว่าอีกไม่นานรัฐอู๋จะล้มสลายแน่ จึงตัดสินใจลาออกในปี 495 ก่อน ค.ศ.
หลักพิชัยสงครามของซุนวู ปัจจุบันได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้ ในหลากหลายด้าน ทั้งด้านการทำธุกิจ และการเมืองการปกครอง
หลักการสำคัญของซุนวู คือ "รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง " และ "การชนะศึกเป็นพันๆครั้ง ยังไม่ดีเท่ากับการชนะศึกโดยไม่ต้องรบ "
_______________________#
ก็จบไปแล้วนะครับสำหรับกระทู้นี้ ต่อไปในครั้งหน้า เราจะมาพูดถึงยุคจ้านกว๋อหรือยุคเลียดก๊ก นั่นเอง ส่วนจะเป็นอย่างไร ฝากติดตามด้วยนะครับ
%%ขอบคุณแหล่งข้อมูล%%
Wikipedia.org
Asinnaw.wannisa.com
Gotoknow.com
Sankokwiki.com
M.manager.co.th
Jiewfidao.com
-------------------------
ราชวงศ์จีน #5.1 ยุคชุนชิว
#1 กำเนิดมวลมนุษย์
https://ppantip.com/topic/36579621
#2 สามราชา ห้าจักรพรรดิ
https://ppantip.com/topic/36590122
#3 ราชวงศ์เซี่ย
https://ppantip.com/topic/36599852
#4 ราชวงศ์ซาง
https://ppantip.com/topic/36606919
#5 ราชวงศ์โจว(ตะวันตก-ตะวันออก)
https://ppantip.com/topic/36612649
--------------------------------------
จากครั้งที่แล้ว ผมได้พูดถึงราชวงศ์โจวทั้ง 2 ช่วงกันไปแล้ว สำหรับกระทู้นี้จะกล่าวถึง ยุคที่จีนแตกแยกเป็นแคว้นรัฐ เพื่อต่างครอบครองแผ่นดิน ชึ่งอยู่ในสมัยเดียวกันกับราชวงศ์โจวตะวันออก นั่นคือ ยุคชุนชิวและยุคจ้านกว๋อ โดยกระทู้นี้จะเป็นเรื่องราวของยุคชุนชิวครับ
###################
ยุคชุนชิว( Spring and Autumn period , 春秋 )
ระยะเวลา : 771 ถึง 476 ปีก่อน ค.ศ
ราชวงศ์ : โจวตะวันออก
จำนวนรัฐ : มากกว่า 200 รัฐ
###################
จุดเริ่มต้นของยุคชุนชิว
จากกระทู้ที่หากยังจำกันได้ เรารู้ว่าหลังจากที่ราชวงศ์โจวตะวันตกถูกโค่น แล้วโจวผิงหวางตั้งราชวงศ์โจวตะวันออกแล้วนั่น อำนาจของราชสำนักโจวที่จะควบคุมนครรัฐต่างๆนั่น ก็ค่อยๆเสื่อมถอยลง เพราะมีสาเหตุจากเหล่าบรรดาอ๋อง ในแต่ละรัฐ เริ่มที่จะตั้งตัวเป็นอิสระ และหมายที่จะเป็นใหญ่ในดินแดน จึงเกิดศึกระหว่างรัฐขึ้น นำไปสู่ยุคชุนชิวและจ้านกว๋อต่อไปครับ
ส่วนที่มาของชื่อยุคนั้น น่าจะมาจากชื่อตำราบันทึกเหตุการณ์ของขงจื้อ โดยขงจื้อได้เปรียบนครรัฐทั้งหลาย ว่าเปรียบเสมือนกับฤดูกาล ที่มีทั้งเกิด ทั้งสิ้นสุด และหมุนเปลี่ยนผันแปร ไปตามวัฏจักร
###############
ฉีหวนกง กษัตริย์แห่งฉี
-ฉีหวนกง( 齐桓公 )
รัฐฉี( 齐 )มีอำนาจอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือ มีฉีหวนกงเป็นเจ้ารัฐ ฉีหวนกงมีที่ปรึกษาชื่อ กว่างจัง ที่ช่วยพัฒนารัฐฉี ทั้งด้านทหารและเศรษฐกิจ รัฐฉีจึงแข็งแกร่ง นโยบายสำคัญของฉีหวนกง ก็คือการสนับสนุนราชวงศ์โจว และปราบปรามชนกลุ่มน้อย โดยรัฐฉีมีพันธมิตรเช่น รัฐหลู่,รัฐซ่ง เป็นต้น
ในปี 656 ปีก่อน ค.ศ รัฐฉีและรัฐพันธมิตร ได้บุกรัฐฉู่( 楚 )โดยอ้างว่า เพื่อทวงบรรณการให้ราชสำนักโจว สุดท้ายรัฐฉู่ขอสงบศึก
###############
รัฐฉู่เรืองอำนาจ
-ซ่งเซียงกง(宋襄公)
หลังจากที่ฉีหวนกงตาย ซ่งเซียงกงจึงขึ้นเป็นฉีอ๋องต่อ แต่ซ่งเซียงกงไม่มีความสามารถเท่ากับฉีหวงกง เมื่อรัฐฉีทำศึกกับรัฐฉู่อีกครั้ง รัฐฉีกลับสู้รัฐฉู่ไม่ได้ เหล่าพันธมิตรของรัฐฉี เลยไปเข้ากับรัฐฉู่กันหมด อำนาจของรัฐฉีถดถอยลง สลับกับรัฐฉู่ที่มีอำนาจมากขึ้น รัฐฉู่มีอำนาจสูงสุดในสมัยของ ฉู่จวงหวัง ( 楚庄王 )
-ฉู่จวงหวัง
##############
รัฐฉินและรัฐจิ้น
ในทิศตะวันตกมีรัฐฉิน(秦) โดยรัฐฉินได้ปราบรัฐขนาดเล็ก และขยายอาณาเขตไปทางตะวันตก โดยมีอำนาจในสมัยของฉินมู่กง(秦穆公) และรัฐฉินก็จะมีบทบาทสำคัญอย่างมาก ในยุคจ้านกว๋อ
-ฉินมู่กง
ส่วนทางทิศเหนือ มีรัฐจิ้น(晋) มีอำนาจบริเวณเหนือแม่น้ำฮวงโห รัฐจิ้นรุ่งเรืองในสมัยของ จิ้นเหวินกง(晋文公)
-จิ้นเหวินกง
################
อำนาจรัฐทางตอนใต้
ทางใต้ของจีนมีรัฐอู๋(吴)และรัฐเอวี่ยหรือเย่ว์(越)
ตลอดเวลารัฐทั้งสองทำศึกกันตลอด จนปี 496 ปีก่อน ค.ศ. ฟูไช อู๋อ๋องสามารถรบชนะรัฐเย่ว์ได้ รัฐอู๋ยึดรัฐเย่ว์ได้ประมาณ 10 ปีจนกระทั่งโกวเจี้ยน(勾踐)กอบกู้รัฐเย่ว์ได้
-โกวเจี้ยน
หลังจากนั้น บรรดารัฐขนาดเล็ก ก็ถูกรัฐขนาดใหญ่เข้าครอบครอง จากรัฐมากกว่า 200 รัฐสุดท้ายก็เหลือ 7 รัฐเท่านั้น และเข้าสู่ยุคจ้านกว๋อนั่นเอง
##############
ยุคชุนชิว ยุคแห่งนักปราชญ์
นอกจากที่ยุคชุนชิว เป็นสมัยที่เกิดศึกสงครามมากมาย แต่ก็ยังเป็นสมัยที่มีเหล่านักปราชญ์ได้ถือกำเนิดขึ้น อันได้แก่ ขงจื้อและเล่าจื้อ
-ขงจื้อ(孔子,Confucius)
ขงจื้อ(551-479 ปีก่อน ค.ศ.) เกิดที่รัฐหลู่ โดยบรรพบุรุษของขงจื้อ เป็นเชื้อสายของราชวงศ์ซาง(อาศัยอยู่ที่รัฐซ่ง) บิดาของขงจื้อตายไป ตั้งแต่ขงจื้อยังเป็นเด็ก จึงมีมารดาและท่านตา คอยสั่งสอนเลี้ยงดู ขงจื้อศึกษาในศาสตร์ในเกือบทุกๆด้าน
พออายุเข้าวัยหนุ่ม ขงจื้อได้รับราชการในรัฐหลู่
จนในปี 517 ปีก่อน ค.ศ. รัฐหลู่เกิดความวุ่นวาย ขงจื้อจึงย้ายไปอยู่รัฐฉี และเป็นที่ปรึกษาให้ฉีอ๋อง และช่วงเวลานี้ เป็นช่วงที่ขงจื้อเริ่มที่จะสั่งสอนคำสอนของเขา ให้แก่บรรดาลูกศิษย์
-สัญลักษณ์ของขงจื้อ
จนกระทั่งเข้าสู่วัยชรา ขงจื้อเบื่อหน่ายกับชีวิตราชการ ขงจื้อจึงลาออก และได้เดินทางไปเผยแพร่หลักปรัชญา และคำสอนให้แก่ผู้คนไปตามรัฐต่างๆ ขงจื้อได้พยายามให้ผู้ครองรัฐต่างๆใช้หลักคุณธรรม ในการแก้ไขปัญหาบ้านเมือง โดยขงจื้อได้กล่าวว่า " การศึกสงคราม ไม่ได้ช่วยให้ แผ่นดินสงบสุข แต่คุณธรรมต่างหาก ที่ทำให้แผ่นดินสงบสุขลงได้ " ขงจื้อเสียชีวิตในวัย 72 ปี หลักคำสอนของขงจื้อ ยังคงสามารถนำมาปรับใช้ได้ จนถึงปัจจุบัน แม้ว่าจะผ่านมานานกว่า 3000 ปีมาแล้ว
#############
-เล่าจื้อ(Lao Tzu)
เล่าจื้อ(ประมาณ 576 ปีก่อน ค.ศ.) เกิดที่รัฐฉู่ เป็นขุนนางให้กับราชวงศ์โจวตะวันออก มีความเฉี่ยวชาญทั้งในด้านการปกครอง ดาราศาสตร์
และประวัติศาสตร์ โดยเป็นผู้ให้กำเนิดลัทธิเต๋า และตำรา"เต๋าเต็กเก็ง" 道德經)ที่บรรจุหลักคำสอนในด้านต่างๆ
-หยินหยาง สัญลักษณ์ของเต๋า
หลักสำคัญของเต๋า ก็คือหยินหยาง(陰陽)โดยกล่าวว่า ทุกสิ่งทุกอย่างบนเอกภพ ล้วนประกอบไปด้วยสองด้าน คือหยิน เป็นด้านมืด ความชั่วร้าย ความเย็น และลึกลับ กับหยาง เป็นด้านสว่าง ความดี ความร้อรงน และแจ่มแจ้ง ทั้งสองจะอยู่ตรงกันข้ามเสมอเป็นหลักนิรันดร์
#############
ไซซี มัจฉาจมวารี
-ไซซี(西施)
ไซซีเป็นหญิงสามัญชน ชาวรัฐเย่ว์ ขณะนั้นรัฐอู๋กับรัฐเย่ว์ทำศึกต่อกัน และเป็นรัฐอู๋เอาชนะได้ โกวเจี้ยนวางแผน ที่จะกอบกู้รัฐเย่ว์ให้ได้ จึงวางอุบายส่งสาวงาม ไปให้อู๋อ๋อง
วันหนึ่งโกวเจี้ยน ไปเจอกับนางไซซีกับนางเจิ้งต้าน โกวเจี้ยนจึงให้ฟ่านหลี นำทั้งสองนางเข้าไปฝึกอบรม ในการเป็นกุลสตรีเพื่ิอให้อุบายสำเร็จ จนกระทั่งโกวเจี้ยนส่งทั้งสองนาง ไปที่รัฐอู๋
ฟูไชอู๋อ๋อง ลุ่มหลงในนางไซซีมาก จนนางเจิ้งต้านน้อยใจ ฆ่าตัวตาย นางไซซีได้ใช้เสน่ห์ของนาง ทำให้ฟูไชไม่เป็นอันกินอันนอน ฟูไชเลยปล่อยปละละเลย หน้าที่บริหารรัฐอู๋ เมื่อรัฐอู๋อ่อนแอ่ โกวเจี้ยนจึงได้โอกาส และสุดท้ายสามารถกู้รัฐเย่ว์ได้ ฟูไชถูกสังหาร แต่นางไซซีได้หายสาบสูญไป โดยนางไซซี เป็น 1 ใน 4 หญิงงามในประวัติศาสตร์จีน โดยมีฉายาว่า "มัจฉาจมวารี" ที่แปลว่า ความสวยของนางนั่น สวยถึงขนาดเหล่าฝูงปลา ถึงกับจมน้ำตายเลยที่เดียว
###############
ซุนวู ขุนพลพิชัยสงคราม
-ซุนวู(孙武 , Sun Tzu)
ซุนวู(722-481 หรือ 403-221 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นขุนนางให้กับรัฐอู๋ ในสมัยของเหอหลีอู๋อ๋อง ทำหน้าที่ควบคุม และฝึกฝนทหาร ซุนวูได้เสนอแผนพิชัยสงครามให้เหอหลี แต่เหอหลีไม่เชื่อ ซุนวูจึงขอสอนนางสนมแทน แต่เหล่านางสนมกับหัวเราะเยาะซุนวู ซุนวูจึงสั่งประหารเหล่านางสนม เหอหลีเห็นว่าซุนวูมีจิตใจเด็ดขาด จึงเชื่อในหลักพิชัยของซุนวู และตั้งซุนวูเป็นแม่ทัพใหญ่ของรัฐอู๋
ซุนวูนำทัพรัฐอู๋ บุกรัฐฉู่ แต่ขณะเดียวกันรัฐเย่ว์ ก็บุกรัฐอู๋ ซุนวูจึงถอยทัพไปป้องกันรัฐอู๋ เหอหลีแค้นรัฐเย่ว์ จึงคิดจะรบกับเย่ว์ แต่เหล่าขุนนางและซุนวู ได้ห้ามไว้เพราะกำลังรัฐเย่ว์มีมาก ควรรอโอกาสที่ดีกว่านี้ แต่เหอหลีไม่ฟัง ยกทัพบุกรัฐเย่ว์ สุดท้ายรัฐอู๋แพ้ เหอหลีตายขณะถอยทัพกลับ
ฟูไชจึงขึ้นเป็นอู๋อ๋อง และสามารถยึดรัฐเย่ว์ แต่ก็ถูกอุบายนางไซซีเข้าไป จึงแพ้ให้รัฐเย่ว์ ต่อมาฟูซา เป็นอู๋อ๋องต่อจากฟูไช ซุนวูเห็นว่าฟูซาไร้ความสามารถ และคิดว่าอีกไม่นานรัฐอู๋จะล้มสลายแน่ จึงตัดสินใจลาออกในปี 495 ก่อน ค.ศ.
หลักพิชัยสงครามของซุนวู ปัจจุบันได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้ ในหลากหลายด้าน ทั้งด้านการทำธุกิจ และการเมืองการปกครอง
หลักการสำคัญของซุนวู คือ "รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง " และ "การชนะศึกเป็นพันๆครั้ง ยังไม่ดีเท่ากับการชนะศึกโดยไม่ต้องรบ "
_______________________#
ก็จบไปแล้วนะครับสำหรับกระทู้นี้ ต่อไปในครั้งหน้า เราจะมาพูดถึงยุคจ้านกว๋อหรือยุคเลียดก๊ก นั่นเอง ส่วนจะเป็นอย่างไร ฝากติดตามด้วยนะครับ
%%ขอบคุณแหล่งข้อมูล%%
Wikipedia.org
Asinnaw.wannisa.com
Gotoknow.com
Sankokwiki.com
M.manager.co.th
Jiewfidao.com
-------------------------